เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.pptvhd36.com/health/food/6394#
มันเทศ
อุดมไปด้วยสารอาหารหลายอย่าง อาทิ ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี และโพแทสเซียม
สารอาหารเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการมองเห็นได้เป็นอย่างดี ช่วยควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้มันเทศยังเป็นแหล่งของแคโรทีนอยด์มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สูง เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมได้
ธัญพืชต่าง ๆ
อาทิ ข้าว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะจมูกข้าวเป็นแหล่งของไขมันดี วิตามินบี วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ ในเมล็ดข้าวเป็นแหล่งของ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน การรับประทานธัญพืชจะทำให้ ร่างกายได้รับสารอาหาร และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิดได้
ผักใบเขียว
พืชผักที่มีใบสีเขียวเข้ม อย่างผักกาดหอม ปวยเล้ง ผักโขม คะน้า บร็อคโคลี่ มีสารอาหารเป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โฟเลต เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านมได้
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี
อาทิ สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี หรือแครนเบอร์รี รวมถึงผลเบอร์รีชนิดอื่น ๆ เป็นผลไม้ที่มี สารอาหารสำคัญมากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการอักเสบต่าง ๆ และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจได้
ชาเขียว
มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดอาทิ คาเตชิน (catechins) เป็นสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่พบมากในชาเขียว มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล(polyphenols) สารคาเตชินที่พบในชาเขียวมากที่สุด คือ เอปิ แกลโลคาเตชิน แกลเลต-อีจีซีจี (epigallocatechin gallate-EGCG) ซึ่งคาเตชินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และกำจัดแบคทีเรียที่ให้โทษบางชนิดได้
ทั้งนี้ อาหารบางชนิดแม้จะถูกเรียกว่า Superfoods แต่ผู้บริโภคควรตระหนักว่าการบริโภคอาหารเพียงชนิดเดียวไม่อาจท าให้มีสุขภาพดีหรือช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ จึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
5 สุดยอดอาหารป้องกันมะเร็ง
https://www.pptvhd36.com/health/food/6394#
มันเทศ
อุดมไปด้วยสารอาหารหลายอย่าง อาทิ ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี และโพแทสเซียม
สารอาหารเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการมองเห็นได้เป็นอย่างดี ช่วยควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้มันเทศยังเป็นแหล่งของแคโรทีนอยด์มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สูง เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมได้
ธัญพืชต่าง ๆ
อาทิ ข้าว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะจมูกข้าวเป็นแหล่งของไขมันดี วิตามินบี วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ ในเมล็ดข้าวเป็นแหล่งของ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน การรับประทานธัญพืชจะทำให้ ร่างกายได้รับสารอาหาร และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิดได้
ผักใบเขียว
พืชผักที่มีใบสีเขียวเข้ม อย่างผักกาดหอม ปวยเล้ง ผักโขม คะน้า บร็อคโคลี่ มีสารอาหารเป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โฟเลต เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านมได้
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี
อาทิ สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี หรือแครนเบอร์รี รวมถึงผลเบอร์รีชนิดอื่น ๆ เป็นผลไม้ที่มี สารอาหารสำคัญมากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการอักเสบต่าง ๆ และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจได้
ชาเขียว
มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดอาทิ คาเตชิน (catechins) เป็นสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่พบมากในชาเขียว มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล(polyphenols) สารคาเตชินที่พบในชาเขียวมากที่สุด คือ เอปิ แกลโลคาเตชิน แกลเลต-อีจีซีจี (epigallocatechin gallate-EGCG) ซึ่งคาเตชินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และกำจัดแบคทีเรียที่ให้โทษบางชนิดได้
ทั้งนี้ อาหารบางชนิดแม้จะถูกเรียกว่า Superfoods แต่ผู้บริโภคควรตระหนักว่าการบริโภคอาหารเพียงชนิดเดียวไม่อาจท าให้มีสุขภาพดีหรือช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ จึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ