พุทธวจนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้า
แห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลาย
บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศ
แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบ
บรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน
เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสเหตุเกิด ของธรรม ที่เป็นความทุกข์ความสุข ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตกย่อม
มีเหตุบังเกิดขึ้น
มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดย
ฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาท
ธาตุ ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท ความพอใจ
ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ใน
วิหิงสา ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา ความ
เร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา การแสวงหา
วิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือกาย วาจา ใจ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศ
แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทาไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ใน
ปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี
เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสา
วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี
เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย !
ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ
ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ
ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ
ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ
การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อม
ปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอัพยาปาทธาตุ ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ
หมายรู้ในอัพยาบาท ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริใน
อัพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจใน
อัพยาบาท การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะ
อัพยาบาท อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓
คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ ความ
ดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอวิหิงสา ความพอใจในอวิหิงสา
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหา
อวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ฯ
เปิดธรรมที่ถูกปิด พุทธวจนะ บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้า แห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้า
แห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลาย
บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศ
ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบ
บรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน
เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น
มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากามบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดย
ฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาท
ธาตุ ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท ความพอใจ
ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ใน
วิหิงสา ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา ความ
เร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา การแสวงหา
วิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือกาย วาจา ใจ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทาไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ใน
ปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี
เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสา
วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มี
เหตุบังเกิดขึ้น อัพยาปาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ
ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ
ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ
ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ
การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อม
ปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอัพยาปาทธาตุ ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ
หมายรู้ในอัพยาบาท ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริใน
อัพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจใน
อัพยาบาท การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะ
อัพยาบาท อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓
คือ กาย วาจา ใจ ความหมายรู้ในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ ความ
ดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอวิหิงสา ความพอใจในอวิหิงสา
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหา
อวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ ฯ