เมื่อได้เห็น การทวงถาม "หลักฐาน" ในประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าตรัส "คำหยาบ" หรือไม่ อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย แล้วน่าหัวร่อ
ที่ว่า "น่าหัวร่อ" ก็เพราะ ในบรรดาคนที่พยายามทวงหาหลักฐานเหล่านั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพวก "เก้อยาก"
ที่ชอบ "กล่าวตู่" ผู้อื่นเป็นอาจินต์ ที่มักถูกทวงถามหาหลักฐาน แล้วก็ "หนีหน้า"
หรือไม่ก็ "หน้าหนา" ไม่รับผิดชอบคำพูดของตนเองด้วยกันทั้งนั้น !
น่าสมเพช ที่ชาวพุทธชายขอบเหล่านั้น กลับแสดงอาการ กระเหี้ยนกระหือรือ
เรียกร้อง "หลักฐาน" อย่างเอาเป็นเอาตาย จนถึงขั้น ด่าพ่อล่อแม่ กันเลยทีเดียว
นี่พวกมัน "ร๊ากกกกกกก" พระพุทธเจ้า มากจนถึงขนาดนั้น เลยหรือครับ ?
ถ้ารักกันจริง แล้วเหตุใดจึงยังคงแสดงให้เห็นว่า ...........
มีความพยายามจะ "กล่าวตู่" พระพุทธเจ้า และ "บิดเบือน" พระธรรมวินัย กันให้ได้ อยู่ล่ะ ?
*******************************************************************************************
ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ จะไม่เป็นประเด็นปัญหา ให้ต้องมาด่าพ่อล่อแม่กัน จนถูกยึดอมยิ้มเลย
ถ้าหาก บรรดาชาวพุทธชายขอบทั้งหลาย จะมีความเข้าใจ "ขั้นพื้นฐาน" สักนิดว่า ......
"คำหยาบ" กับ "มิจฉาวาจา" มันมิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอไป นี่ครับ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายที่สุด(และลำบากผม น้อยที่สุด) ขออนุญาตใช้ อรรถกถา ในการอธิบาย นะครับ
อรรถกถาจารย์ ได้อธิบายเกี่ยวกับศีลระดับชาวบ้าน เอาไว้ดังนี้ว่า ผรุสวาจา มีองค์ ๓ คือ
(๑) คนอื่นที่ตนด่า
(๒) จิตโกรธ
(๓) การด่า
คำอธิบายมันก็ง่ายๆ แค่นี้แหละครับ หมายความว่า ที่จะเรียกว่า "ผรุสวาจา" ที่เป็น "อกุศลกรรมบท" เป็น "มิจฉาวาจา" ได้นั้น
มันต้องมีองค์ประกอบครบ ๓ ส่วน โดยองค์ประกอบ ที่ท่านทั้งหลาย พึงนำมาพิจารณาในกรณีนี้ ก็คือ "จิตโกรธ"
เพราะถ้าหากการด่านั้น แม้จะมี (๑) ผู้ถูกด่า และ (๒) การด่า หรือ คำด่า แต่ถ้าหาก ผู้ด่า มิได้กระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
ก็ไม่ถือว่า การด่านั้นเป็น ผรุสวาจา ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ด่าลูก อย่างนี้ ไม่ถือว่าเป็น ผรุสวาจา
หรือ ครูบาอาจารย์ด่าลูกศิษย์ อย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ผรุสวาจา เช่นกัน และนี่คือ กรณีที่เรียกว่า .......... "วาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ" นั่นเอง
หากถามว่า คำอธิบายของ อรรถกถาจารย์ พอรับฟังได้หรือไม่ ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาจากพระสูตรนี้ นะครับ
ขอให้สังเกตว่า พระโพธิสัตว์ ย่อมเว้นจาก วาจาหยาบ อันทำ (๑) ความด่า (๒) ความบาดหมาง
(๓) ความลำบากใจ (๔) ความเจ็บใจ (๕) เป็นเครื่องเหยียบย่ำแก่พหูชน (๖) เป็นคำชั่วร้าย
ความหมาย ก็คือ พระโพธิสัตว์ ย่อมเว้นจาก วาจาหยาบ อันเนื่องจาก "จิตโกรธ" นั่นเอง
ดังนั้น ในกรณีของพระพุทธเจ้า แม้ว่าถ้อยคำที่ใช้จะเป็น "คำหยาบ" แต่พระองค์ มิได้ตรัสด้วย จิตโกรธ
หรือ ตรัสด้วยเจตนาร้าย แต่ตรัสเพื่อ ตักเตือน อบรม สั่งสอน ดังนั้น จึงย่อมไม่ถือว่าเป็น ผรุสวาจา
และยิ่งไม่อาจกล่าวได้เลยว่า นั่นเป็น อกุศลกรรมบท หรือ มิจฉาวาจา !
ตัวอย่างเช่น พระพุทธตรัส "ติเตียน" ท่านพระปิณโฑลภารทวาช โดยเปรียบเทียบกับ "มาตุคามแสดงของลับเพื่อเหตุแห่งทรัพย์"
ถามว่าเป็น "คำหยาบ" ไหม ?
ทำไมจะไม่ "หยาบ" ล่ะครับ ถ้าใครคิดว่าถ้อยคำดังกล่าวนี้ มิได้เป็น คำหยาบ ก็ลองเอาไปใช้กับคนที่บ้าน แล้วรอดูผล นะครับ
แต่หากถามว่า ถ้อยคำเหล่านั้น ซึ่งเป็นพุทธดำรัส จัดเป็น ผรุสวาจา เป็น อกุศลกรรมบท และ/หรือ มิจฉาวาจา หรือไม่ ?
ตอบว่า ไม่เลย
ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ พระพุทธดำรัสดังกล่าว พระพุทธเจ้า มิได้ตรัสด้วยอำนาจแห่ง ความโกรธ !
จบไหมครับ ?
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง ก็ได้ เช่น กรณีของท่านพระปิลินทวัจฉะ
ถามว่า "คนถ่อย" เป็น "คำหยาบ" ไหม ?
มันก็หยาบแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าหากไม่เชื่อ ก็ลองนำไปใช้กับคนที่บ้าน ดูก็แล้วกัน
แต่ประเด็น ก็คือ องค์ประกอบ ของ ผรุสวาจา มันไม่ครบ นี่ครับ
พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะ มิได้ "มุ่งโทษ" แก่ใครด้วยคำว่า "คนถ่อย" นี้เลย
จึงเป็นอันว่า แม้ว่าถ้อยคำ ที่ท่านพระปิลินทวัจฉะ ใช้พูดจะเป็น "คำหยาบ" แต่ก็ไม่ถือว่าเป็น "ผรุสวาจา"
ไม่เป็น "อกุศลกรรมบท" และย่อมมิอาจถือว่าเป็น "มิจฉาวาจา" เพราะแม้ว่า คำของท่าน จะมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมสั่งสอนใคร อย่างพระพุทธเจ้า
แต่ท่านก็กล่าวถ้อยคำเหล่านั้น โดยมิได้ "มุ่งโทษ" ต่อใครเช่นกัน กล่าวคือ ท่านมิได้กล่าวด้วยจิตที่ประกอบไปด้วย "กิเลส" อย่างปุถุชนผู้บริโภคกาม
อธิบายอย่างนี้แล้ว พอจะเข้าใจ ไหมครับ ?
*******************************************************************************************
กลับมาที่ประเด็น คำถามหลัก ของกระทู้นี้ ซึ่งถามว่า มีหลักฐานหรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าตรัส "คำหยาบ"
ก็ขออนุญาต ตอบตามตรงว่า มี "หลักฐาน" อยู่มากมายในพระไตรปิฎก นะครับ
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่า "มาตรฐาน" ในการชี้วัด "ความหยาบคาย" ของคนแต่ละคน มันอยู่ที่ตรงไหน เสียมากกว่า
อย่างเช่น หากตำหนิว่า "โง่" ท่านทั้งหลาย เห็นว่า "หยาบ" ไหมล่ะ ?
คำตอบ อาจแตกต่าง กันไป จริงไหมครับ บ้างก็ว่าหยาบ บ้างก็เฉยๆ เห็นว่าเป็นคำธรรมดา เป็นต้น
ที่นี้ หากพระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบภิกษุบางพวกว่าเป็นเหมือน "กา" หรือ "สุนัขขี้เรื้อน" ท่านว่า "หยาบ" ไหมล่ะ ?
อันนี้ มันก็แล้วแต่ "มาตรฐาน" ของท่านทั้งหลายนั้นเอง ที่จะสามารถบอก(กับตนเอง)ได้ว่า นั่นเป็นคำหยาบ หรือไม่ ?
แต่ถ้าถามผม ผมก็ขอตอบตรงๆ ว่า นั่นเป็น "คำหยาบ" ที่ผมย่อมไม่หวังให้ใครนำมาใช้กับผม อย่างแน่นอน !
หรือท่านทั้งหลาย จะว่าอย่างไรครับ ?
.
.
.
แม้ว่าจะเป็น "คำหยาบ" คำเดียวกัน แต่ถ้าหาก "ผู้พูด" มี "ภูมิธรรม" หรือ "เจตนา" ที่แตกต่างกัน
ผลที่เกิดขึ้น ก็ย่อมแตกต่างกันไป เป็นธรรมดา ด้วยเหตุดังนี้ ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า .......
(๑) จงประเมิน "จิต" ของตนทุกครั้ง ในทุกๆ ถ้อยคำที่กล่าวออกไปว่า เป็น กุศล หรือ อกุศล ?
(๒) แต่อย่าได้เที่ยว "แส่" ไปประเมินผู้อื่นในเรื่องนี้เลย เพราะด้วยสภาพของ ปุถุชนผู้บริโภคกาม
ที่ศีลกระพร่องกระแพร่ง อย่างนั้น ท่านจะไปเที่ยว "สู่รู้" ในเรื่องของผู้อื่น ได้อย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในเมื่อไม่ฉลาดในจิตของผู้อื่น ก็ให้ฉลาดในจิตของตนเองเถิด
ผมขออนุญาต "แนะนำ" ว่าอย่าได้เที่ยวไปสาระแน วิพากษ์วิจารณ์ พระสงฆ์องค์เจ้า "แบบส่งเดช" เลยนะครับ
สำรวมระวัง "ปาก" ของตนเองเอาไว้บ้าง จะเป็นการดีกว่า อย่างน้อย ก็จะได้ไม่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับ "อบาย"
และถ้าหากไปโดนใครเขา "ด่า" เอา ก็จงตั้งใจฟัง "คำด่า" ของเขาให้ดีๆ เถิด
เพราะไม่แน่ว่า "คำด่า" เหล่านั้น อาจเป็น "ขุมทรัพย์" ก็ได้ ถ้าหากเรารู้จักพิจารณาโดยแยบคาย !
จริงไหม ?
.
.
.
อธิบายโดยสังเขป เพียงเท่านี้ คงมากพอที่จะทำความเข้าใจได้ตามสมควร นะครับ
สวัสดี
เหตุใด คำด่า ของพระพุทธเจ้า จึงไม่เป็น มิจฉาวาจา ?
ที่ว่า "น่าหัวร่อ" ก็เพราะ ในบรรดาคนที่พยายามทวงหาหลักฐานเหล่านั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพวก "เก้อยาก"
ที่ชอบ "กล่าวตู่" ผู้อื่นเป็นอาจินต์ ที่มักถูกทวงถามหาหลักฐาน แล้วก็ "หนีหน้า"
หรือไม่ก็ "หน้าหนา" ไม่รับผิดชอบคำพูดของตนเองด้วยกันทั้งนั้น !
น่าสมเพช ที่ชาวพุทธชายขอบเหล่านั้น กลับแสดงอาการ กระเหี้ยนกระหือรือ
เรียกร้อง "หลักฐาน" อย่างเอาเป็นเอาตาย จนถึงขั้น ด่าพ่อล่อแม่ กันเลยทีเดียว
นี่พวกมัน "ร๊ากกกกกกก" พระพุทธเจ้า มากจนถึงขนาดนั้น เลยหรือครับ ?
ถ้ารักกันจริง แล้วเหตุใดจึงยังคงแสดงให้เห็นว่า ...........
มีความพยายามจะ "กล่าวตู่" พระพุทธเจ้า และ "บิดเบือน" พระธรรมวินัย กันให้ได้ อยู่ล่ะ ?
*******************************************************************************************
ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ จะไม่เป็นประเด็นปัญหา ให้ต้องมาด่าพ่อล่อแม่กัน จนถูกยึดอมยิ้มเลย
ถ้าหาก บรรดาชาวพุทธชายขอบทั้งหลาย จะมีความเข้าใจ "ขั้นพื้นฐาน" สักนิดว่า ......
"คำหยาบ" กับ "มิจฉาวาจา" มันมิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอไป นี่ครับ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายที่สุด(และลำบากผม น้อยที่สุด) ขออนุญาตใช้ อรรถกถา ในการอธิบาย นะครับ
อรรถกถาจารย์ ได้อธิบายเกี่ยวกับศีลระดับชาวบ้าน เอาไว้ดังนี้ว่า ผรุสวาจา มีองค์ ๓ คือ
(๑) คนอื่นที่ตนด่า
(๒) จิตโกรธ
(๓) การด่า
คำอธิบายมันก็ง่ายๆ แค่นี้แหละครับ หมายความว่า ที่จะเรียกว่า "ผรุสวาจา" ที่เป็น "อกุศลกรรมบท" เป็น "มิจฉาวาจา" ได้นั้น
มันต้องมีองค์ประกอบครบ ๓ ส่วน โดยองค์ประกอบ ที่ท่านทั้งหลาย พึงนำมาพิจารณาในกรณีนี้ ก็คือ "จิตโกรธ"
เพราะถ้าหากการด่านั้น แม้จะมี (๑) ผู้ถูกด่า และ (๒) การด่า หรือ คำด่า แต่ถ้าหาก ผู้ด่า มิได้กระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
ก็ไม่ถือว่า การด่านั้นเป็น ผรุสวาจา ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ด่าลูก อย่างนี้ ไม่ถือว่าเป็น ผรุสวาจา
หรือ ครูบาอาจารย์ด่าลูกศิษย์ อย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ผรุสวาจา เช่นกัน และนี่คือ กรณีที่เรียกว่า .......... "วาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ" นั่นเอง
หากถามว่า คำอธิบายของ อรรถกถาจารย์ พอรับฟังได้หรือไม่ ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาจากพระสูตรนี้ นะครับ
ขอให้สังเกตว่า พระโพธิสัตว์ ย่อมเว้นจาก วาจาหยาบ อันทำ (๑) ความด่า (๒) ความบาดหมาง
(๓) ความลำบากใจ (๔) ความเจ็บใจ (๕) เป็นเครื่องเหยียบย่ำแก่พหูชน (๖) เป็นคำชั่วร้าย
ความหมาย ก็คือ พระโพธิสัตว์ ย่อมเว้นจาก วาจาหยาบ อันเนื่องจาก "จิตโกรธ" นั่นเอง
ดังนั้น ในกรณีของพระพุทธเจ้า แม้ว่าถ้อยคำที่ใช้จะเป็น "คำหยาบ" แต่พระองค์ มิได้ตรัสด้วย จิตโกรธ
หรือ ตรัสด้วยเจตนาร้าย แต่ตรัสเพื่อ ตักเตือน อบรม สั่งสอน ดังนั้น จึงย่อมไม่ถือว่าเป็น ผรุสวาจา
และยิ่งไม่อาจกล่าวได้เลยว่า นั่นเป็น อกุศลกรรมบท หรือ มิจฉาวาจา !
ตัวอย่างเช่น พระพุทธตรัส "ติเตียน" ท่านพระปิณโฑลภารทวาช โดยเปรียบเทียบกับ "มาตุคามแสดงของลับเพื่อเหตุแห่งทรัพย์"
ถามว่าเป็น "คำหยาบ" ไหม ?
ทำไมจะไม่ "หยาบ" ล่ะครับ ถ้าใครคิดว่าถ้อยคำดังกล่าวนี้ มิได้เป็น คำหยาบ ก็ลองเอาไปใช้กับคนที่บ้าน แล้วรอดูผล นะครับ
แต่หากถามว่า ถ้อยคำเหล่านั้น ซึ่งเป็นพุทธดำรัส จัดเป็น ผรุสวาจา เป็น อกุศลกรรมบท และ/หรือ มิจฉาวาจา หรือไม่ ?
ตอบว่า ไม่เลย
ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ พระพุทธดำรัสดังกล่าว พระพุทธเจ้า มิได้ตรัสด้วยอำนาจแห่ง ความโกรธ !
จบไหมครับ ?
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง ก็ได้ เช่น กรณีของท่านพระปิลินทวัจฉะ
ถามว่า "คนถ่อย" เป็น "คำหยาบ" ไหม ?
มันก็หยาบแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าหากไม่เชื่อ ก็ลองนำไปใช้กับคนที่บ้าน ดูก็แล้วกัน
แต่ประเด็น ก็คือ องค์ประกอบ ของ ผรุสวาจา มันไม่ครบ นี่ครับ
พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะ มิได้ "มุ่งโทษ" แก่ใครด้วยคำว่า "คนถ่อย" นี้เลย
จึงเป็นอันว่า แม้ว่าถ้อยคำ ที่ท่านพระปิลินทวัจฉะ ใช้พูดจะเป็น "คำหยาบ" แต่ก็ไม่ถือว่าเป็น "ผรุสวาจา"
ไม่เป็น "อกุศลกรรมบท" และย่อมมิอาจถือว่าเป็น "มิจฉาวาจา" เพราะแม้ว่า คำของท่าน จะมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมสั่งสอนใคร อย่างพระพุทธเจ้า
แต่ท่านก็กล่าวถ้อยคำเหล่านั้น โดยมิได้ "มุ่งโทษ" ต่อใครเช่นกัน กล่าวคือ ท่านมิได้กล่าวด้วยจิตที่ประกอบไปด้วย "กิเลส" อย่างปุถุชนผู้บริโภคกาม
อธิบายอย่างนี้แล้ว พอจะเข้าใจ ไหมครับ ?
*******************************************************************************************
กลับมาที่ประเด็น คำถามหลัก ของกระทู้นี้ ซึ่งถามว่า มีหลักฐานหรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าตรัส "คำหยาบ"
ก็ขออนุญาต ตอบตามตรงว่า มี "หลักฐาน" อยู่มากมายในพระไตรปิฎก นะครับ
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่า "มาตรฐาน" ในการชี้วัด "ความหยาบคาย" ของคนแต่ละคน มันอยู่ที่ตรงไหน เสียมากกว่า
อย่างเช่น หากตำหนิว่า "โง่" ท่านทั้งหลาย เห็นว่า "หยาบ" ไหมล่ะ ?
คำตอบ อาจแตกต่าง กันไป จริงไหมครับ บ้างก็ว่าหยาบ บ้างก็เฉยๆ เห็นว่าเป็นคำธรรมดา เป็นต้น
ที่นี้ หากพระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบภิกษุบางพวกว่าเป็นเหมือน "กา" หรือ "สุนัขขี้เรื้อน" ท่านว่า "หยาบ" ไหมล่ะ ?
อันนี้ มันก็แล้วแต่ "มาตรฐาน" ของท่านทั้งหลายนั้นเอง ที่จะสามารถบอก(กับตนเอง)ได้ว่า นั่นเป็นคำหยาบ หรือไม่ ?
แต่ถ้าถามผม ผมก็ขอตอบตรงๆ ว่า นั่นเป็น "คำหยาบ" ที่ผมย่อมไม่หวังให้ใครนำมาใช้กับผม อย่างแน่นอน !
หรือท่านทั้งหลาย จะว่าอย่างไรครับ ?
.
.
.
แม้ว่าจะเป็น "คำหยาบ" คำเดียวกัน แต่ถ้าหาก "ผู้พูด" มี "ภูมิธรรม" หรือ "เจตนา" ที่แตกต่างกัน
ผลที่เกิดขึ้น ก็ย่อมแตกต่างกันไป เป็นธรรมดา ด้วยเหตุดังนี้ ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า .......
(๑) จงประเมิน "จิต" ของตนทุกครั้ง ในทุกๆ ถ้อยคำที่กล่าวออกไปว่า เป็น กุศล หรือ อกุศล ?
(๒) แต่อย่าได้เที่ยว "แส่" ไปประเมินผู้อื่นในเรื่องนี้เลย เพราะด้วยสภาพของ ปุถุชนผู้บริโภคกาม
ที่ศีลกระพร่องกระแพร่ง อย่างนั้น ท่านจะไปเที่ยว "สู่รู้" ในเรื่องของผู้อื่น ได้อย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในเมื่อไม่ฉลาดในจิตของผู้อื่น ก็ให้ฉลาดในจิตของตนเองเถิด
ผมขออนุญาต "แนะนำ" ว่าอย่าได้เที่ยวไปสาระแน วิพากษ์วิจารณ์ พระสงฆ์องค์เจ้า "แบบส่งเดช" เลยนะครับ
สำรวมระวัง "ปาก" ของตนเองเอาไว้บ้าง จะเป็นการดีกว่า อย่างน้อย ก็จะได้ไม่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับ "อบาย"
และถ้าหากไปโดนใครเขา "ด่า" เอา ก็จงตั้งใจฟัง "คำด่า" ของเขาให้ดีๆ เถิด
เพราะไม่แน่ว่า "คำด่า" เหล่านั้น อาจเป็น "ขุมทรัพย์" ก็ได้ ถ้าหากเรารู้จักพิจารณาโดยแยบคาย !
จริงไหม ?
.
.
.
อธิบายโดยสังเขป เพียงเท่านี้ คงมากพอที่จะทำความเข้าใจได้ตามสมควร นะครับ
สวัสดี