รักษาศีลต้องมีปัญญา
บทความนี้จะขอแนะเคล็ดลับในการรักษาศีล สำหรับผู้ที่เห็นว่าจะรักษาศีลยากหรือรักษาไม่ได้สำหรับตน แต่ผู้ที่รักษาศีลได้เป็นปกติอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ่านอยู่แล้ว
ก่อนที่จะเข้าสู่เคล็ดลับในการรักษาศีล ก็ใคร่จะขอเขียนถึงปัญหาที่ว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องสมาทานศีล หรือตั้งใจรับศีลไว้ล่วงหน้าก่อน ? จะรอเอาไว้งดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่จะต้องให้ละเมิดศีล หรือล่วงศีลในขณะนั้นๆ เลยดีไหม ? ก็ขอบอกก่อนว่า ไม่ดี และไม่ดีแน่ๆ ด้วยเหตุผลดังนี้
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า การรักษาศีลนั้น ทำได้ ๓ วิธี คือ
๑. ตั้งใจรักษาไว้ก่อน ที่เรียกว่า สมาทานวิรัติ
๒. ตั้งใจงดเว้นเฉพาะหน้า ที่เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
๓. มีศีลอยู่เป็นปกติ ที่เรียกว่า สมุทเฉทวิรัติ
วิธีที่ ๑. การงดเว้นหรือรักษาศีลไว้ก่อนนั้น เหมือนกับการที่เรามีเกราะป้องกันตัวไว้แล้วอย่างดี เป็นที่สบายใจทั้งตนเองและผู้อื่น
วิธีที่ ๒. การตั้งใจงดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ข้อนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงเอามากๆ เพราะธรรมชาติจิตของคนเรานั้นมักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก ยกตัวอย่าง เช่น
ตามปกติบางคนอาจคิดว่า ถ้าเราพบเห็นคนที่เป็นศัตรูกัน เราจะไม่ทำร้ายหรือฆ่าเขา แต่เมื่อพบกันเข้าจริงๆ เขายั่วหรือด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง เราอาจจะเผลอใจทำร้ายหรือฆ่าเขาก็ได้
เห็นของใครทำลืมไว้ ถ้าเป็นของเล็กน้อยเราอาจไม่เอา แต่ถ้าเป็นของที่เราชอบหรือมีราคา ชนิดที่ลักทีเดียวก็รวยไปตลอดชาติ เราอาจจะเปลี่ยนใจเป็นลักก็ได้
โดยปกติเรามีเมียแล้ว ไม่เคยคิดนอกใจ แต่ถ้าเกิดไปพบอีหนูเอ๊าะๆ และอวบๆ แถมเด็กมันก็ยั่วยวนกวนตัณหาเสียด้วย และอยู่ในสถานที่อำนวยให้ประกอบกามกิจได้ มันก็บ่แน่เหมือนกันนานาย !
โดยปกติเราไม่กินเหล้า แต่เมื่อพบเพื่อนกำลังกินอยู่และเชื้อเชิญแกมบังคับ เราก็อาจจะกินได้โดยง่าย
แต่ถ้าเราสมาทานศีลไว้ก่อน เราก็จะเตือนสติตนเองอยู่เสมอๆ ว่า อย่าดีกว่าเดี๋ยวศีลขาดๆ แต่ถ้าเราไม่มี
เจตนางดเว้นไว้ก่อน กิเลสตัณหามันก็อาจจะเข้าข้างเราว่า ไม่เป็นไรหรอกน่า ก็เราไม่ได้รักษาศีลนี่นา จะเอาศีลที่ไหนมาขาดกันเล่า ?
วิธีที่ ๓. ท่านว่าเป็นการรักษาศีลของพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ท่านหมดกิเลส ท่านจึงมีศีลโดยไม่ต้องรักษาอยู่แล้ว
เอ้า ! มาว่าถึงคนที่เห็นว่าศีลรักษายากกันต่อไป
สำหรับผู้ที่เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นในการรักษาศีล ก็แล้วกันไปไม่ต้องไปสนใจเขาหรอก แต่ที่เขียนนี้ก็เห็นว่า ยังมีคนอีกเป็นอันมากที่อยากจะรักษาศีล แต่เห็นว่ามันรักษายาก ก็เลยไม่สนใจที่จะรักษา คนที่ว่านี้เป็นคนจิตใจ
อ่อนแอและอ่อนปัญญาด้วยน่าสงสารมาก อยากได้ดีแต่ไม่อยากทำดี ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุบายหรือปัญญามาช่วย ให้มันง่ายหรือสะดวกขึ้นโดยมีขั้นตอน ดังนี้
๑. รักษาศีลเป็นคราวๆ คือ โดยปกติเราคิดว่ารักษาไม่ได้หรือไม่อยากจะรักษาก็ตามที แต่ในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น ในวันเกิดครบรอบปี หรือรอบสัปดาห์ เราก็หัดรักษามันเสียสัก ๑ วัน หรือไปในงานพิธีต่างๆ ที่เขามีการให้ศีลกัน (ศีล ๕) เราก็รับเอามาเฉพาะวันนั้นเสียสักวัน หรือครึ่งค่อนวันก็ยังดีเพื่อสร้างความเคยชิน ทำบ่อยๆ เข้า มันก็จะเกิดความเคยชินไปเอง หรือในคราววันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็เอากะเขาเสีย ๑ วัน มันก็จะทำได้ไม่ยาก เพราะงานประจำวัน (ราชการ) ก็หยุดให้ด้วย
๒. รักษาศีลเป็นข้อๆ คือ ถ้าเห็นว่าจะรักษากันทีเดียวหมดทั้ง ๕ ข้อ มันเกินสติปัญญานัก ก็หัดมารักษาศีล
เป็นข้อๆ ข้อไหนที่เราเห็นว่ามันรักษาได้ง่าย และสะดวกที่สุดก็ให้สมาทานเป็น “นิจศีล” คือ เป็นศีลปกติไปเสียเลย
ก่อน ส่วนข้อที่เราเห็นว่ามันทำค่อนข้างยาก ก็ยกยอดเอาไปเผด็จศึกหรือเผด็จการกันเป็นคราวๆ ไปเหมือนข้อ ๑
ถ้าเราหัดเผด็จการกับมันบ่อยๆ มันก็จะคุ้นเคยและง่ายไปในที่สุด
ขอให้มั่นใจเถิดว่า ศีล ๕ นี้ รักษาได้ไม่ยากเลย มันไปยากเอาที่เราไม่อยากจะรักษา ปัญหามันอยู่ที่ความ
ขี้เกียจและคิดเข้าข้างตนเอง (เพราะอ่อนปัญญา) ว่า เราก็ไม่ได้ไปทำให้ใครเขาเดือดร้อนอยู่แล้ว จะต้องไปรักษาศีลมันให้ลำบากไปทำไมอีก ? อยู่มันไปวันๆ ก็สบายดีอยู่แล้วนี่นา ! ถ้าใครขืนคิดอย่างนี้ ชาตินี้ทั้งชาติ ก็คงจะไม่ได้พัฒนาชีวิตให้ก้าวขึ้นไปสู่ความดีงามที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้อีกแล้ว เคยมีอยู่แค่ไหน ก็แค่นั้น พอมารู้สึกตัวก็แก่หงำเหงอะ เสียแล้ว สังขารก็เสื่อมหมดแล้ว จะอยู่ก็ไม่สบาย จะไปก็ไม่รอด !
ฉะนั้น การรักษาศีลจึงควรจะต้องมีปัญญาเข้ามาร่วมด้วย เพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีการพัฒนาไปตาม
ขั้นตอนแล้ว วิถีชีวิตประจำวันก็ยังจะเป็นโดยด้วยความราบรื่นชื่นใจทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอีกด้วย
ขอให้ท่านมั่นใจตนเองเถิดว่า ท่านเป็นคนพัฒนาขึ้น (ถ้ามี “ทมะ”) หรือไขลานเดิน ไม่มีอะไรยากหรือลำบากเลย ถ้าเรามีความตั้งใจจริงและทำจริง พร้อมทั้งมีอุบายหรือเคล็ดลับพอสมควร ที่เหมาะสมกับสภาพชีวิตของเราแต่
ละคน
ที่มา หนังสือ ศีล
รักษาศีลต้องมีปัญญา
บทความนี้จะขอแนะเคล็ดลับในการรักษาศีล สำหรับผู้ที่เห็นว่าจะรักษาศีลยากหรือรักษาไม่ได้สำหรับตน แต่ผู้ที่รักษาศีลได้เป็นปกติอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ่านอยู่แล้ว
ก่อนที่จะเข้าสู่เคล็ดลับในการรักษาศีล ก็ใคร่จะขอเขียนถึงปัญหาที่ว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องสมาทานศีล หรือตั้งใจรับศีลไว้ล่วงหน้าก่อน ? จะรอเอาไว้งดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่จะต้องให้ละเมิดศีล หรือล่วงศีลในขณะนั้นๆ เลยดีไหม ? ก็ขอบอกก่อนว่า ไม่ดี และไม่ดีแน่ๆ ด้วยเหตุผลดังนี้
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า การรักษาศีลนั้น ทำได้ ๓ วิธี คือ
๑. ตั้งใจรักษาไว้ก่อน ที่เรียกว่า สมาทานวิรัติ
๒. ตั้งใจงดเว้นเฉพาะหน้า ที่เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
๓. มีศีลอยู่เป็นปกติ ที่เรียกว่า สมุทเฉทวิรัติ
วิธีที่ ๑. การงดเว้นหรือรักษาศีลไว้ก่อนนั้น เหมือนกับการที่เรามีเกราะป้องกันตัวไว้แล้วอย่างดี เป็นที่สบายใจทั้งตนเองและผู้อื่น
วิธีที่ ๒. การตั้งใจงดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ข้อนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงเอามากๆ เพราะธรรมชาติจิตของคนเรานั้นมักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก ยกตัวอย่าง เช่น
ตามปกติบางคนอาจคิดว่า ถ้าเราพบเห็นคนที่เป็นศัตรูกัน เราจะไม่ทำร้ายหรือฆ่าเขา แต่เมื่อพบกันเข้าจริงๆ เขายั่วหรือด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง เราอาจจะเผลอใจทำร้ายหรือฆ่าเขาก็ได้
เห็นของใครทำลืมไว้ ถ้าเป็นของเล็กน้อยเราอาจไม่เอา แต่ถ้าเป็นของที่เราชอบหรือมีราคา ชนิดที่ลักทีเดียวก็รวยไปตลอดชาติ เราอาจจะเปลี่ยนใจเป็นลักก็ได้
โดยปกติเรามีเมียแล้ว ไม่เคยคิดนอกใจ แต่ถ้าเกิดไปพบอีหนูเอ๊าะๆ และอวบๆ แถมเด็กมันก็ยั่วยวนกวนตัณหาเสียด้วย และอยู่ในสถานที่อำนวยให้ประกอบกามกิจได้ มันก็บ่แน่เหมือนกันนานาย !
โดยปกติเราไม่กินเหล้า แต่เมื่อพบเพื่อนกำลังกินอยู่และเชื้อเชิญแกมบังคับ เราก็อาจจะกินได้โดยง่าย
แต่ถ้าเราสมาทานศีลไว้ก่อน เราก็จะเตือนสติตนเองอยู่เสมอๆ ว่า อย่าดีกว่าเดี๋ยวศีลขาดๆ แต่ถ้าเราไม่มี
เจตนางดเว้นไว้ก่อน กิเลสตัณหามันก็อาจจะเข้าข้างเราว่า ไม่เป็นไรหรอกน่า ก็เราไม่ได้รักษาศีลนี่นา จะเอาศีลที่ไหนมาขาดกันเล่า ?
วิธีที่ ๓. ท่านว่าเป็นการรักษาศีลของพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ท่านหมดกิเลส ท่านจึงมีศีลโดยไม่ต้องรักษาอยู่แล้ว
เอ้า ! มาว่าถึงคนที่เห็นว่าศีลรักษายากกันต่อไป
สำหรับผู้ที่เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นในการรักษาศีล ก็แล้วกันไปไม่ต้องไปสนใจเขาหรอก แต่ที่เขียนนี้ก็เห็นว่า ยังมีคนอีกเป็นอันมากที่อยากจะรักษาศีล แต่เห็นว่ามันรักษายาก ก็เลยไม่สนใจที่จะรักษา คนที่ว่านี้เป็นคนจิตใจ
อ่อนแอและอ่อนปัญญาด้วยน่าสงสารมาก อยากได้ดีแต่ไม่อยากทำดี ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุบายหรือปัญญามาช่วย ให้มันง่ายหรือสะดวกขึ้นโดยมีขั้นตอน ดังนี้
๑. รักษาศีลเป็นคราวๆ คือ โดยปกติเราคิดว่ารักษาไม่ได้หรือไม่อยากจะรักษาก็ตามที แต่ในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น ในวันเกิดครบรอบปี หรือรอบสัปดาห์ เราก็หัดรักษามันเสียสัก ๑ วัน หรือไปในงานพิธีต่างๆ ที่เขามีการให้ศีลกัน (ศีล ๕) เราก็รับเอามาเฉพาะวันนั้นเสียสักวัน หรือครึ่งค่อนวันก็ยังดีเพื่อสร้างความเคยชิน ทำบ่อยๆ เข้า มันก็จะเกิดความเคยชินไปเอง หรือในคราววันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็เอากะเขาเสีย ๑ วัน มันก็จะทำได้ไม่ยาก เพราะงานประจำวัน (ราชการ) ก็หยุดให้ด้วย
๒. รักษาศีลเป็นข้อๆ คือ ถ้าเห็นว่าจะรักษากันทีเดียวหมดทั้ง ๕ ข้อ มันเกินสติปัญญานัก ก็หัดมารักษาศีล
เป็นข้อๆ ข้อไหนที่เราเห็นว่ามันรักษาได้ง่าย และสะดวกที่สุดก็ให้สมาทานเป็น “นิจศีล” คือ เป็นศีลปกติไปเสียเลย
ก่อน ส่วนข้อที่เราเห็นว่ามันทำค่อนข้างยาก ก็ยกยอดเอาไปเผด็จศึกหรือเผด็จการกันเป็นคราวๆ ไปเหมือนข้อ ๑
ถ้าเราหัดเผด็จการกับมันบ่อยๆ มันก็จะคุ้นเคยและง่ายไปในที่สุด
ขอให้มั่นใจเถิดว่า ศีล ๕ นี้ รักษาได้ไม่ยากเลย มันไปยากเอาที่เราไม่อยากจะรักษา ปัญหามันอยู่ที่ความ
ขี้เกียจและคิดเข้าข้างตนเอง (เพราะอ่อนปัญญา) ว่า เราก็ไม่ได้ไปทำให้ใครเขาเดือดร้อนอยู่แล้ว จะต้องไปรักษาศีลมันให้ลำบากไปทำไมอีก ? อยู่มันไปวันๆ ก็สบายดีอยู่แล้วนี่นา ! ถ้าใครขืนคิดอย่างนี้ ชาตินี้ทั้งชาติ ก็คงจะไม่ได้พัฒนาชีวิตให้ก้าวขึ้นไปสู่ความดีงามที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้อีกแล้ว เคยมีอยู่แค่ไหน ก็แค่นั้น พอมารู้สึกตัวก็แก่หงำเหงอะ เสียแล้ว สังขารก็เสื่อมหมดแล้ว จะอยู่ก็ไม่สบาย จะไปก็ไม่รอด !
ฉะนั้น การรักษาศีลจึงควรจะต้องมีปัญญาเข้ามาร่วมด้วย เพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีการพัฒนาไปตาม
ขั้นตอนแล้ว วิถีชีวิตประจำวันก็ยังจะเป็นโดยด้วยความราบรื่นชื่นใจทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอีกด้วย
ขอให้ท่านมั่นใจตนเองเถิดว่า ท่านเป็นคนพัฒนาขึ้น (ถ้ามี “ทมะ”) หรือไขลานเดิน ไม่มีอะไรยากหรือลำบากเลย ถ้าเรามีความตั้งใจจริงและทำจริง พร้อมทั้งมีอุบายหรือเคล็ดลับพอสมควร ที่เหมาะสมกับสภาพชีวิตของเราแต่
ละคน
ที่มา หนังสือ ศีล