อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 5.1

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาที่ถึงการเจริญพระกรรมฐาน สำหรับวันนี้ ก็จะขอพูดในด้านของวิปัสสนาญาณ เพราะว่าในอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ พูดกันมาถึงด้านสมถภาวนาพอสมควร ถ้าจะถามว่าพูดจบแล้วหรือยัง ก็ต้องตอบว่าพูดมันไม่จบ ถ้าจะให้จบในอานาปานุสสติกรรมฐาน เราก็ต้องพูดกันถึงยันตายมันก็ไม่จบ เป็นอันว่าขออธิบายเฉพาะหลักใหญ่ๆ เข้าไว้ นอกจากนั้นขอให้ท่านทั้งหลายใชัปัญญาพิจารณาเอาเองด้วย เพราะว่า
การปฏิบัติไม่ว่ากรรมฐานกองใดทั้งหมด อุปสรรคทางจิตย่อมปรากฎมีขึ้นเสมอ สำหรับอุปสรรคใดๆ ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ก็ดี หรือว่าจากทางกายก็ดี ถ้าเราไม่ยอมแพ้เสียอย่างเดียว เราก็ชนะ อุปสรรคต่างๆ มันจะมีขึ้นได้มันก็ต้องสลายตัวได้เหมือนกัน ต้องถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทุกอย่างถ้าเราเอาจิตเข้าไปจับธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตมันก็มีความสุข การเจริญพระกรรมฐาน ความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือต้องการให้มีความสุข
ต่อนี้ไป ก็จะขอนำเอาด้านของวิปัสสนาญาณ มาแนะนำกับบรรดาท่านทั้งหลายพอสมควรแก่อัธยาศัยและตามเวลา เนื่องด้วยด้านวิปัสสนาญาณนี่เราจะพูดกันไปหลายชีวิตมันก็ไม่จบ หมายความว่าพูดแล้วแล้วก็ตายไป พูด ตายแล้วก็เกิดใหม่ พูดใหม่ตายไปใหม่ มันก็ไม่จบ ถ้าจะพูดให้จบได้เมื่อไร ต่อเมื่อท่านทั้งหลายถึงอรหัตผล ถ้าทุกคนถึงอรหัตผลเสียหมด ตอนนั้นวิปัสสนาญาณจบ จบเพราะอะไร จบเพราะท่านถึงแล้ว ท่านมีความเข้าใจ
สำหรับด้านวิปัสสนาญาณนี่ มีวิธีปฏิบัติถึง 4 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
1. สุกขวิปัสสโก
2. เตวิชโช
3. ฉฬภิญโญ
4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต
การอธิบายในการเจริญสมาธิ เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ ที่พูดมาแล้วนั้นมีความมุ่งหมายให้เข้าถึงวิชชาสาม อภิญญาหก และปฏิสัมภิทาญานเป็นสำคัญ ฉะนั้นเมื่อท่านทั้งหลายรับฟังแล้ว ก็รู้สึกว่ามันหนักมาก รู้สึกว่าหนักใจจริงๆ จะทำได้หรือไม่ได้
สำหรับในตอนต้นในด้านวิปัสสนาญาณนี่ ผมจะขอพูดด้านสุกขวิปัสสโกก่อน ความจริงสุกขวิปัสสโก แปลว่า เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยอำนาจความสุขและแบบสบาย สุขนั้นแปลว่าสบาย เขาเรียกว่าทำแบบสบายๆ การทำแบบสบายๆ นี่เขาทำแบบนี้ คือว่าเราใช้อารมณ์สมาธิควบคู่กันไปกับการพิจารณาวิปัสสนา คำว่าใช้สมาธิคู่กันไปนี่
บางท่าน ท่านบอกว่าสุกขวิปัสสโกไม่ต้องใช้สมถะเลย ใช้แต่วิปัสสนาญาณตัวเดียว อันนี้ผิด ถ้าพูดอย่างนั้นก็แสดงว่าท่านผู้พูดไม่ได้อะไรเลย ความจริงศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี 3 ประการนี้จะแยกกันไม่ได้ นักเจริญพระกรรมฐานนับตั้งแต่เริ่มเข้าขณิกสมาธิเป็นต้นมา จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าจะต้องมานั่งสมาทานให้พระนำกัน คนที่ยังติดพระนำแล้วจึงมีศีล ก็แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีศีลเลย ศีลนั้นอยู่ที่ใจ คือความงดเว้นเท่านั้น ถ้าเราสามารถงดเว้นปัญจเวร 5 ประการ หรือว่า สิกขาบท 8 ประการ ที่เรียกว่าศีล 5 หรือศีล 8 เราไม่ละเมิดเสียแล้วก็ชื่อว่าเราเป็นผู้มีศีล ไม่ต้องรอให้พระให้ แต่ความจริงพระท่านไม่ได้ให้ ท่านให้การศึกษาเท่านั้น
เป็นอันว่านักเจริญพระกรรมฐาน จะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นผู้ทรงฌานก็ดี จะเป็นพระอริยเจ้าก็ดี ท่านจะบกพร่องในศีลไม่ได้ แต่ขณะใดขึ้นชื่อว่าท่านเป็นผู้บกพร่องในศีล ก็แสดงว่าท่านเอาดีไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าศีลบกพร่อง ก็แสดงว่าเราตายแล้วต้องไปเกิดในอบายภูมิ แล้วก็จะเป็นผู้ทรงฌาน เกิดเป็นพรหม หรือว่าเป็นผู้ทรงอุปจารสมาธิ ขณิกสมาธิ เกิดเป็นเทวดา หรือตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานไปนิพพาน จะไปได้ยังไง ในเมื่อศีลของเราบกพร่อง เราต้องเป็นสัตว์ในอบายภูมิ
ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย
จงสังวรเรื่องศีลให้มาก คำว่า สังวร นี่แปลว่า ระวัง อันดับแรกต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ไม่ใช่บริสุทธิ์เฉพาะเวลาที่สมาทานพระกรรมฐาน ให้ศีลมันบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าศีลของท่านบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก การเจริญสมาธิก็เป็นของง่าย เพราะศีลจะมีขึ้นได้เพราะอาศัย
เมตตา ความรักซึ่งกันและกัน
กรุณา ความสงสารซึ่งกันและกัน คนที่มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร อารมณ์เย็น จิตมีความเยือกเย็น ความฟุ้งซ่านของจิตไม่มี ความเร่าร้อนของจิตไม่มี อารมณ์ก็สบาย ในเมื่ออารมณ์สบายมีความเยือกเย็น จิตก็ทรงสมาธิได้ดี หรือการจองล้างจองผลาญ คิดประหัตประหารซึ่งกันและกัน หรือความโลภโมโหโทสัน อยากได้ทรัพย์ของบุคคนอื่น การที่จะละเมิดความรัก หรือการจะมุสาวาท การที่จะดื่มสุราเมรัยไม่มี ในเมื่ออาการ 5 อย่างนี้ไม่มีแล้ว จิตก็มีความสบาย มีอารมณ์ เป็นสุข
อันดับแรกปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้วสมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัว ปัญญามันก็เกิด นี่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌานและวิปัสสนาญาณ
สำหรับวิปัสสนาญาณในด้านสุกขวิปัสสโก ยังไงๆ ท่านก็อย่าลืมทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน จำไว้ให้ดีว่าจะทำกรรมฐานกองต่อๆไปก็ดี หรือว่าจะเจริญวิปัสสนาญาณก็ดี ท่านจะทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ ถ้าท่านทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเมื่อไหร่ กรรมฐานกองอื่น วิปัสสนาญานที่จะทำก็พังหมด อานาปานุสสติกรรมฐานมีอุปมาเหมือนกับพื้นแผ่นดิน อารมณ์จิตที่จะทรงเป็นสมาธิหรือปัญญาที่จะเกิดเหมือนกับเรา ตัวเราซึ่งยืนอยู่บนแผ่นดิน ถ้าเราไม่มีแผ่นดิน เราจะยืนที่ไหน จะนั่ง จะนอน จะยืนจะเดิน จะก้าวไปข้างหน้า จะถอยไปข้างหลัง ไม่มีที่เพราะมันไม่มีแผ่นดิน
จำไว้ให้ดีว่าอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ทิ้งไม่ได้
ทีนี้การทรงอานาปานุสสติกรรมฐานในด้านสุกขวิปัสสโก เขาทำกันไม่ยาก เขาทำง่ายๆ คือโดยไม่ต้องไปคิดถึงอานาปานุสสติกรรมฐานก็ได้ พยายามทำจิตให้ทรงตัว ควบคุมกำลังจิตของท่านให้อยู่ในขอบเขตของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณที่ผมอยากจะพูดกับท่าน วันนี้จะเอาวิปัสสนาญาณ 9 มาพูด แต่ขอพูด 2 อย่าง เพราะว่าวิปัสสนาญาณ 9 นี่ผมทำ 2 อย่างเท่านั้น อีก 7 อย่างไม่มีความหมาย อีก 7 อย่างก็เดินเข้ามาหา 2 อย่าง 2 อย่างก็คือ
1.
นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5
2.
สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่จะพึงเกิดขึ้น หรือว่าอาการต่างๆ ที่จะพึงเกิดขึ้นกับใจก็ดี กับขันธ์ 5 ก็ดี
ถ้าได้ 2 ตัวนี้ก็ชื่อว่าจบวิปัสสนาญาณ 9 ไม่ต้องไปนั่งไล่เบี้ยนับบันไดมีกี่ขั้นให้มันยุ่งไปเปล่าๆ จะไปทำตนอย่างนักวิชาการน่ะ แหม... ศัพท์แสงเก่งกันจริงๆ ไล่อย่างโน้น ออกอย่างนี้ ไปอย่างนี้ ไปอย่างโน้น ไล่เดี๊ยะ ผลที่สุดไม่ได้อะไรเลย ก็ทำไปอย่างนกแก้วนกขุนทอง จะได้ประโยชน์อะไร
เขาทำอย่างนี้
คือว่า ควบคุมกำลังใจของเรา ในด้านนิพพิทาญาณ พิจารณาดูร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ร่างกายของสัตว์ก็ดี แล้วก็วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกก็ดี ทั้งหมด ว่ามันไม่มีดีตามความเป็นจริง วิปัสสนานี่เขาเอาจิตเข้าไปจับหาความเป็นจริงกัน ไม่ใช่ฝืนความจริง ความเป็นจริงมันเป็นยังไง ร่างกายของเรามันไม่มีการทรงตัว เกิดขึ้นมาแล้วมันก็เสื่อมไปทุกวันๆ เป็นเด็กมันก็คลานเข้ามาหาความเป็นหนุ่มเป็นสาว พอเป็นหนุ่มเป็นสาวมันก็คลานไปหาความเป็นคนแก่ ถึงความเป็นคนแก่มันก็คลานไปหาความตาย น่ารักไหม เราจะรักสาวสักคน เราจะรักหนุ่มสักคน เราก็ดูอีตอนที่เขาเป็นหนุ่มเป็นสาว เราไม่เคยจะนึกถึงว่า คนที่เคยเป็นหนุ่มเป็นสาวมาก่อน แต่ว่าเวลานี้แก่แล้ว สมัยที่เขาเป็นหนุ่มเป็นสาวเขาก็สวยสดงดงาม ที่นี้ตอนแก่แล้วเราไม่มอง ทำไมจึงไม่มอง เพราะเราถือว่าไม่สวย ไม่ดี ไม่เป็นที่ถูกใจ เราก็มานั่งคิดว่าร่างกายของใครล่ะ มันจะทรงความงามเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดเวลา เราก็เหมือนกัน เขาก็เหมือนกัน วัตถุธาตุต่างๆ ก็เหมือนกัน บ้านเรือนโรงต่างๆ อาคารสถานที่ อย่างที่วัดของเรานี้ใครมาเขาก็บอกว่าสวยอร่ามไปหมด นี่ท่านคิดหรือว่ามันจะสวยอยู่อย่างนี้ตลอดกาลตลอดสมัย อีกไม่นาน สองสามปีความเศร้าหมองมันก็จะปรากฎชัด นี่สภาพของวัตถุธาตุมันก็เป็นอย่างนี้ คนก็เป็นอย่างนี้
(ต่อหนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 5.2 https://ppantip.com/topic/43100771)
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 5.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาที่ถึงการเจริญพระกรรมฐาน สำหรับวันนี้ ก็จะขอพูดในด้านของวิปัสสนาญาณ เพราะว่าในอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ พูดกันมาถึงด้านสมถภาวนาพอสมควร ถ้าจะถามว่าพูดจบแล้วหรือยัง ก็ต้องตอบว่าพูดมันไม่จบ ถ้าจะให้จบในอานาปานุสสติกรรมฐาน เราก็ต้องพูดกันถึงยันตายมันก็ไม่จบ เป็นอันว่าขออธิบายเฉพาะหลักใหญ่ๆ เข้าไว้ นอกจากนั้นขอให้ท่านทั้งหลายใชัปัญญาพิจารณาเอาเองด้วย เพราะว่า การปฏิบัติไม่ว่ากรรมฐานกองใดทั้งหมด อุปสรรคทางจิตย่อมปรากฎมีขึ้นเสมอ สำหรับอุปสรรคใดๆ ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ก็ดี หรือว่าจากทางกายก็ดี ถ้าเราไม่ยอมแพ้เสียอย่างเดียว เราก็ชนะ อุปสรรคต่างๆ มันจะมีขึ้นได้มันก็ต้องสลายตัวได้เหมือนกัน ต้องถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทุกอย่างถ้าเราเอาจิตเข้าไปจับธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตมันก็มีความสุข การเจริญพระกรรมฐาน ความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือต้องการให้มีความสุข
ต่อนี้ไป ก็จะขอนำเอาด้านของวิปัสสนาญาณ มาแนะนำกับบรรดาท่านทั้งหลายพอสมควรแก่อัธยาศัยและตามเวลา เนื่องด้วยด้านวิปัสสนาญาณนี่เราจะพูดกันไปหลายชีวิตมันก็ไม่จบ หมายความว่าพูดแล้วแล้วก็ตายไป พูด ตายแล้วก็เกิดใหม่ พูดใหม่ตายไปใหม่ มันก็ไม่จบ ถ้าจะพูดให้จบได้เมื่อไร ต่อเมื่อท่านทั้งหลายถึงอรหัตผล ถ้าทุกคนถึงอรหัตผลเสียหมด ตอนนั้นวิปัสสนาญาณจบ จบเพราะอะไร จบเพราะท่านถึงแล้ว ท่านมีความเข้าใจ
สำหรับด้านวิปัสสนาญาณนี่ มีวิธีปฏิบัติถึง 4 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
1. สุกขวิปัสสโก
2. เตวิชโช
3. ฉฬภิญโญ
4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต
การอธิบายในการเจริญสมาธิ เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ ที่พูดมาแล้วนั้นมีความมุ่งหมายให้เข้าถึงวิชชาสาม อภิญญาหก และปฏิสัมภิทาญานเป็นสำคัญ ฉะนั้นเมื่อท่านทั้งหลายรับฟังแล้ว ก็รู้สึกว่ามันหนักมาก รู้สึกว่าหนักใจจริงๆ จะทำได้หรือไม่ได้
สำหรับในตอนต้นในด้านวิปัสสนาญาณนี่ ผมจะขอพูดด้านสุกขวิปัสสโกก่อน ความจริงสุกขวิปัสสโก แปลว่า เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยอำนาจความสุขและแบบสบาย สุขนั้นแปลว่าสบาย เขาเรียกว่าทำแบบสบายๆ การทำแบบสบายๆ นี่เขาทำแบบนี้ คือว่าเราใช้อารมณ์สมาธิควบคู่กันไปกับการพิจารณาวิปัสสนา คำว่าใช้สมาธิคู่กันไปนี่ บางท่าน ท่านบอกว่าสุกขวิปัสสโกไม่ต้องใช้สมถะเลย ใช้แต่วิปัสสนาญาณตัวเดียว อันนี้ผิด ถ้าพูดอย่างนั้นก็แสดงว่าท่านผู้พูดไม่ได้อะไรเลย ความจริงศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี 3 ประการนี้จะแยกกันไม่ได้ นักเจริญพระกรรมฐานนับตั้งแต่เริ่มเข้าขณิกสมาธิเป็นต้นมา จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าจะต้องมานั่งสมาทานให้พระนำกัน คนที่ยังติดพระนำแล้วจึงมีศีล ก็แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีศีลเลย ศีลนั้นอยู่ที่ใจ คือความงดเว้นเท่านั้น ถ้าเราสามารถงดเว้นปัญจเวร 5 ประการ หรือว่า สิกขาบท 8 ประการ ที่เรียกว่าศีล 5 หรือศีล 8 เราไม่ละเมิดเสียแล้วก็ชื่อว่าเราเป็นผู้มีศีล ไม่ต้องรอให้พระให้ แต่ความจริงพระท่านไม่ได้ให้ ท่านให้การศึกษาเท่านั้น
เป็นอันว่านักเจริญพระกรรมฐาน จะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นผู้ทรงฌานก็ดี จะเป็นพระอริยเจ้าก็ดี ท่านจะบกพร่องในศีลไม่ได้ แต่ขณะใดขึ้นชื่อว่าท่านเป็นผู้บกพร่องในศีล ก็แสดงว่าท่านเอาดีไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าศีลบกพร่อง ก็แสดงว่าเราตายแล้วต้องไปเกิดในอบายภูมิ แล้วก็จะเป็นผู้ทรงฌาน เกิดเป็นพรหม หรือว่าเป็นผู้ทรงอุปจารสมาธิ ขณิกสมาธิ เกิดเป็นเทวดา หรือตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานไปนิพพาน จะไปได้ยังไง ในเมื่อศีลของเราบกพร่อง เราต้องเป็นสัตว์ในอบายภูมิ
ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงสังวรเรื่องศีลให้มาก คำว่า สังวร นี่แปลว่า ระวัง อันดับแรกต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ไม่ใช่บริสุทธิ์เฉพาะเวลาที่สมาทานพระกรรมฐาน ให้ศีลมันบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าศีลของท่านบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก การเจริญสมาธิก็เป็นของง่าย เพราะศีลจะมีขึ้นได้เพราะอาศัย เมตตา ความรักซึ่งกันและกัน กรุณา ความสงสารซึ่งกันและกัน คนที่มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร อารมณ์เย็น จิตมีความเยือกเย็น ความฟุ้งซ่านของจิตไม่มี ความเร่าร้อนของจิตไม่มี อารมณ์ก็สบาย ในเมื่ออารมณ์สบายมีความเยือกเย็น จิตก็ทรงสมาธิได้ดี หรือการจองล้างจองผลาญ คิดประหัตประหารซึ่งกันและกัน หรือความโลภโมโหโทสัน อยากได้ทรัพย์ของบุคคนอื่น การที่จะละเมิดความรัก หรือการจะมุสาวาท การที่จะดื่มสุราเมรัยไม่มี ในเมื่ออาการ 5 อย่างนี้ไม่มีแล้ว จิตก็มีความสบาย มีอารมณ์ เป็นสุข
อันดับแรกปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้วสมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัว ปัญญามันก็เกิด นี่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌานและวิปัสสนาญาณ
สำหรับวิปัสสนาญาณในด้านสุกขวิปัสสโก ยังไงๆ ท่านก็อย่าลืมทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน จำไว้ให้ดีว่าจะทำกรรมฐานกองต่อๆไปก็ดี หรือว่าจะเจริญวิปัสสนาญาณก็ดี ท่านจะทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ ถ้าท่านทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเมื่อไหร่ กรรมฐานกองอื่น วิปัสสนาญานที่จะทำก็พังหมด อานาปานุสสติกรรมฐานมีอุปมาเหมือนกับพื้นแผ่นดิน อารมณ์จิตที่จะทรงเป็นสมาธิหรือปัญญาที่จะเกิดเหมือนกับเรา ตัวเราซึ่งยืนอยู่บนแผ่นดิน ถ้าเราไม่มีแผ่นดิน เราจะยืนที่ไหน จะนั่ง จะนอน จะยืนจะเดิน จะก้าวไปข้างหน้า จะถอยไปข้างหลัง ไม่มีที่เพราะมันไม่มีแผ่นดิน จำไว้ให้ดีว่าอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ทิ้งไม่ได้
ทีนี้การทรงอานาปานุสสติกรรมฐานในด้านสุกขวิปัสสโก เขาทำกันไม่ยาก เขาทำง่ายๆ คือโดยไม่ต้องไปคิดถึงอานาปานุสสติกรรมฐานก็ได้ พยายามทำจิตให้ทรงตัว ควบคุมกำลังจิตของท่านให้อยู่ในขอบเขตของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณที่ผมอยากจะพูดกับท่าน วันนี้จะเอาวิปัสสนาญาณ 9 มาพูด แต่ขอพูด 2 อย่าง เพราะว่าวิปัสสนาญาณ 9 นี่ผมทำ 2 อย่างเท่านั้น อีก 7 อย่างไม่มีความหมาย อีก 7 อย่างก็เดินเข้ามาหา 2 อย่าง 2 อย่างก็คือ
1. นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5
2. สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่จะพึงเกิดขึ้น หรือว่าอาการต่างๆ ที่จะพึงเกิดขึ้นกับใจก็ดี กับขันธ์ 5 ก็ดี
ถ้าได้ 2 ตัวนี้ก็ชื่อว่าจบวิปัสสนาญาณ 9 ไม่ต้องไปนั่งไล่เบี้ยนับบันไดมีกี่ขั้นให้มันยุ่งไปเปล่าๆ จะไปทำตนอย่างนักวิชาการน่ะ แหม... ศัพท์แสงเก่งกันจริงๆ ไล่อย่างโน้น ออกอย่างนี้ ไปอย่างนี้ ไปอย่างโน้น ไล่เดี๊ยะ ผลที่สุดไม่ได้อะไรเลย ก็ทำไปอย่างนกแก้วนกขุนทอง จะได้ประโยชน์อะไร
เขาทำอย่างนี้ คือว่า ควบคุมกำลังใจของเรา ในด้านนิพพิทาญาณ พิจารณาดูร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ร่างกายของสัตว์ก็ดี แล้วก็วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกก็ดี ทั้งหมด ว่ามันไม่มีดีตามความเป็นจริง วิปัสสนานี่เขาเอาจิตเข้าไปจับหาความเป็นจริงกัน ไม่ใช่ฝืนความจริง ความเป็นจริงมันเป็นยังไง ร่างกายของเรามันไม่มีการทรงตัว เกิดขึ้นมาแล้วมันก็เสื่อมไปทุกวันๆ เป็นเด็กมันก็คลานเข้ามาหาความเป็นหนุ่มเป็นสาว พอเป็นหนุ่มเป็นสาวมันก็คลานไปหาความเป็นคนแก่ ถึงความเป็นคนแก่มันก็คลานไปหาความตาย น่ารักไหม เราจะรักสาวสักคน เราจะรักหนุ่มสักคน เราก็ดูอีตอนที่เขาเป็นหนุ่มเป็นสาว เราไม่เคยจะนึกถึงว่า คนที่เคยเป็นหนุ่มเป็นสาวมาก่อน แต่ว่าเวลานี้แก่แล้ว สมัยที่เขาเป็นหนุ่มเป็นสาวเขาก็สวยสดงดงาม ที่นี้ตอนแก่แล้วเราไม่มอง ทำไมจึงไม่มอง เพราะเราถือว่าไม่สวย ไม่ดี ไม่เป็นที่ถูกใจ เราก็มานั่งคิดว่าร่างกายของใครล่ะ มันจะทรงความงามเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดเวลา เราก็เหมือนกัน เขาก็เหมือนกัน วัตถุธาตุต่างๆ ก็เหมือนกัน บ้านเรือนโรงต่างๆ อาคารสถานที่ อย่างที่วัดของเรานี้ใครมาเขาก็บอกว่าสวยอร่ามไปหมด นี่ท่านคิดหรือว่ามันจะสวยอยู่อย่างนี้ตลอดกาลตลอดสมัย อีกไม่นาน สองสามปีความเศร้าหมองมันก็จะปรากฎชัด นี่สภาพของวัตถุธาตุมันก็เป็นอย่างนี้ คนก็เป็นอย่างนี้
(ต่อหนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 5.2 https://ppantip.com/topic/43100771)