ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเอือมระอา เป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเสวนากับคนที่ไม่สามารถพิจารณา หลักฐานข้อมูลต่างๆ
ให้ดำเนินไปตาม (๑) หลักแห่งเหตุผล (๒) เป็นลำดับอย่างสมเหตุสมผล และ (๓) ด้วยมาตรฐานที่สม่ำเสมอ อย่างถูกต้องชอบธรรม
กรณี โอปปาติก ย่อมมิได้รับการยกเว้น เช่นกัน !
ปัญหาที่สำคัญยิ่งในการพิจารณา กรณี โอปปาติก สำหรับชาวพุทธไทย ก็คือ คนเหล่านี้ มักพิจารณาด้วย
ทิฐิความเห็นผิด โดยเนื่องกับ ตัวตนของตน เห็นธรรมทั้งหลายอย่างเป็นสัตว์บุคคล อยู่ตลอดเวลา
ซ้ำร้าย มักเป็นการพิจารณาธรรม ด้วยพื้นฐานความเชื่อในเรื่อง ภพภูมิแบบผิดๆ เหมือนพวก อัญญเดียรถีย์
ในทำนองว่า ภพภูมิ เป็น สถานที่หนึ่งๆ ในเอกภพ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้ใน กาลอวกาศ
ดังปรากฏให้เห็นอยู่เสมอๆ แม้แต่ข้อความจาก พระคัมภีร์ฉบับแปลไทย ซึ่งส่อให้เห็นถึง
พื้นฐานความเข้าใจแบบผิดๆ ในเรื่องภพภูมิ ประหนึ่งว่า ภพภูมิ เป็นสถานที่หนึ่งๆ
ที่เหล่าสัตว์ "เดินทาง" ไปๆ มาๆ ไม่ต่างไปจาก การเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ นั้นแล !
************************************************************************************
ทั้งๆ ที่ผมได้กล่าวย้ำแล้วย้ำอีกว่า คำว่า โลกนั้น ภพนั้น พรหมโลก หรือ สุทธาวาส ฯลฯ ตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย
เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในพระบาลีพุทธพจน์ แต่เป็นการ "หักแปล" เอาเองของผู้แปล โดยอาศัยมติชั้นอรรถกถา เท่านั้น
แต่ปรากฏว่า ล็อกอิน วงกลม ก็มิได้นำพา ก็ยังอุตส่าห์ กล่าวแย้งผม
โดยอาศัยข้อความจาก พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย มาอ้างเหมือนเดิม
ถามว่า พฤติกรรมแบบนี้ น่าเอือมระอา ไหมครับ ?
ถ้าท่านทั้งหลายเห็นว่า พฤติกรรมแบบนี้ เป็นสิ่งดี ไม่น่าเอือมระอาแต่อย่างใดเลย ผมก็คงเห็นว่าแปลก
เนื่องจาก ตัวอย่างเทียบเคียง ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือ กรณี ๑๕๐ ถ้วน เพราะทั้งๆ ที่ฝ่ายวัดนาป่าพง
ก็พยายามยืนยัน ตามพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ซึ่งระบุตรงกันว่า "๑๕๐ ถ้วน" กลับถูกต่อต้านว่าร้าย
โดยอ้างว่า ข้อความนั้นเกิดจากการแปลผิด(จากคณะสงฆ์ ผู้เป็นบุรพาจารย์ ของนักบาลีในสมัยนี้เอง)
แต่พอถึงกรณี โอปปาติก กลับไม่มี "ปฏิกิริยา" ในลักษณะเดียวกัน คือ กลับไปตรวจสอบพระบาลีของแท้ว่า
พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร และ ผู้แปลไทย แปลตรงตามพระบาลีพุทธพจน์ หรือไม่ ?
แปลก ไหมครับ ?
ขออนุญาต กล่าวย้ำอีกครั้ง ดังนี้ว่า .................
(๑) ข้อความจากฉบับแปลไทย ที่ระบุในทำนองว่า จะปรินิพพานใน ๑) ที่นั้น ๒) ภพนั้น หรือ ๓) โลกนั้น
มาจากพระบาลีว่า "ตตฺถ ปรินิพพายี" ดังนั้น คำแปลที่ถูกต้องตามพระบาลีของเดิมมากที่สุด ก็คือ "จะปรินิพพานใน ที่นั้น"
ส่วนประเด็นที่ว่า "ที่นั้น" หมายถึงอะไร ? หมายถึง ที่ไหน ? นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาต่างหากออกไป นะครับ
(๒) ข้อความจากฉบับแปลไทย ที่ระบุในทำนองว่า "ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา" มาจากพระบาลีว่า "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา"
กรณีนี้ เป็นการ "หักแปล" เอาดื้อๆ โดยผู้แปลไทย ซึ่งอาศัย มติอรรถกถา อีกต่อหนึ่ง
โดยหากพิจารณาที่พระบาลีแท้ๆ จะได้ความว่า ........ ไม่หวนกลับ หรือ ไม่เวียนกลับ มาสู่ "โลกนี้" อีกเป็นธรรมดา !
ขอสรุปให้ฟังชัดๆ อีกครั้งว่า พระบาลีนี้ แปลว่า ............ "ไม่หวนกลับมาสู่โลกนี้อีก เป็นธรรมดา"
พระพุทธเจ้า ไม่ใด้ตรัสว่า .............. "ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา"
.
.
.
ตรัสว่า ........... จักไม่หวนกลับมา โลกนี้ อีก
ไม่ได้ตรัสว่า .......... จักไม่กลับมาจาก โลกนั้น อีก
.
.
.
ดังนั้น การที่ ล็อกอิน วงกลม พยายาม อ้างพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย แบบซ้ำซาก ไม่รู้จักคิด จึงเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ
ก็ผมเป็นคน ยกหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาแสดงเอง ดังนั้น ผมย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า หลักฐานเหล่านั้น ระบุข้อความเอาไว้ว่าอย่างไร
จึงไม่จำเป็นเลย ที่คุณหรือใครๆ จะต้องมาทำ ไฮไลท์เลอะๆ แล้วนำมาแสดงแบบย้ำคิดย้ำทำ อย่างนี้เลย
วิธีการพิจารณาธรรม และ แสดงหลักฐานในแบบของผม ก็เป็นไปตามแนวทางที่ท่านปยุตโต เคยกล่าวแนะนำเอาไว้คือ
มุ่งแสดงเพียงว่า หลักฐานต่างๆ มีว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ? อรรถกถาจารย์อธิบายอย่างไร ?
ทั้งหมดนี้ ผมย่อมนำขึ้นมาแสดงไว้ โดยไม่เคยใส่ใจว่า มันจะขัด หรือ แย้ง กับความเห็นส่วนตัวของผม หรือไม่ ?
จำเพาะ คัมภีร์ชั้นอรรถกถานั้น ท่านปยุตโต กล่าวว่า ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะเชื่อหรือไม่
แต่มันอยู่ที่ว่า หลักฐานกล่าวว่าอย่างไร มากกว่า ส่วนจะเชื่อหรือไม่ นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง
ซึ่งเป็นเรื่องของการแสดง "เหตุผล" หรือ หลักฐาน ที่น่าเชื่อถือมากกว่า มาประกอบ การโต้แย้งคัดค้าน
ส่วนพระไตรปิฎกนั้นเล่า ท่านปยุตโต กล่าวไว้ชัดเจนว่า หากมีข้อสงสัย ก็ให้ไปดูที่พระบาลีเดิมแท้
ในกรณี ที่เป็นข้อขัดแย้ง ดังกล่าวนี้ เราก็แค่ไปดูหลักฐานเดิมว่า พระบาลี ระบุเอาไว้อย่างไร ก็เพียงพอแล้ว
ซึ่งผม ก็ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ตามที่อ้างกันอยู่นี้ แปลไม่ถูก !
ที่กล่าวว่า แปลไม่ถูก ก็เพราะ ผู้แปลได้ "ฝืนแปล" หรือ "หักแปล" ตามความเข้าใจของผู้แปลเอง
โดยอาศัยมติชั้นอรรถกถา ซึ่งย่อมได้ คำแปล ที่ไม่สอดคล้องกับ พระบาลีเดิม แต่ไปสอดคล้องกับ มติอรรถกถาจารย์
สุดท้ายจึงกลายเป็นว่า ทั้งๆ ที่เหมือนอ่านพระไตรปิฎก แต่ที่จริงกำลังอ่านอรรถกถา อยู่ต่างหาก !
ท่านทั้งหลาย เข้าใจในสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ หรือไม่ ?
************************************************************************************
เมื่อพิจารณา พระบาลี "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา" จะได้ความว่า ........
ไม่หวนกลับ หรือ ไม่เวียนกลับ มาสู่ "โลกนี้" อีกเป็นธรรมดา !
สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไป ก็คือ คำว่า "โลกนี้" หมายถึงอะไร ?
ถ้าถาม ล็อกอิน วงกลม เขาก็คงอ้าง พจนานุกรม แล้วสรุปความว่า โลกา คำนี้แปลว่า เทวโลก หรือ พรหมโลก
โดยหมายถึง สุทธาวาส ตามความต้องการของเขาเอง ซึ่งได้ "ปักธง" เอาไว้ในใจ มาตั้งแต่แรกแล้ว
แม้ว่า พระบาลี และ อรรถกถา อีกแห่งหนึ่ง จะระบุว่า โลก ในกรณี อนาคามี หมายถึง กามธาตุ ก็ตาม
สำหรับคำว่า โลก จากพระบาลี "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา" นี้ ผมเห็นว่า ไม่ต้องมาถกเถียงอะไรให้ยุ่งยาก นะครับ
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า "กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า โลก ในวินัยของพระอริยเจ้า"
ดังนั้น ที่ตรัสว่า ไม่เวียนกลับ หรือ ไม่หวนกลับมาสู่โลกนี้อีก จึงหมายถึง การไม่เวียนกลับมาสู่ กามธาตุ กามโลก
กามภพ หรือ กามาวจร ฯ เพราะคำว่า "โลก" ในอริยวินัย คือ พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ย่อมหมายถึง "กาม"
ส่วนคำว่า โลก ในความหมายแบบชาวบ้าน หรือ พวกอัญญเดียรถีย์ จะหมายความว่าอย่างไรนั้น คงไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้
จริงไหมครับ ?
************************************************************************************
ถ้าจะสังเกตดูให้ดีๆ ท่านทั้งหลายจะพบว่า เหตุผล และ หลักฐาน ประการเดียว ที่ ล็อกอิน วงกลม ใช้ในการ โต้แย้งผม ก็คือ
ข้อความจาก พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ซึ่งระบุคำว่า ภพ หรือ โลก ซึ่งเป็นการ "หักแปล" ของผู้แปลไทย โดยอาศัย มติอรรถกถา
ตามความเข้าใจของตน ทั้งๆ ที่ไม่มี ถ้อยคำ หรือ ข้อความนั้นๆ อยู่เลยในพระบาลี ดังนั้น การโต้แย้งแบบนี้ จึงถือว่า ใช่ไม่ได้
นี่เป็น มาตรฐานการพิจารณาธรรม โดยอ้างอิงหลักฐาน ในแบบท่านปยุตโต (ซึ่งผม ก็ใช้หลักการแบบนี้อยู่เช่นกัน)
ล็อกอิน วงกลม อาจจะเห็นว่า หลักฐานเหล่านั้น ชัดเจนเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
หลักฐานจากพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงใดๆ เลย ต่างหาก !
ทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ผมพยายามอย่างยิ่ง ที่จะสื่อสารให้ คุณ และ ชาวพุทธทั้งหลาย เกิดความเข้าใจ
แต่ดูเหมือนว่า มันจะเป็นไปได้ยากเต็มที เพราะ ชาวพุทธสมัยนี้ มิได้มีพื้นฐาน ทางคุณธรรมจริยธรรม
หรือ มาตรฐานในความยุติธรรม ที่ดีพอ หรือ มากพอ เราจึงมักได้เห็น การพิจารณา ชี้ผิดชี้ถูก ผู้อื่น
ด้วยมาตรฐานที่มากกว่าหนึ่ง อยู่เสมอๆ เช่น บางกรณี ก็ไม่ยอมให้เขายึดถือพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย
โดยอ้างว่า แปลผิด แต่บางกรณี กลับจะยึดเอาฉบับแปลไทย โดยไม่ใส่ใจว่า มันแปลถูกหรือเปล่า (?)
เหตุที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ ถ้าคำแปลนั้นๆ มันสอดคล้องกับความเห็นของตน มันก็จะยึดเอาไว้
แต่ถ้าคำแปลในกรณีนั้นๆ ขัด หรือ แย้ง กับความเห็นของตน มันก็จะผลักออกไป ด้วยเหตุผลนาๆ ประการ ตามแต่จะอ้าง
ทั้งนี้ หากพิจารณาด้วยความเป็นธรรม จะเห็นได้ว่า เอาเข้าจริงแล้ว มันก็พอๆ กันทั้งนั้น
มิได้มีใคร วิเศษ หรือ ถูกต้อง มากไปกว่าผู้อื่นหรอก ปฏิกิริยา ต่อความชอบ หรือ ความชัง มีการแสดงออกมาพอๆ กัน
ส่วนประเด็นที่ว่า แปลผิด หรือ แปลถูกนั้น เอาเข้าจริง ก็เป็นการอ้าง อัตตโนมัติ ของผู้อื่นมาอีกที ทั้งนั้น
จะมีลักกี่คนที่อุทิศเวลาในการพิจารณาความต่างๆ อย่างลึกซึ้งกว้างขวาง เอาจริงเอาจัง และ อย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจาก อคติ
ที่ผมอธิบายความมาทั้งหมดนี้ ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะโน้มน้าวให้ใครเชื่อตาม
เป็นแต่เพียง มุ่งแสดง "ความเห็น" หรือ มติส่วนตน(อัตตโนมัติ) โดยอ้างอิงหลักฐานแท้ๆ ให้ได้ทราบ เท่านั้น
ท่านทั้งหลาย แค่เพียง "รับทราบ" ก็พอ
ไม่จำเป็นต้อง "เชื่อตาม" แต่อย่างใดทั้งสิ้น
แต่ถ้าหาก "รับทราบ" แล้วทำการ ตรวจสอบ หลักฐาน และพิจารณาเหตุผลต่างๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นั่นย่อมเป็นการดี
ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก ท่านสงสัยว่า พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย แปลถูกต้องหรือไม่ ? แปลสอดคล้องกลับพระบาลีพุทธพจน์ หรือไม่ ?
ท่านก็ลอง เอาคำว่า กาม = โลก ไปแทนที่ข้อความในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ดูสิ
ถ้าข้อความที่ได้ มีความหมายที่ถูกต้อง สอดคล้องกับพุทธธรรม ก็แสดงว่า เขาแปลมาดี แปลถูกต้อง
แต่ถ้าหากได้ผลในทางตรงข้าม นั่นย่อมแสดงว่า กระบวนการแปล มีปัญหา ต้องพิจารณาทำความเข้าใจอย่างระมัดระวัง
ในเมื่อ ล็อกอิน วงกลม อ้างว่า ข้อความจากพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ถูกต้อง และ ชัดเจน
จนสามารถยกมาโต้แย้งผมได้ นั่นย่อมหมายความว่า ความถูกต้องชัดเจนเช่นนั้น ต้องทนทานต่อการพิสูจน์ด้วย
.
.
.
พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ระบุข้อความว่า .........
"เธอย่อมเป็นโอปปาติก จะปรินิพพานใน (๑) ที่นั้น (๒) ภพนั้น (๓) โลกนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา"
เมื่อ แทนที่คำว่า โลก ด้วย (๑) กามธาตุ (๒) กามโลก (๓) กามภพ หรือ (๔) กามาวจร จะได้ความว่า .............
"เธอย่อมเป็นโอปปาติก จะปรินิพพานใน (๑) ที่นั้น (๒) ภพนั้น (๓) ( ๑ กามธาตุ ๒ กามโลก ๓ กามภพ หรือ ๔ กามาวจร)นั้น
มีอันไม่กลับมาจาก (๑) กามธาตุ (๒) กามโลก (๓) กามภพ หรือ (๔) กามาวจร นั้นเป็นธรรมดา"
.
.
.
กรุณา รับทราบ เอาไว้ว่า เหตุที่ความหมายของข้อความดังกล่าว "เลอะเทอะ" ได้มากขนาดนี้ เป็นเพราะ
ผู้แปล มิได้แปลไปตามพระบาลีตรงๆ แต่เป็นการ "หักแปล" ตามความเข้าใจของตนเอง ภายใต้อิทธพลของอรรถกถา
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ มีแต่จะผลักตนเอง(ผู้แปล) และ ผู้อื่น(หมายถึงผู้อ่าน) ออกห่างจากพระธรรมคำสอนแท้ๆ ไปทุกทีๆ
ที่จริงแล้ว เจตนาเดิม ต้องการ ตอบอธิบายเรียงไปตามลำดับข้อ ในคำโต้แย้งของ ล็อกอิน วงกลม นะครับ
แต่ถ้าทำเช่นนั้น เนื้อหาในกระทู้ ก็จะยาวเกินไป ไม่เหมาะสำหรับ คนสมัยนี้ ที่ชอบอ่านแบบ ผ่านๆ ไม่ละเอียดรอบคอบ
ดังนั้น เอาเฉพาะ เรื่องนี้ ประเด็นนี้ ให้ชัดเจน แจ่มแจ้ง เสียก่อน น่าจะดีกว่า นะครับ
ส่วนประเด็นอื่นๆ เอาไว้ตอบอธิบายกันในภายหลัง ก็แล้วกัน
สวัสดี
เรื่องของ (๑) โลกนั้น หรือ (๒) ที่นั้น หรือ (๓) ภพนั้น ที่ไม่มีอยู่จริงในพระบาลี !
ให้ดำเนินไปตาม (๑) หลักแห่งเหตุผล (๒) เป็นลำดับอย่างสมเหตุสมผล และ (๓) ด้วยมาตรฐานที่สม่ำเสมอ อย่างถูกต้องชอบธรรม
กรณี โอปปาติก ย่อมมิได้รับการยกเว้น เช่นกัน !
ปัญหาที่สำคัญยิ่งในการพิจารณา กรณี โอปปาติก สำหรับชาวพุทธไทย ก็คือ คนเหล่านี้ มักพิจารณาด้วย
ทิฐิความเห็นผิด โดยเนื่องกับ ตัวตนของตน เห็นธรรมทั้งหลายอย่างเป็นสัตว์บุคคล อยู่ตลอดเวลา
ซ้ำร้าย มักเป็นการพิจารณาธรรม ด้วยพื้นฐานความเชื่อในเรื่อง ภพภูมิแบบผิดๆ เหมือนพวก อัญญเดียรถีย์
ในทำนองว่า ภพภูมิ เป็น สถานที่หนึ่งๆ ในเอกภพ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้ใน กาลอวกาศ
ดังปรากฏให้เห็นอยู่เสมอๆ แม้แต่ข้อความจาก พระคัมภีร์ฉบับแปลไทย ซึ่งส่อให้เห็นถึง
พื้นฐานความเข้าใจแบบผิดๆ ในเรื่องภพภูมิ ประหนึ่งว่า ภพภูมิ เป็นสถานที่หนึ่งๆ
ที่เหล่าสัตว์ "เดินทาง" ไปๆ มาๆ ไม่ต่างไปจาก การเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ นั้นแล !
************************************************************************************
ทั้งๆ ที่ผมได้กล่าวย้ำแล้วย้ำอีกว่า คำว่า โลกนั้น ภพนั้น พรหมโลก หรือ สุทธาวาส ฯลฯ ตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย
เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในพระบาลีพุทธพจน์ แต่เป็นการ "หักแปล" เอาเองของผู้แปล โดยอาศัยมติชั้นอรรถกถา เท่านั้น
แต่ปรากฏว่า ล็อกอิน วงกลม ก็มิได้นำพา ก็ยังอุตส่าห์ กล่าวแย้งผม
โดยอาศัยข้อความจาก พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย มาอ้างเหมือนเดิม
ถามว่า พฤติกรรมแบบนี้ น่าเอือมระอา ไหมครับ ?
ถ้าท่านทั้งหลายเห็นว่า พฤติกรรมแบบนี้ เป็นสิ่งดี ไม่น่าเอือมระอาแต่อย่างใดเลย ผมก็คงเห็นว่าแปลก
เนื่องจาก ตัวอย่างเทียบเคียง ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือ กรณี ๑๕๐ ถ้วน เพราะทั้งๆ ที่ฝ่ายวัดนาป่าพง
ก็พยายามยืนยัน ตามพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ซึ่งระบุตรงกันว่า "๑๕๐ ถ้วน" กลับถูกต่อต้านว่าร้าย
โดยอ้างว่า ข้อความนั้นเกิดจากการแปลผิด(จากคณะสงฆ์ ผู้เป็นบุรพาจารย์ ของนักบาลีในสมัยนี้เอง)
แต่พอถึงกรณี โอปปาติก กลับไม่มี "ปฏิกิริยา" ในลักษณะเดียวกัน คือ กลับไปตรวจสอบพระบาลีของแท้ว่า
พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร และ ผู้แปลไทย แปลตรงตามพระบาลีพุทธพจน์ หรือไม่ ?
แปลก ไหมครับ ?
ขออนุญาต กล่าวย้ำอีกครั้ง ดังนี้ว่า .................
(๑) ข้อความจากฉบับแปลไทย ที่ระบุในทำนองว่า จะปรินิพพานใน ๑) ที่นั้น ๒) ภพนั้น หรือ ๓) โลกนั้น
มาจากพระบาลีว่า "ตตฺถ ปรินิพพายี" ดังนั้น คำแปลที่ถูกต้องตามพระบาลีของเดิมมากที่สุด ก็คือ "จะปรินิพพานใน ที่นั้น"
ส่วนประเด็นที่ว่า "ที่นั้น" หมายถึงอะไร ? หมายถึง ที่ไหน ? นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาต่างหากออกไป นะครับ
(๒) ข้อความจากฉบับแปลไทย ที่ระบุในทำนองว่า "ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา" มาจากพระบาลีว่า "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา"
กรณีนี้ เป็นการ "หักแปล" เอาดื้อๆ โดยผู้แปลไทย ซึ่งอาศัย มติอรรถกถา อีกต่อหนึ่ง
โดยหากพิจารณาที่พระบาลีแท้ๆ จะได้ความว่า ........ ไม่หวนกลับ หรือ ไม่เวียนกลับ มาสู่ "โลกนี้" อีกเป็นธรรมดา !
ขอสรุปให้ฟังชัดๆ อีกครั้งว่า พระบาลีนี้ แปลว่า ............ "ไม่หวนกลับมาสู่โลกนี้อีก เป็นธรรมดา"
พระพุทธเจ้า ไม่ใด้ตรัสว่า .............. "ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา"
.
.
.
ตรัสว่า ........... จักไม่หวนกลับมา โลกนี้ อีก
ไม่ได้ตรัสว่า .......... จักไม่กลับมาจาก โลกนั้น อีก
.
.
.
ดังนั้น การที่ ล็อกอิน วงกลม พยายาม อ้างพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย แบบซ้ำซาก ไม่รู้จักคิด จึงเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ
ก็ผมเป็นคน ยกหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาแสดงเอง ดังนั้น ผมย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า หลักฐานเหล่านั้น ระบุข้อความเอาไว้ว่าอย่างไร
จึงไม่จำเป็นเลย ที่คุณหรือใครๆ จะต้องมาทำ ไฮไลท์เลอะๆ แล้วนำมาแสดงแบบย้ำคิดย้ำทำ อย่างนี้เลย
วิธีการพิจารณาธรรม และ แสดงหลักฐานในแบบของผม ก็เป็นไปตามแนวทางที่ท่านปยุตโต เคยกล่าวแนะนำเอาไว้คือ
มุ่งแสดงเพียงว่า หลักฐานต่างๆ มีว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ? อรรถกถาจารย์อธิบายอย่างไร ?
ทั้งหมดนี้ ผมย่อมนำขึ้นมาแสดงไว้ โดยไม่เคยใส่ใจว่า มันจะขัด หรือ แย้ง กับความเห็นส่วนตัวของผม หรือไม่ ?
จำเพาะ คัมภีร์ชั้นอรรถกถานั้น ท่านปยุตโต กล่าวว่า ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะเชื่อหรือไม่
แต่มันอยู่ที่ว่า หลักฐานกล่าวว่าอย่างไร มากกว่า ส่วนจะเชื่อหรือไม่ นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง
ซึ่งเป็นเรื่องของการแสดง "เหตุผล" หรือ หลักฐาน ที่น่าเชื่อถือมากกว่า มาประกอบ การโต้แย้งคัดค้าน
ส่วนพระไตรปิฎกนั้นเล่า ท่านปยุตโต กล่าวไว้ชัดเจนว่า หากมีข้อสงสัย ก็ให้ไปดูที่พระบาลีเดิมแท้
ในกรณี ที่เป็นข้อขัดแย้ง ดังกล่าวนี้ เราก็แค่ไปดูหลักฐานเดิมว่า พระบาลี ระบุเอาไว้อย่างไร ก็เพียงพอแล้ว
ซึ่งผม ก็ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ตามที่อ้างกันอยู่นี้ แปลไม่ถูก !
ที่กล่าวว่า แปลไม่ถูก ก็เพราะ ผู้แปลได้ "ฝืนแปล" หรือ "หักแปล" ตามความเข้าใจของผู้แปลเอง
โดยอาศัยมติชั้นอรรถกถา ซึ่งย่อมได้ คำแปล ที่ไม่สอดคล้องกับ พระบาลีเดิม แต่ไปสอดคล้องกับ มติอรรถกถาจารย์
สุดท้ายจึงกลายเป็นว่า ทั้งๆ ที่เหมือนอ่านพระไตรปิฎก แต่ที่จริงกำลังอ่านอรรถกถา อยู่ต่างหาก !
ท่านทั้งหลาย เข้าใจในสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ หรือไม่ ?
************************************************************************************
เมื่อพิจารณา พระบาลี "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา" จะได้ความว่า ........
ไม่หวนกลับ หรือ ไม่เวียนกลับ มาสู่ "โลกนี้" อีกเป็นธรรมดา !
สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไป ก็คือ คำว่า "โลกนี้" หมายถึงอะไร ?
ถ้าถาม ล็อกอิน วงกลม เขาก็คงอ้าง พจนานุกรม แล้วสรุปความว่า โลกา คำนี้แปลว่า เทวโลก หรือ พรหมโลก
โดยหมายถึง สุทธาวาส ตามความต้องการของเขาเอง ซึ่งได้ "ปักธง" เอาไว้ในใจ มาตั้งแต่แรกแล้ว
แม้ว่า พระบาลี และ อรรถกถา อีกแห่งหนึ่ง จะระบุว่า โลก ในกรณี อนาคามี หมายถึง กามธาตุ ก็ตาม
สำหรับคำว่า โลก จากพระบาลี "อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา" นี้ ผมเห็นว่า ไม่ต้องมาถกเถียงอะไรให้ยุ่งยาก นะครับ
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า "กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า โลก ในวินัยของพระอริยเจ้า"
ดังนั้น ที่ตรัสว่า ไม่เวียนกลับ หรือ ไม่หวนกลับมาสู่โลกนี้อีก จึงหมายถึง การไม่เวียนกลับมาสู่ กามธาตุ กามโลก
กามภพ หรือ กามาวจร ฯ เพราะคำว่า "โลก" ในอริยวินัย คือ พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ย่อมหมายถึง "กาม"
ส่วนคำว่า โลก ในความหมายแบบชาวบ้าน หรือ พวกอัญญเดียรถีย์ จะหมายความว่าอย่างไรนั้น คงไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้
จริงไหมครับ ?
************************************************************************************
ถ้าจะสังเกตดูให้ดีๆ ท่านทั้งหลายจะพบว่า เหตุผล และ หลักฐาน ประการเดียว ที่ ล็อกอิน วงกลม ใช้ในการ โต้แย้งผม ก็คือ
ข้อความจาก พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ซึ่งระบุคำว่า ภพ หรือ โลก ซึ่งเป็นการ "หักแปล" ของผู้แปลไทย โดยอาศัย มติอรรถกถา
ตามความเข้าใจของตน ทั้งๆ ที่ไม่มี ถ้อยคำ หรือ ข้อความนั้นๆ อยู่เลยในพระบาลี ดังนั้น การโต้แย้งแบบนี้ จึงถือว่า ใช่ไม่ได้
นี่เป็น มาตรฐานการพิจารณาธรรม โดยอ้างอิงหลักฐาน ในแบบท่านปยุตโต (ซึ่งผม ก็ใช้หลักการแบบนี้อยู่เช่นกัน)
ล็อกอิน วงกลม อาจจะเห็นว่า หลักฐานเหล่านั้น ชัดเจนเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
หลักฐานจากพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงใดๆ เลย ต่างหาก !
ทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ผมพยายามอย่างยิ่ง ที่จะสื่อสารให้ คุณ และ ชาวพุทธทั้งหลาย เกิดความเข้าใจ
แต่ดูเหมือนว่า มันจะเป็นไปได้ยากเต็มที เพราะ ชาวพุทธสมัยนี้ มิได้มีพื้นฐาน ทางคุณธรรมจริยธรรม
หรือ มาตรฐานในความยุติธรรม ที่ดีพอ หรือ มากพอ เราจึงมักได้เห็น การพิจารณา ชี้ผิดชี้ถูก ผู้อื่น
ด้วยมาตรฐานที่มากกว่าหนึ่ง อยู่เสมอๆ เช่น บางกรณี ก็ไม่ยอมให้เขายึดถือพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย
โดยอ้างว่า แปลผิด แต่บางกรณี กลับจะยึดเอาฉบับแปลไทย โดยไม่ใส่ใจว่า มันแปลถูกหรือเปล่า (?)
เหตุที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ ถ้าคำแปลนั้นๆ มันสอดคล้องกับความเห็นของตน มันก็จะยึดเอาไว้
แต่ถ้าคำแปลในกรณีนั้นๆ ขัด หรือ แย้ง กับความเห็นของตน มันก็จะผลักออกไป ด้วยเหตุผลนาๆ ประการ ตามแต่จะอ้าง
ทั้งนี้ หากพิจารณาด้วยความเป็นธรรม จะเห็นได้ว่า เอาเข้าจริงแล้ว มันก็พอๆ กันทั้งนั้น
มิได้มีใคร วิเศษ หรือ ถูกต้อง มากไปกว่าผู้อื่นหรอก ปฏิกิริยา ต่อความชอบ หรือ ความชัง มีการแสดงออกมาพอๆ กัน
ส่วนประเด็นที่ว่า แปลผิด หรือ แปลถูกนั้น เอาเข้าจริง ก็เป็นการอ้าง อัตตโนมัติ ของผู้อื่นมาอีกที ทั้งนั้น
จะมีลักกี่คนที่อุทิศเวลาในการพิจารณาความต่างๆ อย่างลึกซึ้งกว้างขวาง เอาจริงเอาจัง และ อย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจาก อคติ
ที่ผมอธิบายความมาทั้งหมดนี้ ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะโน้มน้าวให้ใครเชื่อตาม
เป็นแต่เพียง มุ่งแสดง "ความเห็น" หรือ มติส่วนตน(อัตตโนมัติ) โดยอ้างอิงหลักฐานแท้ๆ ให้ได้ทราบ เท่านั้น
ท่านทั้งหลาย แค่เพียง "รับทราบ" ก็พอ
ไม่จำเป็นต้อง "เชื่อตาม" แต่อย่างใดทั้งสิ้น
แต่ถ้าหาก "รับทราบ" แล้วทำการ ตรวจสอบ หลักฐาน และพิจารณาเหตุผลต่างๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นั่นย่อมเป็นการดี
ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก ท่านสงสัยว่า พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย แปลถูกต้องหรือไม่ ? แปลสอดคล้องกลับพระบาลีพุทธพจน์ หรือไม่ ?
ท่านก็ลอง เอาคำว่า กาม = โลก ไปแทนที่ข้อความในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ดูสิ
ถ้าข้อความที่ได้ มีความหมายที่ถูกต้อง สอดคล้องกับพุทธธรรม ก็แสดงว่า เขาแปลมาดี แปลถูกต้อง
แต่ถ้าหากได้ผลในทางตรงข้าม นั่นย่อมแสดงว่า กระบวนการแปล มีปัญหา ต้องพิจารณาทำความเข้าใจอย่างระมัดระวัง
ในเมื่อ ล็อกอิน วงกลม อ้างว่า ข้อความจากพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ถูกต้อง และ ชัดเจน
จนสามารถยกมาโต้แย้งผมได้ นั่นย่อมหมายความว่า ความถูกต้องชัดเจนเช่นนั้น ต้องทนทานต่อการพิสูจน์ด้วย
.
.
.
พระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ระบุข้อความว่า .........
"เธอย่อมเป็นโอปปาติก จะปรินิพพานใน (๑) ที่นั้น (๒) ภพนั้น (๓) โลกนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้น เป็นธรรมดา"
เมื่อ แทนที่คำว่า โลก ด้วย (๑) กามธาตุ (๒) กามโลก (๓) กามภพ หรือ (๔) กามาวจร จะได้ความว่า .............
"เธอย่อมเป็นโอปปาติก จะปรินิพพานใน (๑) ที่นั้น (๒) ภพนั้น (๓) ( ๑ กามธาตุ ๒ กามโลก ๓ กามภพ หรือ ๔ กามาวจร)นั้น
มีอันไม่กลับมาจาก (๑) กามธาตุ (๒) กามโลก (๓) กามภพ หรือ (๔) กามาวจร นั้นเป็นธรรมดา"
.
.
.
กรุณา รับทราบ เอาไว้ว่า เหตุที่ความหมายของข้อความดังกล่าว "เลอะเทอะ" ได้มากขนาดนี้ เป็นเพราะ
ผู้แปล มิได้แปลไปตามพระบาลีตรงๆ แต่เป็นการ "หักแปล" ตามความเข้าใจของตนเอง ภายใต้อิทธพลของอรรถกถา
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ มีแต่จะผลักตนเอง(ผู้แปล) และ ผู้อื่น(หมายถึงผู้อ่าน) ออกห่างจากพระธรรมคำสอนแท้ๆ ไปทุกทีๆ
ที่จริงแล้ว เจตนาเดิม ต้องการ ตอบอธิบายเรียงไปตามลำดับข้อ ในคำโต้แย้งของ ล็อกอิน วงกลม นะครับ
แต่ถ้าทำเช่นนั้น เนื้อหาในกระทู้ ก็จะยาวเกินไป ไม่เหมาะสำหรับ คนสมัยนี้ ที่ชอบอ่านแบบ ผ่านๆ ไม่ละเอียดรอบคอบ
ดังนั้น เอาเฉพาะ เรื่องนี้ ประเด็นนี้ ให้ชัดเจน แจ่มแจ้ง เสียก่อน น่าจะดีกว่า นะครับ
ส่วนประเด็นอื่นๆ เอาไว้ตอบอธิบายกันในภายหลัง ก็แล้วกัน
สวัสดี