คอลัมน์ ดิจิ-เทรนด์ ฟอร์เวิร์ด: ตรวจแถวค่ายมือถือ หลังจบศึก 4จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
โดย : นายมะดัน
การประมูล 4จี ทั้ง 2 คลื่นความถี่ ถือว่าสิ้นสุดแล้ว ทั้งบนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 15 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 10 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต
ส่งผลให้ในเวลานี้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีคลื่นความถี่ที่ถือครองเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. ได้ให้ข้อมูลว่า จำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายควรจะมีเพื่อให้บริการ 4จี ควรอยู่ที่รายละไม่ต่ำกว่า 50 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการดูไฟล์วิดีโอบนเว็บไซต์ หรือแม้แต่การถ่ายทอดสดเรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยโทรศัพท์มือถือตนเองที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ซึ่งค่ายมือถือต้องอาศัยคลื่นอย่างมาก เพื่อรองรับการใช้งานให้ลูกค้าทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้วยความเสถียร
หลังเสร็จสิ้นการประมูล 4จี เราจึงรวบรวมข้อมูลมานำเสนอว่า ค่ายมือถือทั้ง 3 ค่ายใหญ่ในเวลานี้ แต่ละรายมีการถือครองคลื่นเพื่อให้บริการลูกค้าเท่าใดบ้าง เริ่มที่
เอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ไว้ทั้งสิ้น 40 เมกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่เอไอเอสชนะการประมูลมาล่าสุด 10 เมกะเฮิรตซ์ แต่เอไอเอสเองก็เข้าใกล้การได้เช่าใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ อีก 15 เมกะเฮิรตซ์
ดีแทค ถือครองคลื่นความถี่ไว้ทั้งสิ้น 50 เมกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ แต่ดีแทคก็เสี่ยงกับการที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 850 เมกะเฮิรตซ์ จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561
ทรูมูฟเอช ถือครองคลื่นความถี่ 55 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์
ทั้งนี้ การเลือกใช้งานของค่ายใด ต้องขึ้นกับคุณภาพการให้บริการลูกค้า และคุณภาพของโครงข่ายจำนวนเสาด้วยเช่นกัน เพราะนับว่าจำนวนคลื่นในเวลานี้เรียกได้ว่าสูสีสุดสุด
แหล่งข่าว
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 6)
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
คอลัมน์ ดิจิ-เทรนด์ ฟอร์เวิร์ด: ตรวจแถวค่ายมือถือ หลังจบศึก 4จี
คอลัมน์ ดิจิ-เทรนด์ ฟอร์เวิร์ด: ตรวจแถวค่ายมือถือ หลังจบศึก 4จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
โดย : นายมะดัน
การประมูล 4จี ทั้ง 2 คลื่นความถี่ ถือว่าสิ้นสุดแล้ว ทั้งบนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 15 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 10 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต
ส่งผลให้ในเวลานี้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีคลื่นความถี่ที่ถือครองเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. ได้ให้ข้อมูลว่า จำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายควรจะมีเพื่อให้บริการ 4จี ควรอยู่ที่รายละไม่ต่ำกว่า 50 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการดูไฟล์วิดีโอบนเว็บไซต์ หรือแม้แต่การถ่ายทอดสดเรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยโทรศัพท์มือถือตนเองที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ซึ่งค่ายมือถือต้องอาศัยคลื่นอย่างมาก เพื่อรองรับการใช้งานให้ลูกค้าทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้วยความเสถียร
หลังเสร็จสิ้นการประมูล 4จี เราจึงรวบรวมข้อมูลมานำเสนอว่า ค่ายมือถือทั้ง 3 ค่ายใหญ่ในเวลานี้ แต่ละรายมีการถือครองคลื่นเพื่อให้บริการลูกค้าเท่าใดบ้าง เริ่มที่
เอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ไว้ทั้งสิ้น 40 เมกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่เอไอเอสชนะการประมูลมาล่าสุด 10 เมกะเฮิรตซ์ แต่เอไอเอสเองก็เข้าใกล้การได้เช่าใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ อีก 15 เมกะเฮิรตซ์
ดีแทค ถือครองคลื่นความถี่ไว้ทั้งสิ้น 50 เมกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ แต่ดีแทคก็เสี่ยงกับการที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 850 เมกะเฮิรตซ์ จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561
ทรูมูฟเอช ถือครองคลื่นความถี่ 55 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์
ทั้งนี้ การเลือกใช้งานของค่ายใด ต้องขึ้นกับคุณภาพการให้บริการลูกค้า และคุณภาพของโครงข่ายจำนวนเสาด้วยเช่นกัน เพราะนับว่าจำนวนคลื่นในเวลานี้เรียกได้ว่าสูสีสุดสุด
แหล่งข่าว
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 6)
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต