โลกเปลี่ยนไปแล้ว ไฉน 'ทีโอที และแคท' ยังย่ำอยู่กับที่
โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม วันที่ 24 กรกฎาคม 2558
พูดถึงแวดวงโทรคมนาคมปัจจุบัน ไม่มีประเด็นใดจะ “ฮอต” เท่ากับการเตรียมประมูลใบอนุญาต 4จี อีกแล้ว
และแน่นอนว่า ยิ่งใกล้วันประมูล เราก็จะได้เห็นประเด็นที่แหลมออกมาจาก 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมของประเทศ ทั้งบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม โดยเฉพาะการ“ครอบครอง”คลื่นความถี่
ข่าวที่สหภาพแรงงานทีโอที ออกมาแย้งว่า การรวมคลื่น 1800-900 เพื่อประมูล 4จี ในวันเดียวไม่ถูกต้อง และพยายามย้ำว่าทีโอที ได้สิทธิถือครองจากคณะกรรมการบริหารความถี่แห่งชาติ หรือ กบถ. (หน่วยงานที่ไม่มีตัวตนในโลกยุคนี้แล้ว) ภายใต้กระทรวงคมนาคมเมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมา แบบไม่มีวันหมดอายุ!? ...
ทั้งให้เหตุผลว่า เมื่อระบบสัมปทานเกิดขึ้นภายหลัง และสัมปทานสิ้นสุด ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ควรกลับมาที่ทีโอทีหรือไม่ เพราะเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือพ.ร.บ.องค์การจัดสรรความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นมาทีหลัง!!!???
ขณะที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือแคท ก็พยายามหาความชัดเจนเรื่องคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ กับทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ส่วนที่เหลืออีก 20 เมกะเฮิรตซ์ ที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ไม่ได้ใช้งานว่า ควรเป็นสิทธิ์ของ กสท ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งจะหมดอายุปี 2568 แทนที่จะหมดอายุในปี 2561 ตามสัญญาสัมปทานที่ทำกับดีแทคหรือไม่
เกิดอะไรขึ้นกับ 2 องค์กรรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม (ซึ่งใหญ่มาก) ของประเทศไทย ที่พยายาม “ย้อนตัวเอง” กลับไปสู่โลกอนาล็อกแบบเดิมๆ ทั้งที่โลกเปลี่ยนไปมากแล้ว เดินเข้าสู่ยุคดิจิทัลกันหมดแล้ว แต่ไฉน 2 องค์กรนี้ ยังอ้างกฏหมายเก่าๆ กฏระเบียบในอดีตกาล ที่แม้แต่ผู้คุมกฏ ผู้ให้ใบอนุญาตก็หายสาบสูญไปหมดแล้ว...
ย้อนกลับไปในอดีต ทั้งทีโอที และแคท มีความได้เปรียบในทุกเรื่อง ทุกอย่างเอื้อประโยชน์ให้ 2 องค์กรนี้อย่างเต็มที่ ทำไมตอนนั้นไม่คิดวางแผน ไม่คิดหาแนวทางต่อยอด ใช้สิ่งที่ตัวเองได้รับมาอย่างเหลือเฟือ ทำให้มันงอกเงยงอกงามขึ้น
โลกเคลื่อนไปสู่ดิจิทัลแล้ว แต่ 2 องค์กรนี้ยังโหยหาและอยากจะย้อนกลับไปยังโลกอนาล็อกอีก...เพื่อ???
ยุคผูกขาดธุรกิจโดยรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่งยุคนี้ต้องหมดไปได้แล้ว ควรเปิดโอกาสให้เอกชนสร้างธุรกิจที่เข้มแข็งเอื้อต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และประชาชนส่วนรวม ด้วยราคาและบริการที่เหมาะสม รัฐแค่กำกับดูแลไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคส่วนรวม
ยิ่งเป็นทรัพยากรคลื่นความถี่ที่ทุกคนมีสิทธิใช้เท่าเทียมกัน และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนความก้าวหน้าแก่เศรษฐกิจยุคใหม่ ยิ่งควรนำมาจัดสรร แบ่งปัน เฉกเช่นนานาประเทศในโลกยุคปัจจุบันเขาทำกัน
การไม่ก้าวไปข้างหน้า ก็เท่ากับเดินถอยหลัง คนที่ไม่เคลื่อนที่ ไม่เคลื่อนไหวก็คือคนที่ตายไปแล้ว...
www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635142
โลกเปลี่ยนไปแล้ว ไฉน 'ทีโอที และแคท' ยังย่ำอยู่กับที่
โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม วันที่ 24 กรกฎาคม 2558
พูดถึงแวดวงโทรคมนาคมปัจจุบัน ไม่มีประเด็นใดจะ “ฮอต” เท่ากับการเตรียมประมูลใบอนุญาต 4จี อีกแล้ว
และแน่นอนว่า ยิ่งใกล้วันประมูล เราก็จะได้เห็นประเด็นที่แหลมออกมาจาก 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมของประเทศ ทั้งบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม โดยเฉพาะการ“ครอบครอง”คลื่นความถี่
ข่าวที่สหภาพแรงงานทีโอที ออกมาแย้งว่า การรวมคลื่น 1800-900 เพื่อประมูล 4จี ในวันเดียวไม่ถูกต้อง และพยายามย้ำว่าทีโอที ได้สิทธิถือครองจากคณะกรรมการบริหารความถี่แห่งชาติ หรือ กบถ. (หน่วยงานที่ไม่มีตัวตนในโลกยุคนี้แล้ว) ภายใต้กระทรวงคมนาคมเมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมา แบบไม่มีวันหมดอายุ!? ...
ทั้งให้เหตุผลว่า เมื่อระบบสัมปทานเกิดขึ้นภายหลัง และสัมปทานสิ้นสุด ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ควรกลับมาที่ทีโอทีหรือไม่ เพราะเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือพ.ร.บ.องค์การจัดสรรความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นมาทีหลัง!!!???
ขณะที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือแคท ก็พยายามหาความชัดเจนเรื่องคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ กับทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ส่วนที่เหลืออีก 20 เมกะเฮิรตซ์ ที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ไม่ได้ใช้งานว่า ควรเป็นสิทธิ์ของ กสท ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งจะหมดอายุปี 2568 แทนที่จะหมดอายุในปี 2561 ตามสัญญาสัมปทานที่ทำกับดีแทคหรือไม่
เกิดอะไรขึ้นกับ 2 องค์กรรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม (ซึ่งใหญ่มาก) ของประเทศไทย ที่พยายาม “ย้อนตัวเอง” กลับไปสู่โลกอนาล็อกแบบเดิมๆ ทั้งที่โลกเปลี่ยนไปมากแล้ว เดินเข้าสู่ยุคดิจิทัลกันหมดแล้ว แต่ไฉน 2 องค์กรนี้ ยังอ้างกฏหมายเก่าๆ กฏระเบียบในอดีตกาล ที่แม้แต่ผู้คุมกฏ ผู้ให้ใบอนุญาตก็หายสาบสูญไปหมดแล้ว...
ย้อนกลับไปในอดีต ทั้งทีโอที และแคท มีความได้เปรียบในทุกเรื่อง ทุกอย่างเอื้อประโยชน์ให้ 2 องค์กรนี้อย่างเต็มที่ ทำไมตอนนั้นไม่คิดวางแผน ไม่คิดหาแนวทางต่อยอด ใช้สิ่งที่ตัวเองได้รับมาอย่างเหลือเฟือ ทำให้มันงอกเงยงอกงามขึ้น
โลกเคลื่อนไปสู่ดิจิทัลแล้ว แต่ 2 องค์กรนี้ยังโหยหาและอยากจะย้อนกลับไปยังโลกอนาล็อกอีก...เพื่อ???
ยุคผูกขาดธุรกิจโดยรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่งยุคนี้ต้องหมดไปได้แล้ว ควรเปิดโอกาสให้เอกชนสร้างธุรกิจที่เข้มแข็งเอื้อต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และประชาชนส่วนรวม ด้วยราคาและบริการที่เหมาะสม รัฐแค่กำกับดูแลไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคส่วนรวม
ยิ่งเป็นทรัพยากรคลื่นความถี่ที่ทุกคนมีสิทธิใช้เท่าเทียมกัน และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนความก้าวหน้าแก่เศรษฐกิจยุคใหม่ ยิ่งควรนำมาจัดสรร แบ่งปัน เฉกเช่นนานาประเทศในโลกยุคปัจจุบันเขาทำกัน
การไม่ก้าวไปข้างหน้า ก็เท่ากับเดินถอยหลัง คนที่ไม่เคลื่อนที่ ไม่เคลื่อนไหวก็คือคนที่ตายไปแล้ว...
www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635142