วิภาษวิธี รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว

ตามความคิดผม

รัฐธรรมนูญ มาจากคำว่า Constitution หมายความว่า การแต่งตั้ง การดำรง และการสถาปนา ในความหมายทางการเมืองอันหมายถึง การสถาปนารัฐ การก่อตั้งรัฐ โดย มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบุเป็นรายลักษณ์อักษร หรือจารีตประเพณีปกครองประเทศ ประกาศ ความเป็นรัฐ เจ้าของอำนาจอธิปไตย ฯลฯ

สำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญ เป็นพันธะ ข้อสัญญาระว่างประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ รวมไปถึงสถาบันพระกษัตริย์ อันต้องอยู่ภายใต้พันธะสัญญา ดังกล่าวร่วมกัน บทบาทจะต่างกันตรงที่ ทุกคน ยอมรับ รัฐธรรมนูญ นั้นหรือไม่ อย่างไร

รัฐธรรมนูญ ประกาศให้ต่างชาติรับรู้ ว่า เราเป็นราชอาณาจักร อันเดียวกันจักแบ่งแยกไม่ได้ ส่วนตัวผมไม่ได้สลักสำคัญแต่อย่างใด การปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข Constitutional Monarchy ของประเทศ และใช้ระบบรัฐสภาในระบอบ Democracy ซึ่งอาจแสดงเห็นได้ชัดเจน สำหรับ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนี้

ระบบรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร มาจากระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ สังกัด Polical party และ Interest Group

interest Group /กลุ่มทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว ผมว่าน่าสนใจ และน่าจับตามองถ้าคุณลองศึกษาดู อาจจะพบว่ามันคือ การขยายขอบเขตของกลุ่มผลประโยชน์ ให้จำกัดลง โดย ตัดกลุ่ม ปัจเจค/ ผู้แทนไร้สังกัดพรรคไป เพราะเงื่อนของระบบบัญชีรายชื่อ ที่ผูกพันกับกระบวนการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตนั่นเอง

ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ร่าง ได้ว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจริง 450-470 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จำนวน 250 คน และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบรายชื่อ 220 คน หลักเกณฑ์ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีสรุปง่ายง่าย คือ สมมติ เกิดมีการเลือกตั้งทั่วไป หากต้องการมีการคำนวณคะแนนให้เกิดสัดส่วนของแต่ละพรรค/กลุ่มการเมือง ที่ได้รับคะแนน สัดส่วนที่ได้พรรคหนึ่งพรรคใดให้แทนตัว แปร x แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 6 เขตเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตของพรรคหนึ่ง แทนตัวแปร y สมมติ x > y ก็ให้เพิ่มจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อได้จนเท่า กับ จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต แต่ถ้า y <= x จะถูกตัดสิทธิการมีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไป สมมติอีกว่า หากพรรคฯนี้ มีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี เกินจำนวนรวม 220 คน ก็ให้ตัดเหลือ 220 คนเท่านั้น

ลองสังเกตครับ ส่วนตัวผมไม่ได้พวง หรือคิดมากกับระบบ/กระบวนการ/วิธีการใหม่ ๆ เท่าใดนักเพียงบอกว่าแค่น่าสนใจ การจำกัดที่นั่ง ส.ส./ ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ ดังกล่าว เพื่อ ริดรอนอำนาจทางการเมืองพรรคใหญ่ และริดรอนจำนวนพรรคเล็ก /กลุ่มการเมืองอื่น ด้วย การบริหารแบบ พรรคเด่นพรรคเดียว ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ในระบบรัฐสภาดังกล่าว

สำหรับ การได้มาซึ่งวุฒิสภา กว่า 77 คนมาจากการเลือกตั้ง ทางอ้อม และลับ เป็นกลุ่มบุคคลที่สรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคุณธรรม ส่วนเกณฑ์ การวัด คงต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาไป แต่ส่วนความคิดผม สภากลั่นกรอง หรือสภาสูง มาจากการแต่งตั้ง/ สรรรหา /การได้มา อันนอกเหนือจากการเลือกตั้ง โดยตรง ควรเป็นที่ประชาชน/พลเมือง (Citizen) ยอมรับการโดยถ้วนหน้า หลากหลายกลุ่มอาชีพ กลุ่มผลประโยชน์ ต่างๆ ซึ่งคุณวุฒิดังกล่าวต้องยอมรับว่า ต้องมีคุณสมบัติในเรื่องการศึกษา ผลงาน และคุณธรรม อย่างมาก โดยรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้แบ่งไว้ ในระดับประเทศ ระดับกลุ่มผลประโยชน์ และระดับภาคประชาชนแต่เพียงเสมือนประชาชน แต่งตั้ง สมาชิกวุฒิสภา เรียกเช่นนี้ จะดีกว่า (เพราะการแต่งตั้ง คือ ความจำนนยอมรับไปโดยปริยาย) แม้จะสามารถลงคะแนนเสียงทางลับได้ก็ตาม

โดยส่วนตัวผม การได้มาซึ่งวุฒิสภา จะได้มาด้วยกระบวนการใดก็ตาม แต่วัตถุประสงค์ ไม่ได้ประเด็น นี้ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า วุฒิสภา ทำหน้าที่ของตนในระบบรัฐสภาคู่ /ทั้งสอง ได้อย่างสมบูรณ์ หรือไม่อย่างไร ตรงนั้น ก็คงเป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และองค์กรคุณธรรม /รัฐ /พลเมือง ตามรัฐธรรมนูญฯ มากกว่า คือ เกิดผล แล้วค่อยตรวจสอบการทำงานอีกที

เท่าที่ผมศึกษา ตอนนี้ยังศึกษา ไม่ครบทุกหมวด แต่เท่าที่อ่านดู ก็พบคำถามมากมายเช่นกัน สนุกดี เพราะเป็นอะไรใหม่ รวมไประบบการเลือกตั้ง โดยรัฐธรรมนูญฯ ได้ระบถึงวิธีการเลือกตั้งทางลับ แบบใหม่ ที่ว่า แบบระบบอิเล็กทรอนิก ค่อนข้างน่าสนใจ จะเหมาะสมกับ สังคมไทย ทุกเพศอย่างไร หรือไม่ ต้องติดตาม

สำหรับการทำประชามติ ผมมีความเห็นว่า มีความเห็นด้วยครับเพราะ อย่างไร ประชาชนก็มี พันธะ สัญญา เกี่ยวข้อง ระหว่างรัฐ และ ความเป็นพลเมืองไทย รัฐธรรมนูญ ฯ อันมีขอบเขตที่กว้างกว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่แน่ใจ วัฒนธรรมการปกครองไทย ระบอบประชาธิไตย คนไทยเองก็มีมากไม่น้อยกว่า คนชาติอื่น ที่นิยมระบอบประชาธิปไตย เช่นกัน แม้แต่ประเทศที่มีการปกครองประเทศแบบเผด็จการ ยังมีรัฐธรรมนูญที่ ว่าถึง แม้บางประเทศจะไม่มีการทำประชามติ ก็ตาม

***เพิ่มเติม ****

ส่วนเพิ่มเติมที่น่าสนใจ คือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ของประเทศ เฉกเช่น องค์กรอิสระในการเข้ามาจัดระเบียบโครงสร้างทาง สังคม การเมือง เศรษฐกิจ มนุษยธรรม และเทคโนโลยี ที่สำคัญเป็นเสมือน พี่เลี้ยง (Coach) ของคณะรัฐมนตรี ช่วงแรกหลังจากที่ประกาศใช้ รฐนฺ หรือไม่อย่าไรอันนี้ตามความคิดเห็นส่วนตัวผม ภายในตลอดเวลา 5 ปี หากประชาชนติดใจผลในการดำเนินการ ก็สามารถลงคะแนนเสียงให้ องค์กรดังกล่าวอยู่ต่อไปได้

สมาชิกขององค์กรดังกล่าวก็คงหนีไม่พ้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ / หรือสมาชิกของสภาปฏิรูปฯ และสภานิติบญัญัติฯ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฯ 2557 ที่ ให้อำนาจ เฉกเช่นเดียวกับ คณะรัฐมนตรี แต่รูปแบบคล้ายคลึงข้าราชการประจำ คือ ทำงานเต็มเวลา ได้อำนาจ ในเรื่องนโยบายฯ ที่เกี่ยวข้องและ ในการเสนอร่าง พรบ. ได้อย่างอิสระ เท่าที่จำเป็น กล่าวคือ โดย ทั่วไปกระบวนตราพระราชบัญญัติ /ทั่วไป /เงิน จะประกอบด้วยการเสนอร่าง /รับร่าง/พิารณา/แปลญัตติ /ลงมติ โดยทั่วไปผมเองเกิดความสงสัยว่า สมาชิกวุฒิสภา จะเป็นฝ่ายรับร่าง พรบ.ก่อนและหาก เสนอต่อ สมาชิกสภาผู้แทนฯ /คณะรัฐมนตรี ไม่ลงนาม หากเกินกำหนดระยะเวลาที่กำหนด ก็ให้ ร่าง พรบ. นั้นไปประกาศใช้ เป็นกฎหมายต่อไป

ข้อสังเกต
1. จริงอยู่ว่าร่าง พรบ.ทั่วไป/เกี่ยวกับเงิน ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา และลงนามรับรองโดยคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะเรื่อง เงิน ต้องผ่าน สมาชิกสภาผู้แทนฯ ก่อน แต่หากพิจารณาพบว่าเป็นสมาชิกวุฒิสภา รับร่างมาพิจารณาก่อน ซึ่งไม่ถูกต้อง
2. องค์กรดังกล่าว อาจไม่ใช่องค์กรที่สามารถเสนอร่างพรบ.ทั่วไป/เกี่ยวเงินเมื่อเปรียบเทียบกับ ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนแสดงออกถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน อันเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อย่างแท้จริงรวมไปถึงตัวแทนการบริหารคือ คณรัฐมนตรีทางอ้อมเช่นกัน
3.มีอำนาจ และบทบาทการเหลื่อมล้ำ/ทับซ้อน/การบริหารประเทศควบคู่ไปกับรัฐบาล/คณะรัฐมนตรี หาก รฐน. ฉบับดังกล่าวได้ประกาศใช้ จะเสมือนเป็นการริดรอนอำนาจของคณะรัฐมนตรีไป อย่างเห็นได้ชัดเจน
4.เป็นการชี้ชัดเรื่องการสืบทอดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ฯและรวมไปถึง การหวังผลในการพิจารณา ร่างพรบ. ฉบับชั่วคราวของสภานิติบัญญัติฯ อาจจะถูกสังคมไทยมองเช่นนี้ได้ ซึ่งไม่ดีนัก

ข้อสังเกตุต่างๆทำให้ ผมมองว่าอาจเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยต่อผู้อ่านทุกท่านได้ ครับ

***20/04/2015***

***เพิ่มเติม***

พลเมือง/Citizen /ความเป็นพลเมือง/Citizenship ประกอบไปด้วย
1.เป็นพลเมืองโดยพ่อแม่คือพลเมือง,
2.เป็นพลเมืองเพราะบุคคลเกิดในรัฐนั้น,
3.เป็นพลเมืองเพราะแต่งงานกับพลเมืองนั้น
4. และเป็นพลเมืองโดยการอาศัยระยะหนึ่งในรัฐนั้นจนมีสัญชาติเป็นพลเมืองแห่งรัฐนั้นไป
คำว่าพลเมือง  ตามความคิดผม เป็นเพียงสถานะหนึ่งของประชาชนในการเมือง การปกครอง และการตกอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันเท่านั้น เพราะความเป็นพลเมืองจะแสดงออกไปถึงความเป็นหนึ่งเดียวสัญชาติเดียวกันของประชาชนในรัฐหนึ่ง

ประชาชน /People คือ คำที่เรียกแทนของคน/กลุ่มคนในรัฐ ที่มีวัฒนธรรม/เชื้อชาติ/แนวคิดการเมืองการปกครองเหมือนกัน คำว่าประชาชนจึงแสดงออกนัยถึงความเสมอภาคความเท่าเทียมกันการมีเสรีภาพแสดงออกซึ่งสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน/ หรือแม้แต่การถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย หรือการได้รับการยอมรับเรื่องเสรีภาพในสังคมนิยม/ความได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในระบอบคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง ส่วนในระบอบราชาธิปไตยมักจะใช้คำว่าไพร่ฟ้า/ราษฎรเป็นระบอบเผด็จการสรุปคือคำว่าประชาชนจะมีลักษณะแปลผันตามกับระบอบการปกครองของรัฐนั้นนั่นเอง

ประชากร/Population ส่วนหนึ่งขององค์กอบแห่งรัฐมักแสดงออกในเรื่องของจำนวนสถิติอันนี้ส่วนตัวผมเห็นด้วย

หากเราเป็นประชาชนคนไทยอยู่ภายในระบอบประชาธิไตยเราก็ใช้คำว่าประชาชน
หากเราเป็นประชาชนคนไทยอยู่ภายใต้กฎหมาย/ข้อบังคับเดียวกัน/เปลี่ยนแปลงสัญชาติได้จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่งไม่ขัดแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศเราก็ใช้คำว่าพลเมือง
หากเรามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐเราก็ใช้คำว่าพสกนิกร/ไพร่ฟ้า
หากเราอยู่ภายใต้เขตแดนของรัฐหนึ่งอันมีอำนาจอธิไตยแบ่งแยกไม่ได้ก็ใช้คำว่าประชากร

จากความจำกัดความข้างต้นประชาชนย่างเรามีหลากหลายสถานะครับขึ้นอยู่กับว่าโอกาสเท่านั้น

และการที่รฐน.ใช้คำว่าพลเมืองจึงเป็นการรวมกลุ่มคนต่างชาติ/ต่างเผ่าพันธุ์/กลุ่มชนกลุ่มน้อย/กลุ่มต่างวัฒนธรรม/รวมกันขอบเขตภายใต้กฎหมายเดียวกัน

***21/04/2015***

*เพิ่มเติม*

รฐน. ชั่วคราวสารสำคัญเกี่ยวกับอำนาจ ลดไม่ลดอาจพิจารณาได้ตามหัวข้อด้านล่าง
1) มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยแท้จริง
2) อำนาจต่อนิติบัญญัติ คือ การเสนอร่างกฎหมายได้ แต่เลือกตั้ง สว. โดยตรงไม่ได้ เลือกตั้งทางอ้อม ก็ไม่ได้ เพราะเลือกตั้งทางอ้อม คือ การให้ผู้แทนโวตเลือกนายกฯ แบบนี้เป็นต้น อำนาจข้อนี้จึงหมดไป
3) อำนาจเลือกตั้งผู้แทนฯ อันนี้ทำได้อย่างเต็มที่ แต่อำนาจในสภาอาจไม่มีเผด็จการเสียงข้างมากและปรากฎว่า สว. มีอำนาจมากกว่า ในกรณี การเสนอร่างฯ ของคณะกรรมการปฏิรูปฯ แบบนี้เป็นกรณี อำนาจของประชาชน จะลดลง
4) สิทธิตามรฐน. แบ่งออกเป็น สิทธิความเป็นมุษย์ สิทธิความเป็นพลเมือง และสิทธิส่วนร่วมทางการเมือง 4.1) สิทธิความเป็นมนุษย์ จะเป็นการบัญญัติคร่าว เน้นในเรื่องเสรีภาพ แต่มาถูกขยายความใน 4.2) สิทธิความเป็นพลเมือง คือมีการกำจัดเสรีภาพอีกที หรือแนบรายละเอียดอีกที จนอาจเกิดความสับสนได้ หากฐานะของประชาชน คือมนุษย์ทั่วไป/พลเมือง และสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ต่างอะไรมาก
5) กระบวนการรวมกลุ่มทางการเมืองมีเพิ่มขึ้นอย่างเช่น สมัชชาประชาชน,กลุ่มการเมือง/พรรคการเมือง และ,การรวมกลุ่มอิสระ

*28/04/2015*


สิงห์จรัส
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่