'เอไอเอส' ลั่นกลองรบลุย 4จี พร้อมประมูลทุกคลื่นความถี่ อินทัชโชว์ตัวเลขให้ผู้ลงทุนมั่นใจ

กระทู้ข่าว

'เอไอเอส' ลั่นกลองรบลุย 4จี พร้อมประมูลทุกคลื่นความถี่ อินทัชโชว์ตัวเลขให้ผู้ลงทุนมั่นใจ
มติชน ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

          น.ส.ทมยันตี คงพูลศิลป์ รองกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานการลงทุนสัมพันธ์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงาน อินทัช Opportunity Day ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ว่าปี 2558 อินทัชและบริษัทในกลุ่มยังเติบโตต่อเนื่องแม้จะเป็นปีที่ไทยมีปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยอินทัชมีรายได้ 16,078 ล้านบาท หรือคิดเป็นโต 8.9% รายได้หลักมาจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส คิดเป็น 98.5%

          น.ส.นัฐิยา พัวพงศกร ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า ปี 2558 เอไอเอสมีกำไรสุทธิ 39,000 ล้านบาท เติบโต 8.7% ส่วนปีนี้คาดว่าอัตราเติบโตของรายได้อาจลดลงเล็กน้อย ปัจจัยหลักมาจากการยกเลิกการให้บริการระบบ 2จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนภาพรวมในการแข่งขันการให้บริการ 4จีนั้น เอไอเอสเชื่อว่าบริการที่มีอยู่ทั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบน 4จี ดิจิตอลคอนเทนต์ต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่น เอไอเอสเพลย์ กล่องไอพีทีวี และเอไอเอสเพลย์บ๊อกซ์จะช่วยสนับสนุนการเติบโตในภาพรวมได้

          น.ส.นัฐิยากล่าวว่า กรณีเอไอเอสไม่สามารถชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น เอไอเอสยังมีคลื่นความถี่อื่นที่ยังให้บริการได้อีก 3 ปี และยังทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รวมถึงมีแผนประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561 คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีแผนขอคืนจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และทีโอที เพื่อนำมาจัดประมูล

          นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปี 2558 ไทยคมมีกำไร 2,122 ล้านบาท เติบโต 33% ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 23 ปี ที่สามารถมีกำไรเกินกว่า 2,000 ล้านบาท สาเหตุหลักคือช่องรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีมากขึ้น รวมถึงช่องรายการแบบความคมชัดสูง (เอชดี) และดาวเทียมไทยคม7 เปลี่ยนระบบสัญญาสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาต ส่งผลให้ส่วนแบ่งรายได้ที่เคยเสียให้เจ้าของสัมปทาน 20% ลดลง เหลือ 5%

แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 6)
ข่าวอื่นๆ
แอดวานซ์อีบิทด้าวูบฉุดกำไรกลุ่ม 'อินทัช' มูลค่าหาย 1.3หมื่นล้าน-อัตราส่วนต่ำสุดรอบ 9ปี
http://ppantip.com/topic/34844041
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่