คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
"โดยที่ไม่ผ่านการดูดซึมของร่างกาย" แล้วร่างกายจะเอาไปใช้งานอย่างไร
หลักๆของการสกัดสารจากเนื้อเยื่อ
1. ทำให้มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว และ/หรือทำให้เซลล์แตก ทำให้ปล่อยสารออกมาจากเซลล์ เช่น การหั่น การบด การขยี้ การปั่น การใช้เอนไซม์ช่วย
2. การใช้ตัวทำละลายสกัดสารออกมา การเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้ตัวทำละลายสัมผัสกับตัวอย่างได้มากขึ้น การเลือกตัวทำละลายก็ขึ้นกับความเป็นขั้วของสารที่สนใจ เช่น วิตามินที่ละลายน้ำก็สกัดด้วยน้ำ วิตามินที่ไม่ละลายน้ำอาจจะใช้น้ำมันพืชหรือแอลกอฮอล์(เอธานอลแบบในเหล้านะ ไม่ใช่เมธานอล หรือใช้เหล้าเลยก็ได้)สกัด ถ้าไม่อยากใช้ตัวทำละลายเคมีในแลป
3. การแยกเนื้อเยื่อออกจากตัวทำละลาย เช่น การปั่นแยก การกรอง
4. การทำให้บริสุทธิ์ สารต่างๆที่มีความเป็นขั้วคล้ายๆกับสารที่ต้องการจะถูกสกัดมาในตัวทำละลาย ถ้าเรารู้คุณสมบัติของสารที่สนใจ ก็ใช้เทคนิคต่างๆในการแยกเฉพาะสารที่เราสนใจออกมาได้ เช่น column chromatography ต่างๆ
5. การพิสูจน์ว่าสารที่ได้เป็นสารทีต้องการ เช่น mass spectrometry, NMR ฯลณ ผมไม่สันทัดเท่าไร
เดาว่าไม่ได้สนใจทำให้บริสุทธิ์ก็ข้าม 4 กับ 5 ไป
จะทำเองก็ได้ ก็คือการทำน้ำผักผลไม้ปั่นแยกกากไง แต่กากก็มีประโยชน์เหมือนกัน เป็นใยอาหาร ดังนั้นกินไปทั้งหมดดีกว่า
แต่การแยกสารออกมาจากตัวผักผลไม้ ทำให้มันเสื่อมสลายเร็วขึ้น ประโยชน์ที่จะได้ก็อาจจะน้อยกว่าที่ควรจะได้ ยิ่งถ้ากระบวนการสกัดต้องใช้ตัวทำละลายที่ไม่ใช้น้ำหรือสารเคมีอื่นๆช่วยในการสะกัด ก็มีโอกาสที่จะมีสารเคมีปนเปื้อนมาอีก
ยิ่งถ้าทำให้บริสุทธิ์ ก็มีโอกาสที่จะกินเข้าไปเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการหรือรับมือได้ เช่นวิตามินกินไปมากๆ ส่วนเกินก็ถูกขับออกมา ส่วนที่กำจัดไม่ทันขับออกไม่ได้ก็มีแนวโน้มจะสะสมในร่างกาย อะไรที่มากเกินมักจะไม่ดี
หลักๆของการสกัดสารจากเนื้อเยื่อ
1. ทำให้มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว และ/หรือทำให้เซลล์แตก ทำให้ปล่อยสารออกมาจากเซลล์ เช่น การหั่น การบด การขยี้ การปั่น การใช้เอนไซม์ช่วย
2. การใช้ตัวทำละลายสกัดสารออกมา การเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้ตัวทำละลายสัมผัสกับตัวอย่างได้มากขึ้น การเลือกตัวทำละลายก็ขึ้นกับความเป็นขั้วของสารที่สนใจ เช่น วิตามินที่ละลายน้ำก็สกัดด้วยน้ำ วิตามินที่ไม่ละลายน้ำอาจจะใช้น้ำมันพืชหรือแอลกอฮอล์(เอธานอลแบบในเหล้านะ ไม่ใช่เมธานอล หรือใช้เหล้าเลยก็ได้)สกัด ถ้าไม่อยากใช้ตัวทำละลายเคมีในแลป
3. การแยกเนื้อเยื่อออกจากตัวทำละลาย เช่น การปั่นแยก การกรอง
4. การทำให้บริสุทธิ์ สารต่างๆที่มีความเป็นขั้วคล้ายๆกับสารที่ต้องการจะถูกสกัดมาในตัวทำละลาย ถ้าเรารู้คุณสมบัติของสารที่สนใจ ก็ใช้เทคนิคต่างๆในการแยกเฉพาะสารที่เราสนใจออกมาได้ เช่น column chromatography ต่างๆ
5. การพิสูจน์ว่าสารที่ได้เป็นสารทีต้องการ เช่น mass spectrometry, NMR ฯลณ ผมไม่สันทัดเท่าไร
เดาว่าไม่ได้สนใจทำให้บริสุทธิ์ก็ข้าม 4 กับ 5 ไป
จะทำเองก็ได้ ก็คือการทำน้ำผักผลไม้ปั่นแยกกากไง แต่กากก็มีประโยชน์เหมือนกัน เป็นใยอาหาร ดังนั้นกินไปทั้งหมดดีกว่า
แต่การแยกสารออกมาจากตัวผักผลไม้ ทำให้มันเสื่อมสลายเร็วขึ้น ประโยชน์ที่จะได้ก็อาจจะน้อยกว่าที่ควรจะได้ ยิ่งถ้ากระบวนการสกัดต้องใช้ตัวทำละลายที่ไม่ใช้น้ำหรือสารเคมีอื่นๆช่วยในการสะกัด ก็มีโอกาสที่จะมีสารเคมีปนเปื้อนมาอีก
ยิ่งถ้าทำให้บริสุทธิ์ ก็มีโอกาสที่จะกินเข้าไปเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการหรือรับมือได้ เช่นวิตามินกินไปมากๆ ส่วนเกินก็ถูกขับออกมา ส่วนที่กำจัดไม่ทันขับออกไม่ได้ก็มีแนวโน้มจะสะสมในร่างกาย อะไรที่มากเกินมักจะไม่ดี
แสดงความคิดเห็น
นำสารอาหารแยกออกจากวัตถุดิบอย่างไร