แนวคิดเรื่องอำนาจที่กดทับ ของฟูโกต์ กับ แกรมชี่ มีข้อเหมือนข้อต่างยังไง ?

สวัสดีเพื่อนชาวพันธ์ทิพย์
เราเพิ่งมาตั้งกระทู้เรื่องวิชาการเป็นครั้งเเรก
ท่านผู้รู้ที่ใจดี แวะเวียนมาเห็น ด้วยให้คำแนะนำหน่อยนะคะ // >/\<

เรากำลังศึกษางานของกรัมชี่ และ ฟูโกต์ โดยเอามามองในบริบทของคนชายขอบ
เช่นคนแก่ เด็กเร่ร่อน ฯลฯ จะเอาไปทำหัวข้อวิจัย
แต่ตอนนี้เรากำลังลังเลว่าจะมองผ่านวิธีคิดแบบกรัมชี่ หรือ ฟูโกต์ยังไงดี

ฟูโกต์นั้น เราเข้าใจว่าเขาสนใจที่จะมองรายละเอียดปัญหามากกว่าทางแก้
ในเรื่องของอำนาจที่กดทับ ฟูโกต์จะพูดถึงอำนาจที่ถูกฟอกจนใสสะอาด
สุดยอดของอำนาจก็คือการทำให้มองไม่เห็นว่าสิ่งนั้นๆ  เป็นเรื่องของอำนาจ
อำนาจ สัมพันธ์ กับความรู้ เมื่อฝ่ายไหนมีอำนาจก็จะกุมความรู้
เด็กเร่ร่อน คนชรา คนขายขอบ จึงกลายเป็นผู้ถูกกำหนดความรู้
แต่ความรู้ของคนเหล่านี้ กลับไม่ได้ส่งถึงสังคมจริงๆ

ในส่วนของกรัมชี่ ก็ได้พูดถึงอำนาจที่กดทับเหมือนกัน
แต่จะพูดในเเนวที่ว่า ทำไมคนที่ถูกกดทับถึงไม่ยอมลุกขึ้นมาต่อสู้
และเสนอทางออกในการต่อสู้ เช่นต้องมีปัญญาชนมาช่วยฉุดดึง
ต้องต่อสู้เเย่งชิงพื้นที่ทางความคิด

มีคนบอกว่ากรัมชี่เหมาะที่เอามาใช้วิเคราะห์ในเรื่องการกดทับกลุ่มชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ชนชั้นใต้ปกครอง กลุ่มประชาสังคม
มากกว่าที่จะอธิบายคนชายขอบ เราไม่เข้าใจว่าทำไม มีใครช่วยอธิบายให้ได้ไหมคะ =....=
กราบงามๆ สามที
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่