จิตที่หลุดพ้นดีแล้ว
ภิกษุ ท !
ธาตุที่พึงพรากได้ ( นิสฺสารณิยธาตุ ) มี ๕ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
( ๑ )
เมื่อมนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า
เป็นการพรากออกจากกามทั้งหลาย
( ๒ )
เมื่อมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอพยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอพยาบาท
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า
เป็นการพรากออกจากพยาบาท
( ๓ )
เมื่อมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า
เป็นการพรากออกจากวิหิงสา
( ๔ )
เมื่อมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า
เป็นการพรากออกจากรูปทั้งหลาย
( ๕ )
เมื่อมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า
เป็นการพรากออกจากสักกายะ
ภิกษุ ท !
ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ
เพราะ ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
ภิกษุ ท ! ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล
บาลี ปญฺจก อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.
ผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
... ภิกษุ ท ! ก็
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุถฌาน อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว
... ภิกษุ ท ! ก็
ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจากโทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ
นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
... ภิกษุ ท ! ก็
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ...
ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ย่อมรู้ชัดว่า โทสะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ย่อมรู้ชัดว่า โมหะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๓/๒๐.
" จิต ที่ หลุด พ้น ดี แล้ว "
ภิกษุ ท !
ธาตุที่พึงพรากได้ ( นิสฺสารณิยธาตุ ) มี ๕ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
( ๑ ) เมื่อมนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกจากกามทั้งหลาย
( ๒ ) เมื่อมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอพยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอพยาบาท
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกจากพยาบาท
( ๓ ) เมื่อมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกจากวิหิงสา
( ๔ ) เมื่อมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกจากรูปทั้งหลาย
( ๕ ) เมื่อมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ
แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ
จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตที่ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ
อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น
เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกจากสักกายะ
ภิกษุ ท !
ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ
เพราะ ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี
ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
ภิกษุ ท ! ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล
บาลี ปญฺจก อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.
ผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
... ภิกษุ ท ! ก็ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุถฌาน อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว
... ภิกษุ ท ! ก็ ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจากโทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ
นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
... ภิกษุ ท ! ก็ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ...
ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ย่อมรู้ชัดว่า โทสะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ย่อมรู้ชัดว่า โมหะ เราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี และ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๓/๒๐.