ผ่านพ้นไปแล้วกับ การประมูลคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ 5G ที่ “กสทช.” คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. 2563
โดยมีการประมูล 3 ย่านความถี่ จากทั้งหมดที่ตั้งใจไว้ 4 คลื่น ได้แก่ 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz เนื่องจากคลื่น 1800 MHz ไม่มีเอกชนรายใดแสดงความจำนงจะเข้าประมูล
ขณะที่อีก 3 ย่านความถี่ที่เหลือมีผู้แสดงความจำนงเข้าประมูลทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ “เอไอเอส” ผ่านทางบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด “ทรู” โดยบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด “ดีแทค” โดยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด “แคท” บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที
โดย “เอไอเอส-ทรู” เข้าประมูลทั้ง 3 ย่านความถี่ “แคท” เข้าประมูลคลื่น 700 MHz และ 2600 MHz ส่วน “ดีแทค-ทีโอที” เข้าประมูล 26 GHz เพียงคลื่นเดียว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ผลการประมูล
คลื่น 700 MHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 1 ใบอนุญาต และ “แคท” จำนวน 2 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 17,153 ล้านบาท
คลื่น 2600 MHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 10 ใบอนุญาต “ทรู” จำนวน 9 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 1,956 ล้านบาท
คลื่น 26 GHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 12 ใบอนุญาต “ทรู” จำนวน 8 ใบอนุญาต “ดีแทค” จำนวน 2 ใบอนุญาต และ “ทีโอที” จำนวน 4 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 445 ล้านบาท
รวมแล้ว “กสทช.” มีรายได้ส่งเข้ารัฐ ในส่วนของคลื่น 700 MHz จำนวน 3 ใบอนญาต รวม 51,459 ล้านบาท คลื่น 2600 MHz 19 ใบอนุญาต เป็นเงิน 37,164 ล้านบาท และส่วนของคลื่น 26 GHz จำนวน 26 ใบอนุญาต เป็นเงิน 11,570 ล้านบาท
โดยในแต่ละย่านคลื่นจะผู้ที่ต้องช่วงคลื่นใดเป็นพิเศษได้มีการเสนอราคาเพิ่มอีก จนทำให้ราคาประมูลรวมเงินทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท มีใบอนุญาตคลื่น 26GHz เหลือ 1 ใบอนุญาต
โดยกรรมการ กสทช. ที่เข้าประชุมบอร์ดเพื่อรับรองผลการประมูลครั้งนี้ ประกอบด้วย พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ประธานบอร์ด กสทช. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ขณะที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ ผศ.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ลาประชุม
ที่มา
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-421859
ปิดจ็อบประมูล 5G “เอไอเอส” กวาดหมด 3 คลื่นความถี่ 23 ไลเซนส์ “ทรู” 17 ไลเซนส์ 2 คลื่นความถี่
โดยมีการประมูล 3 ย่านความถี่ จากทั้งหมดที่ตั้งใจไว้ 4 คลื่น ได้แก่ 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz เนื่องจากคลื่น 1800 MHz ไม่มีเอกชนรายใดแสดงความจำนงจะเข้าประมูล
ขณะที่อีก 3 ย่านความถี่ที่เหลือมีผู้แสดงความจำนงเข้าประมูลทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ “เอไอเอส” ผ่านทางบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด “ทรู” โดยบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด “ดีแทค” โดยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด “แคท” บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที
โดย “เอไอเอส-ทรู” เข้าประมูลทั้ง 3 ย่านความถี่ “แคท” เข้าประมูลคลื่น 700 MHz และ 2600 MHz ส่วน “ดีแทค-ทีโอที” เข้าประมูล 26 GHz เพียงคลื่นเดียว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ผลการประมูล
คลื่น 700 MHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 1 ใบอนุญาต และ “แคท” จำนวน 2 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 17,153 ล้านบาท
คลื่น 2600 MHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 10 ใบอนุญาต “ทรู” จำนวน 9 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 1,956 ล้านบาท
คลื่น 26 GHz ผู้ชนะประมูลได้แก่ “เอไอเอส” จำนวน 12 ใบอนุญาต “ทรู” จำนวน 8 ใบอนุญาต “ดีแทค” จำนวน 2 ใบอนุญาต และ “ทีโอที” จำนวน 4 ใบอนุญาต ในราคาใบอนุญาตละ 445 ล้านบาท
รวมแล้ว “กสทช.” มีรายได้ส่งเข้ารัฐ ในส่วนของคลื่น 700 MHz จำนวน 3 ใบอนญาต รวม 51,459 ล้านบาท คลื่น 2600 MHz 19 ใบอนุญาต เป็นเงิน 37,164 ล้านบาท และส่วนของคลื่น 26 GHz จำนวน 26 ใบอนุญาต เป็นเงิน 11,570 ล้านบาท
โดยในแต่ละย่านคลื่นจะผู้ที่ต้องช่วงคลื่นใดเป็นพิเศษได้มีการเสนอราคาเพิ่มอีก จนทำให้ราคาประมูลรวมเงินทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท มีใบอนุญาตคลื่น 26GHz เหลือ 1 ใบอนุญาต
โดยกรรมการ กสทช. ที่เข้าประชุมบอร์ดเพื่อรับรองผลการประมูลครั้งนี้ ประกอบด้วย พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ประธานบอร์ด กสทช. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ขณะที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ ผศ.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ลาประชุม
ที่มา https://www.prachachat.net/breaking-news/news-421859