บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

สืบเนื่องจากวันครู

ขออนุญาต จขกท. อ้างข้อความจาก  http://ppantip.com/topic/33087235

ทำไมพวกคุณไม่ลองฉุกคิดสักนิด??...  ใช้หลักการคิดแบบตรรกะง่ายๆ เบื้องต้น ว่า...ถ้าหลักธรรมที่ถ่ายทอดตรงมา
แต่โบราณกว่า ๒๕๐๐ ปีนั้นผิด เป็นของปลอม ..ก็แล้วทำไมจึงเกิดผู้ที่ฝึกปฏิบัติได้ผลกันมากมาย สืบเนื่องมาทุกๆยุค
ทุกๆสมัย  มาจนถึงยุคนี้  ซึ่งเกิดครูบาอาจารย์ระดับโดดเด่นมากมาย  ทั้งสายวิปัสนา และสายอิทธิฤทธิ์ เช่น มีพระอริยะ
เจ้าระดับต่างๆ หรือหลวงปู่ครูบาอาจารย์ที่มีอภิญญาต่างๆ ฯลฯ....ถ้าคำสอนดั้งเดิมนั้นผิด  ทำไมจึงเกิดผลิตผลที่ถูกต้อง
ออกมาเรื่อยๆ  ยาวนานมาถึงยุคนี้...ตามหลักตรรกะง่ายๆ คือ ถ้าหลักการผิด  คำสอนผิดย่อมไม่เกิดผลที่ถูก หรือส่งผล
ผิดๆออกมา  นั่นคือ ถ้าคำสอนดั้งเดิมเหล่านั้นผิด  ก็ย่อมไม่อาจจะมีครูบาอาจารย์หลวงปู่หลวงตาทั้งหลายที่โดดเด่นต่างๆ
สืบเนื่องมาถึงยุคนี้ได้หรอก
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอฝากทุกๆท่านที่เป็นนักปฏิบัติและนักปราชญ์ ไว้พิจารณากัน
โปรดแจกแจงกันโดยเป็นธรรมนะครับ สมเป็นชื่อชาวพุทธ

ผิดพลาดประการใดขอโทษ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จึงเสนอเทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

ช่วยกรุณาโหลดฟังแล้วอ่านตามนะครับ  http://www.luangta.com/archive1/Audio/y21w/a31-3-21.wma
พิจารณาตามด้วยจะได้เข้าใจ ผมขอcopy ข้อความช่วงประมาณนาที่ที่ 36
แบบเต็มๆจาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=845&CatID=3
------------------------------------------------------------------------------------------------------
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ
              ๑. ย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
              ๒. สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนขึ้น
              ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
              ๔. ทำความเห็นให้ตรงได้
              ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล."
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๖
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัญญากับสังขารนี่สำคัญ พิจารณากันป๊อบแป๊บ ๆ อยู่อย่างนั้น พิจารณาไป ๆ จนเข้าใจ จิตว่างหมดเลยที่นี่ นี่ว่างตามฐานของจิต
อยู่เฉย ๆ ก็ว่าง ไม่ได้ภาวนาก็ว่าง จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ว่าง ว่างหมด ต้นไม้ภูเขามองเห็นอยู่ด้วยตา อย่างศาลานี้มองเห็นอยู่ด้วยตา
แต่ใจมันทะลุไปหมด เห็นเป็นเพียงเงา ๆ มันว่างไปหมดเมื่อถึงขั้นว่างแล้ว

พอพูดถึงขั้นนี้แล้วก็ทำให้คิดถึงอนัตตลักขณสูตร จิตผมไม่ทราบเป็นยังไง มันขัด ๆ กันอยู่นะกับอนัตตลักขณสูตรตอนปลาย
ถามเจ้าคุณ….ท่านก็ว่า มันก็สมบูรณ์เต็มที่แล้วตามที่ท่านเรียนมานั้นเสีย แต่เราถามท่านด้วยความจริงทางภาคปฏิบัติต่างหาก
ผมก็เลยไม่ถามต่อไปอีก เพราะสูตรที่สมบูรณ์เต็มที่เราเห็นอยู่นี่ ดังอาทิตตปริยายสูตร ลงถึงขั้น  มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ, ธมฺเมสุปิ
นิพฺพินฺทติ, มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ, มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ, ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ, สุขํ วา ทุกฺขํ วา
อทุกฺขมสุขํ วา, ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ.

นั่น มันถึงใจเหลือเกินนะ อาทิตตปริยายสูตรน่ะ เบื่อหน่ายในรูป แล้วก็ในเสียงพร้อมกัน เบื่อหน่ายทั้งความสัมผัสรับรู้ที่เกิดขึ้นระหว่าง
ตากับรูปกระทบกัน เกิดสุขขึ้นมาก็ตาม ทุกข์ขึ้นมาก็ตาม สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา รู้ ๆ ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ คือเบื่อหน่ายในสิ่งนี้
ทั้งตา ทั้งรูป ทั้งสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วเป็นวิญญาณขึ้นมา จนถึงกับเกิดเวทนา เบื่อหน่ายทั้งหมด แล้วก็สรุปลง มนสฺมึปิ
นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในจิต ในอารมณ์ที่เกิดจากจิตทุกประเภท นี่เบื่อหน่ายครอบไปหมด และถอนกันทั้งรากไม่มีเหลืออะไรไว้เลย
กระทั่งอวิชชากับจิตก็ทะลุเข้าไปหมดไม่มีเกาะมีดอน

นี่เรามาเทียบเคียงกับการปฏิบัติของเรานะ มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในใจ มน นั่นใจ เบื่อหน่ายในจิตในใจ ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ
เบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิต วิญญาณที่รับทราบกับอารมณ์แห่ง
ธรรม เป็นอารมณ์แห่งธรรม มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายทั้งความสัมผัส ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ มันเกิด
ขึ้นให้เสวย สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม  ไม่ใช่สุขทุกข์ก็ตาม ตสฺมึปิ  นิพฺพินฺทติ นั่นเบื่อหน่ายทั้งหมด นี่มัน
ถึงใจจริง ๆ นะ  พอ นิพฺพินฺทติ  แล้วก็ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ละที่นี่

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด วิราคา วิมุจฺจติ. วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ, นาปรํ
อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ. อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา  เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทÿ. อิมสฺมิญฺจปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน,
ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย, อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ.

อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทÿ ภิกษุทั้งหลายนั้นได้มีความรื่นเริงในธรรมทั้งหลาย เมื่อพระองค์ได้ตรัสธรรมะ เวยฺยากรณ
ก็คือตรัสธรรมะที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้นอยู่ จิตแห่งภิกษุหนึ่งพัน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส นั้นได้พ้นแล้ว จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ จิตหลุดพ้นแล้ว
อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวง นั่นมันถึงใจนะ

แต่อนัตตลักขณสูตรไม่เป็นอย่างนั้น เวลาปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นนี่ มันแย้งกันอยู่ เราเข้าใจว่าเกจิอาจารย์ที่ท่านแต่งนี้
ท่านจะตัดออกนะ ถ้าไม่ตัด จิตจะต้องอยู่นั้นแน่ ๆ
เบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายในเวทนา เบื่อหน่ายในสัญญา เบื่อหน่ายในสังขาร
เบื่อหน่ายในวิญญาณ รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ, เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ, สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ, สงฺขาเรสุปิ  นิพฺพินฺทติ,  วิญฺญาณสฺมึปิ  
นิพฺพินฺทติ,นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ. วิราคา  วิมุจฺจติ เมื่อเบื่อหน่ายในขันธ์ทั้งห้า จิตย่อมคลายกำหนัดไปเลย

เวลาปฏิบัติมันไม่เป็นอย่างนั้น รู้เท่าเรื่องอาการทั้งห้านี่ เข้าใจชัด ๆ ไม่มีทางถือเอา จะให้พิจารณาอะไรอีกก็พิจารณาหมดแล้วนี่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันปรากฏอยู่นี้ รู้มันทั้งเกิดทั้งดับว่าเป็น อนตฺตา ล้วน ๆ มันลง อนตฺตา นะสำหรับนิสัยของผม
อนิจฺจํ ทุกฺขํ มันไม่ว่าเสียแล้ว มันลงเป็น อนตฺตา ล้วน ๆ รูปํ อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา, สญฺญา อนตฺตา,สงฺขารา อนตฺตา, วิญฺญาณํ
อนตฺตา. เวลาจะรวมยอดของมันมันมีแต่ ธมฺมา อนตฺตา ทั้งนั้น รวมแล้วเป็น ธมฺมา อนตฺตา ทั้งห้าอย่างนี้เป็น ธมฺมา อนตฺตา

แต่มันก็ไม่แล้วนะ   ขันธ์ห้านี่เป็น อนตฺตา   มันไม่แล้วในจิตมันจะ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ได้ยังไง เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เมื่อ
คลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณความรู้แจ้งชัดว่าจิตหลุดพ้นแล้วเกิดขึ้น เรามันไม่มี เพียงแต่รู้เท่าขันธ์ห้าเท่านั้น
มันไม่เบื่อหน่าย มันไม่คลายกำหนัดทั้งมวลได้ถ้ามันไม่เข้าถึงจิตเสียก่อน นั่น พอทั้งห้าอาการนี้มันปล่อยหมดแล้ว มันก็ยังเหลือจิต
ดวงเดียวที่นี่ จิตก็เข้าพิจารณานั้นอีก เพราะจิตดวงนั้นตัดอาการออกหมดแล้ว สมุนของอวิชชา ทางเดินของอวิชชา หรือเครื่องมือ
ของอวิชชา ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันถูกตัดออกหมดแล้ว คือเรารู้เท่าทันแล้ว ยังเหลือแต่ความรู้อันเดียว

เราไม่ปรากฏว่าได้คลายกำหนัด หรือได้หลุดพ้นในขณะที่จิตอยู่นอกขันธ์ห้านั้นเลย มันต้องพิจารณาฟาดฟันจิตเสียจนแหลก จนอันนี้
แตกกระจายไปหมดแล้ว จากนั้นแล้วจะว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ. มันหมดปัญหา ที่ค้านกันนั้นมันค้านกันอย่างนี้ มันค้าน
ในภาคปฏิบัติ ส่วนอาทิตตปริยายสูตร เรายอมรับทันทีเลย คือปฏิบัติจนกระทั่งเข้าถึงจิต เข้าเบื่อหน่ายในจิตอีก ไม่เพียงเบื่อหน่าย
ในสิ่งภายนอกเท่านั้น ยังต้องเข้าไปเบื่อหน่ายในจิต อารมณ์ที่เกิดจากจิต อะไร ๆ เลยเบื่อหน่ายในนั้นเสร็จเลย เบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
เบื่อหน่ายในสิ่งที่มาสัมผัสกับจิตคือธรรมารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ เบื่อหน่ายพร้อมทั้งหมดเลย ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เลย นั่น ตสฺมึปิ หมายถึง
รวบเอาหมด ถ้าเป็นภาษาบาลีก็หมายถึงวา ยกสรรพนามขึ้น ตสฺมึปิ คือไม่ต้องพูดอีกหลายหน เช่น ชื่อคนนั้น ชื่อคนนี้ เอาเขาขึ้นเลย  
โส แปลว่า เขา เป็นสรรพนามใช้แทนตัวได้แล้ว โส แปลว่าเขาว่ามัน นี่ ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ คือเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นทั้งหมด
นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ไปตลอด

นี่จิตก็เป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาอันนี้เข้าใจแล้วก็ตามเข้าไปถึงจิตอีก จนทะลุในจิตแล้วมันถึงผ่าน พอพิจารณาขันธ์ห้าเข้าใจหมดแล้ว
มันยังผ่านไม่ได้นี่ ถ้าไม่เข้าไปถึงจิตเสียก่อนมันผ่านไม่ได้ ปัญหานี่จึงขวางอยู่ในหัวใจเกี่ยวกับ อนัตตลักขณสูตร ส่วนอาทิตตปริยาย
สูตรนั้นไม่มีปัญหาใด ๆ เลย สำหรับคนจิตหยาบอย่างจิตผมน่ะ ยอมรับอย่างหมอบราบ ส่วนอนัตตลักขณสูตรก็ยกให้นักปราชญ์ท่าน
เสียก็แล้วกัน แต่ผู้ปฏิบัติควรถือเป็นข้อคิดไว้ เวลาปฏิบัติไปเจอเข้าจะได้มีทางคิดทางออก จะไม่จนตรอกถ่ายเดียว

เอาละจบ
----------------------------------------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่