ขณะที่ถนนทุกสายดาหน้าต่างออกมาขานรับโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่ “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตัดสินใจ “ยกเครื่อง” ปรับ ครม.ชุดใหม่ใสกิ๊กแบบยกกระบิ!
โดยดึงเอา “ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” อดีตรองนายกฯและรมว.คลังข้างกาย “นายใหญ่ดูไบ” ที่ได้ชื่อว่าเป็น “กูรู” มือฉมังด้านเศรษฐกิจ” เข้ามาเป็นม้าสีหมอกตัวใหม่แทน “ม้าแกลบ” เดิมที่เดินกะโผกกะเผลกไม่รู้จะนำพาเศรษฐกิจไทยไปได้สักกี่น้ำ
แถมนโยบายเศรษฐกิจที่เอาแต่ตีปี๊บเศรษฐกิจดีวันดีคืนนั้นก็มีแต่จะเรียกแขกให้งานเข้า เพราะเอาเข้าจริงตัวเลขที่ออกมานั้นมีแต่สาละวันเตี้ยลงเป็นรายวัน ความหวังเดียวของรัฐบาลเวลานี้จึงอยู่ที่ทีมเศรษฐกิจ “ดรีมทีม” ชุดใหม่แกะกล่องชุดนี้ที่พอเข้ามาก็ยืนยันจะปัดฝุ่นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าก่อนเป็นอันดับแรก เรียกเสียงฮือฮาไปเต็มๆ ที่เหลือก็รอแค่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะทยอยออกมาให้เห็นผลในระยะ 3 เดือนจากนี้
นอกเหนือจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ปลุกกำลังซื้อผู้มีรายได้น้อย (รากหญ้า) พับเก็บบรรดาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ไม่ตอบโจทย์ของประเทศแล้ว การประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz เพื่อออกใบอนุญาต 4 จีที่ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)” เพิ่งเปิดให้เอกชนรับเอกสารการประมูลไปล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่าน น่าจะเป็นอีกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าที่ทุกฝ่ายเพรียกหาอย่างแท้จริง!
เพราะอย่างที่ทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีอยู่เวลานี้ จะมีพลังขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทย “สตาร์ทอัพ” ขึ้นมาได้หรือไม่นั้น ยังต้องลุ้นมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายจะทำได้แค่ไหน จะปลดล็อคขั้นตอนเบิกจ่ายที่กระจุกเป็นคอขวดอยู่ในมือคณะกรรมการ คตร.ได้อย่างไรด้วย
จึงเหลืออยู่ก็แต่การประมูล 4 จีในมือ กสทช.นี้ที่หากเดินไปตามโร้ดแม็พที่วางไว้ เม็ดเงินค่าธรรมเนียมประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz 2 ใบอนุญาตแรกกว่า 40,000 ล้านบาท ได้ทะลักไหลเข้ารัฐแน่ และเผลอๆ อาจทะลักไปเกิน 50,000 ล้านบาทเอาในเมื่อทุกค่ายต่างก็ตีปี๊บโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์การประมูลครั้งนี้กันอย่างคึกคัก ยังไม่รวมเม็ดเงินการลงทุนเครือข่ายอุปกรณ์ระบบ 4จีที่จะตามมาอีกนับหมื่นล้านในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม โค้งสุดท้ายของการประมูล 4 จีที่กำลังจะมีขึ้น ดูเหมือนกลุ่มทุนสื่อสารบางรายจะยังดิ้น “เฮือกสุดท้าย” ที่จะช่วงชิงคลื่นความถี่ 4 จีออกไปเป็นคลื่นสำรองหากต้องพลาดพลั้งพ่ายแพ้การประมูลที่จะมีขึ้น โดยนัยว่ามีการเดินเกมผ่าน 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจรัฐ “แคท-ทีโอที” อย่างออกหน้าออกตา
โดยในส่วนของ “แคท” บริษัท กสท โทรคมนาคมนั้น พ.อ.สรรพชัย หุวะนันท์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกโรงยืนยันว่า “แคท” ยังคงยืนยันจะขอใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 เมกกะเฮิตรซ์ที่ปัจจุบันให้ “ดีแทค” ครอบครองอยู่เพื่อที่ กสท.จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลองค์กรไปจนถึงปี 2568
ขณะที่ นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีก็ยืนยันการขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิตรซ์หลังสัญญาสัมปทานมือถือระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอสสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.นี้ แลกกับการคืนคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz เมกะเฮิตรซ์ที่ปัจจุบันทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกกะเฮิร์ตสเพื่อให้ กสทช.นำไปเปิดประมูลแทน
หลายฝ่ายอาจเคลิ้มไปกับเหตุผลของ 2 ผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-แคท” ข้างต้น แต่หากจะได้พิจารณาถึงเส้นทางการได้มาซึ่งคลื่นความถี่และการนำเอาคลื่นความถี่ออกไปหาประโยชน์ หรือสร้างมูลค่าให้แก่องค์กรตามที่ผู้บริหาร 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจกล่าวอ้างแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
ก่อนหน้านั้นแคทที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จีไปก็ขนเอาไป “เซ็งลี้” ประเคนให้บริษัทสื่อสารยักษ์ให้บริการ 3 จีผ่านสัญญาทำการตลาดมือถือรูปแบบใหม่ที่จนป่านนี้ยังเคลียร์หน้าเสื่อกันไม่เสร็จ เช่นเดียวกับทีโอทีที่แม้จะได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ 2100 MHz เพื่อให้บริการ 3 จีมาก่อนใคร แต่ก็กลับไม่สามารถจะนำไปหาประโยชน์ใดๆ ได้ เงินลงทุนกว่า 15,000 ล้านที่รัฐให้ไปนั้นวันนี้แทบจะหายสาบสูญเข้ากลีบเมฆไปแล้ว
กลายเป็นว่านอกจากรัฐจะไม่ได้เม็ดเงินค่าต๋งผลประโยชน์ใดๆ จากคลื่นความถี่ที่ให้แก่หน่วยงานรัฐเหล่านี้ไปแล้ว ยังต้องเถือเนื้อควักเงินลงทุนให้อีกไม่รู้กี่หมื่นล้านโดยที่ยังไม่รู้จะมีโอกาสได้คืนทุนหรือไม่ แล้วยังจะมีหน้ามาขอคลื่นความถี่ใหม่ไปถลุงเล่นกันอีกหรือ?
ก็คงต้องฝากกระตุ้นเตือนไปยัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ รมว.ไอซีทีคนใหม่ ดร.อุตตม สาวนายน ให้ระวังหลุมพรางที่กลุ่มทุนสื่อสารกำลังขุดบ่อล่อปลานี้เอาไว้ให้ดี เพราะหากการประมูลคลื่น 4 จีครั้งนี้ล้มเหลว ไม่เพียงหนทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลคาดหวังจะพลอยพังครืนลงไปแล้ว
ยังเท่ากับทำลายนโยบายประชานิยมรากหญ้าที่ทุกฝ่ายเพรียกหากันมาตลอดศกนั่นเอง!
ระวังหลุมพราง 4 จี
โดยดึงเอา “ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” อดีตรองนายกฯและรมว.คลังข้างกาย “นายใหญ่ดูไบ” ที่ได้ชื่อว่าเป็น “กูรู” มือฉมังด้านเศรษฐกิจ” เข้ามาเป็นม้าสีหมอกตัวใหม่แทน “ม้าแกลบ” เดิมที่เดินกะโผกกะเผลกไม่รู้จะนำพาเศรษฐกิจไทยไปได้สักกี่น้ำ
แถมนโยบายเศรษฐกิจที่เอาแต่ตีปี๊บเศรษฐกิจดีวันดีคืนนั้นก็มีแต่จะเรียกแขกให้งานเข้า เพราะเอาเข้าจริงตัวเลขที่ออกมานั้นมีแต่สาละวันเตี้ยลงเป็นรายวัน ความหวังเดียวของรัฐบาลเวลานี้จึงอยู่ที่ทีมเศรษฐกิจ “ดรีมทีม” ชุดใหม่แกะกล่องชุดนี้ที่พอเข้ามาก็ยืนยันจะปัดฝุ่นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าก่อนเป็นอันดับแรก เรียกเสียงฮือฮาไปเต็มๆ ที่เหลือก็รอแค่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะทยอยออกมาให้เห็นผลในระยะ 3 เดือนจากนี้
นอกเหนือจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ปลุกกำลังซื้อผู้มีรายได้น้อย (รากหญ้า) พับเก็บบรรดาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ไม่ตอบโจทย์ของประเทศแล้ว การประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz เพื่อออกใบอนุญาต 4 จีที่ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)” เพิ่งเปิดให้เอกชนรับเอกสารการประมูลไปล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่าน น่าจะเป็นอีกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าที่ทุกฝ่ายเพรียกหาอย่างแท้จริง!
เพราะอย่างที่ทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีอยู่เวลานี้ จะมีพลังขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทย “สตาร์ทอัพ” ขึ้นมาได้หรือไม่นั้น ยังต้องลุ้นมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายจะทำได้แค่ไหน จะปลดล็อคขั้นตอนเบิกจ่ายที่กระจุกเป็นคอขวดอยู่ในมือคณะกรรมการ คตร.ได้อย่างไรด้วย
จึงเหลืออยู่ก็แต่การประมูล 4 จีในมือ กสทช.นี้ที่หากเดินไปตามโร้ดแม็พที่วางไว้ เม็ดเงินค่าธรรมเนียมประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz 2 ใบอนุญาตแรกกว่า 40,000 ล้านบาท ได้ทะลักไหลเข้ารัฐแน่ และเผลอๆ อาจทะลักไปเกิน 50,000 ล้านบาทเอาในเมื่อทุกค่ายต่างก็ตีปี๊บโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์การประมูลครั้งนี้กันอย่างคึกคัก ยังไม่รวมเม็ดเงินการลงทุนเครือข่ายอุปกรณ์ระบบ 4จีที่จะตามมาอีกนับหมื่นล้านในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม โค้งสุดท้ายของการประมูล 4 จีที่กำลังจะมีขึ้น ดูเหมือนกลุ่มทุนสื่อสารบางรายจะยังดิ้น “เฮือกสุดท้าย” ที่จะช่วงชิงคลื่นความถี่ 4 จีออกไปเป็นคลื่นสำรองหากต้องพลาดพลั้งพ่ายแพ้การประมูลที่จะมีขึ้น โดยนัยว่ามีการเดินเกมผ่าน 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจรัฐ “แคท-ทีโอที” อย่างออกหน้าออกตา
โดยในส่วนของ “แคท” บริษัท กสท โทรคมนาคมนั้น พ.อ.สรรพชัย หุวะนันท์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกโรงยืนยันว่า “แคท” ยังคงยืนยันจะขอใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 เมกกะเฮิตรซ์ที่ปัจจุบันให้ “ดีแทค” ครอบครองอยู่เพื่อที่ กสท.จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลองค์กรไปจนถึงปี 2568
ขณะที่ นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีก็ยืนยันการขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิตรซ์หลังสัญญาสัมปทานมือถือระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอสสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.นี้ แลกกับการคืนคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz เมกะเฮิตรซ์ที่ปัจจุบันทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกกะเฮิร์ตสเพื่อให้ กสทช.นำไปเปิดประมูลแทน
หลายฝ่ายอาจเคลิ้มไปกับเหตุผลของ 2 ผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-แคท” ข้างต้น แต่หากจะได้พิจารณาถึงเส้นทางการได้มาซึ่งคลื่นความถี่และการนำเอาคลื่นความถี่ออกไปหาประโยชน์ หรือสร้างมูลค่าให้แก่องค์กรตามที่ผู้บริหาร 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจกล่าวอ้างแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
ก่อนหน้านั้นแคทที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จีไปก็ขนเอาไป “เซ็งลี้” ประเคนให้บริษัทสื่อสารยักษ์ให้บริการ 3 จีผ่านสัญญาทำการตลาดมือถือรูปแบบใหม่ที่จนป่านนี้ยังเคลียร์หน้าเสื่อกันไม่เสร็จ เช่นเดียวกับทีโอทีที่แม้จะได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ 2100 MHz เพื่อให้บริการ 3 จีมาก่อนใคร แต่ก็กลับไม่สามารถจะนำไปหาประโยชน์ใดๆ ได้ เงินลงทุนกว่า 15,000 ล้านที่รัฐให้ไปนั้นวันนี้แทบจะหายสาบสูญเข้ากลีบเมฆไปแล้ว
กลายเป็นว่านอกจากรัฐจะไม่ได้เม็ดเงินค่าต๋งผลประโยชน์ใดๆ จากคลื่นความถี่ที่ให้แก่หน่วยงานรัฐเหล่านี้ไปแล้ว ยังต้องเถือเนื้อควักเงินลงทุนให้อีกไม่รู้กี่หมื่นล้านโดยที่ยังไม่รู้จะมีโอกาสได้คืนทุนหรือไม่ แล้วยังจะมีหน้ามาขอคลื่นความถี่ใหม่ไปถลุงเล่นกันอีกหรือ?
ก็คงต้องฝากกระตุ้นเตือนไปยัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ รมว.ไอซีทีคนใหม่ ดร.อุตตม สาวนายน ให้ระวังหลุมพรางที่กลุ่มทุนสื่อสารกำลังขุดบ่อล่อปลานี้เอาไว้ให้ดี เพราะหากการประมูลคลื่น 4 จีครั้งนี้ล้มเหลว ไม่เพียงหนทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลคาดหวังจะพลอยพังครืนลงไปแล้ว
ยังเท่ากับทำลายนโยบายประชานิยมรากหญ้าที่ทุกฝ่ายเพรียกหากันมาตลอดศกนั่นเอง!