----- การเห็นว่าตน เป็นผู้สามารถบอกได้ว่า พระธรรมที่ทรงตรัสสอน นอกจากที่ตนเชื่อ เป็นสิ่งไม่จำเป็น กล่าวปรามาสพระนาม

กระทู้สนทนา
.


https://m.ppantip.com/topic/38093245?

พุทโธ จุ๊กรู๊ อรหันต์เต็มเบย!! เหตุไม่ควรมีคำบริกรรม
ปฏิบัติธรรม  มหาสติปัฏฐาน 4  ศาสนา  อานาปานสติ  พระไตรปิฎก

กระทู้นี้เป็นภาค 2  ต่อจาก  คณิกา และ อุจจาระ สมาธิ
  ตั้งใจอธิบายเอาไว้ให้  สำหรับ คนที่สงสัย ว่าเหตุใดไม่ควรมีคำบริกรรม
ดีกว่าไปตอบว่า  "เพราะพระพุทธเจ้าไม่บัญญัติ"  คนฟังก็เลยยิ่ง งง  
  ก็ยังพากันเมาธรรมต่อไป



------  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=7387&Z=7430

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๕. อนุสสติฏฐานสูตร


             [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
ผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้ม
รุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป
หลุดไปจากความอยาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของ
เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น
ยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ
สังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของ
เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้
ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราช
มีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหม
มีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดา
เหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วย
ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเรา
ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่