เด็กที่เกิดมาใหม่ๆทุกคนจะยังมีจิตที่บริสุทธิ์ (ประภัสสร) คือจะยังไม่มีกิเลส ไม่มีปัญญา ไม่มีความยึดถือว่ามีตนเอง จะมีก็เพียงสัญชาติญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับชีวิตตามธรรมชาติ) ว่ามีตนเองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อเด็กได้รับรู้โลกผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วเกิดความรู้สึกที่น่าพอใจ (ความรู้สึกสุข) บ้าง ไม่น่าพอใจ (ความรู้สึกทุกข์) บ้าง เมื่อไม่มีสติปัญญามาป้องกัน จึงทำให้จิตของเด็กเริ่มเกิดความรู้สึกพอใจต่อความรู้สึกที่น่าพอใจ และไม่พอใจต่อความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจขึ้นมาตามสัญชาติญาณ ซึ่งนี่ก็คืออาการที่เรียกว่า กิเลส และสมองของเด็กจะบันทึกอาการของกิเลสนี้ไว้ในจิตใต้สำนึก เพื่อที่จะได้เกิดกิเลสนี้ขึ้นมาใหม่อีกอย่างรวดเร็ว
เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาเมื่อใด สัญชาติญาณของเด็กก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตนเอง ที่เป็นผู้พอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาทันที
เมื่อเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองที่พอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาเมื่อใด จิตของเด็กก็จะปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตนเองที่เข้มข้นขึ้นมาทันที ซึ่งความรู้สึกว่ามีตนเองที่เข้มข้นนี้เองที่เรียกว่า ความยึดถือ (อุปาทาน) คือเกิดความยึดถือว่ามีตนเอง เกิดขึ้นมาในจิตแล้ว
เมื่อมีความยึดถืออย่างเต็มที่แล้วก็จะเกิดความมีความเป็นตัวตนขึ้นมาในจิต (ภพ) และเมื่อความมีความเป็นตัวตนเข้มข้นเต็มที่ ก็จะเกิด (ชาติ) ตัวตนขึ้นมาในจิตทันที
เมื่อมีตัวตนเกิดขึ้นมาเมื่อใด ตัวตนนี้ก็จะเป็นทุกข์ทันทีจากความยึดถือว่ามีตนเองแก่บ้าง มีตนเองเจ็บป่วยบ้าง และมีตนเองที่กำลังจะตายบ้าง รวมทั้งยังเป็นทุกข์เพราะยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งที่รักบ้าง จากความยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังประสบกับบุคคลหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง และจากความยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังผิดหวังอยู่บ้าง (ที่เรีกยว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์)
แต่ถ้าเด็กนี้จะได้รับการสั่งสอนจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า "มันไม่ได้มีตนเองอยู่จริง สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นตนเองนี้มันเป็นแค่เพียงสิ่งที่ธรรมชาติปรุงแต่งหรือสร้างสรรค์ขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น หาได้มีตัวตนที่จะดำรงค์อยู่อย่างถาวรหรือเป็นอมตะไม่" (คือมีสัมมาทิฏฐิ–ความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ) เด็กนี้ก็จะเริ่มปฏิบัติเพื่อคืนความยึดถือว่ามีตนเองที่จิตใต้สำนึกได้บันทึกเอาไว้
การปฏิบัติเพื่อคืนความยึดถือว่ามีตนเองนี้ก็ต้องใช้ปัญญา (ความเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า"มันไม่ได้มีตนเองอยู่จริง") และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) โดยมีศีล (จิตที่ปกติเพราะไม่ทำผิดทางกายและวาจา) เป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว มาทำงานร่วมกัน (ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘)
เมื่อจิตมีปัญญา สมาธิ และศีลพร้อมกันเมื่อใด ความยึดถือว่ามีตนเองก็จะระงับหรือดับหายไปทันที (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อความยึดถือหายไป จิตก็จะกลับคืนมาบริสุทธิ์ (ประภัสสร) ได้ดังเดิม เมื่อจิตบริสุทธิ์ มันก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็จะสงบเย็น หรือที่เราสมมติเรียกกันว่า นิพพาน ที่แปลว่า เย็น
เมื่อเด็กนี้สามารถปฏิบัติปัญญา สมาธิ และศีลได้อย่างต่อเนื่องนานๆ ปัญญาก็จะค่อยๆเข้าไปเปลี่ยนจิตใต้สำนึก จากที่เคยมีความรู้ผิด (อวิชชา) ว่ามีตนเองอยู่จริง มาเป็นความรู้ที่ถูกต้อง (วิชชาหรือปัญญา) ว่าไม่มีตนเองอยู่จริง และจากนิสัยที่ไม่มีสติและสมาธิ (หรือมีแต่ไม่สมบูรณ์) ก็มามีสติและสมาธิที่สมบูรณ์แทน
เมื่อจิตมีสติและสมาธิที่สมบูรณ์ และมีปัญญาที่สมบูรณ์ จิตของเด็กนี้ก็จะกลับมาประภัสสรหรือบริสุทธิ์ (คือไม่มีกิเลสหรือไม่มีความยึดถือว่ามีตนเอง) ได้อย่างถาวร (คือตลอดชีวิต) และจิตของเด็กนี้ก็จะนิพพานหรือสงบเย็นเพราะไม่มีความทุกข์ได้อย่างถาวร
สรุปได้ว่า ชีวิตของมนุษย์เรานี้ไม่มีอะไร นอกจาก ทุกข์ กับ ไม่ทุกข์ คือถ้าจิตยังถูกความโง่ (อวิชชา-ความรู้ผิดว่ามีตัวเราอยู่จริง) ครอบงำอยู่ จิตก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าจิตมีวิชชาหรือปัญญา (ความรู้ที่ถูกต้องว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง มีแต่ตัวเราชั่วคราว หรือตัวเรามายาเท่านั้น) พร้อมกับสมาธิ (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) อย่างสมบูรณ์ จิตก็จะนิพพานหรือไม่มีทุกข์ ถ้ามีปัญญาและสมาธิชั่วคราว จิตก็นิพพานชั่วคราว ถ้ามีปัญญาและสมาธิถาวร จิตก็จะนิพพานถาวร
เตชปัญโญ ภิกขุ
อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี
๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.whatami.net/
ชีวิตของคนเรานี้ไม่มีอะไร นอกจาก ทุกข์ กับ ไม่ทุกข์
เมื่อเด็กได้รับรู้โลกผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วเกิดความรู้สึกที่น่าพอใจ (ความรู้สึกสุข) บ้าง ไม่น่าพอใจ (ความรู้สึกทุกข์) บ้าง เมื่อไม่มีสติปัญญามาป้องกัน จึงทำให้จิตของเด็กเริ่มเกิดความรู้สึกพอใจต่อความรู้สึกที่น่าพอใจ และไม่พอใจต่อความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจขึ้นมาตามสัญชาติญาณ ซึ่งนี่ก็คืออาการที่เรียกว่า กิเลส และสมองของเด็กจะบันทึกอาการของกิเลสนี้ไว้ในจิตใต้สำนึก เพื่อที่จะได้เกิดกิเลสนี้ขึ้นมาใหม่อีกอย่างรวดเร็ว
เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาเมื่อใด สัญชาติญาณของเด็กก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตนเอง ที่เป็นผู้พอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาทันที
เมื่อเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองที่พอใจ-ไม่พอใจขึ้นมาเมื่อใด จิตของเด็กก็จะปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตนเองที่เข้มข้นขึ้นมาทันที ซึ่งความรู้สึกว่ามีตนเองที่เข้มข้นนี้เองที่เรียกว่า ความยึดถือ (อุปาทาน) คือเกิดความยึดถือว่ามีตนเอง เกิดขึ้นมาในจิตแล้ว
เมื่อมีความยึดถืออย่างเต็มที่แล้วก็จะเกิดความมีความเป็นตัวตนขึ้นมาในจิต (ภพ) และเมื่อความมีความเป็นตัวตนเข้มข้นเต็มที่ ก็จะเกิด (ชาติ) ตัวตนขึ้นมาในจิตทันที
เมื่อมีตัวตนเกิดขึ้นมาเมื่อใด ตัวตนนี้ก็จะเป็นทุกข์ทันทีจากความยึดถือว่ามีตนเองแก่บ้าง มีตนเองเจ็บป่วยบ้าง และมีตนเองที่กำลังจะตายบ้าง รวมทั้งยังเป็นทุกข์เพราะยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งที่รักบ้าง จากความยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังประสบกับบุคคลหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง และจากความยึดถือว่ามีตนเองที่กำลังผิดหวังอยู่บ้าง (ที่เรีกยว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์)
แต่ถ้าเด็กนี้จะได้รับการสั่งสอนจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า "มันไม่ได้มีตนเองอยู่จริง สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นตนเองนี้มันเป็นแค่เพียงสิ่งที่ธรรมชาติปรุงแต่งหรือสร้างสรรค์ขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น หาได้มีตัวตนที่จะดำรงค์อยู่อย่างถาวรหรือเป็นอมตะไม่" (คือมีสัมมาทิฏฐิ–ความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ) เด็กนี้ก็จะเริ่มปฏิบัติเพื่อคืนความยึดถือว่ามีตนเองที่จิตใต้สำนึกได้บันทึกเอาไว้
การปฏิบัติเพื่อคืนความยึดถือว่ามีตนเองนี้ก็ต้องใช้ปัญญา (ความเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า"มันไม่ได้มีตนเองอยู่จริง") และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) โดยมีศีล (จิตที่ปกติเพราะไม่ทำผิดทางกายและวาจา) เป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว มาทำงานร่วมกัน (ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘)
เมื่อจิตมีปัญญา สมาธิ และศีลพร้อมกันเมื่อใด ความยึดถือว่ามีตนเองก็จะระงับหรือดับหายไปทันที (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อความยึดถือหายไป จิตก็จะกลับคืนมาบริสุทธิ์ (ประภัสสร) ได้ดังเดิม เมื่อจิตบริสุทธิ์ มันก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็จะสงบเย็น หรือที่เราสมมติเรียกกันว่า นิพพาน ที่แปลว่า เย็น
เมื่อเด็กนี้สามารถปฏิบัติปัญญา สมาธิ และศีลได้อย่างต่อเนื่องนานๆ ปัญญาก็จะค่อยๆเข้าไปเปลี่ยนจิตใต้สำนึก จากที่เคยมีความรู้ผิด (อวิชชา) ว่ามีตนเองอยู่จริง มาเป็นความรู้ที่ถูกต้อง (วิชชาหรือปัญญา) ว่าไม่มีตนเองอยู่จริง และจากนิสัยที่ไม่มีสติและสมาธิ (หรือมีแต่ไม่สมบูรณ์) ก็มามีสติและสมาธิที่สมบูรณ์แทน
เมื่อจิตมีสติและสมาธิที่สมบูรณ์ และมีปัญญาที่สมบูรณ์ จิตของเด็กนี้ก็จะกลับมาประภัสสรหรือบริสุทธิ์ (คือไม่มีกิเลสหรือไม่มีความยึดถือว่ามีตนเอง) ได้อย่างถาวร (คือตลอดชีวิต) และจิตของเด็กนี้ก็จะนิพพานหรือสงบเย็นเพราะไม่มีความทุกข์ได้อย่างถาวร
สรุปได้ว่า ชีวิตของมนุษย์เรานี้ไม่มีอะไร นอกจาก ทุกข์ กับ ไม่ทุกข์ คือถ้าจิตยังถูกความโง่ (อวิชชา-ความรู้ผิดว่ามีตัวเราอยู่จริง) ครอบงำอยู่ จิตก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าจิตมีวิชชาหรือปัญญา (ความรู้ที่ถูกต้องว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง มีแต่ตัวเราชั่วคราว หรือตัวเรามายาเท่านั้น) พร้อมกับสมาธิ (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) อย่างสมบูรณ์ จิตก็จะนิพพานหรือไม่มีทุกข์ ถ้ามีปัญญาและสมาธิชั่วคราว จิตก็นิพพานชั่วคราว ถ้ามีปัญญาและสมาธิถาวร จิตก็จะนิพพานถาวร
เตชปัญโญ ภิกขุ
อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี
๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.whatami.net/