กสทช.ยื่นให้ 'คสช.' แผนประมูล 4จี ใหม่แก้กติกาให้ 'ทรู' ร่วม
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
นักวิชาการหนุนให้เปิดประมูล 4จี คลื่น 900 เหมาะสมและโปร่งใส หวั่นเปลี่ยน รบ.ใหม่ มีปัญหาแน่นอน เผยเอไอเอสที่แสดงตัวอยากนำไปใช้งานจริง อาจถูกคู่แข่งปั่นราคาประมูลสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 9 เมษายน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกรณีที่ประชุมเรื่องการจัดสรรใบอนุญาต 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีนายวิษณุ เครืองาม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติในการใช้ มาตรา 44 แห่ง รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ช่วยลดขั้นตอนการประมูลให้เร็วขึ้น 1 เดือน และ กสทช. กำหนดจัดการประมูลเป็นวันที่ 22 พฤษภาคม ว่า ล่าสุด กสทช.ได้จัดทำแผนระยะเวลาการจัดการประมูลรอบใหม่ส่งไปให้ยังนายวิษณุ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิ ระยะเวลาการเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามารับเอกสารขอเข้าประมูล การยื่นซองเอกสารเข้าประมูล การรับรองคุณสมบัติผู้เข้าประมูล และวันประมูล ทั้งนี้ กำหนดการเบื้องต้นยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ จนกว่า คสช.จะเห็นชอบและมีการประกาศให้การประมูลเร็วขึ้นออกมาเสียก่อน คาดว่าประกาศ คสช.จะออกภายในช่วงวันที่ 10-11 เมษายนนี้
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่ ที่มีการขอให้ คสช.เปลี่ยนแปลงจากมติเดิมของบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ห้ามไม่ให้ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าประมูล เป็นการให้ทรูเข้าประมูลนั้น ทาง กสทช.ประเมินแล้วว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นการช่วยบีบให้ผู้ประกอบการรายอื่น อาทิ กลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และ กลุ่มบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ต้องมีการแข่งขันด้านราคาให้สูงกว่าราคาตั้งต้นการประมูลที่ 75,654 ล้านบาท เบื้องต้น กสทช.ประเมินว่าจะมีการแข่งขันราคาให้สูงขึ้นแต่คงไม่มาก
"ยอมรับว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกติกาที่ไม่ให้ทรูเข้าประมูล ทางทรูจะดำเนินการฟ้องร้องการประมูลครั้งนี้แน่นอน กสทช.ขอรับรองว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 75,654 ล้านบาท จะเป็นการรักษาประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนทุกคนได้อย่างแน่นอน" นายก่อกิจกล่าว
ด้านนายสืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และนักวิจัย ด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เกิดขึ้นดังเดิม แม้ก่อนหน้านี้มีการพิจารณาการใช้มาตรา 44 ในการยกสิทธิให้ เอไอเอส สามารถรับซื้อใบอนุญาตในราคาที่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ชนะการประมูลไปที่ราคา 75,654 ล้านบาทก็ตาม แต่เนื่องจากการที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดสรรใบอนุญาตควรดำเนินการด้วยวิธีการจัดการประมูลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้มีการใช้มาตรา 44 และไม่มีปัญหาในยุคนี้ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้น การจัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูลจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมและโปร่งใสมากที่สุด การประมูลใบอนุญาตรอบใหม่ที่จะเร็วขึ้นกว่าเดิม 1 เดือนเชื่อว่าจะไม่มีผลอะไร
นายสืบศักดิ์กล่าวต่อว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบสนใจเพียง 3 ราย คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู แต่ที่น่าจับตา คือ ในจำนวนดังกล่าว มีเพียงเอไอเอส เพียงรายเดียวที่แสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ไปใช้งานจริง จากการที่ยื่นหนังสือร้องขอให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ตนเองก่อนการประมูลด้วยกฎหมายพิเศษ ดังนั้น ในการประมูลมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเห็นคู่แข่งใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจปั่นราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการให้คู่แข่งในอุตสาหกรรมมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่สะดวกต่อการทำธุรกิจมากกว่าตนเอง
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 5)
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
กสทช. ให้ข้อมูลศาลจันทร์หน้าปัญหา 'ซิมดับ'
http://ppantip.com/topic/35020248
"สตง." เปิดศึก "กสทช." เตือนอย่าทำผิดกฎหมาย อุ้มลูกค้า 2 จี"ค่ายเอไอเอส" ย้ำต้องปล่อยซิมดับ 14 เม.ย.
http://ppantip.com/topic/35020230
กสทช.ยื่นให้ 'คสช.' แผนประมูล 4จี ใหม่แก้กติกาให้ 'ทรู' ร่วม
กสทช.ยื่นให้ 'คสช.' แผนประมูล 4จี ใหม่แก้กติกาให้ 'ทรู' ร่วม
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
นักวิชาการหนุนให้เปิดประมูล 4จี คลื่น 900 เหมาะสมและโปร่งใส หวั่นเปลี่ยน รบ.ใหม่ มีปัญหาแน่นอน เผยเอไอเอสที่แสดงตัวอยากนำไปใช้งานจริง อาจถูกคู่แข่งปั่นราคาประมูลสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 9 เมษายน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกรณีที่ประชุมเรื่องการจัดสรรใบอนุญาต 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีนายวิษณุ เครืองาม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติในการใช้ มาตรา 44 แห่ง รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ช่วยลดขั้นตอนการประมูลให้เร็วขึ้น 1 เดือน และ กสทช. กำหนดจัดการประมูลเป็นวันที่ 22 พฤษภาคม ว่า ล่าสุด กสทช.ได้จัดทำแผนระยะเวลาการจัดการประมูลรอบใหม่ส่งไปให้ยังนายวิษณุ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิ ระยะเวลาการเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามารับเอกสารขอเข้าประมูล การยื่นซองเอกสารเข้าประมูล การรับรองคุณสมบัติผู้เข้าประมูล และวันประมูล ทั้งนี้ กำหนดการเบื้องต้นยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ จนกว่า คสช.จะเห็นชอบและมีการประกาศให้การประมูลเร็วขึ้นออกมาเสียก่อน คาดว่าประกาศ คสช.จะออกภายในช่วงวันที่ 10-11 เมษายนนี้
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่ ที่มีการขอให้ คสช.เปลี่ยนแปลงจากมติเดิมของบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ห้ามไม่ให้ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าประมูล เป็นการให้ทรูเข้าประมูลนั้น ทาง กสทช.ประเมินแล้วว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นการช่วยบีบให้ผู้ประกอบการรายอื่น อาทิ กลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และ กลุ่มบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ต้องมีการแข่งขันด้านราคาให้สูงกว่าราคาตั้งต้นการประมูลที่ 75,654 ล้านบาท เบื้องต้น กสทช.ประเมินว่าจะมีการแข่งขันราคาให้สูงขึ้นแต่คงไม่มาก
"ยอมรับว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกติกาที่ไม่ให้ทรูเข้าประมูล ทางทรูจะดำเนินการฟ้องร้องการประมูลครั้งนี้แน่นอน กสทช.ขอรับรองว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 75,654 ล้านบาท จะเป็นการรักษาประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนทุกคนได้อย่างแน่นอน" นายก่อกิจกล่าว
ด้านนายสืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และนักวิจัย ด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เกิดขึ้นดังเดิม แม้ก่อนหน้านี้มีการพิจารณาการใช้มาตรา 44 ในการยกสิทธิให้ เอไอเอส สามารถรับซื้อใบอนุญาตในราคาที่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ชนะการประมูลไปที่ราคา 75,654 ล้านบาทก็ตาม แต่เนื่องจากการที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดสรรใบอนุญาตควรดำเนินการด้วยวิธีการจัดการประมูลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้มีการใช้มาตรา 44 และไม่มีปัญหาในยุคนี้ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้น การจัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูลจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมและโปร่งใสมากที่สุด การประมูลใบอนุญาตรอบใหม่ที่จะเร็วขึ้นกว่าเดิม 1 เดือนเชื่อว่าจะไม่มีผลอะไร
นายสืบศักดิ์กล่าวต่อว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบสนใจเพียง 3 ราย คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู แต่ที่น่าจับตา คือ ในจำนวนดังกล่าว มีเพียงเอไอเอส เพียงรายเดียวที่แสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ไปใช้งานจริง จากการที่ยื่นหนังสือร้องขอให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ตนเองก่อนการประมูลด้วยกฎหมายพิเศษ ดังนั้น ในการประมูลมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเห็นคู่แข่งใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจปั่นราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการให้คู่แข่งในอุตสาหกรรมมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่สะดวกต่อการทำธุรกิจมากกว่าตนเอง
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 5)
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
กสทช. ให้ข้อมูลศาลจันทร์หน้าปัญหา 'ซิมดับ'
http://ppantip.com/topic/35020248
"สตง." เปิดศึก "กสทช." เตือนอย่าทำผิดกฎหมาย อุ้มลูกค้า 2 จี"ค่ายเอไอเอส" ย้ำต้องปล่อยซิมดับ 14 เม.ย.
http://ppantip.com/topic/35020230