งวดเข้ามาทุกทีกับการประมูลคลื่นความถี่สำหรับนำมาพัฒนาบริการ 4G รวมถึงการทำงานครบรอบปี ของรัฐบาลที่ประกาศนโยบายสำคัญ ทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ "ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสนี้พูดคุยกับ "ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้รู้รอบด้าน เชี่ยวชาญและติดตามสถานการณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างต่อเนื่อง
ความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ประมูล 4G
มีอยู่ 3 ประเด็นใหญ่ที่ดู IM แล้วควรปรับปรุง คือ ราคาตั้งต้นเหมาะสมหรือไม่ ราคาของ ITU ไม่ได้เปิดเผยวิธีคำนวณ และราคาเดิมที่คำนวณไว้เมื่อปีที่แล้วก็สำหรับอายุใบอนุญาต 15 ปี เมื่ออายุใบอนุญาตเปลี่ยนก็เป็นปัญหา ตกลงว่าราคาเหมาะสม แล้วหรือยัง ราคาต่ำเกินไปหรือเปล่า ไม่ได้ นำอายุใบอนุญาตที่จะให้จริงมาคำนวณ
ค่ายมือถือว่าแพงไป
ถามโอเปอเรเตอร์เมื่อไรก็ต้องบ่นว่าแพง ฉะนั้น ราคาจะสูงจะต่ำต้องเอาวิธีคิดมาดู ที่อ้างว่าประมูล 4G หลัง ๆ ราคาต่ำลงก็ต้องเอาหลักฐานมาโชว์กัน ถ้าต่ำลงจริง ทุกอย่างตรงไปตรงมาโปร่งใส คนก็เชื่อถือ
แปรผันกับการขยายโครงข่าย-ค่าบริการ
อ้างมานานแล้ว พูดกี่ทีแล้วว่าไม่จริง ไม่ว่าประมูลสูงหรือต่ำไม่ได้มีการผลักภาระให้ผู้บริโภค เป็นการแบ่งกำไรระหว่างรัฐกับเอกชน ถ้าราคาต่ำคือเอกชนกำไรเยอะ เอกชนที่ไหนก็ต้องการกำไรเยอะทั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่าเอกชนจะบ่นว่าราคาแพง เพียงแต่ภาครัฐอย่าไปเชื่อง่าย ๆ ต้องเอาหลักฐานมาดูกัน เปิดให้ประชาชนดูด้วย
เรื่องที่ 2 คือ ได้ยินว่าจะมีการจัดประมูล 2 คลื่นพร้อมกันเช้า-บ่าย ซึ่ง น่ากังวล สมมุติมีรายใหม่มา 2 ราย 5 แย่ง 4 ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีรายใหม่รายเดียวกลายเป็น 4 แย่ง 4 เกิดปัญหาเหมือนประมูลครั้งก่อน ยิ่งถ้าไม่มีรายใหม่เลย มี 3 รายเดิมมาเอาใบอนุญาต 4 ใบ จะเป็นปัญหาเลย ยิ่งประมูลเช้า-บ่ายก็จะเป็นฝันร้ายของ กสทช.
ช่วงเช้าประมูล 1800 MHz ใบอนุญาต 2 ใบ มี 3 รายเข้า ก็บอกว่ามากกว่าจำนวนใบอนุญาต ใช้ราคาแค่ 70% แล้วประมูลกันก็อาจมีการเตี๊ยมกันไม่ได้แข่งขันจริง ตกบ่ายประมูลอีกรอบคือแบ่งกันเรียบร้อยแล้วว่าใครจะเอาคลื่นย่านไหนการแข่งขันก็จะไม่เกิดขึ้นจริง
ไม่ควรประมูลเช้า-บ่าย แต่ควรทิ้งเวลาพอสมควร อีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเท่าไร แต่จะเกิดความไม่แน่นอนในการฮั้ว คือแต่ละรายจะไม่แน่ใจว่าจะโดนหักหลังหรือเปล่า ทำให้ต้องสู้กัน โอกาสแข่งกันจะสูงกว่า เป็นเรื่องการออกแบบการประมูล
แต่คุณสมบัติคลื่นก็ต่างกัน
ใช่ บางรายต้องการแค่คลื่นบางย่าน บางครั้ง ต้องการคลื่นเยอะ ๆ เพราะลูกค้าเยอะ ถ้าเอาเช้า-บ่ายเสี่ยงฮั้วได้ ยังมีเงื่อนไขอีกหลายเงื่อนไขที่จะทำให้ กสทช.ถูกเพ่งเล็ง เช่น กำหนดราคาถูกไปหรือไม่ ใช้ราคาที่ประเมินจากใบอนุญาต 15 ปี เป็นราคาเริ่มต้นต่ำเกินจริงไหม แล้วยังคิดแค่ 70% จากราคาที่ต่ำเกินจริงอีก ถ้าไม่ได้สู้กันจริงก็จะซ้ำรอย 3G แทนที่จะสำเร็จกลายเป็น "ทุกข์" ของ กสทช. ก็เตือนไว้ ประเด็นที่ 3 คือ ความครอบคลุมโครงข่ายกำหนดแค่ 40% ใน 4 ปี เหมือนบังคับไว้แค่ 40% ตลอดใบอนุญาตไป 4G มีประสิทธิภาพกว่า 3G ถ้าทำให้แพร่หลายเป็นเรื่องที่ดี
การประมูลจะสร้างความเปลี่ยนแปลง
ถ้าไม่มีรายใหม่เข้ามาเลย ไดนามิกของการแข่งขันจะจำกัดมาก ๆ เราจะพบว่าราคาไม่ได้ลดจริง คุณภาพไม่ได้อะไรมากมาย ถ้ามีรายที่ 4 จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับว่ารายที่ 4 จะหาผู้ลงทุนต่างประเทศที่เข้มแข็งได้หรือเปล่า ถ้าเข้ามา ไม่มีพาร์ตเนอร์ที่เข้มแข็งแข่งราคาแค่แป๊บเดียวแล้วก็ถอยไปสู้ไม่ได้
มีข้อเสนอให้ลดขนาดคลื่นต่อใบอนุญาต
บิสซิเนสโมเดล 3G, 4G ไม่ได้เป็น แบบเดิมทั้งหมด เท่าที่ตามมีบิสซิเนสโมเดลใหม่ ๆ เช่น ได้คลื่นไปแล้วไม่ได้ใช้เองทั้งหมด เช่น ค้าปลีกใหญ่มีสมาชิกเยอะก็เข้ามาใช้บริการ ถ้าจัสมินมาเข้าก็ไม่จำเป็นต้องทำเองหมด แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ หาพาร์ตเนอร์แข็ง ๆ มาช่วยเป็น Win-Win ของทั้งสังคม เมื่อประมูลมาแล้ว ให้บริการก็เกิดการแข่งขัน
ทำไมทีวีดิจิทัลไปไม่รอด
เป็นเรื่องธรรมดา ทุกวงการต้องมี คนเปิดตัวและปิดตัวไปตลอดเวลา เพียงแต่ธุรกิจนี้ลงทุนสูง เป็นธุรกิจรับใบอนุญาต การเปลี่ยนมือจึงไม่ง่ายจึงมีเคส ที่เลขาธิการ กสทช.เสนอให้ใช้ม.44 ผมมองว่าไม่จำเป็น กฎหมายเดิมก็เปิดให้เปลี่ยนมือได้ คือ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น แต่ปัญหาคือ กสทช.ต้องดูว่าคนที่มาเซ้งต่อถือใบอนุญาตไว้แล้วหรือยัง ถือไว้กี่ใบแล้ว ขัดกับกฎเกณฑ์อะไรหรือไม่ เป็นวัฏจักร เมื่อเศรษฐกิจขาลงโฆษณาก็น้อยมีคน ไม่ประสบความสำเร็จ
รัฐวิสาหกิจไม่ยอมจะคืนคลื่น
มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง กสทช.กับรัฐวิสาหกิจต้องคุยกันให้เคลียร์ว่า สิทธิ์ในคลื่นของรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงเมื่อไรแล้วหาทางออกด้วยกัน โจทย์ที่รัฐบาลควรมอง ไม่ใช่การอยู่รอดของรัฐวิสาหกิจ แต่ควรเป็นโจทย์ที่เศรษฐกิจทั้งระบบได้ประโยชน์
ถ้าคิดว่ารัฐวิสาหกิจจะอยู่รอดด้วยเงิน จากคลื่น ถ้าอยู่รอดมันก็ OK แต่ถ้าไม่มีประสิทธิภาพแล้วเลี้ยงให้อยู่รอด กับการเอาคลื่นไปพัฒนาระบบโทรคมนาคม ระบบดิจิทัลแล้วเศรษฐกิจขยายตัว เงินที่จะได้มากพอจะเลี้ยงรัฐวิสาหกิจที่เจ๊งด้วยซ้ำ
นโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
มี 2 ระบบ คือ การจัดการรัฐวิสาหกิจโดยภาพรวม ตั้งโฮลดิ้งคอมปะนี ซึ่งเป็นทิศทางที่น่าจะถูกทาง เพราะช่วยแก้ปัญหาใหญ่ได้ นั่นคือการให้รัฐวิสาหกิจมีเจ้าของอย่างแท้จริงทำให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปแทรกแซงรัฐวิสาหกิจยากก็จะลดการเมืองที่จะเข้าไปได้ แต่มีความเสี่ยงว่า ถ้าการเมืองเข้าไปฮุบบอร์ดโฮลดิ้งได้ก็กลายเป็นกินรวบเลย ฉะนั้นทุกคนต้องจับตามองว่าใครจะมาเป็นบอร์ดโฮลดิ้ง ถ้าได้บอร์ดดีรัฐวิสาหกิจไทยก้าวกระโดด แต่ถ้าพลาดก็ไปทั้งยวง
ในระดับภาคย่อยจะเห็นการเข้าไปเปลี่ยนบอร์ดแต่ละรัฐวิสาหกิจแล้วเข้าไปฟื้นฟู เห็นความแตกต่างกันแต่ละที่
นโยบายดิจิทัลอีโคโนมี
เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นนโยบายที่ดีเป็น กระแสโลก เมื่อพูดเรื่องนี้ถึงมีเสียงขานรับที่ดีมาก แต่ผ่านไป 1 ปี รัฐบาลหลงทาง 2-3 เรื่อง คือ หลงทางในการสร้างภาครัฐ ให้เป็นตัวนำ ขณะที่ภาครัฐเป็นปัญหา ที่สมควรต้องปฏิรูปอันดับแรกของประเทศ แล้วจะเอามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องการพลวัตสูงมากจึงสำเร็จได้ยากมาก
เศรษฐกิจดิจิทัลต้องขับเคลื่อนโดย เอกชน แต่ภาครัฐไปเอากระทรวงกับรัฐวิสาหกิจมาขับเคลื่อน ซึ่งถือว่าพลาด ที่สำคัญคือ รัฐบาลไปเลื่อนประมูล 4G จนช้าออกไป เศรษฐกิจดิจิทัลในยุคใหม่ไม่ใช่ยุคที่ใช้โทรศัพท์บ้าน แลนด์ไลน์ หรือพีซี แต่ขับเคลื่อนด้วยสมาร์ทดีไวซ์ การประมูล 4G ล่าช้าเป็นสิ่งที่สวนทางกับเศรษฐกิจดิจิทัล
อย่าเข้าใจว่าเศรษฐกิจดิจิทัลคือเซ็กเตอร์ ไอซีที กระทรวงไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลแต่คือสิ่งที่เข้าไปอยู่ทุกหัวระแหง เช่น แท็กซี่ใช้แอปพลิเคชั่นอย่างอูเบอร์ ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นคือการแก้ไขกฎระเบียบ
เศรษฐกิจดิจิทัลคือใช้สิ่งใหม่มาแทนสิ่งเก่า โดยใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงเดียว แต่ต้องแก้กฎระเบียบของทุกกระทรวงที่เป็นอุปสรรค
จะรวมอินฟราสตรักเจอร์ของประเทศ
เป็นเรื่องยาก มีเรื่องอื่นที่ง่ายกว่าแต่ไม่ทำ อย่างประมูล 4G ช้าไปปีสองปีเสียโอกาสมาก เรื่องทาวเวอร์โคถ้าทำไม่ได้ไม่ตาย แต่เสียโอกาสเพราะลงทุนจะแพง ค่าบริการก็ไม่ถูก รายใหม่เข้ามาได้ยาก
สิ่งที่รัฐควรเร่งทำ
ประมูล 4G เพราะผิดหวังที่ คสช.ใช้อำนาจเลื่อนประมูลไปแล้วยังไปต่อมาตรการเยียวยาให้ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่ได้ มองว่าต้องทำให้ระบบถูกต้องเดินไปตามที่ควรจะเป็นโดยเร็วทำให้เสียโอกาสมาก อีกอย่างคือ การแก้กฎระเบียบให้เอกชนเป็นตัวนำ เช่น เปิดเสรีโลจิสติกส์ หรือไปรษณีย์ กฎระเบียบเรื่องการลงทุน การนำแรงงานคุณภาพเข้ามา เราทำ สวนทางคือเปิดเอาแรงงานต่างชาติไร้ทักษะแต่แรงงานที่มีทักษะเข้ามายากมาก เป็นดิจิทัลโดยใช้แรงงานไร้ทักษะจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปไม่ได้
การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ใหม่
ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเศรษฐกิจ ดิจิทัล และ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับล่าสุดดีขึ้น นิดหนึ่ง อย่างเงินกองทุนที่ตีเช็คเปล่า ไว้ก็จำกัดแค่ 5 พันล้านบาท แต่จริง ๆ ไม่ควรมีเพราะขัด พ.ร.บ.กองทุนหมุนเวียน ที่ สสส.ได้เงินจากภาษีบาปรัฐจะดึงเงินมาเมื่อไรก็ได้ กลับกันรัฐบาลกลับตั้งกองทุนใหม่และใหญ่กว่าเดิม เป็นตรรกะที่ ขัดแย้งกันเอง
ร่าง พ.ร.บ. กสทช.ล่าสุด เข้าใจไม่ได้ เหมือนกัน รัฐบาลบอกว่า กสทช.มีปัญหาแต่ไม่แก้เรื่องธรรมาภิบาล กลายเป็นว่าไปเน้นอยู่ที่ "คน" แม้เป็นเรื่องสำคัญแต่ที่สำคัญกว่าคือการทำระบบให้ดี เพื่อโยงไปถึงเรื่องธรรมาภิบาล สำคัญกว่าใครจะอยู่ยาวหรืออยู่สั้น
โครงสร้างองค์กรใหม่ที่มาขับเคลื่อน
ดีขึ้นนิดหนึ่ง แต่ถ้าบอร์ดดีอีขับเคลื่อนโดยข้าราชการและผู้ที่มีอายุเยอะ ๆ คนไม่เข้าใจธุรกิจจะเป็นดีอีได้อย่างไร เราต้องการคนรุ่นใหม่ความคิดใหม่ ถ้ายังให้ราชการขับเคลื่อนนโยบายจะเป็น แบบนี้ เศรษฐกิจจะไม่โตอย่างก้าวกระโดด
ปัญหาสัมปทานเดิม
ที่จะมาเรียกค่าเสียหายกัน รัฐบาลนี้หลงทางหลายเรื่อง แต่มีสิ่งหนึ่งถ้าล้างปัญหาเดิมในรูปแบบที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ อย่าง AC IC คิดว่าไม่ยากที่จะทำ ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าต้องเถียงกันแล้วไปจบที่ขึ้นโรงขึ้นศาล ถ้าอยากใช้อำนาจนายกฯตาม ม.44 ก็ควรมาใช้กับเรื่องพวกนี้
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สัมภาษณ์: ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ โค้งท้ายประมูล 4G อย่าซ้ำรอย 3G
งวดเข้ามาทุกทีกับการประมูลคลื่นความถี่สำหรับนำมาพัฒนาบริการ 4G รวมถึงการทำงานครบรอบปี ของรัฐบาลที่ประกาศนโยบายสำคัญ ทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ "ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสนี้พูดคุยกับ "ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้รู้รอบด้าน เชี่ยวชาญและติดตามสถานการณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างต่อเนื่อง
ความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ประมูล 4G
มีอยู่ 3 ประเด็นใหญ่ที่ดู IM แล้วควรปรับปรุง คือ ราคาตั้งต้นเหมาะสมหรือไม่ ราคาของ ITU ไม่ได้เปิดเผยวิธีคำนวณ และราคาเดิมที่คำนวณไว้เมื่อปีที่แล้วก็สำหรับอายุใบอนุญาต 15 ปี เมื่ออายุใบอนุญาตเปลี่ยนก็เป็นปัญหา ตกลงว่าราคาเหมาะสม แล้วหรือยัง ราคาต่ำเกินไปหรือเปล่า ไม่ได้ นำอายุใบอนุญาตที่จะให้จริงมาคำนวณ
ค่ายมือถือว่าแพงไป
ถามโอเปอเรเตอร์เมื่อไรก็ต้องบ่นว่าแพง ฉะนั้น ราคาจะสูงจะต่ำต้องเอาวิธีคิดมาดู ที่อ้างว่าประมูล 4G หลัง ๆ ราคาต่ำลงก็ต้องเอาหลักฐานมาโชว์กัน ถ้าต่ำลงจริง ทุกอย่างตรงไปตรงมาโปร่งใส คนก็เชื่อถือ
แปรผันกับการขยายโครงข่าย-ค่าบริการ
อ้างมานานแล้ว พูดกี่ทีแล้วว่าไม่จริง ไม่ว่าประมูลสูงหรือต่ำไม่ได้มีการผลักภาระให้ผู้บริโภค เป็นการแบ่งกำไรระหว่างรัฐกับเอกชน ถ้าราคาต่ำคือเอกชนกำไรเยอะ เอกชนที่ไหนก็ต้องการกำไรเยอะทั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่าเอกชนจะบ่นว่าราคาแพง เพียงแต่ภาครัฐอย่าไปเชื่อง่าย ๆ ต้องเอาหลักฐานมาดูกัน เปิดให้ประชาชนดูด้วย
เรื่องที่ 2 คือ ได้ยินว่าจะมีการจัดประมูล 2 คลื่นพร้อมกันเช้า-บ่าย ซึ่ง น่ากังวล สมมุติมีรายใหม่มา 2 ราย 5 แย่ง 4 ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีรายใหม่รายเดียวกลายเป็น 4 แย่ง 4 เกิดปัญหาเหมือนประมูลครั้งก่อน ยิ่งถ้าไม่มีรายใหม่เลย มี 3 รายเดิมมาเอาใบอนุญาต 4 ใบ จะเป็นปัญหาเลย ยิ่งประมูลเช้า-บ่ายก็จะเป็นฝันร้ายของ กสทช.
ช่วงเช้าประมูล 1800 MHz ใบอนุญาต 2 ใบ มี 3 รายเข้า ก็บอกว่ามากกว่าจำนวนใบอนุญาต ใช้ราคาแค่ 70% แล้วประมูลกันก็อาจมีการเตี๊ยมกันไม่ได้แข่งขันจริง ตกบ่ายประมูลอีกรอบคือแบ่งกันเรียบร้อยแล้วว่าใครจะเอาคลื่นย่านไหนการแข่งขันก็จะไม่เกิดขึ้นจริง
ไม่ควรประมูลเช้า-บ่าย แต่ควรทิ้งเวลาพอสมควร อีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเท่าไร แต่จะเกิดความไม่แน่นอนในการฮั้ว คือแต่ละรายจะไม่แน่ใจว่าจะโดนหักหลังหรือเปล่า ทำให้ต้องสู้กัน โอกาสแข่งกันจะสูงกว่า เป็นเรื่องการออกแบบการประมูล
แต่คุณสมบัติคลื่นก็ต่างกัน
ใช่ บางรายต้องการแค่คลื่นบางย่าน บางครั้ง ต้องการคลื่นเยอะ ๆ เพราะลูกค้าเยอะ ถ้าเอาเช้า-บ่ายเสี่ยงฮั้วได้ ยังมีเงื่อนไขอีกหลายเงื่อนไขที่จะทำให้ กสทช.ถูกเพ่งเล็ง เช่น กำหนดราคาถูกไปหรือไม่ ใช้ราคาที่ประเมินจากใบอนุญาต 15 ปี เป็นราคาเริ่มต้นต่ำเกินจริงไหม แล้วยังคิดแค่ 70% จากราคาที่ต่ำเกินจริงอีก ถ้าไม่ได้สู้กันจริงก็จะซ้ำรอย 3G แทนที่จะสำเร็จกลายเป็น "ทุกข์" ของ กสทช. ก็เตือนไว้ ประเด็นที่ 3 คือ ความครอบคลุมโครงข่ายกำหนดแค่ 40% ใน 4 ปี เหมือนบังคับไว้แค่ 40% ตลอดใบอนุญาตไป 4G มีประสิทธิภาพกว่า 3G ถ้าทำให้แพร่หลายเป็นเรื่องที่ดี
การประมูลจะสร้างความเปลี่ยนแปลง
ถ้าไม่มีรายใหม่เข้ามาเลย ไดนามิกของการแข่งขันจะจำกัดมาก ๆ เราจะพบว่าราคาไม่ได้ลดจริง คุณภาพไม่ได้อะไรมากมาย ถ้ามีรายที่ 4 จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับว่ารายที่ 4 จะหาผู้ลงทุนต่างประเทศที่เข้มแข็งได้หรือเปล่า ถ้าเข้ามา ไม่มีพาร์ตเนอร์ที่เข้มแข็งแข่งราคาแค่แป๊บเดียวแล้วก็ถอยไปสู้ไม่ได้
มีข้อเสนอให้ลดขนาดคลื่นต่อใบอนุญาต
บิสซิเนสโมเดล 3G, 4G ไม่ได้เป็น แบบเดิมทั้งหมด เท่าที่ตามมีบิสซิเนสโมเดลใหม่ ๆ เช่น ได้คลื่นไปแล้วไม่ได้ใช้เองทั้งหมด เช่น ค้าปลีกใหญ่มีสมาชิกเยอะก็เข้ามาใช้บริการ ถ้าจัสมินมาเข้าก็ไม่จำเป็นต้องทำเองหมด แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ หาพาร์ตเนอร์แข็ง ๆ มาช่วยเป็น Win-Win ของทั้งสังคม เมื่อประมูลมาแล้ว ให้บริการก็เกิดการแข่งขัน
ทำไมทีวีดิจิทัลไปไม่รอด
เป็นเรื่องธรรมดา ทุกวงการต้องมี คนเปิดตัวและปิดตัวไปตลอดเวลา เพียงแต่ธุรกิจนี้ลงทุนสูง เป็นธุรกิจรับใบอนุญาต การเปลี่ยนมือจึงไม่ง่ายจึงมีเคส ที่เลขาธิการ กสทช.เสนอให้ใช้ม.44 ผมมองว่าไม่จำเป็น กฎหมายเดิมก็เปิดให้เปลี่ยนมือได้ คือ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น แต่ปัญหาคือ กสทช.ต้องดูว่าคนที่มาเซ้งต่อถือใบอนุญาตไว้แล้วหรือยัง ถือไว้กี่ใบแล้ว ขัดกับกฎเกณฑ์อะไรหรือไม่ เป็นวัฏจักร เมื่อเศรษฐกิจขาลงโฆษณาก็น้อยมีคน ไม่ประสบความสำเร็จ
รัฐวิสาหกิจไม่ยอมจะคืนคลื่น
มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง กสทช.กับรัฐวิสาหกิจต้องคุยกันให้เคลียร์ว่า สิทธิ์ในคลื่นของรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงเมื่อไรแล้วหาทางออกด้วยกัน โจทย์ที่รัฐบาลควรมอง ไม่ใช่การอยู่รอดของรัฐวิสาหกิจ แต่ควรเป็นโจทย์ที่เศรษฐกิจทั้งระบบได้ประโยชน์
ถ้าคิดว่ารัฐวิสาหกิจจะอยู่รอดด้วยเงิน จากคลื่น ถ้าอยู่รอดมันก็ OK แต่ถ้าไม่มีประสิทธิภาพแล้วเลี้ยงให้อยู่รอด กับการเอาคลื่นไปพัฒนาระบบโทรคมนาคม ระบบดิจิทัลแล้วเศรษฐกิจขยายตัว เงินที่จะได้มากพอจะเลี้ยงรัฐวิสาหกิจที่เจ๊งด้วยซ้ำ
นโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
มี 2 ระบบ คือ การจัดการรัฐวิสาหกิจโดยภาพรวม ตั้งโฮลดิ้งคอมปะนี ซึ่งเป็นทิศทางที่น่าจะถูกทาง เพราะช่วยแก้ปัญหาใหญ่ได้ นั่นคือการให้รัฐวิสาหกิจมีเจ้าของอย่างแท้จริงทำให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปแทรกแซงรัฐวิสาหกิจยากก็จะลดการเมืองที่จะเข้าไปได้ แต่มีความเสี่ยงว่า ถ้าการเมืองเข้าไปฮุบบอร์ดโฮลดิ้งได้ก็กลายเป็นกินรวบเลย ฉะนั้นทุกคนต้องจับตามองว่าใครจะมาเป็นบอร์ดโฮลดิ้ง ถ้าได้บอร์ดดีรัฐวิสาหกิจไทยก้าวกระโดด แต่ถ้าพลาดก็ไปทั้งยวง
ในระดับภาคย่อยจะเห็นการเข้าไปเปลี่ยนบอร์ดแต่ละรัฐวิสาหกิจแล้วเข้าไปฟื้นฟู เห็นความแตกต่างกันแต่ละที่
นโยบายดิจิทัลอีโคโนมี
เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นนโยบายที่ดีเป็น กระแสโลก เมื่อพูดเรื่องนี้ถึงมีเสียงขานรับที่ดีมาก แต่ผ่านไป 1 ปี รัฐบาลหลงทาง 2-3 เรื่อง คือ หลงทางในการสร้างภาครัฐ ให้เป็นตัวนำ ขณะที่ภาครัฐเป็นปัญหา ที่สมควรต้องปฏิรูปอันดับแรกของประเทศ แล้วจะเอามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องการพลวัตสูงมากจึงสำเร็จได้ยากมาก
เศรษฐกิจดิจิทัลต้องขับเคลื่อนโดย เอกชน แต่ภาครัฐไปเอากระทรวงกับรัฐวิสาหกิจมาขับเคลื่อน ซึ่งถือว่าพลาด ที่สำคัญคือ รัฐบาลไปเลื่อนประมูล 4G จนช้าออกไป เศรษฐกิจดิจิทัลในยุคใหม่ไม่ใช่ยุคที่ใช้โทรศัพท์บ้าน แลนด์ไลน์ หรือพีซี แต่ขับเคลื่อนด้วยสมาร์ทดีไวซ์ การประมูล 4G ล่าช้าเป็นสิ่งที่สวนทางกับเศรษฐกิจดิจิทัล
อย่าเข้าใจว่าเศรษฐกิจดิจิทัลคือเซ็กเตอร์ ไอซีที กระทรวงไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลแต่คือสิ่งที่เข้าไปอยู่ทุกหัวระแหง เช่น แท็กซี่ใช้แอปพลิเคชั่นอย่างอูเบอร์ ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นคือการแก้ไขกฎระเบียบ
เศรษฐกิจดิจิทัลคือใช้สิ่งใหม่มาแทนสิ่งเก่า โดยใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงเดียว แต่ต้องแก้กฎระเบียบของทุกกระทรวงที่เป็นอุปสรรค
จะรวมอินฟราสตรักเจอร์ของประเทศ
เป็นเรื่องยาก มีเรื่องอื่นที่ง่ายกว่าแต่ไม่ทำ อย่างประมูล 4G ช้าไปปีสองปีเสียโอกาสมาก เรื่องทาวเวอร์โคถ้าทำไม่ได้ไม่ตาย แต่เสียโอกาสเพราะลงทุนจะแพง ค่าบริการก็ไม่ถูก รายใหม่เข้ามาได้ยาก
สิ่งที่รัฐควรเร่งทำ
ประมูล 4G เพราะผิดหวังที่ คสช.ใช้อำนาจเลื่อนประมูลไปแล้วยังไปต่อมาตรการเยียวยาให้ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่ได้ มองว่าต้องทำให้ระบบถูกต้องเดินไปตามที่ควรจะเป็นโดยเร็วทำให้เสียโอกาสมาก อีกอย่างคือ การแก้กฎระเบียบให้เอกชนเป็นตัวนำ เช่น เปิดเสรีโลจิสติกส์ หรือไปรษณีย์ กฎระเบียบเรื่องการลงทุน การนำแรงงานคุณภาพเข้ามา เราทำ สวนทางคือเปิดเอาแรงงานต่างชาติไร้ทักษะแต่แรงงานที่มีทักษะเข้ามายากมาก เป็นดิจิทัลโดยใช้แรงงานไร้ทักษะจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปไม่ได้
การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ใหม่
ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเศรษฐกิจ ดิจิทัล และ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับล่าสุดดีขึ้น นิดหนึ่ง อย่างเงินกองทุนที่ตีเช็คเปล่า ไว้ก็จำกัดแค่ 5 พันล้านบาท แต่จริง ๆ ไม่ควรมีเพราะขัด พ.ร.บ.กองทุนหมุนเวียน ที่ สสส.ได้เงินจากภาษีบาปรัฐจะดึงเงินมาเมื่อไรก็ได้ กลับกันรัฐบาลกลับตั้งกองทุนใหม่และใหญ่กว่าเดิม เป็นตรรกะที่ ขัดแย้งกันเอง
ร่าง พ.ร.บ. กสทช.ล่าสุด เข้าใจไม่ได้ เหมือนกัน รัฐบาลบอกว่า กสทช.มีปัญหาแต่ไม่แก้เรื่องธรรมาภิบาล กลายเป็นว่าไปเน้นอยู่ที่ "คน" แม้เป็นเรื่องสำคัญแต่ที่สำคัญกว่าคือการทำระบบให้ดี เพื่อโยงไปถึงเรื่องธรรมาภิบาล สำคัญกว่าใครจะอยู่ยาวหรืออยู่สั้น
โครงสร้างองค์กรใหม่ที่มาขับเคลื่อน
ดีขึ้นนิดหนึ่ง แต่ถ้าบอร์ดดีอีขับเคลื่อนโดยข้าราชการและผู้ที่มีอายุเยอะ ๆ คนไม่เข้าใจธุรกิจจะเป็นดีอีได้อย่างไร เราต้องการคนรุ่นใหม่ความคิดใหม่ ถ้ายังให้ราชการขับเคลื่อนนโยบายจะเป็น แบบนี้ เศรษฐกิจจะไม่โตอย่างก้าวกระโดด
ปัญหาสัมปทานเดิม
ที่จะมาเรียกค่าเสียหายกัน รัฐบาลนี้หลงทางหลายเรื่อง แต่มีสิ่งหนึ่งถ้าล้างปัญหาเดิมในรูปแบบที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ อย่าง AC IC คิดว่าไม่ยากที่จะทำ ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าต้องเถียงกันแล้วไปจบที่ขึ้นโรงขึ้นศาล ถ้าอยากใช้อำนาจนายกฯตาม ม.44 ก็ควรมาใช้กับเรื่องพวกนี้
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558