ที่มา :
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHhNREEwTURFMk1RPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE9DMHdNUzB3TkE9PQ==
ภารกิจสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี 2561 นี้ คือการจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ และจะเป็นอีกหนึ่งปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทย
รอบนี้เป็นการประมูล 2 คลื่นความถี่ ภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2561
ถือว่าเป็นการประมูลในภาคสุดท้ายของคลื่นโทรคมนาคมไทยที่เป็นระบบสัมปทาน พร้อมเดินหน้าปิดฉากคลื่นความถี่โทร คมนาคมในระบบสัมปทาน และก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
กสทช. กำหนดแผนประมูลคลื่น 2 ย่านความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานไว้เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ คลื่นความถี่ 900 MHz บนย่าน 890-895 / 935-940 MHz และคลื่น 1800 MHz บนย่าน 1740-1785 / 1835-1850 MHz
พร้อมกำหนดการประมูลในช่วงเดือนพ.ค.2561 และออกใบอนุญาตให้ผู้ที่ชนะการประมูลได้ในเดือนมิ.ย.ปี 2561 ก่อนที่สัญญาสัมปทานจะหมดลงในช่วงเดือนก.ย. เพื่อให้ประชาชนมีเวลาและโอกาสตัดสินใจว่าจะย้ายค่ายหรือไม่ จะได้ไม่ให้เกิดปัญหาการเยียวยาเหมือนกับช่วงหมดอายุคลื่นความถี่ที่ผ่านมา
ส่วนรายละเอียดการประมูลได้กำหนดไว้ คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงคลื่นความถี่ 890-895/935-940 มี 1 ใบอนุญาต จำนวน 5 เมกะเฮิร์ตซ์ อายุสัญญา 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 37,988 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 76 ล้านบาทต่อรอบ ใช้เงินค้ำประกันจำนวน 1,900 ล้านบาท
ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ บนคลื่นจำนวน 45 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงคลื่นความถี่ 1740-1785/1835-1850 แบ่งออกเป็น 3 ชุด ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิร์ตซ์ อายุสัญญา 15 ปี โดยราคาเริ่มต้นประมูลคือ 37,457 ล้านบาท เคาะราคา 75 ล้านบาทต่อรอบ เงินค้ำประกันอยู่ที่ 1,873 ล้านบาท
ราคาตั้งต้นการประมูลยึดตามราคาสุดท้ายของคลื่น 1800MHz ในปี 2558 มาเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน
ที่ผ่านมากสทช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ 4 ฉบับไปแล้วเมื่อกลางเดือนธ.ค.2560 ได้แก่
1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 890-895 MHz/935-940 MHz
2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1740-1785 MHz/1835-1880 MHz
3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ย่านความถี่ 824-839/869-884 MHz
และ 4.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ ย่านความถี่ 885-895/930-940 MHz ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน
ประเด็นสำคัญที่รับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ประกอบไปด้วย 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต 2.วิธีการอนุญาต 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price) 4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล และ 7.ประเด็นอื่นๆ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่าขั้นตอนหลังจากนี้สำนักงาน กสทช. จะสรุปความคิดเห็นที่ได้รับ นำเสนอ ที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และตามแผนคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ในเดือนม.ค. 2561 เพื่อให้การประมูลเกิดขึ้นตามแผนเดือนพ.ค.ปี 2561 และยืนยันว่าการประมูลคลื่นครั้งนี้จะไม่เกิดการเยียวยาอย่างที่ผ่านมาแน่นอน
"สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมเคาะราคาการประมูลนั้น หากเคยทำผิดเงื่อนไขที่กสทช.กำหนด แต่ได้ดำเนินการจ่ายค่าปรับ ไม่ติดค้าง และไม่เคยยื่นฟ้องกสทช. ก็มีโอกาสเข้าร่วมประมูลได้หากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่กำหนด อย่าง บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด หรือ แจส มีโอกาสที่จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ได้ หากยังมีความต้องการใช้คลื่นดังกล่าวอยู่" นายฐากรกล่าว
และว่าการประมูลครั้งนี้คงไม่มีใครกล้าเข้ามาประมูลเพื่อทิ้งใบอนุญาตเหมือนที่ผ่านมา เพราะหากทำผิดเงื่อนไขจะต้องถูกยึดเงินประกันดังกล่าวและต้องจ่ายค่าปรับที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ มีค่าปรับ 5,699 ล้านบาท ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ มีค่าปรับ 5,619 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินค้ำประกันที่จะถูกยึด จะมีจำนวนสูงกว่า 7,000 ล้านบาท
มาจนถึงตอนนี้ กสทช. ดำเนินการไปตามแผนและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ จากนี้รอเพียงความพร้อมของผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาประมูล
สิ่งที่น่าจับตาในการประมูลครั้งนี้ คือการนำราคาสุดท้ายของการประมูลในครั้งก่อนมาเป็นฐานคำนวณราคาตั้งต้นของการประมูลครั้งใหม่ จะส่งผลอย่างไร
เพราะการต่อสู้กันในคราวนั้นราคาขยับไปเยอะจนถึงขั้นแพงมาก ซึ่งหากมองในระยะยาวประเทศไทยจะต้องมีต้นทุนค่าคลื่นโทรคมนาคมที่แพงขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นนั้นหรือ
และจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจโทรคมนาคมไทยหรือไม่
ทางผู้ประกอบการจะดำเนินธุรกิจอย่างไรเมื่อต้นทุนคลื่นมีราคาสูงขึ้น และจะกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่อย่างไร
เพราะในเมื่อค่าต้นทุนสูง แน่นอน ค่าบริการก็ต้องขยับตาม แม้กสทช.จะมีกฎกติกาในการดูแลเรื่องค่าบริการก็ตาม
อีกเรื่องที่น่าจับตา คือบริษัทเดียวที่ยังเหลือคลื่นภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานเดิมคือ"ดีแทค"ซึ่งสัญญาจะหมดลงในปี 2561 ทำให้การประมูลครั้งนี้สำคัญต่อดีแทคมาก เพราะดีแทคไม่ชนะการประมูลใดๆ เลยในรอบก่อนหน้านี้ ทำให้ตอนนี้ดีแทคจึงอยู่ ในภาวะหลังชนฝา และต้องชิงคลื่นมาให้ได้
หากพลาดพลั้งจะดำเนินธุรกิจอย่างไรบนคลื่นที่มีอยู่น้อยนิด หรืออาจต้องถอนตัวจากธุรกิจนี้ไปก็เป็นได้
การประมูลครั้งนี้สำคัญต่อวงการโทร คมนาคมไทยอย่างมาก เพราะอาจจะพลิกโฉมธุรกิจและที่แน่นอนจะเป็นการประมูลครั้งประวัติศาสตร์
เพราะเป็นการปิดฉากระบบสัมปทานของไทยในวงการโทรคมนาคมไปตลอดกาล
เช็กความพร้อม-ภารกิจ"กสทช." ประมูล2คลื่นสุดท้าย-ทิ้งทวน
ภารกิจสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี 2561 นี้ คือการจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ และจะเป็นอีกหนึ่งปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทย
รอบนี้เป็นการประมูล 2 คลื่นความถี่ ภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2561
ถือว่าเป็นการประมูลในภาคสุดท้ายของคลื่นโทรคมนาคมไทยที่เป็นระบบสัมปทาน พร้อมเดินหน้าปิดฉากคลื่นความถี่โทร คมนาคมในระบบสัมปทาน และก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
กสทช. กำหนดแผนประมูลคลื่น 2 ย่านความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานไว้เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ คลื่นความถี่ 900 MHz บนย่าน 890-895 / 935-940 MHz และคลื่น 1800 MHz บนย่าน 1740-1785 / 1835-1850 MHz
พร้อมกำหนดการประมูลในช่วงเดือนพ.ค.2561 และออกใบอนุญาตให้ผู้ที่ชนะการประมูลได้ในเดือนมิ.ย.ปี 2561 ก่อนที่สัญญาสัมปทานจะหมดลงในช่วงเดือนก.ย. เพื่อให้ประชาชนมีเวลาและโอกาสตัดสินใจว่าจะย้ายค่ายหรือไม่ จะได้ไม่ให้เกิดปัญหาการเยียวยาเหมือนกับช่วงหมดอายุคลื่นความถี่ที่ผ่านมา
ส่วนรายละเอียดการประมูลได้กำหนดไว้ คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงคลื่นความถี่ 890-895/935-940 มี 1 ใบอนุญาต จำนวน 5 เมกะเฮิร์ตซ์ อายุสัญญา 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 37,988 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 76 ล้านบาทต่อรอบ ใช้เงินค้ำประกันจำนวน 1,900 ล้านบาท
ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ บนคลื่นจำนวน 45 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงคลื่นความถี่ 1740-1785/1835-1850 แบ่งออกเป็น 3 ชุด ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิร์ตซ์ อายุสัญญา 15 ปี โดยราคาเริ่มต้นประมูลคือ 37,457 ล้านบาท เคาะราคา 75 ล้านบาทต่อรอบ เงินค้ำประกันอยู่ที่ 1,873 ล้านบาท
ราคาตั้งต้นการประมูลยึดตามราคาสุดท้ายของคลื่น 1800MHz ในปี 2558 มาเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน
ที่ผ่านมากสทช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ 4 ฉบับไปแล้วเมื่อกลางเดือนธ.ค.2560 ได้แก่
1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 890-895 MHz/935-940 MHz
2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1740-1785 MHz/1835-1880 MHz
3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ย่านความถี่ 824-839/869-884 MHz
และ 4.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ ย่านความถี่ 885-895/930-940 MHz ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน
ประเด็นสำคัญที่รับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ประกอบไปด้วย 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต 2.วิธีการอนุญาต 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price) 4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล และ 7.ประเด็นอื่นๆ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่าขั้นตอนหลังจากนี้สำนักงาน กสทช. จะสรุปความคิดเห็นที่ได้รับ นำเสนอ ที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และตามแผนคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ในเดือนม.ค. 2561 เพื่อให้การประมูลเกิดขึ้นตามแผนเดือนพ.ค.ปี 2561 และยืนยันว่าการประมูลคลื่นครั้งนี้จะไม่เกิดการเยียวยาอย่างที่ผ่านมาแน่นอน
"สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมเคาะราคาการประมูลนั้น หากเคยทำผิดเงื่อนไขที่กสทช.กำหนด แต่ได้ดำเนินการจ่ายค่าปรับ ไม่ติดค้าง และไม่เคยยื่นฟ้องกสทช. ก็มีโอกาสเข้าร่วมประมูลได้หากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่กำหนด อย่าง บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด หรือ แจส มีโอกาสที่จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ได้ หากยังมีความต้องการใช้คลื่นดังกล่าวอยู่" นายฐากรกล่าว
และว่าการประมูลครั้งนี้คงไม่มีใครกล้าเข้ามาประมูลเพื่อทิ้งใบอนุญาตเหมือนที่ผ่านมา เพราะหากทำผิดเงื่อนไขจะต้องถูกยึดเงินประกันดังกล่าวและต้องจ่ายค่าปรับที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ มีค่าปรับ 5,699 ล้านบาท ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ มีค่าปรับ 5,619 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินค้ำประกันที่จะถูกยึด จะมีจำนวนสูงกว่า 7,000 ล้านบาท
มาจนถึงตอนนี้ กสทช. ดำเนินการไปตามแผนและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ จากนี้รอเพียงความพร้อมของผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาประมูล
สิ่งที่น่าจับตาในการประมูลครั้งนี้ คือการนำราคาสุดท้ายของการประมูลในครั้งก่อนมาเป็นฐานคำนวณราคาตั้งต้นของการประมูลครั้งใหม่ จะส่งผลอย่างไร
เพราะการต่อสู้กันในคราวนั้นราคาขยับไปเยอะจนถึงขั้นแพงมาก ซึ่งหากมองในระยะยาวประเทศไทยจะต้องมีต้นทุนค่าคลื่นโทรคมนาคมที่แพงขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นนั้นหรือ
และจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจโทรคมนาคมไทยหรือไม่
ทางผู้ประกอบการจะดำเนินธุรกิจอย่างไรเมื่อต้นทุนคลื่นมีราคาสูงขึ้น และจะกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่อย่างไร
เพราะในเมื่อค่าต้นทุนสูง แน่นอน ค่าบริการก็ต้องขยับตาม แม้กสทช.จะมีกฎกติกาในการดูแลเรื่องค่าบริการก็ตาม
อีกเรื่องที่น่าจับตา คือบริษัทเดียวที่ยังเหลือคลื่นภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานเดิมคือ"ดีแทค"ซึ่งสัญญาจะหมดลงในปี 2561 ทำให้การประมูลครั้งนี้สำคัญต่อดีแทคมาก เพราะดีแทคไม่ชนะการประมูลใดๆ เลยในรอบก่อนหน้านี้ ทำให้ตอนนี้ดีแทคจึงอยู่ ในภาวะหลังชนฝา และต้องชิงคลื่นมาให้ได้
หากพลาดพลั้งจะดำเนินธุรกิจอย่างไรบนคลื่นที่มีอยู่น้อยนิด หรืออาจต้องถอนตัวจากธุรกิจนี้ไปก็เป็นได้
การประมูลครั้งนี้สำคัญต่อวงการโทร คมนาคมไทยอย่างมาก เพราะอาจจะพลิกโฉมธุรกิจและที่แน่นอนจะเป็นการประมูลครั้งประวัติศาสตร์
เพราะเป็นการปิดฉากระบบสัมปทานของไทยในวงการโทรคมนาคมไปตลอดกาล