ที่จริงแล้ว ผมก็เกิดอาการ "สองจิตสองใจ" ขึ้นมาว่า .......... เราจำเป็นจะต้องเขียนกระทู้นี้ขึ้นมาหรือไม่ ?
เพราะถ้าพิจารณาในแง่ของความจำเป็น
มันก็ไม่มีความจำเป็นสักเท่าไร อีกทั้ง ช่วงนี้ กำลังยุ่ง เวลาของผม ก็มีอยู่ไม่มากนัก
หมายความว่า หากใครเขาจะคิด หรือ มีความเชื่อโง่ๆ ในทำนองว่า
ต้นไม้ สามารถออกลูกเป็นคนได้ เราก็ควรจะปล่อยเขาไป .......... จริงไหม ?
แต่ถ้าพิจารณาในประเด็นของการทำความจริงให้แจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหลักการ
ก็จำต้องถือว่า เรื่องนี้ มีนัยสำคัญอยู่บ้าง และสมควรที่จะยอมเสียเวลาสักเล็กน้อย
เพื่อแสดงข้อเท็จจริงบางประการ ให้ใครบางคน สามารถมองเห็นความผิดพลาดในการอ้างอิงแบบ "สะเพร่า" ของตน
******************************************************************************
ประเด็นแรกที่ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจให้ดีๆ ก็คือ โอปปาติกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนั่นหมายถึง พรหม
อรรถกถาจารย์ อธิบายความว่า หมายถึง การเกิดทางใจ นะครับ ดังนั้น โอปปาติก ที่ระบุว่า หมายถึง มนุษย์ต้นกัปป์นั้น
กรุณาฟังอีกครั้งหนึ่งว่า กรณีนั้น หมายถึง อาภัสสราพรหม ไม่ได้หมายถึง มนุษย์ !
ทีนี้ หากใครบางคนจะอ้างว่า เขาจำเป็นต้องอ้างอิงตามหลักฐานไปตามลำดับ โดยยึดหลักว่า
แสดงหลักฐานเท่าที่มีอยู่จริงก่อน ว่า พระไตรปิฎกมีหลักฐานอย่างนี้ๆ อรรถกถามีหลักฐานอย่างนี้ๆ
ส่วนประเด็นที่ว่า เราสมควรเชื่อตามหลักฐานเหล่านั้น หรือไม่ และ อย่างไร ย่อมเป็นอีกกรณีหนึ่ง
การแสดงความเห็นอย่างนี้ มันย่อมมิใช่ปัญหา
แต่ปัญหา มันอยู่ที่ว่า ที่อ้างกันมาว่าเป็นหลักฐานนั้น มันเป็นการอ้าง
ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่ว่า หลักฐานนั้นๆ ถูกต้อง จริงๆ
เช่นว่า ........
(๑) การอ้างว่า มนุษย์ ที่เป็นโอปปาติกะ คือ มนุษย์ต้นกัปป์
แต่เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานอย่างรอบคอบ กลับปรากฏว่า กรณีนั้น หมายถึง อาภัสสราพรหม ไม่ใช่มนุษย์
(๒) การอ้างว่า โปกขรสาติพราหมณ์ ผู้เกิดในดอกบัว เป็น โอปปาติกะ ก็เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง
เพราะหลักฐานจากอรรถกถา ระบุอย่างชัดเจนว่า การเกิดของโปกขรสาติพราหมณ์
เป็นการเกิดแบบ สังเสทชะ(เกิดจากเหงื่อไคล) มิใช่การเกิดแบบ โอปปาติก(ผุดเกิด)
ถามว่า สังเสทชะ กับ โอปปาติกะ แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบว่า สัตว์จำพวก โอปปาติก เกิดเป็นตัวเท่ากับคนอายุ ๑๖ ปีในทันทีที่เกิด
แต่ สัตว์จำพวกสังเสทชะ เกิดเป็นตัวอ่อนเล็กๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นไปตามลำดับ เช่นกรณีของ โปกขรสาติ
แต่ถ้าถามผม ก็เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผมเชื่อไม่ลง ด้วยเห็นว่า นั่นน่าจะเป็นข่าวลือ
ตามประสาคนด้อยการศึกษาในสมัยนั้นเสียมากกว่า แล้วอรรถกถาจารย์บางพวกบางกลุ่มก็ไปจดจำมาบันทึกไว้
ไม่ต่างไปจาก เอกสารจำพวก จดหมายเหตุ ที่จดตามความคิดความเชื่อเชิงอัตตวิสัย ซึ่งไม่แน่ว่า จะเป็นความจริงเสมอไป !
มิหนำซ้ำ ข้อความจากอรรถกถาในอีกแห่งหนึ่ง ได้ให้ข้อมูลที่ "ธรรมดา" แต่กลับมีความสมเหตุสมผลมากกว่า
ความว่า เหตุที่พราหมณ์นั้นได้ชื่อว่า โปกขรสาติ เป็นเพราะรูปร่างหน้าตาของเขา งามเหมือนดอกบัว !
สรุปความได้ว่า ข้อมูลในชั้นอรรถกถา ให้ความเห็นเป็น ๒ แนวทางว่า ที่พราหมณ์คนนี้ ได้ชื่อว่า โปกขรสาติ
(๑) เพราะเกิดมาจากดอกบัว (ซึ่งหมายถึง การเกิดแบบ สังเสทชะ ไม่ใช่ โอปปาติก)
(๒) เพราะรูปร่างหน้าตางามเหมือนดอกบัว
เราในฐานะที่เป็นชาวพุทธเถรวาทในสมัยนี้ ย่อมสมควรใช้ สติ และ ปัญญา ให้มากในการพิจารณาว่า
ข้อมูลและหลักฐานเหล่านั้น มีความถูกต้อง สมเหตุสมผล และ ความน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักฐานในชั้นเดียวกัน แต่ ขัด หรือ แย้ง กันแบบนี้ จักมีวิธีการนำเสนอที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด
หากแม้ใครบางคนอาจอ้างว่า จะต้องนำเสนอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน"
คำถาม ก็คือ คุณได้นำเสนออย่างครอบคลุม รอบด้าน และ ครบถ้วน แล้วหรือไม่ ?
เพราะถ้าหากเป็นเพียงแค่การนำเสนอในบางแง่มุมที่ตนต้องการ
ผมกลับเห็นว่า ........ อย่านำเสนอเสียเลย ยังจะดีกว่า !
จริงไหม ?
******************************************************************************
กรณีสุดท้าย น่าสนใจมากที่สุด !
เพราะผมเห็นว่า การอ้างว่า การเกิดของนางอัมพปาลี จัดเป็น โอปปาติกะ
ที่ไม่ได้หมายถึง การเกิดทางใจในชีวิตประจำวัน น่าจะเป็นการอ้างที่ผิดฝาผิดตัว เสียมากกว่า
ประการแรก ท่านทั้งหลาย ควรพิจารณาที่ "หลักฐาน" ให้รอบคอบเสียก่อนว่า ในประเด็นที่เกี่ยวกับ "ต้นมะม่วง" นั้น
(๑) หลักฐานในที่หนึ่งกล่าวอธิบายว่า เหตุที่นางได้ชื่อว่า อัมพปาลี เพราะเกิดที่ต้นมะม่วง
(๒) แต่หลักฐานในอีกแห่งหนึ่งกลับระบุว่า เพราะนางได้ซื้อที่ และได้ทำเป็นสวนมะม่วง จึงได้ชื่อว่า อัมพปาลี
ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณาด้วยสติปัญญาของท่านนั้นเองเถิดว่า ด้วยข้อมูลในชั้นอรรถกถา ซึ่งขัด หรือ แย้ง กันอยู่อย่างนี้
ข้อมูลใด สมควรกล่าวได้ว่า มีความสมเหตุสมผลมากกว่ากัน ระหว่าง .............
(๑) หญิงผู้นั้น ได้ชื่อว่า อัมพปาลี(ผู้ดูแลรักษาสวนมะม่วง) เพราะ เธอเกิดมาจากต้นมะม่วง
หรือ
(๒) หญิงผู้นั้น ได้ชื่อว่า อัมพปาลี(ผู้ดูแลรักษาสวนมะม่วง) เพราะ เธอเป็นเจ้าของสวนมะม่วง
ประเด็นที่ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างรอบคอบก็คือ ในเมื่อนายคนนี้ได้ "ตีฝีปาก" ในทำนองว่า
การที่เขาอ้างหลักฐานดังกล่าวนี้ เป็นเพียงการนำเสนอหลักฐานนั้น แท้ที่จริง มันเป็นการเสนอหลักฐาน
อย่างบริสุทธิ์ใจ และซื่อตรงต่อข้อเท็จจริง แล้วหรือไม่ ?
ประการแรก เขาได้นำเสนอหลักฐานอย่างรอบด้าน ครบถ้วน หรือเพียงแค่แสดงหลักฐานเพื่อสนับสนุนความเชื่องมงายของตนเท่านั้น
ประการต่อมา เขาได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเหล่านั้น ก่อนนำเสนอหรือไม่ เช่น
หลักฐานแสดงว่า โอปปาติก หมายถึง การเกิดทางใจ ของ อาภัสสราพรหม แต่เขากลับมาอ้างว่า หมายถึง มนุษย์ต้นกัปป์
หลักฐานแสดงว่า โปกขรสาติ เกิดแบบ สังเสทชะ แต่เขากลับยกมาแอบอ้างว่า เป็นการเกิดแบบโอปปาติก !
คำถาม ก็คือ นี่คือมาตรฐานในการนำเสนอหลักฐาน ของคนอย่างคุณหรือครับ ?
อ้างหลักฐานมั่วๆ แบบนี้แล้ว ยังมีน้ำหน้า มาพูดจายอกย้อน ตีฝีปากกับผมอีกหรือ ?
.
.
.
เรื่องยังไม่จบแค่นั้น
ในกรณีของ อัมพปาลีนั้น ยังมีประเด็นที่พึงพิจารณาอย่างรอบคอบ ดังต่อไปนี้ว่า
ที่อรรถกถาจารย์ อธิบายความอย่างเลื่อนเปื้อนว่า นางอัมพปาลีเกิดจากต้นมะม่วงแบบ โอปปาติก นั้น
ผมสันนิษฐานว่า อรรถกถาจารย์ น่าจะได้เค้าความมาจาก คัมภีร์อปทาน ที่ระบุข้อความเอาไว้ ดังนี้ว่า .......
"ดิฉัน เป็น อุปปาติกสัตว์ เกิดในระหว่างกิ่งต้นมะม่วง จึงมีชื่อว่า อัมพปาลี ตามนิมิตนั้น
ดิฉันมีประชาชนหลายพันโกฏิแห่ห้อมมาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นโอรสธิดาแห่งพระพุทธเจ้า
บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ฯลฯ"
ผมขออนุญาตสรุปความอย่างนี้ว่า หลักฐานสำคัญที่สุด ที่ระบุว่า นางอัมพปาลีเป็นโอปปาติก
ก็คือหลักฐานจาก พระไตรปิฎก คัมภีร์อปทาน นี้เอง แต่ปัญหา ก็คือ
เมื่อเราอ่านข้อความเหล่านี้แล้ว มีความเข้าใจ ว่าอย่างไร ต่างหาก !
ถ้าหากท่านทั้งหลาย ระลึกความได้ ก็ย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรียก อนาคามีบุคคล ว่า โอปปาติก
ดังนั้น เมื่อผมอ่านข้อความจาก อปทาน ในส่วนนี้ ผมกลับมีความเข้าใจว่า นางอัมพปาลี บรรลุอนาคามีผล ที่สวนมะม่วง
โดยที่ข้อความดังกล่าว มิได้สื่อความหมายให้เข้าใจแบบผิดๆ ไปว่า นางอัมพปาลีพึ่งจะเกิดเป็นมนุษย์ที่ต้นมะม่วงแบบผุดเกิด
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพิจารณาให้ดีด้วยว่า ข้อความจากพระไตรปิฎกซึ่งระบุว่า "เกิดในระหว่างกิ่งต้นมะม่วง"
คำว่า "เกิด" นี้มาจากพระบาลีคือ "ชาตา" ซึ่งในอันที่จริงแล้ว คำๆ นี้ ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องหมายถึง การเกิดเป็นมนุษย์
เพราะอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความว่า ชาตา(หรือ ชาโต) นี้อาจหมายถึงการเกิดครั้งที่ ๒ ได้แก่ การเกิดของพระอริยเจ้า ก็ได้
ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความจาก อปทาน ก็มีความสอดคล้องกันอย่างยิ่ง เนื่องจาก ปรากฏเนื้อความต่อมาว่า
หลังจากนางอัมพปาลี บรรลุอนาคามีผลแล้ว ก็เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นธิดาแห่งพระพุทธเจ้า !
ทั้งหมดนี้ ย่อมสามารถสรุปความได้ว่า เมื่อผม(จ้าวนครเมฆขาว) ได้พิจารณาข้อความจากคัมภีร์อปทาน อย่างรอบคอบด้วยสติ ฯ
ผมกลับมีความเข้าใจว่า นางอัมพปาลี ได้บรรลุอนาคามีผล ตรงต้นมะม่วงในสวนของนางเอง ซึ่งได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า
และเมื่อบรรลุอนาคามีผลแล้ว นางจึงได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา การเกิด(ชาตา)ของนางจึงหมายถึงการเกิดเป็นอริยเจ้า
โดยคำว่า โอปปาติก นี้หมายถึง อนาคามีบุคคล ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสใช้คำๆ นี้เรียก อนาคามีบุคคล ปรากฏหลักฐานมากมายในพระไตรปิฎก
และด้วยเหตุดังนี้ ผมจึงไม่เห็นว่ามีการเกิดแบบผุดเกิด ของมนุษย์ จากต้นมะม่วง
สมตามที่ชาวพุทธงมงายบางพวกกล่าวอ้างกันมานั้นเลยแม้แต่น้อย
ชัดเจนนะครับ
******************************************************************************
ขออนุญาต สรุปในสรุป อีกครั้ง ดังนี้ว่า การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
มีการเกิดแบบ โอปปาติก ในมนุษย์บางจำพวกนั้น ควรหมายถึง อนาคามีบุคคล
ส่วนการที่ชาวพุทธงมงายบางพวก เพียรพยายามจะให้มี มนุษย์เกิดจากต้นมะม่วง หรือ มนุษย์เกิดจากดอกบัว ให้ได้นั้น
ผมเห็นว่า เราจำต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของมันเอง เพราะเราคงช่วยอะไรเขาไม่ได้แล้วจริงๆ
สวัสดี
ต้นมะม่วงออกลูกเป็นคน(เชื่อกันเข้าไปได้อย่างไร?)
เพราะถ้าพิจารณาในแง่ของความจำเป็น
มันก็ไม่มีความจำเป็นสักเท่าไร อีกทั้ง ช่วงนี้ กำลังยุ่ง เวลาของผม ก็มีอยู่ไม่มากนัก
หมายความว่า หากใครเขาจะคิด หรือ มีความเชื่อโง่ๆ ในทำนองว่า
ต้นไม้ สามารถออกลูกเป็นคนได้ เราก็ควรจะปล่อยเขาไป .......... จริงไหม ?
แต่ถ้าพิจารณาในประเด็นของการทำความจริงให้แจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหลักการ
ก็จำต้องถือว่า เรื่องนี้ มีนัยสำคัญอยู่บ้าง และสมควรที่จะยอมเสียเวลาสักเล็กน้อย
เพื่อแสดงข้อเท็จจริงบางประการ ให้ใครบางคน สามารถมองเห็นความผิดพลาดในการอ้างอิงแบบ "สะเพร่า" ของตน
******************************************************************************
ประเด็นแรกที่ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจให้ดีๆ ก็คือ โอปปาติกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนั่นหมายถึง พรหม
อรรถกถาจารย์ อธิบายความว่า หมายถึง การเกิดทางใจ นะครับ ดังนั้น โอปปาติก ที่ระบุว่า หมายถึง มนุษย์ต้นกัปป์นั้น
กรุณาฟังอีกครั้งหนึ่งว่า กรณีนั้น หมายถึง อาภัสสราพรหม ไม่ได้หมายถึง มนุษย์ !
ทีนี้ หากใครบางคนจะอ้างว่า เขาจำเป็นต้องอ้างอิงตามหลักฐานไปตามลำดับ โดยยึดหลักว่า
แสดงหลักฐานเท่าที่มีอยู่จริงก่อน ว่า พระไตรปิฎกมีหลักฐานอย่างนี้ๆ อรรถกถามีหลักฐานอย่างนี้ๆ
ส่วนประเด็นที่ว่า เราสมควรเชื่อตามหลักฐานเหล่านั้น หรือไม่ และ อย่างไร ย่อมเป็นอีกกรณีหนึ่ง
การแสดงความเห็นอย่างนี้ มันย่อมมิใช่ปัญหา
แต่ปัญหา มันอยู่ที่ว่า ที่อ้างกันมาว่าเป็นหลักฐานนั้น มันเป็นการอ้าง
ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่ว่า หลักฐานนั้นๆ ถูกต้อง จริงๆ
เช่นว่า ........
(๑) การอ้างว่า มนุษย์ ที่เป็นโอปปาติกะ คือ มนุษย์ต้นกัปป์
แต่เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานอย่างรอบคอบ กลับปรากฏว่า กรณีนั้น หมายถึง อาภัสสราพรหม ไม่ใช่มนุษย์
(๒) การอ้างว่า โปกขรสาติพราหมณ์ ผู้เกิดในดอกบัว เป็น โอปปาติกะ ก็เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง
เพราะหลักฐานจากอรรถกถา ระบุอย่างชัดเจนว่า การเกิดของโปกขรสาติพราหมณ์
เป็นการเกิดแบบ สังเสทชะ(เกิดจากเหงื่อไคล) มิใช่การเกิดแบบ โอปปาติก(ผุดเกิด)
ถามว่า สังเสทชะ กับ โอปปาติกะ แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบว่า สัตว์จำพวก โอปปาติก เกิดเป็นตัวเท่ากับคนอายุ ๑๖ ปีในทันทีที่เกิด
แต่ สัตว์จำพวกสังเสทชะ เกิดเป็นตัวอ่อนเล็กๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นไปตามลำดับ เช่นกรณีของ โปกขรสาติ
แต่ถ้าถามผม ก็เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผมเชื่อไม่ลง ด้วยเห็นว่า นั่นน่าจะเป็นข่าวลือ
ตามประสาคนด้อยการศึกษาในสมัยนั้นเสียมากกว่า แล้วอรรถกถาจารย์บางพวกบางกลุ่มก็ไปจดจำมาบันทึกไว้
ไม่ต่างไปจาก เอกสารจำพวก จดหมายเหตุ ที่จดตามความคิดความเชื่อเชิงอัตตวิสัย ซึ่งไม่แน่ว่า จะเป็นความจริงเสมอไป !
มิหนำซ้ำ ข้อความจากอรรถกถาในอีกแห่งหนึ่ง ได้ให้ข้อมูลที่ "ธรรมดา" แต่กลับมีความสมเหตุสมผลมากกว่า
ความว่า เหตุที่พราหมณ์นั้นได้ชื่อว่า โปกขรสาติ เป็นเพราะรูปร่างหน้าตาของเขา งามเหมือนดอกบัว !
สรุปความได้ว่า ข้อมูลในชั้นอรรถกถา ให้ความเห็นเป็น ๒ แนวทางว่า ที่พราหมณ์คนนี้ ได้ชื่อว่า โปกขรสาติ
(๑) เพราะเกิดมาจากดอกบัว (ซึ่งหมายถึง การเกิดแบบ สังเสทชะ ไม่ใช่ โอปปาติก)
(๒) เพราะรูปร่างหน้าตางามเหมือนดอกบัว
เราในฐานะที่เป็นชาวพุทธเถรวาทในสมัยนี้ ย่อมสมควรใช้ สติ และ ปัญญา ให้มากในการพิจารณาว่า
ข้อมูลและหลักฐานเหล่านั้น มีความถูกต้อง สมเหตุสมผล และ ความน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักฐานในชั้นเดียวกัน แต่ ขัด หรือ แย้ง กันแบบนี้ จักมีวิธีการนำเสนอที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด
หากแม้ใครบางคนอาจอ้างว่า จะต้องนำเสนอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน"
คำถาม ก็คือ คุณได้นำเสนออย่างครอบคลุม รอบด้าน และ ครบถ้วน แล้วหรือไม่ ?
เพราะถ้าหากเป็นเพียงแค่การนำเสนอในบางแง่มุมที่ตนต้องการ
ผมกลับเห็นว่า ........ อย่านำเสนอเสียเลย ยังจะดีกว่า !
จริงไหม ?
******************************************************************************
กรณีสุดท้าย น่าสนใจมากที่สุด !
เพราะผมเห็นว่า การอ้างว่า การเกิดของนางอัมพปาลี จัดเป็น โอปปาติกะ
ที่ไม่ได้หมายถึง การเกิดทางใจในชีวิตประจำวัน น่าจะเป็นการอ้างที่ผิดฝาผิดตัว เสียมากกว่า
ประการแรก ท่านทั้งหลาย ควรพิจารณาที่ "หลักฐาน" ให้รอบคอบเสียก่อนว่า ในประเด็นที่เกี่ยวกับ "ต้นมะม่วง" นั้น
(๑) หลักฐานในที่หนึ่งกล่าวอธิบายว่า เหตุที่นางได้ชื่อว่า อัมพปาลี เพราะเกิดที่ต้นมะม่วง
(๒) แต่หลักฐานในอีกแห่งหนึ่งกลับระบุว่า เพราะนางได้ซื้อที่ และได้ทำเป็นสวนมะม่วง จึงได้ชื่อว่า อัมพปาลี
ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณาด้วยสติปัญญาของท่านนั้นเองเถิดว่า ด้วยข้อมูลในชั้นอรรถกถา ซึ่งขัด หรือ แย้ง กันอยู่อย่างนี้
ข้อมูลใด สมควรกล่าวได้ว่า มีความสมเหตุสมผลมากกว่ากัน ระหว่าง .............
(๑) หญิงผู้นั้น ได้ชื่อว่า อัมพปาลี(ผู้ดูแลรักษาสวนมะม่วง) เพราะ เธอเกิดมาจากต้นมะม่วง
หรือ
(๒) หญิงผู้นั้น ได้ชื่อว่า อัมพปาลี(ผู้ดูแลรักษาสวนมะม่วง) เพราะ เธอเป็นเจ้าของสวนมะม่วง
ประเด็นที่ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างรอบคอบก็คือ ในเมื่อนายคนนี้ได้ "ตีฝีปาก" ในทำนองว่า
การที่เขาอ้างหลักฐานดังกล่าวนี้ เป็นเพียงการนำเสนอหลักฐานนั้น แท้ที่จริง มันเป็นการเสนอหลักฐาน
อย่างบริสุทธิ์ใจ และซื่อตรงต่อข้อเท็จจริง แล้วหรือไม่ ?
ประการแรก เขาได้นำเสนอหลักฐานอย่างรอบด้าน ครบถ้วน หรือเพียงแค่แสดงหลักฐานเพื่อสนับสนุนความเชื่องมงายของตนเท่านั้น
ประการต่อมา เขาได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเหล่านั้น ก่อนนำเสนอหรือไม่ เช่น
หลักฐานแสดงว่า โอปปาติก หมายถึง การเกิดทางใจ ของ อาภัสสราพรหม แต่เขากลับมาอ้างว่า หมายถึง มนุษย์ต้นกัปป์
หลักฐานแสดงว่า โปกขรสาติ เกิดแบบ สังเสทชะ แต่เขากลับยกมาแอบอ้างว่า เป็นการเกิดแบบโอปปาติก !
คำถาม ก็คือ นี่คือมาตรฐานในการนำเสนอหลักฐาน ของคนอย่างคุณหรือครับ ?
อ้างหลักฐานมั่วๆ แบบนี้แล้ว ยังมีน้ำหน้า มาพูดจายอกย้อน ตีฝีปากกับผมอีกหรือ ?
.
.
.
เรื่องยังไม่จบแค่นั้น
ในกรณีของ อัมพปาลีนั้น ยังมีประเด็นที่พึงพิจารณาอย่างรอบคอบ ดังต่อไปนี้ว่า
ที่อรรถกถาจารย์ อธิบายความอย่างเลื่อนเปื้อนว่า นางอัมพปาลีเกิดจากต้นมะม่วงแบบ โอปปาติก นั้น
ผมสันนิษฐานว่า อรรถกถาจารย์ น่าจะได้เค้าความมาจาก คัมภีร์อปทาน ที่ระบุข้อความเอาไว้ ดังนี้ว่า .......
"ดิฉัน เป็น อุปปาติกสัตว์ เกิดในระหว่างกิ่งต้นมะม่วง จึงมีชื่อว่า อัมพปาลี ตามนิมิตนั้น
ดิฉันมีประชาชนหลายพันโกฏิแห่ห้อมมาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นโอรสธิดาแห่งพระพุทธเจ้า
บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ฯลฯ"
ผมขออนุญาตสรุปความอย่างนี้ว่า หลักฐานสำคัญที่สุด ที่ระบุว่า นางอัมพปาลีเป็นโอปปาติก
ก็คือหลักฐานจาก พระไตรปิฎก คัมภีร์อปทาน นี้เอง แต่ปัญหา ก็คือ
เมื่อเราอ่านข้อความเหล่านี้แล้ว มีความเข้าใจ ว่าอย่างไร ต่างหาก !
ถ้าหากท่านทั้งหลาย ระลึกความได้ ก็ย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรียก อนาคามีบุคคล ว่า โอปปาติก
ดังนั้น เมื่อผมอ่านข้อความจาก อปทาน ในส่วนนี้ ผมกลับมีความเข้าใจว่า นางอัมพปาลี บรรลุอนาคามีผล ที่สวนมะม่วง
โดยที่ข้อความดังกล่าว มิได้สื่อความหมายให้เข้าใจแบบผิดๆ ไปว่า นางอัมพปาลีพึ่งจะเกิดเป็นมนุษย์ที่ต้นมะม่วงแบบผุดเกิด
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพิจารณาให้ดีด้วยว่า ข้อความจากพระไตรปิฎกซึ่งระบุว่า "เกิดในระหว่างกิ่งต้นมะม่วง"
คำว่า "เกิด" นี้มาจากพระบาลีคือ "ชาตา" ซึ่งในอันที่จริงแล้ว คำๆ นี้ ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องหมายถึง การเกิดเป็นมนุษย์
เพราะอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความว่า ชาตา(หรือ ชาโต) นี้อาจหมายถึงการเกิดครั้งที่ ๒ ได้แก่ การเกิดของพระอริยเจ้า ก็ได้
ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความจาก อปทาน ก็มีความสอดคล้องกันอย่างยิ่ง เนื่องจาก ปรากฏเนื้อความต่อมาว่า
หลังจากนางอัมพปาลี บรรลุอนาคามีผลแล้ว ก็เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นธิดาแห่งพระพุทธเจ้า !
ทั้งหมดนี้ ย่อมสามารถสรุปความได้ว่า เมื่อผม(จ้าวนครเมฆขาว) ได้พิจารณาข้อความจากคัมภีร์อปทาน อย่างรอบคอบด้วยสติ ฯ
ผมกลับมีความเข้าใจว่า นางอัมพปาลี ได้บรรลุอนาคามีผล ตรงต้นมะม่วงในสวนของนางเอง ซึ่งได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า
และเมื่อบรรลุอนาคามีผลแล้ว นางจึงได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา การเกิด(ชาตา)ของนางจึงหมายถึงการเกิดเป็นอริยเจ้า
โดยคำว่า โอปปาติก นี้หมายถึง อนาคามีบุคคล ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสใช้คำๆ นี้เรียก อนาคามีบุคคล ปรากฏหลักฐานมากมายในพระไตรปิฎก
และด้วยเหตุดังนี้ ผมจึงไม่เห็นว่ามีการเกิดแบบผุดเกิด ของมนุษย์ จากต้นมะม่วง
สมตามที่ชาวพุทธงมงายบางพวกกล่าวอ้างกันมานั้นเลยแม้แต่น้อย
ชัดเจนนะครับ
******************************************************************************
ขออนุญาต สรุปในสรุป อีกครั้ง ดังนี้ว่า การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
มีการเกิดแบบ โอปปาติก ในมนุษย์บางจำพวกนั้น ควรหมายถึง อนาคามีบุคคล
ส่วนการที่ชาวพุทธงมงายบางพวก เพียรพยายามจะให้มี มนุษย์เกิดจากต้นมะม่วง หรือ มนุษย์เกิดจากดอกบัว ให้ได้นั้น
ผมเห็นว่า เราจำต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของมันเอง เพราะเราคงช่วยอะไรเขาไม่ได้แล้วจริงๆ
สวัสดี