เมื่อเกิดความรู้สึกว่า มีตัวเรา (ตนเอง) นั่นคือจิตได้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว
เพราะอวิชชา คือ ความรู้ (ผิด) ว่ามีตัวเรา
เมื่อจิตถูกอวิชชาครอบงำแล้ว จิตก็จะปรุงแต่งไปตามอำนาจของอวิชชา (คือปรุงแต่งไปด้วยความรู้ว่ามีตัวเรา)
เมื่อจิตปรุงแต่งไปด้วยอวิชชา การรับรู้ของจิต (คือวิญญาณ) ก็จะเป็นการรับรู้ด้วยอวิชชา (คือเกิดการรับรู้ว่ามีตัวเราขึ้นมาทันที)
เมื่อเกิดการรับรู้ว่ามีตัวเราขึ้นมาแล้ว ก็จะเกิดการจำได้, เกิดความรู้สึก, และเกิดการคิดนึก ว่ามีตัวเราขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำอยู่
เมื่อมีความรู้สึกว่ามีตัวเราเกิดขึ้นมาครอบงำจิต ก็จะทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดอาการของนิวรณ์ (สิ่งปิดกั้นจิตจากสมาธิและปัญญา) ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา คือ เกิดความพอใจแม้เล็กน้อยในเรื่องกามารมณ์, ความไม่พอใจแม้เล็กน้อยในเรื่องต่างๆ, ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ, ความหดหู่เซื่องซึม มึนชา, ความลังเลสงสัยในเรื่องต่างๆ
และเมื่อจิตโง่ (คือถูกอวิชชาครอบงำ) นี้ได้สัมผัสกับโลก แล้วต้องประสบกับสภาวะที่ไม่พึงปรารถนา (เช่น ร่างกาย แก่ เจ็บ จะตาย หรือต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือต้องประสบกับสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือผิดหวัง เป็นต้น) จิตโง่นี้จึงเกิดความไม่พอใจขึ้นมา แล้วจิตที่ไม่พอใจนี้ก็เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราที่ไม่พอใจ ซึ่งตัวเราที่จิตโง่นี้ปรุงแต่งขึ้นมานี้เองที่มาเป็นทุกข์ (ทรมาน)
แต่เมื่อจิตนี้มีวิชชาหรือปัญญา (คือมีความรู้ว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเรา) พร้อมกับมีสติและสมาธิพร้อม (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) จิตนี้ก็จะไม่มีอวิชชาครอบงำ แต่จะมีวิชชาหรือปัญญามาครอบงำแทน แล้วก็จะทำให้จิตนี้บริสุทธิ์จากความรู้สึกว่ามีตัวเรา และไม่ปรุงแต่งให้เกิดความพอใจ-ไม่พอใจ-ไม่แน่ใจ พร้อมทั้งความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา เมื่อไม่มีความยึดถือว่ามีตัวเรา จิตก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (นิพพาน)
สรุปได้ว่า เมื่อใดที่จิตนี้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมาเมื่อใด (ซึ่งปกติมันก็เกิดอยู่แล้วเกือบตลอดทั้งวัน) แสดงว่าจิตนี้ได้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว จึงเป็นสิ่งที่เราควรสนใจศึกษาและปฏิบัติ เพื่อหาทางกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไป (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร) เพื่อที่จิตจะได้ไม่มีความทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้ากันต่อไป
เมื่อเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเรา นั่นคือจิตได้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว
เพราะอวิชชา คือ ความรู้ (ผิด) ว่ามีตัวเรา
เมื่อจิตถูกอวิชชาครอบงำแล้ว จิตก็จะปรุงแต่งไปตามอำนาจของอวิชชา (คือปรุงแต่งไปด้วยความรู้ว่ามีตัวเรา)
เมื่อจิตปรุงแต่งไปด้วยอวิชชา การรับรู้ของจิต (คือวิญญาณ) ก็จะเป็นการรับรู้ด้วยอวิชชา (คือเกิดการรับรู้ว่ามีตัวเราขึ้นมาทันที)
เมื่อเกิดการรับรู้ว่ามีตัวเราขึ้นมาแล้ว ก็จะเกิดการจำได้, เกิดความรู้สึก, และเกิดการคิดนึก ว่ามีตัวเราขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำอยู่
เมื่อมีความรู้สึกว่ามีตัวเราเกิดขึ้นมาครอบงำจิต ก็จะทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดอาการของนิวรณ์ (สิ่งปิดกั้นจิตจากสมาธิและปัญญา) ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา คือ เกิดความพอใจแม้เล็กน้อยในเรื่องกามารมณ์, ความไม่พอใจแม้เล็กน้อยในเรื่องต่างๆ, ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ, ความหดหู่เซื่องซึม มึนชา, ความลังเลสงสัยในเรื่องต่างๆ
และเมื่อจิตโง่ (คือถูกอวิชชาครอบงำ) นี้ได้สัมผัสกับโลก แล้วต้องประสบกับสภาวะที่ไม่พึงปรารถนา (เช่น ร่างกาย แก่ เจ็บ จะตาย หรือต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือต้องประสบกับสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือผิดหวัง เป็นต้น) จิตโง่นี้จึงเกิดความไม่พอใจขึ้นมา แล้วจิตที่ไม่พอใจนี้ก็เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราที่ไม่พอใจ ซึ่งตัวเราที่จิตโง่นี้ปรุงแต่งขึ้นมานี้เองที่มาเป็นทุกข์ (ทรมาน)
แต่เมื่อจิตนี้มีวิชชาหรือปัญญา (คือมีความรู้ว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเรา) พร้อมกับมีสติและสมาธิพร้อม (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) จิตนี้ก็จะไม่มีอวิชชาครอบงำ แต่จะมีวิชชาหรือปัญญามาครอบงำแทน แล้วก็จะทำให้จิตนี้บริสุทธิ์จากความรู้สึกว่ามีตัวเรา และไม่ปรุงแต่งให้เกิดความพอใจ-ไม่พอใจ-ไม่แน่ใจ พร้อมทั้งความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา เมื่อไม่มีความยึดถือว่ามีตัวเรา จิตก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (นิพพาน)
สรุปได้ว่า เมื่อใดที่จิตนี้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมาเมื่อใด (ซึ่งปกติมันก็เกิดอยู่แล้วเกือบตลอดทั้งวัน) แสดงว่าจิตนี้ได้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว จึงเป็นสิ่งที่เราควรสนใจศึกษาและปฏิบัติ เพื่อหาทางกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไป (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร) เพื่อที่จิตจะได้ไม่มีความทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้ากันต่อไป