การละกาม เมื่อ มองเห็นอสุภะ ในแง่ กามเป็นความเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน มันก็ถึงความดับสูญไป

กระทู้สนทนา
พุทธวจน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อ
เราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้
บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร
เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิด
ขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสอง
บ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา
เห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า
มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความ
ดับสูญไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก
นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก
เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่
พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต
ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คน
เลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ
กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ
การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง
ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ
เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก
ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด
เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย
อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก
นั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก
นั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า
เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน
อีกเลย ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่
ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัย เกิดขึ้น
แก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทาง
ที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย
ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก ก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น
เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย
กำจัดเนื้อต่อตัวผู้  เลิกนางเนื้อต่อตัวเมีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็น
อันมาก จึงถึงความเจริญ คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
แล เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมาย
ดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย คำว่า
หมู่เนื้อเป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป คำว่า
ทางที่ไม่สะดวกนี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑
มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน หรือ อวิชชา ทิฐิ ล้วนเป็นสิ่งล่อลวงของมาร]
คำว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา  [ทิฐิหรือความกำหนัดด้วยความเพลิน ล้วนเป็นสิ่งล่อลวงของมาร]

คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำว่า ทางอันปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการซึ่งเป็น
ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ
๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย
ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ]
ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อตัวผู้ก็ได้กำจัดให้แล้ว
ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่า
สาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน
ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่