[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยเฉพาะท่านที่รักษาอุโบสถศีลในวันนี้ ซึ่งเป็นวันพระ (วันนี้จขกท.ก็รักษา) หากท่านระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ ท่านจะชื่นใจมาก
วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๗ ฉอนุสสตินิเทศ หน้าที่ ๓๗๑ - ๓๗๕
๔. สีลานุสสติกถา
วิธีเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน
ก็แหละ อันโยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร พึงระลึกเนือง ๆ ถึงศีลทั้งหลายของตน ด้วยสามารถแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้น อย่างนี้
โอหนอ ! ศีลทั้งหลายของเรา –
๑. อขณฺฑานิ เป็นศีลไม่ขาด
๒. อจฺฉิทฺทานิ เป็นศีลไม่ทะลุ
๓. อสพลานิ เป็นศีลไม่ด่าง
๔. อกมฺมาสานิ เป็นศีลไม่พร้อย
๕. ภุชิสฺสานิ เป็นศีลที่เป็นไทย
๖. วิญฺญุปฺปสตฺถานิ เป็นศีลอันผู้รู้สรรเสริญ
๗. อปรามฏฺฐานิ เป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง
๘. สมาธิสํวตฺตนิกานิ เป็นศีลที่ยังสมาธิให้บังเกิดได้
แหละศีลเหล่านั้น คฤหัสถ์พึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของคฤหัสถ์ บรรพชิตพึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของบรรพชิต
อธิบายคุณลักษณะของศีล ๘ อย่าง
ศีลทั้งหลายจะเป็นศีลของคฤหัสถ์หรือศีลของบรรพชิตก็ตาม ศีลเหล่าใดในเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย แม้สิกขาบทเดียวก็ไม่ขาด ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ขาดเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า อขณฺทานิ เป็นศีลไม่ขาด
ศีลเหล่าใดตอนกลางแม้สิกขาบทเดียวก็ไม่มีขาด ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลางผืน ฉะนั้นจึงชื่อว่า อจฺฉิทฺทานิ เป็นศีลไม่ทะลุ
ศีลเหล่าใดไม่มีขาด ไม่มีขาดไปตามลำดับ ๒ สิกขาบทบ้าง ๓ สิกขาบทบ้าง ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ด่าง เหมือนแม่โคมีสีตัวด่างดำหรือด่างแดงอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยสีที่ตัดกัน มีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น ซึ่งผุดขึ้นตรงหลังหรือตรงท้อง ฉะนั้นจึงชื่อว่า อสพลานิ เป็นศีลไม่ด่าง
ศีลเหล่าใด ไม่มีขาดเป็นระหว่าง ๆ ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่พร้อย เหมือนแม่โคมีลายเป็นจุด ๆ ตัดสีกัน ฉะนั้นจึงชื่อว่า อกมฺมาสานิ เป็นศีลไม่พร้อย
อีกประการหนึ่ง ว่ากันที่ไม่แปลกกัน ศีลทั้งหลายแม้ทุก ๆ ประเภท ชื่อว่าเป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลไม่ถูกทำลาย ด้วยเมถุนสังโยค ๗ อย่าง และบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและผูกโกรธเป็นต้น
ศีลทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ภุชิสฺสานิ เพราะทำความเป็นไทย โดยปลดเปลื้องออกจากความเป็นทาสแห่งตัณหา ชื่อว่า วิญฺญุปฺปสตฺถานิ เพราะเป็นศีลอันวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว ชื่อว่า อปรามฏฺฐานิ เพราะเป็นศีลอัน ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายมิได้แตะต้อง หรือเพราะเป็นศีลอันใคร ๆ ไม่พึงกล้าที่จะปรามาสว่านี้โทษในศีลทั้งหลายของท่าน ชื่อว่า สมาธิสํวตฺตนิกานิ เพราะเหตุที่เป็นศีลยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้บังเกิดได้ แหละหรือ แม้ยังมรรคสมาธิและผลสมาธิให้บังเกิดก็ได้ด้วย
องค์ฌาน ๕ เกิด
เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงศีลทั้งหลายของตน ด้วยอำนาจแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นอย่างนี้ สมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน สมัยนั้น จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงศีลโดยเฉพาะด้วยประการฉะนี้ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้ในขณะเดียวกันโดยนัยก่อนนั่นแล
แต่ด้วยเหตุที่คุณของศีลทั้งหลายเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่า สีลานุสสติฌาน เพราะเหตุที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณของศีลนั่นแล
อานิสงส์การเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน
ก็แหละ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสีลานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา เป็นผู้มีความประพฤติเข้ากันได้กับสิกขา เป็นผู้ไม่ประมาทในการปฏิสัณถาร เป็นผู้หลีกเว้นจากภัยมีการตำหนิตนเองเป็นต้น เป็นผู้มองเห็นภัยในโทษอันเล็กน้อย ย่อมได้บรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ ด้วยคุณธรรมมีศรัทธาเป็นต้น เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ก็แหละเมื่อไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ในชาตินี้ ) ก็ย่อมจะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
เพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในสีลานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อ เทอญ
กถามุขพิสดารในสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ยุติลงเพียงเท่านี้
วันนี้วันพระ หากศีลบริสุทธิ์ดี กรรมฐานข้อนี้จะสำเร็จ "สีลานุสสติกรรมฐาน"
วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๗ ฉอนุสสตินิเทศ หน้าที่ ๓๗๑ - ๓๗๕
๔. สีลานุสสติกถา
วิธีเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน
ก็แหละ อันโยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร พึงระลึกเนือง ๆ ถึงศีลทั้งหลายของตน ด้วยสามารถแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้น อย่างนี้
โอหนอ ! ศีลทั้งหลายของเรา –
๑. อขณฺฑานิ เป็นศีลไม่ขาด
๒. อจฺฉิทฺทานิ เป็นศีลไม่ทะลุ
๓. อสพลานิ เป็นศีลไม่ด่าง
๔. อกมฺมาสานิ เป็นศีลไม่พร้อย
๕. ภุชิสฺสานิ เป็นศีลที่เป็นไทย
๖. วิญฺญุปฺปสตฺถานิ เป็นศีลอันผู้รู้สรรเสริญ
๗. อปรามฏฺฐานิ เป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง
๘. สมาธิสํวตฺตนิกานิ เป็นศีลที่ยังสมาธิให้บังเกิดได้
แหละศีลเหล่านั้น คฤหัสถ์พึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของคฤหัสถ์ บรรพชิตพึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของบรรพชิต
อธิบายคุณลักษณะของศีล ๘ อย่าง
ศีลทั้งหลายจะเป็นศีลของคฤหัสถ์หรือศีลของบรรพชิตก็ตาม ศีลเหล่าใดในเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย แม้สิกขาบทเดียวก็ไม่ขาด ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ขาดเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า อขณฺทานิ เป็นศีลไม่ขาด
ศีลเหล่าใดตอนกลางแม้สิกขาบทเดียวก็ไม่มีขาด ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลางผืน ฉะนั้นจึงชื่อว่า อจฺฉิทฺทานิ เป็นศีลไม่ทะลุ
ศีลเหล่าใดไม่มีขาด ไม่มีขาดไปตามลำดับ ๒ สิกขาบทบ้าง ๓ สิกขาบทบ้าง ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ด่าง เหมือนแม่โคมีสีตัวด่างดำหรือด่างแดงอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยสีที่ตัดกัน มีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น ซึ่งผุดขึ้นตรงหลังหรือตรงท้อง ฉะนั้นจึงชื่อว่า อสพลานิ เป็นศีลไม่ด่าง
ศีลเหล่าใด ไม่มีขาดเป็นระหว่าง ๆ ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่พร้อย เหมือนแม่โคมีลายเป็นจุด ๆ ตัดสีกัน ฉะนั้นจึงชื่อว่า อกมฺมาสานิ เป็นศีลไม่พร้อย
อีกประการหนึ่ง ว่ากันที่ไม่แปลกกัน ศีลทั้งหลายแม้ทุก ๆ ประเภท ชื่อว่าเป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลไม่ถูกทำลาย ด้วยเมถุนสังโยค ๗ อย่าง และบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและผูกโกรธเป็นต้น
ศีลทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ภุชิสฺสานิ เพราะทำความเป็นไทย โดยปลดเปลื้องออกจากความเป็นทาสแห่งตัณหา ชื่อว่า วิญฺญุปฺปสตฺถานิ เพราะเป็นศีลอันวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว ชื่อว่า อปรามฏฺฐานิ เพราะเป็นศีลอัน ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายมิได้แตะต้อง หรือเพราะเป็นศีลอันใคร ๆ ไม่พึงกล้าที่จะปรามาสว่านี้โทษในศีลทั้งหลายของท่าน ชื่อว่า สมาธิสํวตฺตนิกานิ เพราะเหตุที่เป็นศีลยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้บังเกิดได้ แหละหรือ แม้ยังมรรคสมาธิและผลสมาธิให้บังเกิดก็ได้ด้วย
องค์ฌาน ๕ เกิด
เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงศีลทั้งหลายของตน ด้วยอำนาจแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นอย่างนี้ สมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน สมัยนั้น จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงศีลโดยเฉพาะด้วยประการฉะนี้ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้ในขณะเดียวกันโดยนัยก่อนนั่นแล
แต่ด้วยเหตุที่คุณของศีลทั้งหลายเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่า สีลานุสสติฌาน เพราะเหตุที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณของศีลนั่นแล
อานิสงส์การเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน
ก็แหละ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสีลานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา เป็นผู้มีความประพฤติเข้ากันได้กับสิกขา เป็นผู้ไม่ประมาทในการปฏิสัณถาร เป็นผู้หลีกเว้นจากภัยมีการตำหนิตนเองเป็นต้น เป็นผู้มองเห็นภัยในโทษอันเล็กน้อย ย่อมได้บรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ ด้วยคุณธรรมมีศรัทธาเป็นต้น เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ก็แหละเมื่อไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ในชาตินี้ ) ก็ย่อมจะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
เพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในสีลานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อ เทอญ
กถามุขพิสดารในสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ยุติลงเพียงเท่านี้