Credit:-
https://mgronline.com/infographic/detail/9670000123812
สาเหตุอาการ “ง่วง” ในตอนบ่าย
รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
การรับประทานอาหารประเภทแป้ง หรือน้ำตาลในมื้อเที่ยงมากเกินไป อาจส่งผลน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้รู้สึกง่วงๆ เพลียๆ และอาจเผลอหลับไป หากตื่นขึ้นมาใหม่ ก็มักจะหิวใหม่อีกครั้ง
ตัวอย่างอาหารกลางวันที่มีแป้ง หรือน้ำตาลเยอะ ข้าวขาว พิซซ่า สปาเก็ตตี้
ข้าวเหนียว
ขนมไทยใส่กะทิ
ของหวานต่างๆ
วิธีแก้อาการ "ง่วงตอนบ่าย"
พยายามไม่รับประทานแป้งขัดขาวหรือน้ำตาลมากไปในมื้อกลางวัน
เดินย่อยหลังมื้ออาหารเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
อย่าลืมพักผ่อนในตอนกลางคืนให้เพียงพอ
สามารถใช้ Sleep Calculator เครื่องมือคำนวณเวลานอน ว่า
นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะ “พอดี” กับ “อายุ”
สามารถคำนวนเวลาเข้านอนได้ที่ ลิงค์นี้
https://sleepcalculator.com/
เช่น อยากตื่นนอนตอน 6 โมงเช้า เวลาที่ควรนอนเพื่อให้ตื่นเช้าขึ้นมาได้ง่ายๆ สดชื่นกระปรี้กระเปร่าไม่รู้สึกเพลีย คือเวลา 20.45 น./ 22.15 น. และ 23.45 น.
โดยคำนวณจากช่วงเวลาในการนอนที่มีหลายระดับ หากตื่นในเวลาดังกล่าวจะเป็นเวลาที่ระดับในการนอนครบวงจรของการนอนเรียบร้อยแล้ว เลยทำให้ตื่นแล้วไม่ง่วงเพลียเหมือนเวลาอื่นๆ
วิธีคำนวณเวลาตื่นเพื่อความสดชื่น
อันที่จริงแล้ว นอกจากจำนวนชั่วโมงที่นอนแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การนอนหลับให้ครบช่วงระยะเวลาแต่ละช่วง (sleep cycles) ซึ่งแบ่งเป็นช่วงเริ่มหลับ (light sleep stage) หลับลึก (deep sleep stage) และช่วงหลับฝัน (dream sleep stage) โดยแต่ละช่วงจะใช้เวลาราว 90 นาที หรือชั่วโมงครึ่ง ต่อคืนเราควรนอนให้ครบทั้ง 3 ช่วงการนอนนี้ราว 5-6 รอบ (ก่อนเข้าสู่ช่วงเริ่มหลับ บวกเวลานอนเพิ่มไปอีก 15 นาที ซึ่งเป็นช่วงหลับตาหัวถึงหมอนปิดไฟนอน ก่อนจะเข้าช่วงเริ่มหลับจริงๆ) หากตื่นในระหว่างที่ยังไม่ครบ 3 ช่วงเวลาในการนอน กล่าวคือ ตื่นนอนในช่วงที่ยังอยู่ในช่วงหลับลึก หรือยังไม่จบจากช่วงหลับฝัน จะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าไปทั้งวันได้
ทีนี้มาถึงคำถามที่ว่า ถ้าเราไม่สามารถนอนให้ได้ครบ 5-6 รอบจะสามารถตื่นนอนอย่างสดชื่นไม่ง่วงเพลียได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” ถ้าเราตื่นในช่วงที่นอนครบช่วงระยะของการนอนทั้ง 3 ช่วงแล้ว (ช่วงเริ่มนอน หลับลึก และหลับฝัน) เมื่อแต่ละช่วงใช้เวลา 90 นาที หรือชั่วโมงครึ่ง หากอยากตื่นนอน 6 โมงเช้า เราจึงสามารถเข้านอนได้ดึกที่สุดเวลา 1.15 น. นั่นเอง (นับถอยหลังไป 4.30 ชม. บวก 15 นาทีก่อนเข้าสู่ช่วงเริ่มหลับ)
ข้อมูลเพิ่มเติม :-
https://www.sanook.com/health/10409/
วิธีแก้อาการ "ง่วงตอนบ่าย" แม้ในวันที่นอนเพียงพอ
สาเหตุอาการ “ง่วง” ในตอนบ่าย
รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
การรับประทานอาหารประเภทแป้ง หรือน้ำตาลในมื้อเที่ยงมากเกินไป อาจส่งผลน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้รู้สึกง่วงๆ เพลียๆ และอาจเผลอหลับไป หากตื่นขึ้นมาใหม่ ก็มักจะหิวใหม่อีกครั้ง
ตัวอย่างอาหารกลางวันที่มีแป้ง หรือน้ำตาลเยอะ ข้าวขาว พิซซ่า สปาเก็ตตี้
ข้าวเหนียว
ขนมไทยใส่กะทิ
ของหวานต่างๆ
วิธีแก้อาการ "ง่วงตอนบ่าย"
พยายามไม่รับประทานแป้งขัดขาวหรือน้ำตาลมากไปในมื้อกลางวัน
เดินย่อยหลังมื้ออาหารเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
อย่าลืมพักผ่อนในตอนกลางคืนให้เพียงพอ
สามารถใช้ Sleep Calculator เครื่องมือคำนวณเวลานอน ว่า
นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะ “พอดี” กับ “อายุ”
สามารถคำนวนเวลาเข้านอนได้ที่ ลิงค์นี้
https://sleepcalculator.com/
เช่น อยากตื่นนอนตอน 6 โมงเช้า เวลาที่ควรนอนเพื่อให้ตื่นเช้าขึ้นมาได้ง่ายๆ สดชื่นกระปรี้กระเปร่าไม่รู้สึกเพลีย คือเวลา 20.45 น./ 22.15 น. และ 23.45 น.
โดยคำนวณจากช่วงเวลาในการนอนที่มีหลายระดับ หากตื่นในเวลาดังกล่าวจะเป็นเวลาที่ระดับในการนอนครบวงจรของการนอนเรียบร้อยแล้ว เลยทำให้ตื่นแล้วไม่ง่วงเพลียเหมือนเวลาอื่นๆ
วิธีคำนวณเวลาตื่นเพื่อความสดชื่น
อันที่จริงแล้ว นอกจากจำนวนชั่วโมงที่นอนแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การนอนหลับให้ครบช่วงระยะเวลาแต่ละช่วง (sleep cycles) ซึ่งแบ่งเป็นช่วงเริ่มหลับ (light sleep stage) หลับลึก (deep sleep stage) และช่วงหลับฝัน (dream sleep stage) โดยแต่ละช่วงจะใช้เวลาราว 90 นาที หรือชั่วโมงครึ่ง ต่อคืนเราควรนอนให้ครบทั้ง 3 ช่วงการนอนนี้ราว 5-6 รอบ (ก่อนเข้าสู่ช่วงเริ่มหลับ บวกเวลานอนเพิ่มไปอีก 15 นาที ซึ่งเป็นช่วงหลับตาหัวถึงหมอนปิดไฟนอน ก่อนจะเข้าช่วงเริ่มหลับจริงๆ) หากตื่นในระหว่างที่ยังไม่ครบ 3 ช่วงเวลาในการนอน กล่าวคือ ตื่นนอนในช่วงที่ยังอยู่ในช่วงหลับลึก หรือยังไม่จบจากช่วงหลับฝัน จะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าไปทั้งวันได้
ทีนี้มาถึงคำถามที่ว่า ถ้าเราไม่สามารถนอนให้ได้ครบ 5-6 รอบจะสามารถตื่นนอนอย่างสดชื่นไม่ง่วงเพลียได้หรือไม่ คำตอบคือ “ได้” ถ้าเราตื่นในช่วงที่นอนครบช่วงระยะของการนอนทั้ง 3 ช่วงแล้ว (ช่วงเริ่มนอน หลับลึก และหลับฝัน) เมื่อแต่ละช่วงใช้เวลา 90 นาที หรือชั่วโมงครึ่ง หากอยากตื่นนอน 6 โมงเช้า เราจึงสามารถเข้านอนได้ดึกที่สุดเวลา 1.15 น. นั่นเอง (นับถอยหลังไป 4.30 ชม. บวก 15 นาทีก่อนเข้าสู่ช่วงเริ่มหลับ)
ข้อมูลเพิ่มเติม :- https://www.sanook.com/health/10409/