เอไอเอสบวกแรงวันเดียวพุ่ง13บ. โบรกคาดรับข่าวประมูล4จีรายเดียวแม้ผู้บริหารยังกั๊กร่วมไม่ร่วมประมูล
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
หุ้นเอไอเอสบวกแรงรับข่าวประมูลคลื่น 900 รายเดียวแม้ผู้บริหารยังกั๊กร่วมไม่ร่วม ด้านโบรกเกอร์คาดแม้ต้นทุนแพงแต่ฐานลูกค้าเยอะลดความเสี่ยงได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารปรับเพิ่มขึ้นแรงกว่าตลาด หลังจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ทำให้ราคาหุ้นโดยเฉพาะบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอสปรับเพิ่มแรงจนมีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของวันราคาหุ้นที่ปิดที่ 159.50 บาท เพิ่มขึ้น 13บาท หรือ 8.87% ตามด้วยบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ปิดที่ 33 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท หรือ 4.76% และทรู ปิดที่ 7.40 บาท เพิ่มขึ้น0.05 บาท หรือ 0.68%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สาเหตุที่ราคาหุ้นเอไอเอสเพิ่มขึ้นแรง เพราะตลาดมั่นใจ 100% ว่า เอไอเอสจะเป็นบริษัทเดียวที่เข้าประมูล
คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จึงไม่มีการแข่งขันด้านราคาของใบอนุญาต ทางฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่าหากต้นทุนใบอนุญาตยังอยู่ที่ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท จะทำให้กำไรปี 2559 ของเอไอเอสลดลง 14% จากปีที่แล้วหรือทำได้ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท และยังเป็นหุ้นที่น่าสนใจที่สุดของกลุ่มเพราะแม้ต้นทุนใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์สูงซึ่งฐานลูกค้าจำนวนมากจะช่วยลดปัญหานี้ได้ แต่อัตราการจ่ายปันผลจะลดลงมาเหลือ 80% ของกำไรสุทธิจากเดิมที่อยู่ที่ 100% ด้านทรูที่มีฐานลูกค้าต่ำกว่าในปี 2559 จึงคาดว่าทรูจะมีผลประกอบการขาดทุน 6,000 ล้านบาท ลดลง 240% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 4,400 ล้านบาท ขณะที่ดีเทคปี 2559 จะมีกำไรที่ 3,600 ล้านบาทลดลง 38-39% จากปีก่อนหน้า
น.ส.ทมยันตี คงพูลศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดราคาหุ้นบริษัท และ เอไอเอส ปรับเพิ่มขึ้นแรง และไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าในวันที่ 18 พฤษภาคม เอไอเอสจะเข้ายื่นซองประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือไม่เพราะผิดกฎ แต่หากเข้ายื่นประมูลจริงเชื่อว่าจะมีการให้ข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เบื้องต้นบริษัทยังยืนยันจ่ายปันผลในระดับ 100% เท่าเดิม ทั้งนี้ ยืนยันว่าบริษัทและบริษัทในกลุ่มมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้จากการขายและการให้บริการจะเติบโต 3-5% จากปี 2558 โดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จะเติบโต 4-5% ขณะที่เอไอเอสคาดว่าจะมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2558 โดยใช้เงินลงทุนปกติที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่วนเงินลงทุนในธุรกิจร่วมลงทุนของบริษัทปี 2559 ยังตั้งไว้ที่ 200 ล้านบาท
นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคมฯ กล่าวว่า จะประเมินรายได้ในปี 2559 อีกครั้งในช่วงไตรมาส 2/2559 จากเดิมที่คาดว่ารายได้จะโต 5-6% จากปี 2558 ที่ทำได้ 13,136.40 ล้านบาท เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลมีการแข่งขันที่รุนแรง เศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อผลประกอบการลูกค้า แต่ยังประเมินว่ากำไรสุทธิจะเติบโตและทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ทำได้ 2,122.15 ล้านบาท หลังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 9)
เอไอเอสบวกแรงวันเดียวพุ่ง13บ. โบรกคาดรับข่าวประมูล4จีรายเดียวแม้ผู้บริหารยังกั๊กร่วมไม่ร่วมประมูล
เอไอเอสบวกแรงวันเดียวพุ่ง13บ. โบรกคาดรับข่าวประมูล4จีรายเดียวแม้ผู้บริหารยังกั๊กร่วมไม่ร่วมประมูล
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
หุ้นเอไอเอสบวกแรงรับข่าวประมูลคลื่น 900 รายเดียวแม้ผู้บริหารยังกั๊กร่วมไม่ร่วม ด้านโบรกเกอร์คาดแม้ต้นทุนแพงแต่ฐานลูกค้าเยอะลดความเสี่ยงได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารปรับเพิ่มขึ้นแรงกว่าตลาด หลังจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ทำให้ราคาหุ้นโดยเฉพาะบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอสปรับเพิ่มแรงจนมีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของวันราคาหุ้นที่ปิดที่ 159.50 บาท เพิ่มขึ้น 13บาท หรือ 8.87% ตามด้วยบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ปิดที่ 33 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท หรือ 4.76% และทรู ปิดที่ 7.40 บาท เพิ่มขึ้น0.05 บาท หรือ 0.68%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สาเหตุที่ราคาหุ้นเอไอเอสเพิ่มขึ้นแรง เพราะตลาดมั่นใจ 100% ว่า เอไอเอสจะเป็นบริษัทเดียวที่เข้าประมูล
คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จึงไม่มีการแข่งขันด้านราคาของใบอนุญาต ทางฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่าหากต้นทุนใบอนุญาตยังอยู่ที่ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท จะทำให้กำไรปี 2559 ของเอไอเอสลดลง 14% จากปีที่แล้วหรือทำได้ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท และยังเป็นหุ้นที่น่าสนใจที่สุดของกลุ่มเพราะแม้ต้นทุนใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์สูงซึ่งฐานลูกค้าจำนวนมากจะช่วยลดปัญหานี้ได้ แต่อัตราการจ่ายปันผลจะลดลงมาเหลือ 80% ของกำไรสุทธิจากเดิมที่อยู่ที่ 100% ด้านทรูที่มีฐานลูกค้าต่ำกว่าในปี 2559 จึงคาดว่าทรูจะมีผลประกอบการขาดทุน 6,000 ล้านบาท ลดลง 240% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 4,400 ล้านบาท ขณะที่ดีเทคปี 2559 จะมีกำไรที่ 3,600 ล้านบาทลดลง 38-39% จากปีก่อนหน้า
น.ส.ทมยันตี คงพูลศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดราคาหุ้นบริษัท และ เอไอเอส ปรับเพิ่มขึ้นแรง และไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าในวันที่ 18 พฤษภาคม เอไอเอสจะเข้ายื่นซองประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือไม่เพราะผิดกฎ แต่หากเข้ายื่นประมูลจริงเชื่อว่าจะมีการให้ข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เบื้องต้นบริษัทยังยืนยันจ่ายปันผลในระดับ 100% เท่าเดิม ทั้งนี้ ยืนยันว่าบริษัทและบริษัทในกลุ่มมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้จากการขายและการให้บริการจะเติบโต 3-5% จากปี 2558 โดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จะเติบโต 4-5% ขณะที่เอไอเอสคาดว่าจะมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2558 โดยใช้เงินลงทุนปกติที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่วนเงินลงทุนในธุรกิจร่วมลงทุนของบริษัทปี 2559 ยังตั้งไว้ที่ 200 ล้านบาท
นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคมฯ กล่าวว่า จะประเมินรายได้ในปี 2559 อีกครั้งในช่วงไตรมาส 2/2559 จากเดิมที่คาดว่ารายได้จะโต 5-6% จากปี 2558 ที่ทำได้ 13,136.40 ล้านบาท เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลมีการแข่งขันที่รุนแรง เศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อผลประกอบการลูกค้า แต่ยังประเมินว่ากำไรสุทธิจะเติบโตและทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ทำได้ 2,122.15 ล้านบาท หลังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 9)