เพิ่งจะคืนความสุขให้คนไทยได้ชื่นใจไปไม่กี่วัน จ่อจะต้องหาวเรอรอเก้อกันอีกแล้ว! กับเรื่องที่ “คณะกรรมการเตรียมการดิจิทัล” ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.เป็นประธานที่เพิ่งไฟเขียวให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) เร่งรัดจัดประมูลมือถือระบบ 4 จีโดยเร็วภายในเดือนสิงหาคมศกนี้
หลังจากที่ก่อนหน้า คสช.ติดเบรกการประมูลเอาไว้จนทำเอาประชาชนคนไทยหาวเรอรอเก้อกันไปตามๆ กัน และต่างก็กังขาว่า เหตุใดรัฐบาล คสช.ถึงติดเบรกการประมูล 4 จีเอาไว้ ทั้งที่เป็นหนทางเดียวในการกระตุ้น เศรษฐกิจและสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่รัฐบาลป่าวประกาศให้เป็น “วาระแห่งชาติ” โดยตรง
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุ เบื้องหลังการประวิงเวลาเปิดประมูล 4 จีดังกล่าว มี “มือที่มองไม่เห็น -Invisible Hand” จากกลุ่มทุนเกษตรครบวงจรที่หันมาเอาดีกับตลาดสื่อสารเดินเกมอยู่เบื้องหลัง เพราะบริษัทยังขาดความ พร้อมอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ จึงหวังยืมมือบิ๊ก คสช.ประวิงเวลาประมูลเอาไว้ เพื่อขอ “แต้มต่อ” ในการขยายโครงข่าย 4 จีให้ได้มากที่สุดก่อน แม้จะไม่เห็นด้วยอย่างไร แต่รัฐบาล คสช.ก็อยู่ในภาวะ “น้ำท่วมปาก” ออกประกาศ คสช.กระตุกเบรกการประมูลเพื่อออกใบอนุญาตมือถือระบบ 4 จีรายใหม่เอาไว้ให้
อย่างไรก็ตาม แม้วันนี้นายกฯและหัวหน้า คสช. จะไฟเขียวให้ กสทช.เดินหน้าเปิดประมูล 4 จีได้ แต่กระนั้นหลายฝ่ายยังไม่มั่นใจนักว่า เส้นทางการประมูล 4 จีจะราบรื่นไปได้ เพราะกลุ่มทุนสื่อสารรายนี้ยังคงเดินเกมสุดลิ่มทิ่มประตูในอันที่จะประวิงการประมูล 4 จีที่ว่านี้เอาไว้
นัยว่ามีความพยายามเสนอให้คณะกรรมการเตรียมการดิจิทัล และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดึงคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่อยู่ในครอบครองของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และคลื่น 2600 MHz ที่อยู่ในความครอบครองของ อสมท.มาดำเนินการเปิดประมูลไปพร้อมกัน
แม้ รมว.ไอซีทีและคนของรัฐจะเรียงหน้าออกมายืนยันให้ กสทช.เดินหน้าเปิดประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จี บนคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz ต่อไป ยังไม่มีการพูดถึงคลื่น 2300 และ 2600 MHz แต่อย่างใด แต่การจุดพลุการดึงคลื่นความถี่ดังกล่าวขึ้นมาในที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัล
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ถึงกับตั้งข้อสังเกตถึงการจุดพลุการดึงคลื่นความถี่ 2300 และ 2600 MHz ขึ้นมานี้ว่า เหตุใดจู่ๆ ถึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด มันก่อให้เกิดคำถามกับรัฐบาลว่าทำไมอยู่ๆ จึงไปพูดถึงคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้เรียกคืนว่าจะเอามาประมูล ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีคลื่น ที่ได้เรียกคืนมาแล้วคือ คลื่นความถี่ 1800 เมกกะเฮิร์ซ ซึ่งเรียกคืนมาแล้วเป็นปีแต่กลับไม่นำมาประมูล จนอาจจะนำไปสู่การตั้งข้อกังขาถึงความสุจริตของรัฐบาล
ประธานทีดีอาร์ไอถึงกับแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการจะนำคลื่นดังกล่าวมาจัดประมูลไปพร้อมกับคลื่น 1800 และ 900 MHz เพราะการจะดึงคลื่นดังกล่าวกลับมาเปิดประมูล รัฐต้องใช้เงินชดเชยเป็นจำนวนมาก รัฐควรจะใช้โอกาสนี้เร่งประมูลคลื่นที่มีอยู่ในมือก่อน “อยากให้รัฐกำหนดแผนประมูลและสื่อสารให้ชัด กำหนดนโยบายและกฎหมายให้แข่งขันประมูลคลื่นความถี่อย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อเสริมดิจิทัลอีโคโนมีอย่างแท้จริง เพราะระบบ 4จี ที่จะมีขึ้นในอนาคตจะทำให้มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบการอย่าง 3 จีที่ส่งผลให้เกิดธุรกิจใหม่เช่นแท็กซี่ที่สามารถเรียกบริการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอ๊พพลิเคชั่น”
ไม่เพียงแต่การจุดพลุให้รัฐบาลดึงคลื่นความถี่ใหม่ข้างต้นมาจัดประมูลพร้อมกันเท่านั้น ยังมีความพยายามเสนอให้รัฐคืนคลื่น 900 และ 1800 MHz บางส่วนออกไปให้บริษัททีโอที และ กสท โทรคมนาคม โดยไม่ต้องประมูลอีกด้วย ด้วยข้ออ้างเพื่อให้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-กสท” ที่กำลังเผชิญวิกฤติรอบด้านจากการที่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการสามารถนำคลื่นนี้ออกไปให้บริการและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระบบ 3 และ 4 จีที่ได้รับมอบจากคู่สัญญาสัมปทานต่อไปได้
ถึงขั้นมีการตั้งคำถาม หากรัฐบาลปล่อยให้กสทช. เปิดประมูล 4 จีไปภายใต้เงื่อนไขเดิมก็คงไม่พ้นที่ตลาดโทรคมนาคมไทยจะถูกผูกขาดอยู่เพียง 3 ค่ายมือถือ ขณะที่คุณภาพและบริการ 4 จีที่ได้นั้นยังประโยชน์ ให้ประชาชน ผู้บริโภคจริงหรือไม่ ? เพราะบทเรียนในอดีตของการประมูล 3 จีที่ผู้ให้บริการมือถือให้บริการอยู่นั้นมีการ เอาเปรียบผู้บริโภครันไม่เต็มศักยภาพอยู่แล้ว จน กสทช.ต้องขับเคี่ยวตรวจสอบคุณภาพเป็นรายวัน!
ไม่มีการพูดถึงความล้มเหลวที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่แม้จะได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จีไปก่อนใครตั้งแต่ปีมะโว้ แต่กลับไม่ได้นำคลื่นที่ได้นี้ไปใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ตรงกันข้ามบางหน่วยงานยังดอดนำคลื่นไป “เซ็งลี้”ให้กลุ่มทุนสื่อสารรายนี้ได้มีโอกาสกินรวบมือถือระบบ 4 จีได้ก่อนใครเสียอีก!
ทั้งหมดเป็นการเดินเกมที่สอดรับกับความพยายามในการประวิงเวลาการประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จีที่หากรัฐบาล คสช. ตามเล่ห์กลไม่ทันจนไป“ตกหลุมพราง” ก็จะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนสื่อสารที่ผันตัวเองมาจากกิจการเกษตรครบวงจรนั้น มีโอกาส “กินรวบ”มือถือระบบ 4 จีและ 5 จีก่อนใคร
ขณะที่ประชาชนคนไทยและประเทศไทยก็คงได้แต่ “หาวเรอ” รอเก้อ ประเทศต้องถูกตราหน้าว่าล้าหลังเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาวและกัมพูชาอีก!!!
ระวังกับดักประมูล 4จี
หลังจากที่ก่อนหน้า คสช.ติดเบรกการประมูลเอาไว้จนทำเอาประชาชนคนไทยหาวเรอรอเก้อกันไปตามๆ กัน และต่างก็กังขาว่า เหตุใดรัฐบาล คสช.ถึงติดเบรกการประมูล 4 จีเอาไว้ ทั้งที่เป็นหนทางเดียวในการกระตุ้น เศรษฐกิจและสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่รัฐบาลป่าวประกาศให้เป็น “วาระแห่งชาติ” โดยตรง
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุ เบื้องหลังการประวิงเวลาเปิดประมูล 4 จีดังกล่าว มี “มือที่มองไม่เห็น -Invisible Hand” จากกลุ่มทุนเกษตรครบวงจรที่หันมาเอาดีกับตลาดสื่อสารเดินเกมอยู่เบื้องหลัง เพราะบริษัทยังขาดความ พร้อมอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ จึงหวังยืมมือบิ๊ก คสช.ประวิงเวลาประมูลเอาไว้ เพื่อขอ “แต้มต่อ” ในการขยายโครงข่าย 4 จีให้ได้มากที่สุดก่อน แม้จะไม่เห็นด้วยอย่างไร แต่รัฐบาล คสช.ก็อยู่ในภาวะ “น้ำท่วมปาก” ออกประกาศ คสช.กระตุกเบรกการประมูลเพื่อออกใบอนุญาตมือถือระบบ 4 จีรายใหม่เอาไว้ให้
อย่างไรก็ตาม แม้วันนี้นายกฯและหัวหน้า คสช. จะไฟเขียวให้ กสทช.เดินหน้าเปิดประมูล 4 จีได้ แต่กระนั้นหลายฝ่ายยังไม่มั่นใจนักว่า เส้นทางการประมูล 4 จีจะราบรื่นไปได้ เพราะกลุ่มทุนสื่อสารรายนี้ยังคงเดินเกมสุดลิ่มทิ่มประตูในอันที่จะประวิงการประมูล 4 จีที่ว่านี้เอาไว้
นัยว่ามีความพยายามเสนอให้คณะกรรมการเตรียมการดิจิทัล และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดึงคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่อยู่ในครอบครองของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และคลื่น 2600 MHz ที่อยู่ในความครอบครองของ อสมท.มาดำเนินการเปิดประมูลไปพร้อมกัน
แม้ รมว.ไอซีทีและคนของรัฐจะเรียงหน้าออกมายืนยันให้ กสทช.เดินหน้าเปิดประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จี บนคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz ต่อไป ยังไม่มีการพูดถึงคลื่น 2300 และ 2600 MHz แต่อย่างใด แต่การจุดพลุการดึงคลื่นความถี่ดังกล่าวขึ้นมาในที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัล
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ถึงกับตั้งข้อสังเกตถึงการจุดพลุการดึงคลื่นความถี่ 2300 และ 2600 MHz ขึ้นมานี้ว่า เหตุใดจู่ๆ ถึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด มันก่อให้เกิดคำถามกับรัฐบาลว่าทำไมอยู่ๆ จึงไปพูดถึงคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้เรียกคืนว่าจะเอามาประมูล ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีคลื่น ที่ได้เรียกคืนมาแล้วคือ คลื่นความถี่ 1800 เมกกะเฮิร์ซ ซึ่งเรียกคืนมาแล้วเป็นปีแต่กลับไม่นำมาประมูล จนอาจจะนำไปสู่การตั้งข้อกังขาถึงความสุจริตของรัฐบาล
ประธานทีดีอาร์ไอถึงกับแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการจะนำคลื่นดังกล่าวมาจัดประมูลไปพร้อมกับคลื่น 1800 และ 900 MHz เพราะการจะดึงคลื่นดังกล่าวกลับมาเปิดประมูล รัฐต้องใช้เงินชดเชยเป็นจำนวนมาก รัฐควรจะใช้โอกาสนี้เร่งประมูลคลื่นที่มีอยู่ในมือก่อน “อยากให้รัฐกำหนดแผนประมูลและสื่อสารให้ชัด กำหนดนโยบายและกฎหมายให้แข่งขันประมูลคลื่นความถี่อย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อเสริมดิจิทัลอีโคโนมีอย่างแท้จริง เพราะระบบ 4จี ที่จะมีขึ้นในอนาคตจะทำให้มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบการอย่าง 3 จีที่ส่งผลให้เกิดธุรกิจใหม่เช่นแท็กซี่ที่สามารถเรียกบริการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอ๊พพลิเคชั่น”
ไม่เพียงแต่การจุดพลุให้รัฐบาลดึงคลื่นความถี่ใหม่ข้างต้นมาจัดประมูลพร้อมกันเท่านั้น ยังมีความพยายามเสนอให้รัฐคืนคลื่น 900 และ 1800 MHz บางส่วนออกไปให้บริษัททีโอที และ กสท โทรคมนาคม โดยไม่ต้องประมูลอีกด้วย ด้วยข้ออ้างเพื่อให้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-กสท” ที่กำลังเผชิญวิกฤติรอบด้านจากการที่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการสามารถนำคลื่นนี้ออกไปให้บริการและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระบบ 3 และ 4 จีที่ได้รับมอบจากคู่สัญญาสัมปทานต่อไปได้
ถึงขั้นมีการตั้งคำถาม หากรัฐบาลปล่อยให้กสทช. เปิดประมูล 4 จีไปภายใต้เงื่อนไขเดิมก็คงไม่พ้นที่ตลาดโทรคมนาคมไทยจะถูกผูกขาดอยู่เพียง 3 ค่ายมือถือ ขณะที่คุณภาพและบริการ 4 จีที่ได้นั้นยังประโยชน์ ให้ประชาชน ผู้บริโภคจริงหรือไม่ ? เพราะบทเรียนในอดีตของการประมูล 3 จีที่ผู้ให้บริการมือถือให้บริการอยู่นั้นมีการ เอาเปรียบผู้บริโภครันไม่เต็มศักยภาพอยู่แล้ว จน กสทช.ต้องขับเคี่ยวตรวจสอบคุณภาพเป็นรายวัน!
ไม่มีการพูดถึงความล้มเหลวที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่แม้จะได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จีไปก่อนใครตั้งแต่ปีมะโว้ แต่กลับไม่ได้นำคลื่นที่ได้นี้ไปใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ตรงกันข้ามบางหน่วยงานยังดอดนำคลื่นไป “เซ็งลี้”ให้กลุ่มทุนสื่อสารรายนี้ได้มีโอกาสกินรวบมือถือระบบ 4 จีได้ก่อนใครเสียอีก!
ทั้งหมดเป็นการเดินเกมที่สอดรับกับความพยายามในการประวิงเวลาการประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จีที่หากรัฐบาล คสช. ตามเล่ห์กลไม่ทันจนไป“ตกหลุมพราง” ก็จะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนสื่อสารที่ผันตัวเองมาจากกิจการเกษตรครบวงจรนั้น มีโอกาส “กินรวบ”มือถือระบบ 4 จีและ 5 จีก่อนใคร
ขณะที่ประชาชนคนไทยและประเทศไทยก็คงได้แต่ “หาวเรอ” รอเก้อ ประเทศต้องถูกตราหน้าว่าล้าหลังเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาวและกัมพูชาอีก!!!