เพื่อนๆรู้จัก Food Coma กันไหมครับ? ชื่ออาการอาจจะดูรุนแรงถึงขั้นโคม่า แต่อาการนี้ผมคิดว่าทุกคนต้องเคยเป็นแน่นอน
อาการ Food Coma นี้คืออาการง่วงแบบอยากจะหลับให้ได้ หลังเรากินข้าวเยอะๆนั่นเอง.. เคยเป็นใช่ไหมครับ?
โพสต์นี้เราจะทำความรู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันและบรรเทา เจ้าอาการ Food Coma นี้กัน พวกเราจะได้ไม่รู้สึกง่วงระหว่างเวลาทำงานหลังอาหารเที่ยงมื้อโปรดครับ
โพสต์นี้อาจมีคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์นิดนึงนะครับ ไม่จำเป็นต้องไปสนใจมันมากครับ ผมเองก็ไม่ได้เรียนด้านชีวะมาเหมือนกัน ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผมใส่ไว้ด้านล่าง และประสบการณ์ของผมเองครับ
ที่มาของ FOOD COMA ตัวปัญหา
สาเหตุแรกของ Food Coma (มันมีชื่อจริงด้วยนะ ชื่อว่า postprandial somnolence) คือการที่
ร่างกายเราใช้พลังงานกับการย่อยอาหารเยอะขึ้น และเหลือพลังงานให้ร่างกายส่วนอื่นน้อยลง ทุกครั้งที่เราทานอาหารจำนวนมาก เราจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่คอยรักษาสภาวะของร่างกายให้สมดุล ระบบนี้จะสั่งร่างกายของเราให้รีบไปย่อยอาหารที่อยู่ในท้องเรา ซึ่งแปลว่าเราก็จะมีเลือดและพลังงานไปใช้ในอวัยวะส่วนอื่นน้อยลง และอาจทำให้เรารู้สึกมีแรงน้อยลง เหนื่อย และ ตัวเย็นกว่าปกติหลังกินข้าวครับ
สาเหตุที่สองเกี่ยวกับ
ฮอร์โมนที่เราผลิตขึ้นมาหลังกินข้าวครับ เวลาเราย่อยอาหารให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส ปริมาณน้ำตาลดังกล่าวในร่างกายเราก็จะพุ่งทะลุเพดาน ปริมาณน้ำตาลที่สูงนี้สามารถทำร้ายร่างกายเราได้ ร่างกายของเราจึงตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (insulin) เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาพปกติ แต่เรื่องเกิดขึ้นเมื่อเจ้าฮอร์โมน insulin นั้นมันดันทำให้สมองของเราขับสารที่ชื่อว่าเซโรโทนิน serotonin และเมลาโทนิน melatonin ออกมาด้วย ซึ่งเจ้าสองตัวเนี้ยแหละที่มาเล่นตลกกับสมองเรา และทำให้เรารู้สึก
ง่วงสุดๆไปเลยครับ
จะป้องกันและแก้ไข FOOD COMA ได้ยังไงบ้าง
จบเรื่องวิทยาศาสตร์ซักที! ทีนี้มาดูวิธีป้องกันและแก้กันดีกว่าครับ
แก้ที่ต้นเหตุ - การกิน
ข่าวร้าย! ตราบใดที่เรายังกินข้าวในปริมาณมากและอุดมไปด้วยแป้ง หรือน้ำตาล เช่น ข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณก็หนีไม่สามารถหนีพ้นจากอาการนี้แน่ๆ (แต่ถ้ามื้อไหนอร่อยนี่ห้ามใจไม่ไหวจริงๆ ต้องกินให้สะใจ ถึงจะเป็น Food Coma ก็ยอม ==")
เพราะฉะนั้น วิธีป้องกัน Food Coma ที่ดีที่สุดคือการอดข้าว เย้ย! ไม่ใช่นะครับ
วิธีที่ดีที่สุดคือกินแต่พอดีและลดอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาล และเสริมด้วยไขมันตัวดีแทน เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล
นอกจากนี้เราควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และดื่มน้ำให้พอ เพื่อลดภาระการย่อยให้กับกระเพาะอาหารของเราครับ
สำหรับพี่ๆที่เป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนกสามารถลดโอกาสเกิด Food Coma ของลูกน้องได้ โดยอาจมีขนมให้กินลูกทีมกินตอนซัก 11 โมง ตอนเที่ยงพวกเขาจะได้ไม่หิวมาก และไม่กินเยอะ และอธิบายให้ลูกทีมเข้าใจถึงที่มาและอาการของ Food Coma ด้วยครับ
แก้ปลายเหตุ
จากข้อมูลในเว็บที่ผมไปศึกษามา ผมว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ เว็บไซต์HealthCentral.com บอกว่าโยคะก็สามารถช่วยบรรเทาอาการ Food Coma นี้ได้ แต่เวลาทำงานคงมาเล่นโยคะไม่ได้ อีกเว็บหนึ่งแนะนำว่าให้ก้มตัวลงให้ศีรษะอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ ทุกๆ 3-5 นาที เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จนกว่าอาการจะหายไป แต่วิธีนี้ผมว่าใช้ในเวลาทำงานไม่ได้เหมือนกัน เพราะเพื่อนข้างๆคงงงว่าทำอะไรเนี่ย ส่วนตัวผมลองเทคนิคนี้แล้ว รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ครับ ง่วงเหมือนเดิม มิหนำซ้ำเวลาก้มลงไปบนโต๊ะทีไร ไม่อยากลุกขึ้นมาทุกที ถ้ามีอะไรมารองหัวนิดนึงก็อาจจะหลับยาวไปเลยครับ 555
ในเมื่อถ้าเป็น Food Coma แล้วแก้ไขได้ยาก ผมเลยคิดว่าเราต้องอยู่กับมันให้ได้ (go with the flow) และพยายามไม่ให้อาการนี้ส่งผลต่อสมรรถนะในการทำงานของเรา ผมจึงขอแนะนำกิจกรรมที่ควรทำและหลีกเลี่ยงในช่วงหลังทานข้าวเที่ยงครับ (ประมาณบ่าย 1 - 3):
1. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพราะสมองจะไม่ค่อยแล่นเท่าที่ควร
2. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องนั่งฟังอยุ่กับที่ เช่นสัมนา หรือประชุมที่พนักงานไม่มีส่วนร่วมในการออกความเห็นเท่าไหร่ ควรย้ายพวกการประชุมพวกนี้ไปตอนเช้าหรือเย็นแทนครับ อันนี้ผมเจอกับตัวครับ ถ้ามีเรียนหรืออ่านหนังสือหลังกินข้าว มีโอกาสหลับในห้องเรียนเยอะมาก
3. แนะนำให้ทำงานที่เป็นงานประจำตำแหน่งที่ต้องมีการขยับมือ และสายตาตลอดเวลา แต่ไม่ต้องใช้กำลังสมองเยอะ เช่นเช็คอีเมล หรืออัพเดตสถานะการทำงานครับ พวกนี้ถึงจะง่วงก็ทำต่อไปได้ ชิวๆ
4. แนะนำให้ทำงานที่ตื่นเต้นและมีการขยับตัว หรือมีการสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลา เช่นการพรีเซ้นต์ และคุยกับลูกค้า งานพวกนี้จะทำให้เราลืมง่วงครับ
สุดท้ายนี้เพื่อนๆมีเคล็ดลับอื่นที่ป้องกันอาการนี้มั๊ยครับ? และ
อย่าลืมแชร์เคล็บลับนี้ให้เพื่อนๆ ที่กินข้าวเที่ยงเก่งๆ ด้วยนะครับ
ตามอ่านบล็อกอื่นๆของผมได้ที่
http://metapon.wordpress.com หรือที่เพจเฟสบุ๊ค www.facebook.com/metaponblog คร้าบ
ที่มา:
http://www.naturalwellness.com/nwupdate/tips-to-prevent-food-coma/
http://www.healthcentral.com/diet-exercise/c/223360/125236/recover
http://lifehacker.com/5719043/how-to-avoid-a-food-coma
http://www.thegabrielmethod.com/no-more-food-comas
ใครกินข้าวเก่ง ระวังจะเป็น Food Coma (ไม่ถึงกับตาย แค่ง่วงฝุดๆ)
เพื่อนๆรู้จัก Food Coma กันไหมครับ? ชื่ออาการอาจจะดูรุนแรงถึงขั้นโคม่า แต่อาการนี้ผมคิดว่าทุกคนต้องเคยเป็นแน่นอน อาการ Food Coma นี้คืออาการง่วงแบบอยากจะหลับให้ได้ หลังเรากินข้าวเยอะๆนั่นเอง.. เคยเป็นใช่ไหมครับ?
โพสต์นี้เราจะทำความรู้จักสาเหตุ และวิธีการป้องกันและบรรเทา เจ้าอาการ Food Coma นี้กัน พวกเราจะได้ไม่รู้สึกง่วงระหว่างเวลาทำงานหลังอาหารเที่ยงมื้อโปรดครับ
โพสต์นี้อาจมีคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์นิดนึงนะครับ ไม่จำเป็นต้องไปสนใจมันมากครับ ผมเองก็ไม่ได้เรียนด้านชีวะมาเหมือนกัน ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผมใส่ไว้ด้านล่าง และประสบการณ์ของผมเองครับ
ที่มาของ FOOD COMA ตัวปัญหา
สาเหตุแรกของ Food Coma (มันมีชื่อจริงด้วยนะ ชื่อว่า postprandial somnolence) คือการที่ร่างกายเราใช้พลังงานกับการย่อยอาหารเยอะขึ้น และเหลือพลังงานให้ร่างกายส่วนอื่นน้อยลง ทุกครั้งที่เราทานอาหารจำนวนมาก เราจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่คอยรักษาสภาวะของร่างกายให้สมดุล ระบบนี้จะสั่งร่างกายของเราให้รีบไปย่อยอาหารที่อยู่ในท้องเรา ซึ่งแปลว่าเราก็จะมีเลือดและพลังงานไปใช้ในอวัยวะส่วนอื่นน้อยลง และอาจทำให้เรารู้สึกมีแรงน้อยลง เหนื่อย และ ตัวเย็นกว่าปกติหลังกินข้าวครับ
สาเหตุที่สองเกี่ยวกับฮอร์โมนที่เราผลิตขึ้นมาหลังกินข้าวครับ เวลาเราย่อยอาหารให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส ปริมาณน้ำตาลดังกล่าวในร่างกายเราก็จะพุ่งทะลุเพดาน ปริมาณน้ำตาลที่สูงนี้สามารถทำร้ายร่างกายเราได้ ร่างกายของเราจึงตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (insulin) เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาพปกติ แต่เรื่องเกิดขึ้นเมื่อเจ้าฮอร์โมน insulin นั้นมันดันทำให้สมองของเราขับสารที่ชื่อว่าเซโรโทนิน serotonin และเมลาโทนิน melatonin ออกมาด้วย ซึ่งเจ้าสองตัวเนี้ยแหละที่มาเล่นตลกกับสมองเรา และทำให้เรารู้สึกง่วงสุดๆไปเลยครับ
จะป้องกันและแก้ไข FOOD COMA ได้ยังไงบ้าง
จบเรื่องวิทยาศาสตร์ซักที! ทีนี้มาดูวิธีป้องกันและแก้กันดีกว่าครับ
แก้ที่ต้นเหตุ - การกิน
ข่าวร้าย! ตราบใดที่เรายังกินข้าวในปริมาณมากและอุดมไปด้วยแป้ง หรือน้ำตาล เช่น ข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณก็หนีไม่สามารถหนีพ้นจากอาการนี้แน่ๆ (แต่ถ้ามื้อไหนอร่อยนี่ห้ามใจไม่ไหวจริงๆ ต้องกินให้สะใจ ถึงจะเป็น Food Coma ก็ยอม ==")
เพราะฉะนั้น วิธีป้องกัน Food Coma ที่ดีที่สุดคือการอดข้าว เย้ย! ไม่ใช่นะครับ วิธีที่ดีที่สุดคือกินแต่พอดีและลดอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาล และเสริมด้วยไขมันตัวดีแทน เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล นอกจากนี้เราควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และดื่มน้ำให้พอ เพื่อลดภาระการย่อยให้กับกระเพาะอาหารของเราครับ
สำหรับพี่ๆที่เป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนกสามารถลดโอกาสเกิด Food Coma ของลูกน้องได้ โดยอาจมีขนมให้กินลูกทีมกินตอนซัก 11 โมง ตอนเที่ยงพวกเขาจะได้ไม่หิวมาก และไม่กินเยอะ และอธิบายให้ลูกทีมเข้าใจถึงที่มาและอาการของ Food Coma ด้วยครับ
แก้ปลายเหตุ
จากข้อมูลในเว็บที่ผมไปศึกษามา ผมว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ เว็บไซต์HealthCentral.com บอกว่าโยคะก็สามารถช่วยบรรเทาอาการ Food Coma นี้ได้ แต่เวลาทำงานคงมาเล่นโยคะไม่ได้ อีกเว็บหนึ่งแนะนำว่าให้ก้มตัวลงให้ศีรษะอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ ทุกๆ 3-5 นาที เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จนกว่าอาการจะหายไป แต่วิธีนี้ผมว่าใช้ในเวลาทำงานไม่ได้เหมือนกัน เพราะเพื่อนข้างๆคงงงว่าทำอะไรเนี่ย ส่วนตัวผมลองเทคนิคนี้แล้ว รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ครับ ง่วงเหมือนเดิม มิหนำซ้ำเวลาก้มลงไปบนโต๊ะทีไร ไม่อยากลุกขึ้นมาทุกที ถ้ามีอะไรมารองหัวนิดนึงก็อาจจะหลับยาวไปเลยครับ 555
ในเมื่อถ้าเป็น Food Coma แล้วแก้ไขได้ยาก ผมเลยคิดว่าเราต้องอยู่กับมันให้ได้ (go with the flow) และพยายามไม่ให้อาการนี้ส่งผลต่อสมรรถนะในการทำงานของเรา ผมจึงขอแนะนำกิจกรรมที่ควรทำและหลีกเลี่ยงในช่วงหลังทานข้าวเที่ยงครับ (ประมาณบ่าย 1 - 3):
1. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพราะสมองจะไม่ค่อยแล่นเท่าที่ควร
2. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องนั่งฟังอยุ่กับที่ เช่นสัมนา หรือประชุมที่พนักงานไม่มีส่วนร่วมในการออกความเห็นเท่าไหร่ ควรย้ายพวกการประชุมพวกนี้ไปตอนเช้าหรือเย็นแทนครับ อันนี้ผมเจอกับตัวครับ ถ้ามีเรียนหรืออ่านหนังสือหลังกินข้าว มีโอกาสหลับในห้องเรียนเยอะมาก
3. แนะนำให้ทำงานที่เป็นงานประจำตำแหน่งที่ต้องมีการขยับมือ และสายตาตลอดเวลา แต่ไม่ต้องใช้กำลังสมองเยอะ เช่นเช็คอีเมล หรืออัพเดตสถานะการทำงานครับ พวกนี้ถึงจะง่วงก็ทำต่อไปได้ ชิวๆ
4. แนะนำให้ทำงานที่ตื่นเต้นและมีการขยับตัว หรือมีการสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลา เช่นการพรีเซ้นต์ และคุยกับลูกค้า งานพวกนี้จะทำให้เราลืมง่วงครับ
สุดท้ายนี้เพื่อนๆมีเคล็ดลับอื่นที่ป้องกันอาการนี้มั๊ยครับ? และอย่าลืมแชร์เคล็บลับนี้ให้เพื่อนๆ ที่กินข้าวเที่ยงเก่งๆ ด้วยนะครับ
ตามอ่านบล็อกอื่นๆของผมได้ที่ http://metapon.wordpress.com หรือที่เพจเฟสบุ๊ค www.facebook.com/metaponblog คร้าบ
ที่มา:
http://www.naturalwellness.com/nwupdate/tips-to-prevent-food-coma/
http://www.healthcentral.com/diet-exercise/c/223360/125236/recover
http://lifehacker.com/5719043/how-to-avoid-a-food-coma
http://www.thegabrielmethod.com/no-more-food-comas