ได้เห็นภาพนี้ได้ถูกจัดทำเป็นแผ่นภาพที่น่าสนใจมากครับ เพราะเป็นการแสดงพระธรรมเทศนา ให้แก่ผู้ที่แสวงหาความสุข ความหลุดพ้น รวมทั้งมีการขยายความด้วย (อาจจะยาวสักนิด แต่เพื่อความครบถ้วนในเนื้อหา) เรียนเชิญสดับกันได้ครับ
ขอขอบคุณ JMC (peaceforafrica) Page
☀️สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์”นั้น เพราะสวรรค์ว่ามีความสุข เป็นที่แสวงของทุกคนแล้ว “ยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์” ต้องดีกว่าเยี่ยมกว่า เลิศกว่าสวรรค์ อะไรที่เลิศกว่า ดีกว่าสวรรค์? ทำอย่างไรจึงจะได้สภาวะนั้น ? จึงต้องมาศึกษาในรายละเอียดกันใน "อนุปุพพิกถา"
☀️อนุปุพพิกถา ประกอบด้วย 5 กถา หรือ 5 เรื่อง คือ
1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม
🌺🌺🌺🌺🌺
💐อนุปุพพิกถา หมายถึง พระธรรมเทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ มี 5 ประการเพื่อฟอกอัธยาศัยของชาวโลกให้หมดจดเป็นขั้นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะบรรลุคุณธรรมพิเศษพระพุทธองค์จะทรงแสดงอริยสัจ 4 ด้วยเสมอ
☀️1. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันในชีวิตให้มีทรัพย์อุดมสมบูรณ์ในภพหน้า เป็นต้น
☀️2. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่เดือดเนื้อร้อนใจด้วยปัญหาจากที่ใดๆ เพราะผู้มีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น
☀️3. สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องของสุคติสวรรค์ว่าเป็นภพภูมิที่พร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์ บันเทิงเริงใจมีความเพลิดเพลินด้วยทิพยสมบัติ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น
☀️4. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้มองผิวเผินจะเป็นความสุขแต่ก็มีความทุกข์เจือปนมาก ไม่มีความจีรังยั่งยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น
☀️5. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าการออกจากกามคือความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อลวงเย้ายวนใจ ดังนั้น วิธีทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามและการออกจากกามให้ได้ผลดีคือ การออกบวชเพื่อบำเพ็ญเพียร
💐พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 3 รองจากปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และ อนัตตลักขณสูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมกัณฑ์ที่ 3 คือ อนุปุพพิกถาครั้งแรกในโลกและตามด้วยอริยสัจ 4 ให้กับยสกุลบุตรพร้อมกับเพื่อนๆ อีก 54 คน ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แล้วออกบวชเป็นพระอริยสาวก ทำให้สมัยต้นพุทธกาลมีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลก 61 องค์ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในยุคบุกเบิกพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล
ภายหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมบทนี้บ่อยมากกัณฑ์หนึ่ง นอกจากเทศน์โปรดพระยสะ, บิดา, มารดา, อดีตภรรยา และเพื่อนพระยสะแล้ว ยังทรงแสดงโปรดพระเจ้าพิมพิสารและบริวาร, เจ้ามัลลกษัตริย์, อนาถบิณฑิกเศรษฐี, เมณฑกเศรษฐี, กูฏทันตพราหมณ์ และผู้อื่นอีกจำนวนมาก จนกระทั่งเกิดพุทธบริษัท 4 ได้ร่วมใจกันเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน
☀️มาถึงบรรทัดนี้... คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การมีโอกาสได้ยินได้ฟังอนุปุพพิกถาและเชื่อมั่นศรัทธาตามหลักธรรมในอนุปุพพิกถานั้นนับว่ายิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ เพราะอนุปุพพิกถานั้นเปรียบเสมือนยวดยานพาหนะอันประเสริฐล้ำค่ายิ่งที่จะเชื่อมต่อไปสู่นิพพานอันเป็นเป้าหมายหลักของมวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง.
🔰ที่มา : ยสกุลบุตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 4 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 ข้อที่ 25 -31
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=576&Z=753
💐อนุปุพพิกถา... ธรรมะที่เลิศยิ่งกว่า ขึ้นสวรรค์💐
ขอขอบคุณ JMC (peaceforafrica) Page
☀️สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์”นั้น เพราะสวรรค์ว่ามีความสุข เป็นที่แสวงของทุกคนแล้ว “ยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์” ต้องดีกว่าเยี่ยมกว่า เลิศกว่าสวรรค์ อะไรที่เลิศกว่า ดีกว่าสวรรค์? ทำอย่างไรจึงจะได้สภาวะนั้น ? จึงต้องมาศึกษาในรายละเอียดกันใน "อนุปุพพิกถา"
☀️อนุปุพพิกถา ประกอบด้วย 5 กถา หรือ 5 เรื่อง คือ
1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม
🌺🌺🌺🌺🌺
💐อนุปุพพิกถา หมายถึง พระธรรมเทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ มี 5 ประการเพื่อฟอกอัธยาศัยของชาวโลกให้หมดจดเป็นขั้นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะบรรลุคุณธรรมพิเศษพระพุทธองค์จะทรงแสดงอริยสัจ 4 ด้วยเสมอ
☀️1. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันในชีวิตให้มีทรัพย์อุดมสมบูรณ์ในภพหน้า เป็นต้น
☀️2. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่เดือดเนื้อร้อนใจด้วยปัญหาจากที่ใดๆ เพราะผู้มีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น
☀️3. สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องของสุคติสวรรค์ว่าเป็นภพภูมิที่พร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์ บันเทิงเริงใจมีความเพลิดเพลินด้วยทิพยสมบัติ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น
☀️4. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้มองผิวเผินจะเป็นความสุขแต่ก็มีความทุกข์เจือปนมาก ไม่มีความจีรังยั่งยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น
☀️5. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าการออกจากกามคือความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อลวงเย้ายวนใจ ดังนั้น วิธีทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามและการออกจากกามให้ได้ผลดีคือ การออกบวชเพื่อบำเพ็ญเพียร
💐พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 3 รองจากปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และ อนัตตลักขณสูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมกัณฑ์ที่ 3 คือ อนุปุพพิกถาครั้งแรกในโลกและตามด้วยอริยสัจ 4 ให้กับยสกุลบุตรพร้อมกับเพื่อนๆ อีก 54 คน ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แล้วออกบวชเป็นพระอริยสาวก ทำให้สมัยต้นพุทธกาลมีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลก 61 องค์ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในยุคบุกเบิกพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล
ภายหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมบทนี้บ่อยมากกัณฑ์หนึ่ง นอกจากเทศน์โปรดพระยสะ, บิดา, มารดา, อดีตภรรยา และเพื่อนพระยสะแล้ว ยังทรงแสดงโปรดพระเจ้าพิมพิสารและบริวาร, เจ้ามัลลกษัตริย์, อนาถบิณฑิกเศรษฐี, เมณฑกเศรษฐี, กูฏทันตพราหมณ์ และผู้อื่นอีกจำนวนมาก จนกระทั่งเกิดพุทธบริษัท 4 ได้ร่วมใจกันเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน
☀️มาถึงบรรทัดนี้... คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การมีโอกาสได้ยินได้ฟังอนุปุพพิกถาและเชื่อมั่นศรัทธาตามหลักธรรมในอนุปุพพิกถานั้นนับว่ายิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ เพราะอนุปุพพิกถานั้นเปรียบเสมือนยวดยานพาหนะอันประเสริฐล้ำค่ายิ่งที่จะเชื่อมต่อไปสู่นิพพานอันเป็นเป้าหมายหลักของมวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง.
🔰ที่มา : ยสกุลบุตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 4 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 ข้อที่ 25 -31
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=576&Z=753