เรื่องมันก็มีอยู่แค่
เรียนรู้อนุปุพพิกถา ๕
ทาน ศีล สองอย่างนี้มีอานิสงส์ มีผลให้ได้เสวย เบญจกามคุณ ได้สวรรค์
แต่ กาม และสวรรค์ ก็มีโทษ ดังนั้นควรดำริออก
แล้วก็ออกจากกามโดยถือพรหมจรรย์ ถือศีล ๘
มีอินทรีย์สังวรณ์
อยู่อย่างสันโดษ
มีสติสัมปชัญญะ
เจริญสมถกรรมฐาน โดยเลือกจาก ๔๐ อย่างที่เข้ากับจริตตัวเอง ซึ่งจริตก็มีแค่ ๖ แบบ
กรรมฐานที่บรรลุ ฌาน ๔ ได้ก็เจริญให้ถึง ฌาน ๔ ถ้าไม่ได้ก็ไปให้ถึงที่สุดตามลำดับ
แม้ตัวที่น้อยที่สุดก็เป็นถึงอุปจารสมาธิ
ทำให้เป็นวสี
แล้วก็เข้าสมาธิให้ถึงที่สุดของกรรมฐานที่ตัวปฏิบัติ
ออกจากสมาบัตินั้นมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ ใช้กำลังสมาธินั้นที่พึ่งออกมาเป็นฐานในการพิจารณาเวทนา ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะจิต ตามดูให้รู้ทุกๆเวทนาที่เกิดที่ดับ เหตุที่เกิด เหตุที่ดับ
เมื่อเห็นแล้ว ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ นี่ล่ะมันทำให้เกิดเวทนา
ก็พิจารณาขันธ์ ๕ ในลักษณะของจิตแต่ละดวง เหตุที่มันเกิด เหตุที่มันดับ
เมื่อคล่องแล้ว เห็นแล้ว
ก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มีเกิด มีดับ อยู่ตลอด มีแล้วหายไปตลอด ทนอยู่ไม่ได้ ยึดไว้ไม่ได้สัก ขณะจิตเดียว
เป็นทุกข์
มีเหตุเป็นแดนเกิด
และดับไปได้ถ้าหมดเหตุ
และก็มีทางที่จะทำให้หมดเหตุได้ ถ้าไม่ยึดมั่นเป็นตัวตนไว้
ก็จะจาง จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ในตัวในตน
เห็นชัดว่าข้อปฏิบัติใดๆ ก็ไม่เท่ากับการไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้ว่าพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นจริง ผู้ปฏิบัติได้ผลจริง
จริงๆแล้วมันก็แค่นี้เองตามขั้นตอน ชอบแวะออกนอกทาง หรือชอบลัดกันให้ยุ่งยาก
เหมือนเด็กขี้เกียจเรียนโดดไปเล่น หรือเหมือนเด็กเรียนที่ชอบใช้วิธีลัด แต่ไม่เคยได้ตรวจสอบว่าระหว่างทางมันเป็นมาอย่างไร สุดท้ายก็ทำผิด
ทำไมคนเราชอบทำเรื่องง่ายให้มันยาก ไปยึดเอาคำสอนคนอื่นแทนคำสอนศาสดา
เรียนรู้อนุปุพพิกถา ๕
ทาน ศีล สองอย่างนี้มีอานิสงส์ มีผลให้ได้เสวย เบญจกามคุณ ได้สวรรค์
แต่ กาม และสวรรค์ ก็มีโทษ ดังนั้นควรดำริออก
แล้วก็ออกจากกามโดยถือพรหมจรรย์ ถือศีล ๘
มีอินทรีย์สังวรณ์
อยู่อย่างสันโดษ
มีสติสัมปชัญญะ
เจริญสมถกรรมฐาน โดยเลือกจาก ๔๐ อย่างที่เข้ากับจริตตัวเอง ซึ่งจริตก็มีแค่ ๖ แบบ
กรรมฐานที่บรรลุ ฌาน ๔ ได้ก็เจริญให้ถึง ฌาน ๔ ถ้าไม่ได้ก็ไปให้ถึงที่สุดตามลำดับ
แม้ตัวที่น้อยที่สุดก็เป็นถึงอุปจารสมาธิ
ทำให้เป็นวสี
แล้วก็เข้าสมาธิให้ถึงที่สุดของกรรมฐานที่ตัวปฏิบัติ
ออกจากสมาบัตินั้นมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ ใช้กำลังสมาธินั้นที่พึ่งออกมาเป็นฐานในการพิจารณาเวทนา ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะจิต ตามดูให้รู้ทุกๆเวทนาที่เกิดที่ดับ เหตุที่เกิด เหตุที่ดับ
เมื่อเห็นแล้ว ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ นี่ล่ะมันทำให้เกิดเวทนา
ก็พิจารณาขันธ์ ๕ ในลักษณะของจิตแต่ละดวง เหตุที่มันเกิด เหตุที่มันดับ
เมื่อคล่องแล้ว เห็นแล้ว
ก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มีเกิด มีดับ อยู่ตลอด มีแล้วหายไปตลอด ทนอยู่ไม่ได้ ยึดไว้ไม่ได้สัก ขณะจิตเดียว
เป็นทุกข์
มีเหตุเป็นแดนเกิด
และดับไปได้ถ้าหมดเหตุ
และก็มีทางที่จะทำให้หมดเหตุได้ ถ้าไม่ยึดมั่นเป็นตัวตนไว้
ก็จะจาง จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ในตัวในตน
เห็นชัดว่าข้อปฏิบัติใดๆ ก็ไม่เท่ากับการไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้ว่าพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นจริง ผู้ปฏิบัติได้ผลจริง
จริงๆแล้วมันก็แค่นี้เองตามขั้นตอน ชอบแวะออกนอกทาง หรือชอบลัดกันให้ยุ่งยาก
เหมือนเด็กขี้เกียจเรียนโดดไปเล่น หรือเหมือนเด็กเรียนที่ชอบใช้วิธีลัด แต่ไม่เคยได้ตรวจสอบว่าระหว่างทางมันเป็นมาอย่างไร สุดท้ายก็ทำผิด