AIS เฮดังลั่นห้องประมูล!! เหตุคู่แข่งชนะประมูล900MHz ที่ราคาเกิน 76,000 ล้าน

กระทู้สนทนา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ และ มติชนออนไลน์

สำหรับความคืบหน้าหลังเสร็จสิ้นการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 15-19 ธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดยังคงมีบรรยากาศและความเคลื่อนไหวออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังการประมูลสิ้นสุดลง มีเสียงเฮดังลั่นออกมาจากห้องประมูลของเอไอเอส ทั้งที่ เอไอเอสแพ้นั้น เพราะราคาประมูลที่เอไอเอสเสนอนั้นเกินกว่าจุดที่ประเมินแล้วว่าหากดำเนิน ธุรกิจต่อจะไม่ได้กำไร แต่ยังสู้ราคาอยู่เพราะต้องการดันราคาต้นทุนที่ได้จากราคาประมูลคลื่นของคู่ แข่งให้ขึ้นไปสูงขึ้นก่อนถอนตัว เช่นเดียวกับ ทรู ที่น่าจะใช้กลยุทธ์เดียวกัน หลังใกล้เลยจุดราคาที่ยากต่อการทำธุรกิจต่อ แต่ท้ายสุดเอไอเอสชิงจังหวะออกจากการประมูลได้ก่อนทรู

"จะเห็นได้ว่าการที่เอไอเอสออกจากการประมูลเป็นการออกแบบใช้สิทธิเอ็กซิต (exit) ที่เป็นการกดเพื่อยอมแพ้และถอนตัวออกทันที ทั้งที่เอไอเอสเสนอราคาท้ายสุดที่ 75,967 ล้านบาท สูงกว่าผู้ชนะประมูลอีกราย คือ จัสมิน ที่ชนะในราคา 75,654 ล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าว

"เอไอเอส"จับมือ"ทีโอที"ลุย3จีต่อ

แหล่งข่าวจากบริษัทเอไอเอส กล่าวว่า แม้เอไอเอส ไม่ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่เอไอเอส จะต้องดำเนินธุรกิจต่อไป เชื่อว่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันจำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็นคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ จะมีจำนวนความจุเพียงพอในการรองรับการใช้งาน โดยการให้บริการระบบ 4จี ก็ดำเนินการได้บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนการให้บริการ 3จีปัจจุบัน เอไอเอสยังมีสถานีฐานในเครือข่าย ราว 25,000 แห่ง สามารถให้บริการแก่ลูกค้าที่มีอยู่ 43 ล้านเลขหมายได้อย่างต่อเนื่อง

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ล่าสุด เอไอเอส ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่เสมือน (เอ็มวีเอ็นโอ) จาก กสทช.ใบอนุญาตดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่เอไอเอส และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เจรจาเพื่อเป็นพันธมิตรร่วมให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ระยะดำเนินการ 10 ปี ส่วนแบ่งที่จะให้ทีโอทีคาดอยู่ที่ 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยเอไอเอส จะต้องรับผิดชอบในการวางโครงข่าย ทีโอที 3จี ราว 10,000 สถานีฐาน และต้องดำเนินการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในฐานะ "ตัวแทนขายส่งต่อ" โดยมีสิทธิใช้เนื้อที่ในโครงข่ายราว 80% และอีก 20% ทีโอทีจะเป็นผู้ดำเนินการต่อ

แหล่งข่าวจากบริษัททีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีเลือกเอไอเอส เป็นพันธมิตรทางธุรกิจต่อไปถึงแม้จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 900 เมกะเฮิรตซ์ไปแล้ว แต่คาดจะทำธุรกิจร่วมกับเอไอเอสอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำคลื่นความถี่ที่ทีโอทีมีอยู่มาเปิดให้บริษัทเอกชนใช้งานเพื่อเพิ่ม รายได้ให้ทีโอที นอกจากนี้ จากการที่ จัสมิน ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีการเจรจาระหว่างจัสมินกับทีโอที เพื่อใช้งานโครงข่ายคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ทีโอทีมีอยู่เช่นกัน

--------

เอไอเอส คงใช้กลยุทธ เดียวกับที่ JAS ทำกับ 1800

วันนี้ TRUE JAS แถลงข่าว
พรุ่งนี้ DTAC เตรียมแถลงข่าวต่อ
และมีอะไรที่หักมุม จาก AIS TOT ต้องรอติดตาม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่