เมื่อย้อนดูข้อมูลเรื่องเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เก็บรวบรวมจากสถาบันการเงินในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2547-2557) พบว่า เพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า คือเพิ่มจาก 3,038,630 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 10,432,529 ล้านบาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไทยในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 1 เท่า จาก 6,576,800 ล้านบาท เป็น 12,141,000 ล้านบาท
ขณะที่ประเทศไทยไต่ขึ้นเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงสุดในโลกในปัจจุบัน ตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) (ดูตาราง) ด้วยแล้ว จึงมีคำถามว่า ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงติดอันดับโลกนี้จะฉุดรั้งกำลังซื้อภายในประเทศไปอีกนานแค่ไหน และจะจุดชนวนวิกฤตเศรษฐกิจไทยครั้งใหม่หรือไม่
"ดร.ดอน นาครทรรพ" ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธปท.ชี้ว่า หนี้ครัวเรือนเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่วงการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นไตรมาส 4/57 อยู่ที่ 85.9% ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 84.7% แต่ปริมาณหนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียง 6.5% ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธปท.ยังติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนเกษตรกรรม ที่มีความเปราะบางด้านรายได้จากปัญหาราคาพืชผลการเกษตรซึ่งอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าในระยะข้างหน้า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังเพิ่มขึ้นแต่ในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยเฉพาะในปี 2559 น่าจะลดลงจากหนี้ในโครงการรถคันแรกที่ค่อย ๆ หมดไป
"หนี้จากรถคันแรก หากหมดไปก็น่าจะทำให้คนจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น ส่วนการที่หนี้ครัวเรือนของไทยติด 1 ใน 15 ของโลกก็ไม่น่าห่วงมาก เพราะเสถียรภาพโดยรวมของระบบสถาบันการเงินยังดิ และยังมีประเทศอื่นที่สูงกว่าเรา เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา เป็นต้น" ดร.ดอนกล่าว
สถานการณ์นี้
"ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ" รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ในระยะสั้นหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงดีขึ้น และอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าจะลดลง เพราะแม้ว่าปริมาณหนี้จะชะลอตัวแต่ส่วนของรายได้ (จีดีพี) ในปีนี้ยังต่ำ ตัวหารน้อยจึงทำให้อัตราส่วนยังเพิ่มขึ้น สิ่งที่น่าห่วงระยะสั้นคือ
ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อต่ำ ย่อมทำให้มูลค่าหนี้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น และซ้ำเติมความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน
ด้าน
"ดร.เชาว์ เก่งชน" กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยเสนอว่า การควบคุมการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน ต้องเริ่มที่การสร้างวินัยในการใช้จ่าย การสร้างระบบการออมภาคบังคับ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐกำลังจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม เรื่องหนี้ครัวเรือนอาจต้องแบ่งการแก้ปัญหาใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ที่เป็นหนี้นอกระบบและหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และปีนี้ประสบปัญหารายได้ต่ำตามราคาสินค้าเกษตร ก็อาจถึงเวลาที่ต้องโยกย้ายการทำงานออกจากภาคเกษตรในระยะหนึ่ง
ส่วนกลุ่มรายได้ปานกลาง-บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน และเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของร้านค้าต่าง ๆ ที่จูงใจให้ใช้จ่าย กลุ่มนี้ต้องสร้างวินัยและลดการก่อหนี้ใหม่ โดยบริษัทคาดว่า ณ สิ้นปี 2558 หนี้ครัวเรือนไทยอาจขยับขึ้นไปแตะ 88-89% ต่อจีดีพี
ถึงตอนนี้จึงมีความท้าทายอย่างยิ่งว่า ในเวลาที่หนี้ครัวเรือนสูงฉุดกำลังซื้อ ฉุดการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน กดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และอัตราเงินเฟ้อทำสถิติต่ำสุดรอบ 5 ปี ในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะหลุดออกจากปัญหา "งูกินหาง" ได้อย่างไร
Link :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431316250
▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ เปิดโผหนี้คนไทยสูงติดอันดับโลก ระวังเงินเฟ้อต่ำ ดันมูลค่าหนี้แท้จริงพุ่ง █ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂
ขณะที่ประเทศไทยไต่ขึ้นเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงสุดในโลกในปัจจุบัน ตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) (ดูตาราง) ด้วยแล้ว จึงมีคำถามว่า ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงติดอันดับโลกนี้จะฉุดรั้งกำลังซื้อภายในประเทศไปอีกนานแค่ไหน และจะจุดชนวนวิกฤตเศรษฐกิจไทยครั้งใหม่หรือไม่
"ดร.ดอน นาครทรรพ" ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธปท.ชี้ว่า หนี้ครัวเรือนเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่วงการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นไตรมาส 4/57 อยู่ที่ 85.9% ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 84.7% แต่ปริมาณหนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียง 6.5% ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธปท.ยังติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนเกษตรกรรม ที่มีความเปราะบางด้านรายได้จากปัญหาราคาพืชผลการเกษตรซึ่งอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าในระยะข้างหน้า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังเพิ่มขึ้นแต่ในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยเฉพาะในปี 2559 น่าจะลดลงจากหนี้ในโครงการรถคันแรกที่ค่อย ๆ หมดไป
"หนี้จากรถคันแรก หากหมดไปก็น่าจะทำให้คนจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น ส่วนการที่หนี้ครัวเรือนของไทยติด 1 ใน 15 ของโลกก็ไม่น่าห่วงมาก เพราะเสถียรภาพโดยรวมของระบบสถาบันการเงินยังดิ และยังมีประเทศอื่นที่สูงกว่าเรา เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา เป็นต้น" ดร.ดอนกล่าว
สถานการณ์นี้ "ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ" รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ในระยะสั้นหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงดีขึ้น และอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าจะลดลง เพราะแม้ว่าปริมาณหนี้จะชะลอตัวแต่ส่วนของรายได้ (จีดีพี) ในปีนี้ยังต่ำ ตัวหารน้อยจึงทำให้อัตราส่วนยังเพิ่มขึ้น สิ่งที่น่าห่วงระยะสั้นคือ ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อต่ำ ย่อมทำให้มูลค่าหนี้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น และซ้ำเติมความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน
ด้าน "ดร.เชาว์ เก่งชน" กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยเสนอว่า การควบคุมการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน ต้องเริ่มที่การสร้างวินัยในการใช้จ่าย การสร้างระบบการออมภาคบังคับ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐกำลังจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม เรื่องหนี้ครัวเรือนอาจต้องแบ่งการแก้ปัญหาใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ที่เป็นหนี้นอกระบบและหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และปีนี้ประสบปัญหารายได้ต่ำตามราคาสินค้าเกษตร ก็อาจถึงเวลาที่ต้องโยกย้ายการทำงานออกจากภาคเกษตรในระยะหนึ่ง
ส่วนกลุ่มรายได้ปานกลาง-บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน และเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของร้านค้าต่าง ๆ ที่จูงใจให้ใช้จ่าย กลุ่มนี้ต้องสร้างวินัยและลดการก่อหนี้ใหม่ โดยบริษัทคาดว่า ณ สิ้นปี 2558 หนี้ครัวเรือนไทยอาจขยับขึ้นไปแตะ 88-89% ต่อจีดีพี
ถึงตอนนี้จึงมีความท้าทายอย่างยิ่งว่า ในเวลาที่หนี้ครัวเรือนสูงฉุดกำลังซื้อ ฉุดการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน กดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และอัตราเงินเฟ้อทำสถิติต่ำสุดรอบ 5 ปี ในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะหลุดออกจากปัญหา "งูกินหาง" ได้อย่างไร
Link : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431316250