'ต่างชาติ' ทิ้งแอดวานซ์กว่า 4% ผู้บริหารเชื่อนักลงทุนหวนคืน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้ถือหุ้นใหญ่ต่างชาติทิ้งหุ้น 'แอดวานซ์' 4.36% เหลือถือรวม 32.2% จากรายชื่อปิดสมุดทะเบียนล่าสุด รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้าน ด้านบริษัทเผยนักลงทุนระยะยาวยังเชื่อมั่นจากการไปโรดโชว์"ฮ่องกง-สิงคโปร์" ขณะที่บางส่วนฉวยจังหวะซื้อเพิ่มช่วงราคาร่วงหนัก
จากการปิดสมุดทะเบียนล่าสุดของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ซึ่งไม่ได้ถือสัญชาติไทย มีสัดส่วนการถือครองที่ลดลงเหลือ 32.2% จากจำนวน 9 ราย ขณะที่วันปิดสมุดทะเบียนก่อนหน้านี้เมื่อ 17 ส.ค. 2558 มีจำนวนผู้ถือหุ้นใหญ่ต่างชาติ 11 ราย ถือครองหุ้นรวมกัน 36.56%
สำหรับผู้ถือหุ้นที่ขายออกไป ได้แก่ ลิตเติลดาวน์ นอมินีส์ ขายออก 0.07% เหลือ 1.7% เชส นอมินีส์ ขายออก 1.36% เหลือ 1.49% สเตท สตรีท แบงก์ ยุโรป ขายออก 0.27% เหลือ 1.41% เดอะ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลอน ขายออก 0.31% เหลือ 1.19% เดอะ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค (นอมินีส์) ขายออก 0.43% เหลือ 0.59% สเตท สตรีท แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ ขายออก 0.14% เหลือ 0.58% และ เอชเอสบีซี (สิงคโปร์) นอมินีส์ ขายออก 0.92% เหลือ 0.57% ส่วนนอร์แบกซ์ ขายออกทั้งหมด 0.87% และฮ่องกง แอนด์ เซียงไฮ้ แบงก์กิ้ง ขายออกทั้งหมด 0.72%
ขณะที่ ซิงเทล สตราเทจิก อินเวสเมนท์ ซื้อเพิ่ม 0.01% รวมเป็น 23.32% และจีไอซี ไพรเวท ซื้อเพิ่ม 0.72% รวมเป็น 1.35%
ทั้งนี้ หากคำนวณมูลค่าสัดส่วนของหุ้นที่ถูกขายออกไป 4.36% โดยพิจารณาจากราคาเฉลี่ยของหุ้นแอดวานซ์ภายหลังจากจบการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอยู่ที่ราว 150 บาทต่อหุ้น จะได้มูลค่าที่ถูกขายออก ไปราว 21,000 ล้านบาท
ด้านนางสาวนัฐิยา พัวพงศกร ผู้อำนวยการ สำนักนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จบลงในช่วงกลางเดือนธ.ค. 2558 ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทลดลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากธรรมชาติของเดือน ธ.ค. ซึ่งปริมาณการซื้อขายจะเบาบางอยู่แล้ว ทำให้ราคาหุ้นเหวี่ยงได้ค่อนข้างแรกมากกว่าปกติ หากมีปัจจัยสำคัญเข้ามากระทบ จากการเดินทางไปให้ข้อมูลกับนักลงทุนต่างชาติที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการพูดคุยกับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนยังให้ความเชื่อมั่นกับบริษัท โดยเฉพาะนักลงทุนระยะยาวส่วนหนึ่งที่ซื้อหุ้นเพิ่มในช่วงเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา
"การไปโรดโชว์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับเสียงสะท้อนกลับมาค่อนข้างดี แม้ช่วงแรกจะมีแรงขายด้วยความตื่นตระหนกออกมา แต่หลังจากที่ค่อยๆ ดูสถานการณ์ก็ทำให้ความเชื่อมั่น ฟื้นกลับมา และปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคงจะเป็นวันที่ 21 มี.ค. นี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีนักลงทุน บางส่วนเก็งกำไรกับประเด็นนี้ว่าผู้ถือหุ้นรายใหม่อาจตัดสินใจไม่เข้ามา ส่วนแผนโรดโชว์ครั้งต่อไปของบริษัท จะรอให้ผ่านวันที่ 21 มี.ค. นี้ ไปเสียก่อน"
สำหรับกรณีบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS ยังไม่มีทีท่าจะจ่ายค่า ใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น หากกสทช.นำมาเปิดประมูลรอบใหม่ โดยใช้ราคาประมูลเดิมเป็นราคาเริ่มต้น หรือราว 76,000 ล้านบาท บริษัทเห็นว่าราคาประมูลระดับดังกล่าวถือว่าแพงเกินไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และไม่คุ้มค่าในเชิงการให้บริการ เพราะการทุ่มเงินสูงๆ เพื่อประมูลใบอนุญาตอาจกระทบให้ไม่มีทุนเพียงพอในการลงทุนด้านอื่นต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทมีคลื่นให้บริการกับลูกค้าเพียงพอ หลังชนะประมูลคลื่น 1800 อีก 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากที่มีอยู่เดิม และล่าสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) TOT พัฒนาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 อีก 15 เมกะเฮิรตซ์ ร่วมแล้วบริษัทจะมีคลื่นในมือรวมกัน 45 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการลูกค้า ทั้งนี้มีนักลงทุนตั้งข้อสังเกตถึงธุรกิจเทเลคอมทั่วโลก จะเผชิญกับปัญหาการเติบโตในอนาคต ภายหลังมีแอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ค เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการเทเลคอม จะมีรายได้จากการขายเวลาเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในรายได้ใหม่อื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยบริษัทได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ และมีการลงทุนในส่วนนี้ต่อเนื่อง การเริ่มให้บริการ mPAY ตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน หรือเริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบรนด์ เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงบริการใหม่ๆ ที่ตามมาต่อเนื่อง
ขณะที่การประมาณการอัตรากำไรก่อนหักค่าเสื่อมที่ 37-38% ในปีนี้ ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 45.6% นั้น จากการตรวจสอบสถิติอิบิทด้า ย้อนหลังของบริษัท พบว่าประมาณการในระดับดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำสุดรอบ 9 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ ระหว่างปี 2552-2558 อัตราส่วนอิบิทด้าของบริษัทจะอยู่ในระดับ 43-45% มาโดยตลอด ส่วนปี 2551 อัตราส่วนอิบิทด้าของบริษัทอยู่ที่ราว 40%
"อัตราส่วนอิบิด้าที่ลดลงนี้เป็นผลจากค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า โดยการออกแคมเปญแลกเครื่อง เพื่อรักษาฐานลูกค้าบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เดิมที่มีอยู่ 12 ล้านราย ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 8,000 ล้านบาท ขณะที่ปีหน้าจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว เชื่อว่า อิบิด้าโดยรวมจะดีขึ้นได้"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 17, 21)
'ต่างชาติ' ทิ้งแอดวานซ์กว่า 4% ผู้บริหารเชื่อนักลงทุนหวนคืน
'ต่างชาติ' ทิ้งแอดวานซ์กว่า 4% ผู้บริหารเชื่อนักลงทุนหวนคืน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้ถือหุ้นใหญ่ต่างชาติทิ้งหุ้น 'แอดวานซ์' 4.36% เหลือถือรวม 32.2% จากรายชื่อปิดสมุดทะเบียนล่าสุด รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้าน ด้านบริษัทเผยนักลงทุนระยะยาวยังเชื่อมั่นจากการไปโรดโชว์"ฮ่องกง-สิงคโปร์" ขณะที่บางส่วนฉวยจังหวะซื้อเพิ่มช่วงราคาร่วงหนัก
จากการปิดสมุดทะเบียนล่าสุดของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ซึ่งไม่ได้ถือสัญชาติไทย มีสัดส่วนการถือครองที่ลดลงเหลือ 32.2% จากจำนวน 9 ราย ขณะที่วันปิดสมุดทะเบียนก่อนหน้านี้เมื่อ 17 ส.ค. 2558 มีจำนวนผู้ถือหุ้นใหญ่ต่างชาติ 11 ราย ถือครองหุ้นรวมกัน 36.56%
สำหรับผู้ถือหุ้นที่ขายออกไป ได้แก่ ลิตเติลดาวน์ นอมินีส์ ขายออก 0.07% เหลือ 1.7% เชส นอมินีส์ ขายออก 1.36% เหลือ 1.49% สเตท สตรีท แบงก์ ยุโรป ขายออก 0.27% เหลือ 1.41% เดอะ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลอน ขายออก 0.31% เหลือ 1.19% เดอะ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค (นอมินีส์) ขายออก 0.43% เหลือ 0.59% สเตท สตรีท แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ ขายออก 0.14% เหลือ 0.58% และ เอชเอสบีซี (สิงคโปร์) นอมินีส์ ขายออก 0.92% เหลือ 0.57% ส่วนนอร์แบกซ์ ขายออกทั้งหมด 0.87% และฮ่องกง แอนด์ เซียงไฮ้ แบงก์กิ้ง ขายออกทั้งหมด 0.72%
ขณะที่ ซิงเทล สตราเทจิก อินเวสเมนท์ ซื้อเพิ่ม 0.01% รวมเป็น 23.32% และจีไอซี ไพรเวท ซื้อเพิ่ม 0.72% รวมเป็น 1.35%
ทั้งนี้ หากคำนวณมูลค่าสัดส่วนของหุ้นที่ถูกขายออกไป 4.36% โดยพิจารณาจากราคาเฉลี่ยของหุ้นแอดวานซ์ภายหลังจากจบการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอยู่ที่ราว 150 บาทต่อหุ้น จะได้มูลค่าที่ถูกขายออก ไปราว 21,000 ล้านบาท
ด้านนางสาวนัฐิยา พัวพงศกร ผู้อำนวยการ สำนักนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จบลงในช่วงกลางเดือนธ.ค. 2558 ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทลดลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากธรรมชาติของเดือน ธ.ค. ซึ่งปริมาณการซื้อขายจะเบาบางอยู่แล้ว ทำให้ราคาหุ้นเหวี่ยงได้ค่อนข้างแรกมากกว่าปกติ หากมีปัจจัยสำคัญเข้ามากระทบ จากการเดินทางไปให้ข้อมูลกับนักลงทุนต่างชาติที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการพูดคุยกับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนยังให้ความเชื่อมั่นกับบริษัท โดยเฉพาะนักลงทุนระยะยาวส่วนหนึ่งที่ซื้อหุ้นเพิ่มในช่วงเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา
"การไปโรดโชว์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับเสียงสะท้อนกลับมาค่อนข้างดี แม้ช่วงแรกจะมีแรงขายด้วยความตื่นตระหนกออกมา แต่หลังจากที่ค่อยๆ ดูสถานการณ์ก็ทำให้ความเชื่อมั่น ฟื้นกลับมา และปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคงจะเป็นวันที่ 21 มี.ค. นี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีนักลงทุน บางส่วนเก็งกำไรกับประเด็นนี้ว่าผู้ถือหุ้นรายใหม่อาจตัดสินใจไม่เข้ามา ส่วนแผนโรดโชว์ครั้งต่อไปของบริษัท จะรอให้ผ่านวันที่ 21 มี.ค. นี้ ไปเสียก่อน"
สำหรับกรณีบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS ยังไม่มีทีท่าจะจ่ายค่า ใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น หากกสทช.นำมาเปิดประมูลรอบใหม่ โดยใช้ราคาประมูลเดิมเป็นราคาเริ่มต้น หรือราว 76,000 ล้านบาท บริษัทเห็นว่าราคาประมูลระดับดังกล่าวถือว่าแพงเกินไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และไม่คุ้มค่าในเชิงการให้บริการ เพราะการทุ่มเงินสูงๆ เพื่อประมูลใบอนุญาตอาจกระทบให้ไม่มีทุนเพียงพอในการลงทุนด้านอื่นต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทมีคลื่นให้บริการกับลูกค้าเพียงพอ หลังชนะประมูลคลื่น 1800 อีก 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากที่มีอยู่เดิม และล่าสุดได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) TOT พัฒนาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 อีก 15 เมกะเฮิรตซ์ ร่วมแล้วบริษัทจะมีคลื่นในมือรวมกัน 45 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการลูกค้า ทั้งนี้มีนักลงทุนตั้งข้อสังเกตถึงธุรกิจเทเลคอมทั่วโลก จะเผชิญกับปัญหาการเติบโตในอนาคต ภายหลังมีแอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ค เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการเทเลคอม จะมีรายได้จากการขายเวลาเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในรายได้ใหม่อื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยบริษัทได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ และมีการลงทุนในส่วนนี้ต่อเนื่อง การเริ่มให้บริการ mPAY ตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน หรือเริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบรนด์ เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงบริการใหม่ๆ ที่ตามมาต่อเนื่อง
ขณะที่การประมาณการอัตรากำไรก่อนหักค่าเสื่อมที่ 37-38% ในปีนี้ ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 45.6% นั้น จากการตรวจสอบสถิติอิบิทด้า ย้อนหลังของบริษัท พบว่าประมาณการในระดับดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำสุดรอบ 9 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ ระหว่างปี 2552-2558 อัตราส่วนอิบิทด้าของบริษัทจะอยู่ในระดับ 43-45% มาโดยตลอด ส่วนปี 2551 อัตราส่วนอิบิทด้าของบริษัทอยู่ที่ราว 40%
"อัตราส่วนอิบิด้าที่ลดลงนี้เป็นผลจากค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า โดยการออกแคมเปญแลกเครื่อง เพื่อรักษาฐานลูกค้าบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เดิมที่มีอยู่ 12 ล้านราย ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 8,000 ล้านบาท ขณะที่ปีหน้าจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว เชื่อว่า อิบิด้าโดยรวมจะดีขึ้นได้"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 17, 21)