สัมภาษณ์พิเศษ: เปิดใจ 'ซีอีโอ อินทัช' 'จะลงทุนเพิ่มต้องมองว่าคุ้มค่า'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ถอดรหัสความคิดเบื้องหลังการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หลัง บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น บริษัทในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ต้องพ่ายการประมูลคลื่นดังกล่าว ให้กับคู่แข่งหน้าใหม่ในสังเวียนมือถืออย่าง บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด และผู้เล่นเก๋าเกมอย่างบริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด สองผู้ชนะการประมูลใน 2 ใบอนุญาตในคลื่นความถี่ดังกล่าว
ส่งผลให้ "เบอร์1" ในธุรกิจมือถืออย่างเอไอเอส ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 40.45% ถูกตั้งคำถามถึงการรักษาแชมป์ จากข้อกังวลว่า "คลื่นความถี่" ที่เหลืออยู่จะไม่เพียงพอที่จะให้บริการในอนาคต โดยเฉพาะคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของ เอไอเอส ที่หมดอายุสัมปทานลงในปีนี้
การเกิดผู้เล่นหน้าใหม่ ยังจะกลายเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่อาจสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในปีหน้า ที่คาดกันว่าจะแข่งขันกัน "ดุเดือด" เพื่อชิงลูกค้า
ในเรื่องนี้ "สมประสงค์ บุญยะชัย" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดใจกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ก่อนจะอำลาเก้าอี้ ประธานกรรมการบริหาร อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธ.ค. 2558 นี้
โดยเขาเปรียบเปรยว่า การประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ว่า เหมือนเหรียญสองด้าน มีหัวและก้อย
"หัวก็คือ การได้คลื่นมาก่อให้เกิดการออกแบบเครือข่าย การสร้างความยืดหยุ่นในระบบการให้บริการ แต่ด้านก้อยก็คือ ต้องเสียเงิน ค่าประมูลซึ่งไม่น้อย"
โดยเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า สาเหตุที่ตัดสินใจไม่ประมูลต่อเมื่อราคาขึ้นไปใกล้ 7.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคา พบว่า มูลค่าดังกล่าวเป็นราคาที่ "ไม่เหมาะสม" ทางธุรกิจและไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น โดยการตัดสินใจ ดังกล่าวเป็นไปอย่างรอบคอบและได้คำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันในอนาคต
สมประสงค์ ยังระบุว่า เมื่อใดก็ตามที่ด้านก้อย ใหญ่กว่าด้านหัว ในแง่ของการทำธุรกิจ ก็ "ไม่มีความจำเป็น" ที่จะต้องดึงดันเพื่อให้ได้คลื่นมา
"
มองอีกมุมหนึ่ง เมื่อเราไม่ได้คลื่น 900 มา ก็แปลว่า เราไม่ได้จ่ายเงินประมูลออกไป 75,900 ล้านบาท เงินก้อนนี้ยังนอนอยู่ในกระเป๋า เราสามารถเอาไปลงทุนขยายเครือข่าย เพื่อดูแล ผู้บริโภค แน่นอนว่าเราไม่มีคลื่นความถี่ในย่านนี้ แต่ว่าเราสามารถมาบริหารจัดการในคลื่นที่เรามี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเราอาจจะต้องใช้ อุปกรณ์ส่งสัญญาณมากขึ้น"
คำให้สัมภาษณ์ของสมประสงค์ ยังสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้บริหารเอไอเอส บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า แม้จะไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ยังคงมีทรัพยากรความถี่ ที่เพียงพอในการให้พัฒนาเครือข่ายให้มีคุณภาพ ทั้งความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยยังมีอายุการใช้งานไปอีก 12 ปี รวมถึงคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการ 4 จี ภายในเดือนม.ค.ปีหน้า โดยมีอายุการใช้งาน 18 ปี รวมถึงยังมีความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการนำคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ เข้ามาร่วมให้บริการ
สมประสงค์ ยังระบุว่า สำหรับเขาการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจของคณะทำงาน ที่มีหนทางปฏิบัติ และเป็นการพิจารณาถึง "ทางเลือก" ในการปฏิบัติเท่านั้น โดยมองความคุ้มค่า ในการลงทุนเป็นหลักว่า อันไหนจะคุ้มค่าและประหยัดมากกว่า
"ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ดีด้านเดียว และไม่มีเสีย เราต้องรู้จักมองให้ออก ตัดดีกับเสียออกไป มองการลงทุนและการรีเทิร์น (ผลตอบแทนการลงทุน) ด้วยบริบทขององค์กร และโดยสภาวะเงื่อนไขที่เรามีอยู่"
ช่วงเวลา 88 ชั่วโมงของการประมูล อันยาวเหยียด สมประสงค์คือหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่เข้าไปเคาะประมูลในห้องประมูลที่กสทช.(สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จัดไว้ให้
โดยเจ้าตัวเผยว่า ได้นอนเพียงวันละ 3 ชั่วโมง และชั่วโมงที่นอนไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือเป็นภารกิจ last mission (พันธกิจสุดท้าย) ที่เขาตั้งใจทำเต็มที่เพื่อบริษัท เป็นเกียรติประวัติการทำงานก่อนอำลาตำแหน่ง
"
ผมโอเคแล้ว ผมมีความสุขมากหลังการประมูลคลื่น 900 เสร็จสิ้น จากการที่ได้มองเห็นว่า องค์กรเกิดรากฐานที่มั่นคงให้กับคนรุ่นต่อไป ในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งสูงสุดที่กลุ่มอินทัชมา 8 ปีครึ่ง ที่ผ่านมาทั้งเครือผ่านสถานการณ์ยากลำบากมาหลายครั้ง แต่ด้วยความจริงใจในการทำธุรกิจ และการตั้งมั่นในหลักการธรรมาภิบาล ทำให้สามารถผ่านพ้นหลายวิกฤตการณ์มาได้"
สมประสงค์ บอกด้วยว่า หลังการประมูลเสร็จสิ้น สิ่งที่เขาอยากทำมากที่สุดคือ "กลับบ้าน" และไม่ใช่การกลับบ้านเพื่อไปนอน แต่ไปบอกเล่าให้ทีมงานและคนใกล้ชิดฟังถึง สาเหตุที่ตัดสินใจ "หยุดการประมูล"
"อยากไปอธิบายว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจ แบบนี้ เพราะเราทำด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้ทำอะไร ด้วยความรักชอบเกลียดชัง"
สมประสงค์ ขยายความว่า ปรัชญาธุรกิจของกลุ่มอินทัช จะมุ่งเน้น "จุดพอดี" ตามหลักวิศวกรรม มองจุดที่ไปถึง จุดที่ได้มา และ ทำประโยชน์ให้เกิดสูงสุด ถ้าเลยจาก "จุดตัด" ที่พอดี ก็จะมองหาวิธีการอื่นๆ ในการทำ ประโยชน์ให้ได้เช่นเดียวกัน โดยยึดหลักวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และธรรมาภิบาลควบคู่กันไป
"ถ้าเราใส่เงินลงไป เราคิดจะลงทุนเพิ่ม ต้องมองว่าได้ผลคุ้มค่าไหม ผู้บริโภค และ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ต้องได้รับประโยชน์จริงๆ ดูผลที่ตกกับผู้บริโภค คุณภาพและการให้บริการ เวลาพูดอะไรก็ต้องรักษาคำพูด ไม่ว่าทำอะไรทุกอย่างล้วนมีทางเลือก แต่ต้องเอาปัญญาและเหตุผลนำ ถ้าแยกแยะได้ ทุกอย่าง จะตั้งอยู่บนความมีเหตุมีผล"
เขายังบอกว่า ปรัชญาทางธุรกิจจะนำมาสู่ทัศนคติ แนวคิด และนำมาสู่การปฏิบัติ ถ้าขึ้นต้นด้วยทัศนคติที่ผิด จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ ซื้องานศิลปะ หรือการประมูลคลื่นความถี่
"
แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน มีมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดข้อตกลงใจ ที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้เราเคยประมูลทีวีดิจิทัลหลักพันล้าน การผิดพลาดเพียง 200 ล้านถือเป็นเรื่องใหญ่ กรณีประมูล 900 ห่างกัน เป็นพันล้าน ก็ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า"
หลักการบริหารจัดการที่ดีที่สุดที่กลุ่ม อินทัชยึดถือปฏิบัติ จะยืนอยู่บนความสมดุล ตั้งเป้าหมายการบริหารงานว่าทำเพื่ออะไร เพื่อให้องค์กรเจริญเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว
ก่อนหน้านี้ เขายังได้รับรางวัล the best CEO สองปีซ้อนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นการปิดชีวิตการทำงานของผู้บริหารแบบเต็มเวลาอย่างสมบูรณ์แบบใน วันสิ้นปีนี้
ถึงแม้บริษัทจะไฟเขียวให้เขาต่ออายุการทำงานออกไปอีก แต่ความตั้งใจจริงของเขาต้องการหยุดชีวิตซีอีโอฟูลไทม์ในวัย 60 อย่างจริงจัง และใช้เวลาที่เหลือส่วนใหญ่หมดไปกับการทำชีวิตให้มีประโยชน์ต่อสังคมและผู้คนรอบข้าง
"
ผมอยากหยุดการทำงานตามเกษียณอย่างเป็นทางการ ถือเป็นการปลดประจำการอย่างมีเกียรติยศ"
โดยหลังจากนี้ เขายังคงรับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร board of director กลุ่มอินทัช
เหรียญมี 2 ด้าน หัว คือ ได้คลื่นมาเพิ่มก้อย คือ ต้องเสียเงิน ค่าประมูลไม่น้อย
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
สัมภาษณ์พิเศษ: เปิดใจ 'ซีอีโอ อินทัช' 'จะลงทุนเพิ่มต้องมองว่าคุ้มค่า'
สัมภาษณ์พิเศษ: เปิดใจ 'ซีอีโอ อินทัช' 'จะลงทุนเพิ่มต้องมองว่าคุ้มค่า'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ถอดรหัสความคิดเบื้องหลังการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หลัง บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น บริษัทในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ต้องพ่ายการประมูลคลื่นดังกล่าว ให้กับคู่แข่งหน้าใหม่ในสังเวียนมือถืออย่าง บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด และผู้เล่นเก๋าเกมอย่างบริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด สองผู้ชนะการประมูลใน 2 ใบอนุญาตในคลื่นความถี่ดังกล่าว
ส่งผลให้ "เบอร์1" ในธุรกิจมือถืออย่างเอไอเอส ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 40.45% ถูกตั้งคำถามถึงการรักษาแชมป์ จากข้อกังวลว่า "คลื่นความถี่" ที่เหลืออยู่จะไม่เพียงพอที่จะให้บริการในอนาคต โดยเฉพาะคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของ เอไอเอส ที่หมดอายุสัมปทานลงในปีนี้
การเกิดผู้เล่นหน้าใหม่ ยังจะกลายเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่อาจสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในปีหน้า ที่คาดกันว่าจะแข่งขันกัน "ดุเดือด" เพื่อชิงลูกค้า
ในเรื่องนี้ "สมประสงค์ บุญยะชัย" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดใจกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ก่อนจะอำลาเก้าอี้ ประธานกรรมการบริหาร อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธ.ค. 2558 นี้
โดยเขาเปรียบเปรยว่า การประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ว่า เหมือนเหรียญสองด้าน มีหัวและก้อย
"หัวก็คือ การได้คลื่นมาก่อให้เกิดการออกแบบเครือข่าย การสร้างความยืดหยุ่นในระบบการให้บริการ แต่ด้านก้อยก็คือ ต้องเสียเงิน ค่าประมูลซึ่งไม่น้อย"
โดยเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า สาเหตุที่ตัดสินใจไม่ประมูลต่อเมื่อราคาขึ้นไปใกล้ 7.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคา พบว่า มูลค่าดังกล่าวเป็นราคาที่ "ไม่เหมาะสม" ทางธุรกิจและไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น โดยการตัดสินใจ ดังกล่าวเป็นไปอย่างรอบคอบและได้คำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันในอนาคต
สมประสงค์ ยังระบุว่า เมื่อใดก็ตามที่ด้านก้อย ใหญ่กว่าด้านหัว ในแง่ของการทำธุรกิจ ก็ "ไม่มีความจำเป็น" ที่จะต้องดึงดันเพื่อให้ได้คลื่นมา
"มองอีกมุมหนึ่ง เมื่อเราไม่ได้คลื่น 900 มา ก็แปลว่า เราไม่ได้จ่ายเงินประมูลออกไป 75,900 ล้านบาท เงินก้อนนี้ยังนอนอยู่ในกระเป๋า เราสามารถเอาไปลงทุนขยายเครือข่าย เพื่อดูแล ผู้บริโภค แน่นอนว่าเราไม่มีคลื่นความถี่ในย่านนี้ แต่ว่าเราสามารถมาบริหารจัดการในคลื่นที่เรามี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเราอาจจะต้องใช้ อุปกรณ์ส่งสัญญาณมากขึ้น"
คำให้สัมภาษณ์ของสมประสงค์ ยังสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้บริหารเอไอเอส บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า แม้จะไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ยังคงมีทรัพยากรความถี่ ที่เพียงพอในการให้พัฒนาเครือข่ายให้มีคุณภาพ ทั้งความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยยังมีอายุการใช้งานไปอีก 12 ปี รวมถึงคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการ 4 จี ภายในเดือนม.ค.ปีหน้า โดยมีอายุการใช้งาน 18 ปี รวมถึงยังมีความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการนำคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ เข้ามาร่วมให้บริการ
สมประสงค์ ยังระบุว่า สำหรับเขาการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจของคณะทำงาน ที่มีหนทางปฏิบัติ และเป็นการพิจารณาถึง "ทางเลือก" ในการปฏิบัติเท่านั้น โดยมองความคุ้มค่า ในการลงทุนเป็นหลักว่า อันไหนจะคุ้มค่าและประหยัดมากกว่า
"ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ดีด้านเดียว และไม่มีเสีย เราต้องรู้จักมองให้ออก ตัดดีกับเสียออกไป มองการลงทุนและการรีเทิร์น (ผลตอบแทนการลงทุน) ด้วยบริบทขององค์กร และโดยสภาวะเงื่อนไขที่เรามีอยู่"
ช่วงเวลา 88 ชั่วโมงของการประมูล อันยาวเหยียด สมประสงค์คือหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่เข้าไปเคาะประมูลในห้องประมูลที่กสทช.(สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จัดไว้ให้
โดยเจ้าตัวเผยว่า ได้นอนเพียงวันละ 3 ชั่วโมง และชั่วโมงที่นอนไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือเป็นภารกิจ last mission (พันธกิจสุดท้าย) ที่เขาตั้งใจทำเต็มที่เพื่อบริษัท เป็นเกียรติประวัติการทำงานก่อนอำลาตำแหน่ง
"ผมโอเคแล้ว ผมมีความสุขมากหลังการประมูลคลื่น 900 เสร็จสิ้น จากการที่ได้มองเห็นว่า องค์กรเกิดรากฐานที่มั่นคงให้กับคนรุ่นต่อไป ในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งสูงสุดที่กลุ่มอินทัชมา 8 ปีครึ่ง ที่ผ่านมาทั้งเครือผ่านสถานการณ์ยากลำบากมาหลายครั้ง แต่ด้วยความจริงใจในการทำธุรกิจ และการตั้งมั่นในหลักการธรรมาภิบาล ทำให้สามารถผ่านพ้นหลายวิกฤตการณ์มาได้"
สมประสงค์ บอกด้วยว่า หลังการประมูลเสร็จสิ้น สิ่งที่เขาอยากทำมากที่สุดคือ "กลับบ้าน" และไม่ใช่การกลับบ้านเพื่อไปนอน แต่ไปบอกเล่าให้ทีมงานและคนใกล้ชิดฟังถึง สาเหตุที่ตัดสินใจ "หยุดการประมูล"
"อยากไปอธิบายว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจ แบบนี้ เพราะเราทำด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้ทำอะไร ด้วยความรักชอบเกลียดชัง"
สมประสงค์ ขยายความว่า ปรัชญาธุรกิจของกลุ่มอินทัช จะมุ่งเน้น "จุดพอดี" ตามหลักวิศวกรรม มองจุดที่ไปถึง จุดที่ได้มา และ ทำประโยชน์ให้เกิดสูงสุด ถ้าเลยจาก "จุดตัด" ที่พอดี ก็จะมองหาวิธีการอื่นๆ ในการทำ ประโยชน์ให้ได้เช่นเดียวกัน โดยยึดหลักวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และธรรมาภิบาลควบคู่กันไป
"ถ้าเราใส่เงินลงไป เราคิดจะลงทุนเพิ่ม ต้องมองว่าได้ผลคุ้มค่าไหม ผู้บริโภค และ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ต้องได้รับประโยชน์จริงๆ ดูผลที่ตกกับผู้บริโภค คุณภาพและการให้บริการ เวลาพูดอะไรก็ต้องรักษาคำพูด ไม่ว่าทำอะไรทุกอย่างล้วนมีทางเลือก แต่ต้องเอาปัญญาและเหตุผลนำ ถ้าแยกแยะได้ ทุกอย่าง จะตั้งอยู่บนความมีเหตุมีผล"
เขายังบอกว่า ปรัชญาทางธุรกิจจะนำมาสู่ทัศนคติ แนวคิด และนำมาสู่การปฏิบัติ ถ้าขึ้นต้นด้วยทัศนคติที่ผิด จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ ซื้องานศิลปะ หรือการประมูลคลื่นความถี่
"แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน มีมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดข้อตกลงใจ ที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้เราเคยประมูลทีวีดิจิทัลหลักพันล้าน การผิดพลาดเพียง 200 ล้านถือเป็นเรื่องใหญ่ กรณีประมูล 900 ห่างกัน เป็นพันล้าน ก็ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า"
หลักการบริหารจัดการที่ดีที่สุดที่กลุ่ม อินทัชยึดถือปฏิบัติ จะยืนอยู่บนความสมดุล ตั้งเป้าหมายการบริหารงานว่าทำเพื่ออะไร เพื่อให้องค์กรเจริญเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว
ก่อนหน้านี้ เขายังได้รับรางวัล the best CEO สองปีซ้อนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นการปิดชีวิตการทำงานของผู้บริหารแบบเต็มเวลาอย่างสมบูรณ์แบบใน วันสิ้นปีนี้
ถึงแม้บริษัทจะไฟเขียวให้เขาต่ออายุการทำงานออกไปอีก แต่ความตั้งใจจริงของเขาต้องการหยุดชีวิตซีอีโอฟูลไทม์ในวัย 60 อย่างจริงจัง และใช้เวลาที่เหลือส่วนใหญ่หมดไปกับการทำชีวิตให้มีประโยชน์ต่อสังคมและผู้คนรอบข้าง
"ผมอยากหยุดการทำงานตามเกษียณอย่างเป็นทางการ ถือเป็นการปลดประจำการอย่างมีเกียรติยศ"
โดยหลังจากนี้ เขายังคงรับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร board of director กลุ่มอินทัช
เหรียญมี 2 ด้าน หัว คือ ได้คลื่นมาเพิ่มก้อย คือ ต้องเสียเงิน ค่าประมูลไม่น้อย
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558