เกิดมาทำไม?
การที่จะเข้าเรื่องของชีวิตว่า เราเกิดมาทำไม? ได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากมาย จึงจะเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง แต่ในขั้นต้นนี้เราเพียงมาศึกษาขั้นพื้นฐานให้เข้าใจก่อนว่า คนเรานั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็อยากมีความสุข และอยากได้สิ่งที่ให้ความสุข แต่ว่าเกลียด (ไม่อยากได้) ความทุกข์ และกลัวสิ่งที่จะทำให้เกิดความทุกข์ เมื่อเราเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้แล้ว จึงค่อยศึกษาเรื่องที่สูงขึ้นต่อไปก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเรานั้นเกิดมาทำไม?
ความสุขของโลก
ความสุขที่คนเราอยากได้นั้นก็แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑. ความสุขจากการอาศัยวัตถุนิยม อันได้แก่ เรื่องทางเพศ, เรื่องวัตถุสิ่งของ, และเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง
๒. ความสุขจากการที่ไม่อาศัยวัตถุนิยม ซึ่งได้แก่เรื่องการทำความดีทั้งหลาย เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การเสียสละ การเป็นคนซื่อศัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที รวมทั้งจากการปฏิบัติหน้าที่การงานที่สุจริต และ การฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา เป็นต้น
คนทั่วไปจะพอใจและติดใจในความสุขจากวัตถุนิยมเสียเกือบทั้งหมด ดังนั้นคนทั้งโลกจึงได้พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนและประกอบอาชีพการงานก็เพื่อให้ได้วัตถุนิยมนี้ จะมีก็ส่วนน้อยที่พยายามแสวงหาความสุขที่นอกเหนือจากเรื่องวัตถุนิยม อันได้แก่ความสุขจากการทำความดี ซึ่งก็ได้แก่การช่วยเหลือคนอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ (คือไม่หวังผลตอบแทนใดๆแม้คำว่าขอบคุณ) และจากการเป็นคนซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งความสุขที่สงบประณีตจากการฝึกจิตให้มีสมาธิและมองโลกอย่างชาญฉลาด (การมองโลกอย่างชาญฉลาดก็คือการเจริญวิปัสสนา) เป็นต้น
ความทุกข์ของโลก
ธรรมชาติ (ธรรมดา) ของโลกอย่างหนึ่งคือมีของคู่ เช่น เมื่อมีมืดก็ต้องมีสว่าง เมื่อขาวก็ต้องมีดำ เมื่อมีชายก็ต้องมีหญิง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีความสุขก็ต้องมีความทุกข์เป็นของคู่กัน ซึ่งความสุขนั้นเป็นความรู้สึกที่ทนได้ง่ายหรือทนได้สบาย ดังนั้นคนทั้งหลายจึงได้พอใจ (อยากได้) และติดใจ (อยู่ใต้อำนาจ) ความสุข และพยายามแสวงหาสิ่งที่จะให้ความสุขมาให้มากที่สุดและเร็วที่สุด แต่เมื่อมีความสุขเราก็ต้องพบกับสิ่งที่คู่กับความสุขอันได้แก่ความทุกข์อยู่ด้วยเสมอ ซึ่งความทุกข์นั้นเป็นความรู้สึกที่ทนได้ยากหรือทนได้ลำบาก ดังนั้นคนทั้งหลายจึงได้เกลียดและกลัวความทุกข์ และพยายามที่จะหนีและทำลายสิ่งที่จะทำให้เกิดความทุกข์ จึงทำให้ความทุกข์จัดว่าเป็นภัย (สิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนอย่างใญ่หลวง) หรือปัญหา (สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ต้องแก้ไข) ของมนุษย์ทุกคน ส่วนความสุขจัดว่าเป็นโชค (สิ่งที่นำความสุขหรือความสบายมาให้) ของมนุษย์ทุกคน
ความทุกข์ของมนุษย์นั้นก็แยกได้ ๒ อย่างเหมือนความสุข อันได้แก่
๑. ความทุกข์ทางกาย หรือความทุกข์ที่อาศัยวัตถุ อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย คือร่างกาย แก่ เจ็บ ป่วย ตาย รวมทั้งจากการพลัดพรากจากบุคคลและสิ่งอันเป็นที่รัก จากการที่ต้องประสบกับบุลและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก และจากความผิดหวัง
๒. ความทุกข์ทางจิตใจ หรือความทุกข์ที่ไม่อาศัยวัตถุ อันได้แก่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจโดยตรง อันได้แก่ ความเศร้าโศก (หรือเสียใจ) ความคับแค้นใจ (อีดอัดใจ) ความไม่สบายใจ (ความรำคาญใจ) ความหนัก-เหนื่อยใจ (เครียด) เป็นต้น ที่เกิดขึ้นมาจากการที่จิตของเราไปพอใจ (อยากได้) และไม่พอใจ (ไม่อยากได้ หรือเกลียด กลัว) ต่อความทุกข์ทางกายทั้งหลาย
คามทุกข์ทางกายนั้นมันเป็นความทุกข์ตามธรรมชาติที่ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความทุกข์ที่ยังไม่รุนแรงและไม่ทำให้จิดของเราเกิดความรู้สึกที่ทรมานหรือเป็นทุกข์ที่รุนแรงขึ้นมาได้ แต่ถ้าจิตของเราเกิดความไม่พอใจหรือเกลียดกลัวต่อความทุกข์ทางกายนี้เข้าเมื่อใด จิตของเราก็จะเกิดความรู้สึกที่ทรมานหรือเป็นทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก
สรุปได้ว่า ความทุกข์ทางกายนั้นเป็นธรรมชาติที่ไม่มีครจะหนีพ้นได้ แต่มันก็ยังเป็นความทุกข์ที่ไม่รุนแรง ส่วนความทุกข์ทางจิตใจนั้นเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากการที่จิตของเราเกิดความพอใจ (รัก ชอบ) หรือไม่พอใจ (เกลียด กลัว) ต่อความทุกข์ทางกาย ซึ่งความทุกข์ทางจิตใจนี้เป็นความทุกข์ที่รุนแรง แต่ความทุกข์ทางจิตใจนี้เป็นความทุกข์ที่เราสามารถหนีพ้น (หลุดพ้น) ได้ คือเพียงเราหยุดความพอใจและไม่พอใจของจิตใจให้ได้ ความทุกข์ทางจิตใจนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งการที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาในโลก ก็เพื่อมาสอนให้มนุษย์รู้จักวิธีการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจนี้นั่นเอง
สุข-ทุกข์ของโลก
การที่จะเข้าเรื่องของชีวิตว่า เราเกิดมาทำไม? ได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากมาย จึงจะเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง แต่ในขั้นต้นนี้เราเพียงมาศึกษาขั้นพื้นฐานให้เข้าใจก่อนว่า คนเรานั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็อยากมีความสุข และอยากได้สิ่งที่ให้ความสุข แต่ว่าเกลียด (ไม่อยากได้) ความทุกข์ และกลัวสิ่งที่จะทำให้เกิดความทุกข์ เมื่อเราเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้แล้ว จึงค่อยศึกษาเรื่องที่สูงขึ้นต่อไปก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเรานั้นเกิดมาทำไม?
ความสุขที่คนเราอยากได้นั้นก็แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑. ความสุขจากการอาศัยวัตถุนิยม อันได้แก่ เรื่องทางเพศ, เรื่องวัตถุสิ่งของ, และเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง
๒. ความสุขจากการที่ไม่อาศัยวัตถุนิยม ซึ่งได้แก่เรื่องการทำความดีทั้งหลาย เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การเสียสละ การเป็นคนซื่อศัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที รวมทั้งจากการปฏิบัติหน้าที่การงานที่สุจริต และ การฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา เป็นต้น
คนทั่วไปจะพอใจและติดใจในความสุขจากวัตถุนิยมเสียเกือบทั้งหมด ดังนั้นคนทั้งโลกจึงได้พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนและประกอบอาชีพการงานก็เพื่อให้ได้วัตถุนิยมนี้ จะมีก็ส่วนน้อยที่พยายามแสวงหาความสุขที่นอกเหนือจากเรื่องวัตถุนิยม อันได้แก่ความสุขจากการทำความดี ซึ่งก็ได้แก่การช่วยเหลือคนอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ (คือไม่หวังผลตอบแทนใดๆแม้คำว่าขอบคุณ) และจากการเป็นคนซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งความสุขที่สงบประณีตจากการฝึกจิตให้มีสมาธิและมองโลกอย่างชาญฉลาด (การมองโลกอย่างชาญฉลาดก็คือการเจริญวิปัสสนา) เป็นต้น
ธรรมชาติ (ธรรมดา) ของโลกอย่างหนึ่งคือมีของคู่ เช่น เมื่อมีมืดก็ต้องมีสว่าง เมื่อขาวก็ต้องมีดำ เมื่อมีชายก็ต้องมีหญิง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีความสุขก็ต้องมีความทุกข์เป็นของคู่กัน ซึ่งความสุขนั้นเป็นความรู้สึกที่ทนได้ง่ายหรือทนได้สบาย ดังนั้นคนทั้งหลายจึงได้พอใจ (อยากได้) และติดใจ (อยู่ใต้อำนาจ) ความสุข และพยายามแสวงหาสิ่งที่จะให้ความสุขมาให้มากที่สุดและเร็วที่สุด แต่เมื่อมีความสุขเราก็ต้องพบกับสิ่งที่คู่กับความสุขอันได้แก่ความทุกข์อยู่ด้วยเสมอ ซึ่งความทุกข์นั้นเป็นความรู้สึกที่ทนได้ยากหรือทนได้ลำบาก ดังนั้นคนทั้งหลายจึงได้เกลียดและกลัวความทุกข์ และพยายามที่จะหนีและทำลายสิ่งที่จะทำให้เกิดความทุกข์ จึงทำให้ความทุกข์จัดว่าเป็นภัย (สิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนอย่างใญ่หลวง) หรือปัญหา (สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ต้องแก้ไข) ของมนุษย์ทุกคน ส่วนความสุขจัดว่าเป็นโชค (สิ่งที่นำความสุขหรือความสบายมาให้) ของมนุษย์ทุกคน
ความทุกข์ของมนุษย์นั้นก็แยกได้ ๒ อย่างเหมือนความสุข อันได้แก่
๑. ความทุกข์ทางกาย หรือความทุกข์ที่อาศัยวัตถุ อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย คือร่างกาย แก่ เจ็บ ป่วย ตาย รวมทั้งจากการพลัดพรากจากบุคคลและสิ่งอันเป็นที่รัก จากการที่ต้องประสบกับบุลและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก และจากความผิดหวัง
๒. ความทุกข์ทางจิตใจ หรือความทุกข์ที่ไม่อาศัยวัตถุ อันได้แก่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจโดยตรง อันได้แก่ ความเศร้าโศก (หรือเสียใจ) ความคับแค้นใจ (อีดอัดใจ) ความไม่สบายใจ (ความรำคาญใจ) ความหนัก-เหนื่อยใจ (เครียด) เป็นต้น ที่เกิดขึ้นมาจากการที่จิตของเราไปพอใจ (อยากได้) และไม่พอใจ (ไม่อยากได้ หรือเกลียด กลัว) ต่อความทุกข์ทางกายทั้งหลาย
คามทุกข์ทางกายนั้นมันเป็นความทุกข์ตามธรรมชาติที่ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความทุกข์ที่ยังไม่รุนแรงและไม่ทำให้จิดของเราเกิดความรู้สึกที่ทรมานหรือเป็นทุกข์ที่รุนแรงขึ้นมาได้ แต่ถ้าจิตของเราเกิดความไม่พอใจหรือเกลียดกลัวต่อความทุกข์ทางกายนี้เข้าเมื่อใด จิตของเราก็จะเกิดความรู้สึกที่ทรมานหรือเป็นทุกข์ที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก
สรุปได้ว่า ความทุกข์ทางกายนั้นเป็นธรรมชาติที่ไม่มีครจะหนีพ้นได้ แต่มันก็ยังเป็นความทุกข์ที่ไม่รุนแรง ส่วนความทุกข์ทางจิตใจนั้นเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากการที่จิตของเราเกิดความพอใจ (รัก ชอบ) หรือไม่พอใจ (เกลียด กลัว) ต่อความทุกข์ทางกาย ซึ่งความทุกข์ทางจิตใจนี้เป็นความทุกข์ที่รุนแรง แต่ความทุกข์ทางจิตใจนี้เป็นความทุกข์ที่เราสามารถหนีพ้น (หลุดพ้น) ได้ คือเพียงเราหยุดความพอใจและไม่พอใจของจิตใจให้ได้ ความทุกข์ทางจิตใจนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งการที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาในโลก ก็เพื่อมาสอนให้มนุษย์รู้จักวิธีการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจนี้นั่นเอง