หยุดยาวปีใหม่ กรุงเทพฯ ถนนโล่ง ร้านค้าเงียบเหงา ประชาชนแห่กลับภูมิลำเนา (ภาพชุด)
https://www.matichon.co.th/local/news_4975182
หยุดยาวปีใหม่ กรุงเทพฯ ถนนโล่ง ร้านค้าเงียบเหงา ประชาชนแห่กลับภูมิลำเนา (ภาพชุด)
หยุดยาวปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 หลังจากที่ประชาชนทยอยออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางกลับต่างจังหวัดตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ถนนมุ่งหน้าไปเหนือ อีสาน และใต้ เริ่มหนาแน่นมากขึ้น
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในกรุงเทพมหานครเริ่มเงียบเหงา ถนนหนทางต่างๆ มีรถน้อยลง ร้านค้าต่างปิดจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศกรุงเทพฯ ดูเงียบเหงาลงอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่
ภาพชุดที่ :
https://www.matichon.co.th/local/news_4975182
ชิงนายกอบจ.ตรัง มีแค่ 3 วันสุดท้ายไม่มีผู้สมัครเพิ่ม ส่วน ส.อบจ. 61 ราย ไร้เงาวงศ์หนองเตย
https://www.matichon.co.th/region/news_4975205
ชิงนายกอบจ.ตรัง มีแค่ 3 วันสุดท้ายไม่มีผู้สมัครเพิ่ม ส่วนส.อบจ. 61 ราย ไร้เงาวงศ์หนองเตย
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายการรับสมัครเลือกตั้ง สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง (อบจ.) ปรากฎว่าไร้ผู้สมัครชิงนายกอบจ.ตรังเพิ่ม แม้ก่อนหน้านี้นาย
ประเสริฐ รักไทย อดีตนายกอบต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง หลายสมัย ได้ประกาศตัวกับสื่อมวลชนว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกอบจ.ตรังเป็นรายที่ 4 โดยจะเดินทางมาสมัครในวันที่ 27 ธ.ค. แต่ปรากฎว่า ปล่อยให้สื่อมวลชนรอเก้อโดยไม่ปรากฏตัวแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากหมดเวลารับสมัครผู้สื่อข่าวได้พยายามโทรศัพท์หานายประเสริฐ เพื่อสอบถามสาเหตุที่ไม่มาสมัครตามที่ได้แจ้งก่อนหน้านี้ ปรากฎว่าติดต่อไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ตรัง ได้สรุปรายงานจำนวนผู้สมัครเลือกตั้งนายกอบจ.ตรัง และ ส.อบจ.ตรัง ตั้งแต่วันที่ 23-27 ธ.ค. มีผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกอบจ. ตรัง รวมทั้งสิ้น 3 คน ประกอบด้วย นาย
บุ่นเล้ง โล่สถาพิพิธ หมายเลข 1 นาย
ยรรยง ตันติตรีญาณ หมายเลข 2 และ นาย
ทวีศักดิ์ สงชู หมายเลข 3 สำหรับผู้สมัครส.อบจ. มีจำนวน 61 คน
เศรษฐกิจรัสเซียใกล้จะพัง ‘สเตียรอยด์ทางการคลัง’ เริ่มหมดฤทธิ์
https://www.prachachat.net/world-news/news-1722533
เกือบ 3 ปีเต็มที่รัสเซียรุกรานยูเครนและโดนคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก แต่เศรษฐกิจรัสเซียก็เอาชนะคาดการณ์มาได้ตลอด นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวเป็นเลขสองหลัก แต่คาดการณ์นั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น
ในปี 2022 ซึ่งเป็นปีแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของรัสเซียหดตัวเพียง -2.1% แล้วเติบโตขึ้น 3.6% ในปี 2023 และคาดว่าจะโต 4% ในปี 2024 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ดีกว่าหลาย ๆ ประเทศที่ไม่ได้โดนคว่ำบาตรด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจรัสเซียซ่อนความจริงเอาไว้หลังตัวเลขที่ดูแกร่งเกินคาด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2024 คาร์เนกี รัสเซีย ยูเรเชีย เซ็นเตอร์ (Carnegie Russia Eurasia Center) ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองในเยอรมนี ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรัสเซียที่เขียนโดย
อเล็กซานดรา โปรโกเพนโก (Alexandra Prokopenko) นักเศรษฐศาสตร์รับเชิญของคาร์เนกี รัสเซีย ยูเรเชีย เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นอีกความเห็นที่ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจรัสเซียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นปกปิดสภาพที่แท้จริงเอาไว้ โดยใช้ “
การคลัง” พยุงสถานการณ์อันยากลำบาก อีกทั้งรัสเซียใช้ข้อมูลที่ดูดีเหล่านั้นอวดอ้างว่าการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกไม่ได้ผล
“
ภาพความถึกทน (Resilience) นี้เป็นภาพลวงตา ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของรัสเซียดำเนินไปอย่างเชื่องช้าด้วยสเตียรอยด์ทางการคลัง และตอนนี้สเตียรอยด์เหล่านั้นก็เริ่มหมดฤทธิ์ การเติบโตกำลังชะลอตัวลง เซ็กเตอร์สำคัญ ๆ กำลังชะลอลง และข้อถกเถียงที่สนับสนุนข้ออ้างของปูตินเกี่ยวกับ ‘ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ’ กำลังคลี่คลาย”
เธอบอกว่า แม้ว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะไม่ถึงขั้นล่มสลายลงอย่างกะทันหัน แต่ก็จะต้องเผชิญภาวะ “
กับดักความชะงักงันของเศรษฐกิจ” (Stagnation Trap)
ซึ่งยากที่จะฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ
โปรโกเพนโกวิเคราะห์ว่า รัฐบาลรัสเซียกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายมากขึ้นในการทำสงครามและจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน การที่รัสเซียจะคงระดับเงินเฟ้อไม่ให้สูงและรักษาเสถียรภาพค่าเงินรูเบิลในเวลาเดียวกันนั้น ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ โมเมนตัมทางเศรษฐกิจอาจจะหยุดชะงักภายใน 1 ปีข้างหน้า และจากนั้น ในปี 2026-2027 ความท้าทายทางการคลังและทางสังคมอาจลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบได้
การใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งการใช้จ่ายงบประมาณโดยตรงและโครงการเงินกู้ที่รัฐอุดหนุน เป็นแรงผลักดันหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจรัสเซียเติบโตได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงปี 2022 ถึงปี 2024 รัสเซียใช้มาตรการทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจมากจนมีมูลค่าคิดเป็นมากกว่า 10% ของจีดีพี โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแรงของเศรษฐกิจรัสเซียเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 2024 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงเหลือ 3.1% (YOY) จากอัตรา 4.1% (YOY) ในไตรมาสก่อนหน้า
แม้ว่าอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการผลิตด้านการป้องกันประเทศยังคงเติบโตต่อไป แต่อัตราการเติบโตก็ต่ำกว่าระดับของปีก่อนหน้าอย่างมาก ขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ กำลังชะงักงัน มีเพียงภาคการค้าปลีกที่ยังคงเป็นจุดสว่าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ถึงอย่างนั้น การสำรวจก็ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่ชะลอตัวและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
ปัญหาหนึ่งที่จะเป็นเรื่องใหญ่ตามที่บทวิเคราะห์ของ
โปรโกเพนโกระบุ คือ รัสเซียมีขีดจำกัดในการผลิต ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศได้ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องเงินตราสกุลต่างประเทศมากขึ้น ค่าเงินรูเบิลลดลง และเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
สำหรับอนาคตเศรษฐกิจของรัสเซียหลังปี 2025
โปรโกเพนโกวิเคราะห์ว่า “
ดูไม่สู้ดีนัก” เธอบอกว่า หากมองเผิน ๆ การเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่ต่ำจะสร้างภาพลวงตาว่ารูปแบบเศรษฐกิจใหม่ของประเทศนั้นมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม รูปแบบเศรษฐกิจใหม่นี้กำลังเผชิญกับข้อจำกัดพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน กำลังการผลิตที่ใช้จนเต็ม และรายได้จากการส่งออกที่ซบเซาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร
“
การใช้จ่ายของรัฐบาลที่พุ่งสูงช่วยพยุงสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่รุมเร้าเศรษฐกิจของรัสเซียมายาวนานได้ ขณะที่การคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคว่ำบาตรสูงขึ้น และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจรัสเซียโดยภาพรวม”
เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้
แอนเดอร์ส อัสลุนด์ (Anders Aslund) นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนชาวสวีเดน ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในทิศทางเดียวกันนี้ว่า เศรษฐกิจรัสเซียกำลังย่ำแย่อย่างหนักจากพิษของสงครามยูเครนและการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
อัสลุนด์ประเมินว่า การคว่ำบาตรจากโลกตะวันตกทำให้จีดีพีของรัสเซียหดตัวลงทุกปี ซึ่งจะส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของรัสเซียขยับเข้าใกล้สภาวะ “
หยุดชะงัก” มากขึ้นทุกที
JJNY : หยุดยาวปีใหม่ ร้านค้าเงียบเหงา│ชิงนายกอบจ.ตรังไม่มีผู้สมัครเพิ่ม│เศรษฐกิจรัสเซียใกล้จะพัง│ยูเครนส่งอาหารให้ซีเรีย
https://www.matichon.co.th/local/news_4975182
หยุดยาวปีใหม่ กรุงเทพฯ ถนนโล่ง ร้านค้าเงียบเหงา ประชาชนแห่กลับภูมิลำเนา (ภาพชุด)
หยุดยาวปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 หลังจากที่ประชาชนทยอยออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางกลับต่างจังหวัดตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ถนนมุ่งหน้าไปเหนือ อีสาน และใต้ เริ่มหนาแน่นมากขึ้น
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในกรุงเทพมหานครเริ่มเงียบเหงา ถนนหนทางต่างๆ มีรถน้อยลง ร้านค้าต่างปิดจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศกรุงเทพฯ ดูเงียบเหงาลงอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่
ภาพชุดที่ : https://www.matichon.co.th/local/news_4975182
ชิงนายกอบจ.ตรัง มีแค่ 3 วันสุดท้ายไม่มีผู้สมัครเพิ่ม ส่วน ส.อบจ. 61 ราย ไร้เงาวงศ์หนองเตย
https://www.matichon.co.th/region/news_4975205
ชิงนายกอบจ.ตรัง มีแค่ 3 วันสุดท้ายไม่มีผู้สมัครเพิ่ม ส่วนส.อบจ. 61 ราย ไร้เงาวงศ์หนองเตย
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายการรับสมัครเลือกตั้ง สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง (อบจ.) ปรากฎว่าไร้ผู้สมัครชิงนายกอบจ.ตรังเพิ่ม แม้ก่อนหน้านี้นายประเสริฐ รักไทย อดีตนายกอบต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง หลายสมัย ได้ประกาศตัวกับสื่อมวลชนว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกอบจ.ตรังเป็นรายที่ 4 โดยจะเดินทางมาสมัครในวันที่ 27 ธ.ค. แต่ปรากฎว่า ปล่อยให้สื่อมวลชนรอเก้อโดยไม่ปรากฏตัวแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากหมดเวลารับสมัครผู้สื่อข่าวได้พยายามโทรศัพท์หานายประเสริฐ เพื่อสอบถามสาเหตุที่ไม่มาสมัครตามที่ได้แจ้งก่อนหน้านี้ ปรากฎว่าติดต่อไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ตรัง ได้สรุปรายงานจำนวนผู้สมัครเลือกตั้งนายกอบจ.ตรัง และ ส.อบจ.ตรัง ตั้งแต่วันที่ 23-27 ธ.ค. มีผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกอบจ. ตรัง รวมทั้งสิ้น 3 คน ประกอบด้วย นายบุ่นเล้ง โล่สถาพิพิธ หมายเลข 1 นายยรรยง ตันติตรีญาณ หมายเลข 2 และ นายทวีศักดิ์ สงชู หมายเลข 3 สำหรับผู้สมัครส.อบจ. มีจำนวน 61 คน
เศรษฐกิจรัสเซียใกล้จะพัง ‘สเตียรอยด์ทางการคลัง’ เริ่มหมดฤทธิ์
https://www.prachachat.net/world-news/news-1722533
เกือบ 3 ปีเต็มที่รัสเซียรุกรานยูเครนและโดนคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก แต่เศรษฐกิจรัสเซียก็เอาชนะคาดการณ์มาได้ตลอด นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวเป็นเลขสองหลัก แต่คาดการณ์นั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น
ในปี 2022 ซึ่งเป็นปีแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของรัสเซียหดตัวเพียง -2.1% แล้วเติบโตขึ้น 3.6% ในปี 2023 และคาดว่าจะโต 4% ในปี 2024 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ดีกว่าหลาย ๆ ประเทศที่ไม่ได้โดนคว่ำบาตรด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจรัสเซียซ่อนความจริงเอาไว้หลังตัวเลขที่ดูแกร่งเกินคาด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2024 คาร์เนกี รัสเซีย ยูเรเชีย เซ็นเตอร์ (Carnegie Russia Eurasia Center) ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองในเยอรมนี ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรัสเซียที่เขียนโดย อเล็กซานดรา โปรโกเพนโก (Alexandra Prokopenko) นักเศรษฐศาสตร์รับเชิญของคาร์เนกี รัสเซีย ยูเรเชีย เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นอีกความเห็นที่ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจรัสเซียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นปกปิดสภาพที่แท้จริงเอาไว้ โดยใช้ “การคลัง” พยุงสถานการณ์อันยากลำบาก อีกทั้งรัสเซียใช้ข้อมูลที่ดูดีเหล่านั้นอวดอ้างว่าการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกไม่ได้ผล
“ภาพความถึกทน (Resilience) นี้เป็นภาพลวงตา ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของรัสเซียดำเนินไปอย่างเชื่องช้าด้วยสเตียรอยด์ทางการคลัง และตอนนี้สเตียรอยด์เหล่านั้นก็เริ่มหมดฤทธิ์ การเติบโตกำลังชะลอตัวลง เซ็กเตอร์สำคัญ ๆ กำลังชะลอลง และข้อถกเถียงที่สนับสนุนข้ออ้างของปูตินเกี่ยวกับ ‘ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ’ กำลังคลี่คลาย”
เธอบอกว่า แม้ว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะไม่ถึงขั้นล่มสลายลงอย่างกะทันหัน แต่ก็จะต้องเผชิญภาวะ “กับดักความชะงักงันของเศรษฐกิจ” (Stagnation Trap)
ซึ่งยากที่จะฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ
โปรโกเพนโกวิเคราะห์ว่า รัฐบาลรัสเซียกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายมากขึ้นในการทำสงครามและจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน การที่รัสเซียจะคงระดับเงินเฟ้อไม่ให้สูงและรักษาเสถียรภาพค่าเงินรูเบิลในเวลาเดียวกันนั้น ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ โมเมนตัมทางเศรษฐกิจอาจจะหยุดชะงักภายใน 1 ปีข้างหน้า และจากนั้น ในปี 2026-2027 ความท้าทายทางการคลังและทางสังคมอาจลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบได้
การใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งการใช้จ่ายงบประมาณโดยตรงและโครงการเงินกู้ที่รัฐอุดหนุน เป็นแรงผลักดันหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจรัสเซียเติบโตได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงปี 2022 ถึงปี 2024 รัสเซียใช้มาตรการทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจมากจนมีมูลค่าคิดเป็นมากกว่า 10% ของจีดีพี โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแรงของเศรษฐกิจรัสเซียเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 2024 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงเหลือ 3.1% (YOY) จากอัตรา 4.1% (YOY) ในไตรมาสก่อนหน้า
แม้ว่าอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการผลิตด้านการป้องกันประเทศยังคงเติบโตต่อไป แต่อัตราการเติบโตก็ต่ำกว่าระดับของปีก่อนหน้าอย่างมาก ขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ กำลังชะงักงัน มีเพียงภาคการค้าปลีกที่ยังคงเป็นจุดสว่าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ถึงอย่างนั้น การสำรวจก็ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่ชะลอตัวและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
ปัญหาหนึ่งที่จะเป็นเรื่องใหญ่ตามที่บทวิเคราะห์ของโปรโกเพนโกระบุ คือ รัสเซียมีขีดจำกัดในการผลิต ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศได้ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องเงินตราสกุลต่างประเทศมากขึ้น ค่าเงินรูเบิลลดลง และเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
สำหรับอนาคตเศรษฐกิจของรัสเซียหลังปี 2025 โปรโกเพนโกวิเคราะห์ว่า “ดูไม่สู้ดีนัก” เธอบอกว่า หากมองเผิน ๆ การเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่ต่ำจะสร้างภาพลวงตาว่ารูปแบบเศรษฐกิจใหม่ของประเทศนั้นมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม รูปแบบเศรษฐกิจใหม่นี้กำลังเผชิญกับข้อจำกัดพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน กำลังการผลิตที่ใช้จนเต็ม และรายได้จากการส่งออกที่ซบเซาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร
“การใช้จ่ายของรัฐบาลที่พุ่งสูงช่วยพยุงสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่รุมเร้าเศรษฐกิจของรัสเซียมายาวนานได้ ขณะที่การคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคว่ำบาตรสูงขึ้น และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจรัสเซียโดยภาพรวม”
เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ แอนเดอร์ส อัสลุนด์ (Anders Aslund) นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนชาวสวีเดน ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในทิศทางเดียวกันนี้ว่า เศรษฐกิจรัสเซียกำลังย่ำแย่อย่างหนักจากพิษของสงครามยูเครนและการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
อัสลุนด์ประเมินว่า การคว่ำบาตรจากโลกตะวันตกทำให้จีดีพีของรัสเซียหดตัวลงทุกปี ซึ่งจะส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของรัสเซียขยับเข้าใกล้สภาวะ “หยุดชะงัก” มากขึ้นทุกที