กรณี คำนิคมท้ายวิภังค์ จะมีความถูกต้องตรงตามพุทธพจน์เดิมแท้หรือไม่นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่นักศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งหลาย จะต้องพินิจพิเคราะห์เอาเองด้วยโยนิโสมนสิการอย่างยิ่ง แต่หากจะยืนยัน “ความเชื่อ” ของตน ด้วยการอ้างข้อความจากคัมภีร์ปริวาร ก็คงจะไม่สมด้วยเหตุผล ทั้งนี้เพราะย่อมเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า ปริวารนี้เป็นคัมภีร์ในชั้นหลัง หาใช่พุทธพจน์ดั้งเดิมแต่อย่างใดไม่ นั่นจึงหมายความว่า การอ้างข้อความจากคัมภีร์ปริวาร เพื่อคัดค้านพุทธพจน์ที่ตรัสกับพระมหาปชาบดี จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ ย่อมเป็นสิ่งที่มิอาจกระทำได้เลย ขอให้สังเกตข้อความจากคัมภีร์ปริวาร ดังนี้ว่า
“สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔๖ ท่านจงฟัง สิกขาบทเหล่านั้นดังจะกล่าวต่อไป สังฆาทิเสส ๖ รวมทั้งอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘ นิสสัคคิยะ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุไม่ทั่วไปกับภิกษุณี รวม ๔๖ สิกขาบท” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก ปริวาร ข้อ ๑๐๒๗)
การที่ข้อความจากคัมภีร์ปริวารระบุว่า อนิยตะ ๒ และ ปาฏิเทสนียะ ๔ เป็นสิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนั้น กลับยิ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า คัมภีร์เล่มนี้เป็นการนำเอาข้อมูลจากมหาวิภังค์และภิกขุณีวิภังค์มาสรุปย่อ นั่นจึงหมายความว่า หากข้อความบางส่วนจากมหาวิภังค์ มีความผิดพลาด ก็จะมีผลทำให้ข้อสรุปในคัมภีร์ปริวาร ผิดพลาดตามไปด้วย ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การที่ปริวารสรุปออกมาว่า อนิยตะ ไม่สาธารณะกับภิกษุณี นั้นเกิดจากการนำข้อมูลจากวิภังค์ทั้ง ๒ มาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบเสียก่อนว่า อนิยตะ ไม่สาธารณะแก่ภิกษุณีด้วยเหตุผลอย่างไร โดยที่เหตุผลดังกล่าวจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้กับพระมหาปชาบดีโคตมี ตามความจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ นั้นด้วย
ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัททั้ง ๔ สมควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ แนวทางที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแสดงเอาไว้แก่ชนชาวกาลามะความว่า ไม่พึงปลงใจเชื่อเนื่องด้วยเหตุต่าง ๆ ๑๐ ประการ ดังเช่น ด้วยเหตุว่ามีอยู่ในคัมภีร์ อย่างนี้เป็นต้น หากแต่ควรพินิจพิจารณาโดยแยบคายในใจว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นกุศลหรืออกุศล เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าหากเห็นแจ้งแล้วว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นกุศลและประโยชน์ จึงค่อยรับเชื่อเอาไว้
แท้ที่จริงแล้ว กรณีการสวดพระปาฏิโมกข์ ๑๕๐ สิกขาบทนี้ จะว่าเป็นปัญหาหรือไม่(เป็นปัญหา) ก็ย่อมได้ทั้งนั้น เนื่องจากที่มา หรือต้นเหตุของข้อขัดแย้งในกรณีนี้ เกิดจากจุดยืน หรือมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องความบริสุทธิ์ของพระธรรมวินัยดั้งเดิมกับการบริหารคณะสงฆ์ เสียมากกว่าที่จะเป็นการ “จาบจ้วง” พระไตรปิฎก ดังที่ใครบางคนอาจพูดเกินไปกว่าความเป็นจริงอย่างไม่สมควร
และหากท่านทั้งหลายได้มีโอกาสพิจารณาความต่าง ๆ มาโดยลำดับ ก็ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การสวดพระปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน ย่อมมีถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ชั้นดั้งเดิมมากกว่าการสวด ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นมติของพระเถระสมัยหลัง ดังที่ได้กล่าวอธิบายความไว้พอสมควรแล้วว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควรใด ๆ เลย ที่พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญแก่ เสขิยวัตร ซึ่งเป็นเรื่องของมารยาทสังคม ที่ย่อมต้องเนื่องกับ “กาลเทศะ” จนถึงขั้นกำหนดอย่างเด็ดขาดว่าจะต้องสวดทุกกึ่งเดือน ขอให้ท่านทั้งหลายจงไตร่ตรองดูให้ดีว่า สิกขาบทเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร ในกาลเทศะที่แตกต่างออกไปจากสมัยพุทธกาล ณ ชมพูทวีป
ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่พึงสำเหนียก
กรณีตัวอย่างจาก เสขิยวัตร ดังที่ระบุความเช่นว่า
“ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่นั่งอยู่”
โดยความหมายของเสขิยวัตรข้อนี้ก็คือ ภิกษุไม่ควรยืนแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่นที่นั่งอยู่(เว้นแต่เขาผู้นั้นกำลังป่วย) ซึ่งการที่พระพุทธองค์บัญญัติความข้อนี้ไว้ ก็เนื่องจากธรรมเนียมในชมพูทวีปสมัยนั้น ถือว่าการยืน หมายถึงการทำความเคารพ ฉะนั้น หากภิกษุยืนแสดงธรรมให้กับผู้อื่นในขณะที่เขานั่งอยู่ ชาวบ้านทั้งหลายเขาจะเข้าใจผิดไปว่า ภิกษุนั้นกำลังทำความเคารพผู้ที่นั่งฟังธรรม แต่ถามว่า ธรรมเนียมมารยาทสังคมตามที่กล่าวถึงนี้ สามารถแปลความและใช้ได้กับสังคมไทย ได้หรือไม่ ?
ทั้งนี้ เนื่องจากสังคมไทยมักเห็นว่าการยืน(ค้ำหัว) แสดงให้เห็นถึงความไม่เคารพ โดยการแสดงความเคารพในสังคมไทย จะต้องเป็นการนั่ง(คุกเข่า) หรือหมายถึง กิริยาการหมอบกราบนั้นต่างหาก ความหมายที่ต้องการจะสื่อไปถึงเพื่อการพิจารณาอย่างรอบคอบก็คือ เราย่อมมิอาจเชื่อได้ว่า สิกขาบทจำพวกมารยาทสังคม ที่ยังต้องขึ้นอยู่กับกาลเทศะในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ หรือยกขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์ไปได้เลย เว้นไว้เสียแต่ว่า เสขิยวัตรเหล่านี้ จะได้เกิดมีความสำคัญ(หรือจำเป็น)ขึ้นมา ในขณะที่คณะสงฆ์ในสมัยหลัง เริ่มมีความใกล้ชิดกับราชสำนักมากขึ้นในฐานะที่เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์อย่างสำคัญ ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุการณ์ในสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่บนเกาะลังกา และได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมราชสำนักในสมัยนั้นเสียมากกว่า และคงไม่ต่างไปจากที่คณะสงฆ์ไทย ที่ก็ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมราชสำนัก(สยาม)ไปมิใช่น้อยเช่นกัน นับแต่ยุคศักดินากึ่งทาสเป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้
ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้พิจารณาพุทธพจน์ ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ ความว่า
“ดูกรอานนท์บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา”
อันคำว่า “ธรรมและวินัย” ตามที่พระพุทธองค์ตรัสนี้ มิได้มีค่าเท่ากับพระไตรปิฎกอย่างเป็นเนื้อเดียวกันเสียเมื่อไร ซึ่งประเด็นมันมิได้อยู่ที่ว่า เราไม่เชื่อถือการ “มุขปาฐะ” โดยพระอรหันตเถระเมื่อครั้งปฐมสังคายนา หากแต่ควรเป็นว่า เราไม่อาจเชื่อถือ “ดุลพินิจ” ของพระเถระนับจากเมื่อครั้งจารึกพระธรรมวินัยลงเป็นตัวอักษรเป็นต้นมานั้นต่างหาก โดยแต่เดิมมานั้น มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า การท่องสวดพระธรรมวินัยในแบบมุขปาฐะ จะเป็นการสวดรวมกันทั้งในส่วนที่เป็นพุทธพจน์และปริปุจฉา โดยพึ่งจะมีการแยกออกจากกันในสมัยที่มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคณะสงฆ์ลังกาเมื่อราว พ.ศ. ๔๓๓
นั่นจึงหมายความว่า ความถูกต้องในการแยกแยะว่าข้อความส่วนใดเป็นพุทธพจน์ หรือส่วนใดเป็นอรรถกถา ย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและดุลพินิจของพระเถระผู้สังคายนาพระธรรมวินัยคณะนี้เท่านั้น(โดยอาจรวมไปถึงคณะสงฆ์เมื่อคราวฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้นด้วย) และยิ่งเมื่อได้พิจารณาถึงความเป็นไปทางการเมืองของเกาะลังกาแล้ว ก็จะพบว่าบ้านเมืองไม่ใคร่จะสงบสุขนัก เกิดศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา บ้างก็เป็นศึกจากภายนอก บ้างก็เกิดสงครามกลางเมืองอันเป็นศึกภายใน
ก็ด้วยสภาพบ้านเมืองที่สับสนวุ่นวายมาโดยตลอดดังกล่าวมานี้ จึงน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาพระพุทธศาสนาบางหมู่เหล่า เขาหลับหูหลับตาเชื่อเข้าไปได้อย่างไรว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษรที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ของเกาะลังกาอันสับสนวุ่นวายนั้น
มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า อิทธิพลของจารีตธรรมเนียมต่าง ๆ จากราชสำนัก อาจเข้ามาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ในช่วงยุคใดยุคหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ลังกานี่เอง ดังเช่น ธรรมเนียมการสวดเสขิยวัตรนั้น บางทีอาจเริ่มต้นด้วยการสวดต่อท้ายพระปาฏิโมกข์ดั้งเดิมที่มีอยู่ ๑๕๐ ถ้วน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นกับบรรดาเจ้านายในราชสำนักในฐานะที่เป็นผู้ให้ความอุปถัมภก์อย่างสำคัญในสมัยนั้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามยุคสมัยแห่งประวัติศาสตร์สังคม ทั้งนี้ ย่อมสันนิษฐานได้ว่า คณะสงฆ์(ลังกา?)ในยุคหลังอาจเข้าใจผิดว่า เสขิยวัตรที่เคยสวดต่อท้ายพระปาฏิโมกข์มาแต่เดิมนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของพระปาฏิโมกข์ด้วย จึงได้มีการเพิ่มเติมเสขิยวัตรทั้ง ๗๕ สิกขาบทเข้าไว้ในมหาวิภังค์ ในช่วงของการรวบรวมพระธรรมวินัยครั้งใดครั้งหนึ่งในสมัยหลังนี้เอง
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจมากนัก หากจะพบข้อความบางอย่างที่เชื่อถือกันสืบมาว่าเป็นพุทธพจน์ แต่กลับขัดแย้งกับข้อความในส่วนอื่นที่ถือว่าเป็นพุทธพจน์เช่นกัน ทั้งนี้ นั่นก็เป็นเพราะ บางทีเราอาจหลงลืมไปว่า การที่เราเข้าใจว่าข้อความบางข้อความเป็นพุทธพจน์ นั้นแท้ที่จริงแล้วเกิดจาก “ความเชื่อ” โดยไร้ซึ่งการตรวจสอบเทียบเคียงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ที่สมเหตุสมผลมากเพียงพอ ดังเช่น การหลับหูหลับตาเชื่อตามมติของอรรถกถาจารย์ โดยที่มิได้เฉลียวใจเลยแม้สักนิดว่า บ่อยครั้งที่มติของอรรถกถาจารย์นั้นก็เป็นเพียงแค่การสันนิษฐานด้วยเหตุผลเชิงอัตวิสัย จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่อย่างจำกัดในขณะนั้น ซึ่งมติดังกล่าวอาจถูกต้องหรือผิดพลาด ก็มีความเป็นไปได้ด้วยกันทั้งสิ้น
จุดยืนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในกรณีการสวดพระปาฏิโมกข์ก็คือ ฝ่ายหนึ่งอาจเห็นว่าความถูกต้องจริงแท้ตามพุทธพจน์ในชั้นดั้งเดิม อย่างปราศจากการเจือปนของจารีตธรรมเนียมต่าง ๆ (แม้จะไม่ถึงกับผิดร้าย) ย่อมมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ในขณะที่อีกฝ่าย อาจเห็นว่าสังฆสามัคคีย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคณะสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสงฆ์ในสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งเต็มไปด้วย “ความเสื่อม” และปัญหาความฟอนเฟะเหลวแหลกนานัปการ แต่ประเด็นที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ ใครคือผู้ที่สามารถตัดสินความได้อย่างชัดแจ้งและปราศจากข้อกังขาว่า ฝ่ายใดถูกหรือว่าผิด ?
ซึ่งกรณีเช่นนี้ ก็มิได้ต่างไปจากการที่คณะสงฆ์ฝ่ายอื่นได้ใช้สิทธิ์ในการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย ตามที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตไว้ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยถ้าพิจารณาความข้อนี้อย่างเป็นธรรมแล้ว เราย่อมมิอาจกล่าวได้เลยว่า คณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ได้ทำสิ่งใดที่เกินเลยไปจากพุทธานุญาตซึ่งเป็นพุทธพจน์โดยตรงนั้นเลยแม้แต่น้อย เช่นนี้แล้ว ขอทวงถามเพื่อความดำรงอยู่ของสัจธรรมว่า เราจะกล่าวว่าเป็นความผิดร้ายได้อย่างไร ในเมื่อคณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ก็ได้ปฏิบัติตามพุทธานุญาตแล้วทุกประการ แม้ว่าการกระทำนั้นจะหมายถึง การเพิกถอนสิกขาบท(เล็กน้อย)ก็ตาม
แต่กรณีของการสวดปาฏิโมกข์นี้ กลับมีความแตกต่างไปจากการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยโดยสิ้นเชิง เพราะนี่ย่อมมิใช่การเพิกถอนสิกขาบท หากแต่เป็นเพียงแค่การพิจารณา(วินิจฉัย)พระปาฏิโมกข์ตามความเป็นจริงว่า มีอยู่ ๑๕๐ ถ้วน หรือว่า ๒๒๗ กันแน่(โดยอ้างพุทธพจน์) โดยแม้ว่าจะมีการวินิจฉัยว่าสิกขาบทเหล่าใดนั้นมิใช่พระปาฏิโมกข์เดิมแท้ แต่สิกขาบทเหล่านั้นก็มิได้มีการเพิกถอนออก ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของพระวินัยที่ต้องน้อมนำมาปฏิบัติตามเดิม เป็นแต่เพียงไม่นับว่าเป็นพระปาฏิโมกข์เท่านั้นเอง ซึ่งจุดยืนและวิธีการเข้าถึงข้อเท็จจริงของคนทั้ง ๒ ฝ่ายมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร กล่าวคือ
ฝ่ายหนึ่ง ใช้วิธีอ้างถึงความมีอยู่ของสิกขาบท ๒๒๗ ในพระไตรปิฎก โดยไม่ใส่ใจต่อความขัดกันของข้อความต่าง ๆ เหล่านั้น อีกทั้งยังไม่เผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีที่ ข้อความบางส่วนจากพระไตรปิฎกอาจไม่ใช่ของดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่เมื่อสมัยปฐมสังคายนา แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ยึดถือเอาการพิจารณาความจากพุทธพจน์ในหลาย ๆ ส่วนประมวลกันเข้าด้วยกัน ตามหลักของเหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งการพิจารณาในแบบนี้ แม้ว่าอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นความจริงแท้ได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อยู่บ้าง กล่าวคือ อาจเกิดความกระทบกระเทือนในแง่ของ “ความเชื่อ” ของผู้คนส่วนใหญ่ ตามธรรมเนียมการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งไม่สามารถแยกแยะความเชื่อ ออกจากสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลตามความเป็นจริงได้อย่างชัดแจ้งเด็ดขาด นั้นแล
05 พระปาฏิโมกข์ กับจุดยืนที่แตกต่าง
“สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔๖ ท่านจงฟัง สิกขาบทเหล่านั้นดังจะกล่าวต่อไป สังฆาทิเสส ๖ รวมทั้งอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘ นิสสัคคิยะ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุไม่ทั่วไปกับภิกษุณี รวม ๔๖ สิกขาบท” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก ปริวาร ข้อ ๑๐๒๗)
การที่ข้อความจากคัมภีร์ปริวารระบุว่า อนิยตะ ๒ และ ปาฏิเทสนียะ ๔ เป็นสิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนั้น กลับยิ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า คัมภีร์เล่มนี้เป็นการนำเอาข้อมูลจากมหาวิภังค์และภิกขุณีวิภังค์มาสรุปย่อ นั่นจึงหมายความว่า หากข้อความบางส่วนจากมหาวิภังค์ มีความผิดพลาด ก็จะมีผลทำให้ข้อสรุปในคัมภีร์ปริวาร ผิดพลาดตามไปด้วย ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การที่ปริวารสรุปออกมาว่า อนิยตะ ไม่สาธารณะกับภิกษุณี นั้นเกิดจากการนำข้อมูลจากวิภังค์ทั้ง ๒ มาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบเสียก่อนว่า อนิยตะ ไม่สาธารณะแก่ภิกษุณีด้วยเหตุผลอย่างไร โดยที่เหตุผลดังกล่าวจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้กับพระมหาปชาบดีโคตมี ตามความจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ นั้นด้วย
ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัททั้ง ๔ สมควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ แนวทางที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแสดงเอาไว้แก่ชนชาวกาลามะความว่า ไม่พึงปลงใจเชื่อเนื่องด้วยเหตุต่าง ๆ ๑๐ ประการ ดังเช่น ด้วยเหตุว่ามีอยู่ในคัมภีร์ อย่างนี้เป็นต้น หากแต่ควรพินิจพิจารณาโดยแยบคายในใจว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นกุศลหรืออกุศล เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าหากเห็นแจ้งแล้วว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นกุศลและประโยชน์ จึงค่อยรับเชื่อเอาไว้
แท้ที่จริงแล้ว กรณีการสวดพระปาฏิโมกข์ ๑๕๐ สิกขาบทนี้ จะว่าเป็นปัญหาหรือไม่(เป็นปัญหา) ก็ย่อมได้ทั้งนั้น เนื่องจากที่มา หรือต้นเหตุของข้อขัดแย้งในกรณีนี้ เกิดจากจุดยืน หรือมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องความบริสุทธิ์ของพระธรรมวินัยดั้งเดิมกับการบริหารคณะสงฆ์ เสียมากกว่าที่จะเป็นการ “จาบจ้วง” พระไตรปิฎก ดังที่ใครบางคนอาจพูดเกินไปกว่าความเป็นจริงอย่างไม่สมควร
และหากท่านทั้งหลายได้มีโอกาสพิจารณาความต่าง ๆ มาโดยลำดับ ก็ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การสวดพระปาฏิโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน ย่อมมีถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ชั้นดั้งเดิมมากกว่าการสวด ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นมติของพระเถระสมัยหลัง ดังที่ได้กล่าวอธิบายความไว้พอสมควรแล้วว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควรใด ๆ เลย ที่พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญแก่ เสขิยวัตร ซึ่งเป็นเรื่องของมารยาทสังคม ที่ย่อมต้องเนื่องกับ “กาลเทศะ” จนถึงขั้นกำหนดอย่างเด็ดขาดว่าจะต้องสวดทุกกึ่งเดือน ขอให้ท่านทั้งหลายจงไตร่ตรองดูให้ดีว่า สิกขาบทเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร ในกาลเทศะที่แตกต่างออกไปจากสมัยพุทธกาล ณ ชมพูทวีป
ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่พึงสำเหนียก
กรณีตัวอย่างจาก เสขิยวัตร ดังที่ระบุความเช่นว่า
“ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่นั่งอยู่”
โดยความหมายของเสขิยวัตรข้อนี้ก็คือ ภิกษุไม่ควรยืนแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่นที่นั่งอยู่(เว้นแต่เขาผู้นั้นกำลังป่วย) ซึ่งการที่พระพุทธองค์บัญญัติความข้อนี้ไว้ ก็เนื่องจากธรรมเนียมในชมพูทวีปสมัยนั้น ถือว่าการยืน หมายถึงการทำความเคารพ ฉะนั้น หากภิกษุยืนแสดงธรรมให้กับผู้อื่นในขณะที่เขานั่งอยู่ ชาวบ้านทั้งหลายเขาจะเข้าใจผิดไปว่า ภิกษุนั้นกำลังทำความเคารพผู้ที่นั่งฟังธรรม แต่ถามว่า ธรรมเนียมมารยาทสังคมตามที่กล่าวถึงนี้ สามารถแปลความและใช้ได้กับสังคมไทย ได้หรือไม่ ?
ทั้งนี้ เนื่องจากสังคมไทยมักเห็นว่าการยืน(ค้ำหัว) แสดงให้เห็นถึงความไม่เคารพ โดยการแสดงความเคารพในสังคมไทย จะต้องเป็นการนั่ง(คุกเข่า) หรือหมายถึง กิริยาการหมอบกราบนั้นต่างหาก ความหมายที่ต้องการจะสื่อไปถึงเพื่อการพิจารณาอย่างรอบคอบก็คือ เราย่อมมิอาจเชื่อได้ว่า สิกขาบทจำพวกมารยาทสังคม ที่ยังต้องขึ้นอยู่กับกาลเทศะในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ หรือยกขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์ไปได้เลย เว้นไว้เสียแต่ว่า เสขิยวัตรเหล่านี้ จะได้เกิดมีความสำคัญ(หรือจำเป็น)ขึ้นมา ในขณะที่คณะสงฆ์ในสมัยหลัง เริ่มมีความใกล้ชิดกับราชสำนักมากขึ้นในฐานะที่เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์อย่างสำคัญ ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุการณ์ในสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่บนเกาะลังกา และได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมราชสำนักในสมัยนั้นเสียมากกว่า และคงไม่ต่างไปจากที่คณะสงฆ์ไทย ที่ก็ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมราชสำนัก(สยาม)ไปมิใช่น้อยเช่นกัน นับแต่ยุคศักดินากึ่งทาสเป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้
ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้พิจารณาพุทธพจน์ ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ ความว่า
“ดูกรอานนท์บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา”
อันคำว่า “ธรรมและวินัย” ตามที่พระพุทธองค์ตรัสนี้ มิได้มีค่าเท่ากับพระไตรปิฎกอย่างเป็นเนื้อเดียวกันเสียเมื่อไร ซึ่งประเด็นมันมิได้อยู่ที่ว่า เราไม่เชื่อถือการ “มุขปาฐะ” โดยพระอรหันตเถระเมื่อครั้งปฐมสังคายนา หากแต่ควรเป็นว่า เราไม่อาจเชื่อถือ “ดุลพินิจ” ของพระเถระนับจากเมื่อครั้งจารึกพระธรรมวินัยลงเป็นตัวอักษรเป็นต้นมานั้นต่างหาก โดยแต่เดิมมานั้น มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า การท่องสวดพระธรรมวินัยในแบบมุขปาฐะ จะเป็นการสวดรวมกันทั้งในส่วนที่เป็นพุทธพจน์และปริปุจฉา โดยพึ่งจะมีการแยกออกจากกันในสมัยที่มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคณะสงฆ์ลังกาเมื่อราว พ.ศ. ๔๓๓
นั่นจึงหมายความว่า ความถูกต้องในการแยกแยะว่าข้อความส่วนใดเป็นพุทธพจน์ หรือส่วนใดเป็นอรรถกถา ย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและดุลพินิจของพระเถระผู้สังคายนาพระธรรมวินัยคณะนี้เท่านั้น(โดยอาจรวมไปถึงคณะสงฆ์เมื่อคราวฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้นด้วย) และยิ่งเมื่อได้พิจารณาถึงความเป็นไปทางการเมืองของเกาะลังกาแล้ว ก็จะพบว่าบ้านเมืองไม่ใคร่จะสงบสุขนัก เกิดศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา บ้างก็เป็นศึกจากภายนอก บ้างก็เกิดสงครามกลางเมืองอันเป็นศึกภายใน
ก็ด้วยสภาพบ้านเมืองที่สับสนวุ่นวายมาโดยตลอดดังกล่าวมานี้ จึงน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาพระพุทธศาสนาบางหมู่เหล่า เขาหลับหูหลับตาเชื่อเข้าไปได้อย่างไรว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษรที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ของเกาะลังกาอันสับสนวุ่นวายนั้น
มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า อิทธิพลของจารีตธรรมเนียมต่าง ๆ จากราชสำนัก อาจเข้ามาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ในช่วงยุคใดยุคหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ลังกานี่เอง ดังเช่น ธรรมเนียมการสวดเสขิยวัตรนั้น บางทีอาจเริ่มต้นด้วยการสวดต่อท้ายพระปาฏิโมกข์ดั้งเดิมที่มีอยู่ ๑๕๐ ถ้วน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นกับบรรดาเจ้านายในราชสำนักในฐานะที่เป็นผู้ให้ความอุปถัมภก์อย่างสำคัญในสมัยนั้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามยุคสมัยแห่งประวัติศาสตร์สังคม ทั้งนี้ ย่อมสันนิษฐานได้ว่า คณะสงฆ์(ลังกา?)ในยุคหลังอาจเข้าใจผิดว่า เสขิยวัตรที่เคยสวดต่อท้ายพระปาฏิโมกข์มาแต่เดิมนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของพระปาฏิโมกข์ด้วย จึงได้มีการเพิ่มเติมเสขิยวัตรทั้ง ๗๕ สิกขาบทเข้าไว้ในมหาวิภังค์ ในช่วงของการรวบรวมพระธรรมวินัยครั้งใดครั้งหนึ่งในสมัยหลังนี้เอง
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจมากนัก หากจะพบข้อความบางอย่างที่เชื่อถือกันสืบมาว่าเป็นพุทธพจน์ แต่กลับขัดแย้งกับข้อความในส่วนอื่นที่ถือว่าเป็นพุทธพจน์เช่นกัน ทั้งนี้ นั่นก็เป็นเพราะ บางทีเราอาจหลงลืมไปว่า การที่เราเข้าใจว่าข้อความบางข้อความเป็นพุทธพจน์ นั้นแท้ที่จริงแล้วเกิดจาก “ความเชื่อ” โดยไร้ซึ่งการตรวจสอบเทียบเคียงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ที่สมเหตุสมผลมากเพียงพอ ดังเช่น การหลับหูหลับตาเชื่อตามมติของอรรถกถาจารย์ โดยที่มิได้เฉลียวใจเลยแม้สักนิดว่า บ่อยครั้งที่มติของอรรถกถาจารย์นั้นก็เป็นเพียงแค่การสันนิษฐานด้วยเหตุผลเชิงอัตวิสัย จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่อย่างจำกัดในขณะนั้น ซึ่งมติดังกล่าวอาจถูกต้องหรือผิดพลาด ก็มีความเป็นไปได้ด้วยกันทั้งสิ้น
จุดยืนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในกรณีการสวดพระปาฏิโมกข์ก็คือ ฝ่ายหนึ่งอาจเห็นว่าความถูกต้องจริงแท้ตามพุทธพจน์ในชั้นดั้งเดิม อย่างปราศจากการเจือปนของจารีตธรรมเนียมต่าง ๆ (แม้จะไม่ถึงกับผิดร้าย) ย่อมมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ในขณะที่อีกฝ่าย อาจเห็นว่าสังฆสามัคคีย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคณะสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสงฆ์ในสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งเต็มไปด้วย “ความเสื่อม” และปัญหาความฟอนเฟะเหลวแหลกนานัปการ แต่ประเด็นที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ ใครคือผู้ที่สามารถตัดสินความได้อย่างชัดแจ้งและปราศจากข้อกังขาว่า ฝ่ายใดถูกหรือว่าผิด ?
ซึ่งกรณีเช่นนี้ ก็มิได้ต่างไปจากการที่คณะสงฆ์ฝ่ายอื่นได้ใช้สิทธิ์ในการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย ตามที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตไว้ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยถ้าพิจารณาความข้อนี้อย่างเป็นธรรมแล้ว เราย่อมมิอาจกล่าวได้เลยว่า คณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ได้ทำสิ่งใดที่เกินเลยไปจากพุทธานุญาตซึ่งเป็นพุทธพจน์โดยตรงนั้นเลยแม้แต่น้อย เช่นนี้แล้ว ขอทวงถามเพื่อความดำรงอยู่ของสัจธรรมว่า เราจะกล่าวว่าเป็นความผิดร้ายได้อย่างไร ในเมื่อคณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ก็ได้ปฏิบัติตามพุทธานุญาตแล้วทุกประการ แม้ว่าการกระทำนั้นจะหมายถึง การเพิกถอนสิกขาบท(เล็กน้อย)ก็ตาม
แต่กรณีของการสวดปาฏิโมกข์นี้ กลับมีความแตกต่างไปจากการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยโดยสิ้นเชิง เพราะนี่ย่อมมิใช่การเพิกถอนสิกขาบท หากแต่เป็นเพียงแค่การพิจารณา(วินิจฉัย)พระปาฏิโมกข์ตามความเป็นจริงว่า มีอยู่ ๑๕๐ ถ้วน หรือว่า ๒๒๗ กันแน่(โดยอ้างพุทธพจน์) โดยแม้ว่าจะมีการวินิจฉัยว่าสิกขาบทเหล่าใดนั้นมิใช่พระปาฏิโมกข์เดิมแท้ แต่สิกขาบทเหล่านั้นก็มิได้มีการเพิกถอนออก ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของพระวินัยที่ต้องน้อมนำมาปฏิบัติตามเดิม เป็นแต่เพียงไม่นับว่าเป็นพระปาฏิโมกข์เท่านั้นเอง ซึ่งจุดยืนและวิธีการเข้าถึงข้อเท็จจริงของคนทั้ง ๒ ฝ่ายมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร กล่าวคือ
ฝ่ายหนึ่ง ใช้วิธีอ้างถึงความมีอยู่ของสิกขาบท ๒๒๗ ในพระไตรปิฎก โดยไม่ใส่ใจต่อความขัดกันของข้อความต่าง ๆ เหล่านั้น อีกทั้งยังไม่เผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีที่ ข้อความบางส่วนจากพระไตรปิฎกอาจไม่ใช่ของดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่เมื่อสมัยปฐมสังคายนา แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ยึดถือเอาการพิจารณาความจากพุทธพจน์ในหลาย ๆ ส่วนประมวลกันเข้าด้วยกัน ตามหลักของเหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งการพิจารณาในแบบนี้ แม้ว่าอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นความจริงแท้ได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อยู่บ้าง กล่าวคือ อาจเกิดความกระทบกระเทือนในแง่ของ “ความเชื่อ” ของผู้คนส่วนใหญ่ ตามธรรมเนียมการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งไม่สามารถแยกแยะความเชื่อ ออกจากสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลตามความเป็นจริงได้อย่างชัดแจ้งเด็ดขาด นั้นแล