สกิเทว กับพระคึกฤทธิ์ มหากาพย์รอบใหม่ ยังไม่จบ !!!
ความน่ารังเกียจของเรื่องนี้ที่สังคมรับไม่ได้ มิใช่อยู่ที่พระคึกฤทธิ์อธิบายผิด แปลผิด เพราะใครก็ผิดกันได้
แต่อยู่ที่ตนผิดแล้วดันไปใส่ความว่าเขาแปลผิดกันทั่วประเทศ อุปมาเหมือนสุนัขยกขาฉี่ใส่ล้อรถ ฉะนั้น
พระคึกฤทธิ์ อธิบายเรื่อง สกิเทว ยืนยันว่าแปลว่าเทวดาคราวเดียว โดยไหลรายวัน
แจงสาวกผู้มีสุตตะน้อยด้วยการยกหลักฐานเรื่อง "อิสิทัตตะ" ในมิคสาลาสูตร เล่มที่ ๒๒ ขึ้นแสดง
แล้วกล่าวหา "ไอ้หนอน" ว่า มันไม่รู้จักพระสูตรนี้
พระสูตรนี้ มิคสาลาอุบาสิกา เกิดความสงสัยว่า
บิดาตนและอิสิทัตตะ ประพฤติพรหมจรรย์ต่างกัน
เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงพยากรณ์ว่าเป็นพระสกทาคามีเข้าถึง (ไปเกิดอยู่) บนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นเดียวกัน
และมิใช่เพียงแค่พระสูตรนี้ที่ท่านคึกฤทธิ์ยกขึ้นอ้างเพียงพระสูตรเดียวดอกท่าน
แม้แต่เรื่องลูกสาวของท่านอานาถบิณฑิกะเศรษฐี นามว่านางสุมนาเทวี
ซึ่งบรรลุพระสกทาคามีก่อนตายลง
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามีไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นกัน (สาวกท่านคึกฤทธิ์เคยได้ยินเรื่องนี้หรือไม่)
เจอคำว่า สวรรค์ชั้นดุสิต เลยชี้ขาดว่า เทว ต้องแปลว่าเทวดาเท่านั้น แปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้
อิมํ โลกํ แปลว่า โลกเทวดา
รวมต้องแปลว่า เทวดาคราวเดียว
แล้วท่านก็ยกพระสูตรขึ้นอรรถกถาขยายความตามปัญญาตน
(เหยียดหยามอรรถกถาเพราะอยากจะอรรถกถา สร้างวาทะกรรมคำแต่งใหม่ของตนเอง)
"บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล
งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านทำกาละแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
(แต่)ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต"
รวมถึงตั้งคำถามๆ แก่ชาวปริยัติว่า
ถ้าสกิเทวไม่ได้แปลว่าเทวดาคราวเดียว
พระสกทาคามีเกิดอีกเพียงครั้งเดียว หากไม่ได้เกิดในเทวโลก หาก "อิมํ โลกํ" ไม่ได้หมายถึงโลกของเทวดาแล้ว
พระสกทาคามีจะต่างกับพระโสดาบันเอกพีชีอย่างไร
(ดูเป็นคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลมาก และน่าทึ่งมากสำหรับผู้ใหม่ในสุตตะ แบบอ่านพระสูตรเพียงไม่กี่ปี)
ท่านคึกฤทธิ์เอาอะไรมาเหมารวมว่า พระสกทาคามีต้องไปเกิดในเทวโลกเท่านั้น
เพราะพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคมิได้พยากรณ์ว่าพระสกทาคามีไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดเลยก็มี
เช่นใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เรื่อง "สุทัตตะอุบาสก"
"ดูกรอานนท์
ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป"
"อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง
มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้
อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว
เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า."
พระสกทาคามี เมื่อไปเสวยบุญในเทวโลกแล้ว
พระสูตรไหนคือเครื่องยืนยันว่าพระสกทาคามีจะไม่กลับมายังโลกนี้ (โลกมนุษย์อีก) จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ?
(กรุณาอย่าเอาไปมั่วกับเทวดาฟังธรรมแล้วบรรลุอรหันต์ปรินิพพาน)
พระสกทาคามีต่างกับพระอนาคามี
ผู้ซึ่งพระศาสดายืนยันว่าจะปรินิพพานในพรหมโลก อย่างไร ?
แค่พระคึกฤทธิ์ตั้งคำถามว่า
พระสกทาคามีต่างจากโสดาบันเอกพีชีอย่างไรเพื่อหาความชอบธรรมให้เทวดาคราวเดียวของตน
ก็ผิดตั้งแต่การตั้งคำถามแล้ว
เอาพระสูตรไปศึกษากันอีกทีนะคะ
"เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
(ตัวอย่าง คำว่า
จักปรินิพพานในภพนั้น คือคุณสมบัติของพระอนาคามี)
ดังนั้น ถ้าสาวกพระคึกฤทธิ์จะทราบว่าพระคึกฤทธิ์รู้จริงหรือแค่มั่วนิ่ม
จงศึกษาตามประเด็นและพระสูตรเหล่านี้ดูเถิดจะเข้าใจ
สรุป สกิเทว แปลว่า เทวดาคราวเดียว
ตามที่พระคึกฤทธิ์แปลนั้น ผิดทั้งไวยากรณ์บาลี ผิดทั้งอรรถด้วยการพิสูจน์หลักฐานชั้นพุทธวจนะ
เมื่อศึกษาแล้วจะปักใจเชื่อการอธิบายผิดๆ เพี้ยนๆ ของพระคึกฤทธิ์อีก ก็ตามสบาย
หรือจะขี้เกียจศึกษา แต่ขอเชื่ออย่างคนไร้ปัญญาก็ตามอัธยาศัย
"ความโง่ ถ้าสมัครใจ ไม่ว่าใครก็บังคับไม่ได้"
ทีมา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10203409969922338&id=1604870167
"ความโง่ ถ้าสมัครใจ ไม่ว่าใครก็บังคับไม่ได้"
ความน่ารังเกียจของเรื่องนี้ที่สังคมรับไม่ได้ มิใช่อยู่ที่พระคึกฤทธิ์อธิบายผิด แปลผิด เพราะใครก็ผิดกันได้
แต่อยู่ที่ตนผิดแล้วดันไปใส่ความว่าเขาแปลผิดกันทั่วประเทศ อุปมาเหมือนสุนัขยกขาฉี่ใส่ล้อรถ ฉะนั้น
พระคึกฤทธิ์ อธิบายเรื่อง สกิเทว ยืนยันว่าแปลว่าเทวดาคราวเดียว โดยไหลรายวัน
แจงสาวกผู้มีสุตตะน้อยด้วยการยกหลักฐานเรื่อง "อิสิทัตตะ" ในมิคสาลาสูตร เล่มที่ ๒๒ ขึ้นแสดง
แล้วกล่าวหา "ไอ้หนอน" ว่า มันไม่รู้จักพระสูตรนี้
พระสูตรนี้ มิคสาลาอุบาสิกา เกิดความสงสัยว่า
บิดาตนและอิสิทัตตะ ประพฤติพรหมจรรย์ต่างกัน
เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงพยากรณ์ว่าเป็นพระสกทาคามีเข้าถึง (ไปเกิดอยู่) บนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นเดียวกัน
และมิใช่เพียงแค่พระสูตรนี้ที่ท่านคึกฤทธิ์ยกขึ้นอ้างเพียงพระสูตรเดียวดอกท่าน
แม้แต่เรื่องลูกสาวของท่านอานาถบิณฑิกะเศรษฐี นามว่านางสุมนาเทวี
ซึ่งบรรลุพระสกทาคามีก่อนตายลง
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามีไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นกัน (สาวกท่านคึกฤทธิ์เคยได้ยินเรื่องนี้หรือไม่)
เจอคำว่า สวรรค์ชั้นดุสิต เลยชี้ขาดว่า เทว ต้องแปลว่าเทวดาเท่านั้น แปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้
อิมํ โลกํ แปลว่า โลกเทวดา
รวมต้องแปลว่า เทวดาคราวเดียว
แล้วท่านก็ยกพระสูตรขึ้นอรรถกถาขยายความตามปัญญาตน
(เหยียดหยามอรรถกถาเพราะอยากจะอรรถกถา สร้างวาทะกรรมคำแต่งใหม่ของตนเอง)
"บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล
งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านทำกาละแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
(แต่)ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต"
รวมถึงตั้งคำถามๆ แก่ชาวปริยัติว่า
ถ้าสกิเทวไม่ได้แปลว่าเทวดาคราวเดียว
พระสกทาคามีเกิดอีกเพียงครั้งเดียว หากไม่ได้เกิดในเทวโลก หาก "อิมํ โลกํ" ไม่ได้หมายถึงโลกของเทวดาแล้ว
พระสกทาคามีจะต่างกับพระโสดาบันเอกพีชีอย่างไร
(ดูเป็นคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลมาก และน่าทึ่งมากสำหรับผู้ใหม่ในสุตตะ แบบอ่านพระสูตรเพียงไม่กี่ปี)
ท่านคึกฤทธิ์เอาอะไรมาเหมารวมว่า พระสกทาคามีต้องไปเกิดในเทวโลกเท่านั้น
เพราะพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคมิได้พยากรณ์ว่าพระสกทาคามีไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดเลยก็มี
เช่นใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เรื่อง "สุทัตตะอุบาสก"
"ดูกรอานนท์
ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป"
"อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง
มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้
อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว
เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า."
พระสกทาคามี เมื่อไปเสวยบุญในเทวโลกแล้ว
พระสูตรไหนคือเครื่องยืนยันว่าพระสกทาคามีจะไม่กลับมายังโลกนี้ (โลกมนุษย์อีก) จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ?
(กรุณาอย่าเอาไปมั่วกับเทวดาฟังธรรมแล้วบรรลุอรหันต์ปรินิพพาน)
พระสกทาคามีต่างกับพระอนาคามี
ผู้ซึ่งพระศาสดายืนยันว่าจะปรินิพพานในพรหมโลก อย่างไร ?
แค่พระคึกฤทธิ์ตั้งคำถามว่า
พระสกทาคามีต่างจากโสดาบันเอกพีชีอย่างไรเพื่อหาความชอบธรรมให้เทวดาคราวเดียวของตน
ก็ผิดตั้งแต่การตั้งคำถามแล้ว
เอาพระสูตรไปศึกษากันอีกทีนะคะ
"เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
(ตัวอย่าง คำว่า จักปรินิพพานในภพนั้น คือคุณสมบัติของพระอนาคามี)
ดังนั้น ถ้าสาวกพระคึกฤทธิ์จะทราบว่าพระคึกฤทธิ์รู้จริงหรือแค่มั่วนิ่ม
จงศึกษาตามประเด็นและพระสูตรเหล่านี้ดูเถิดจะเข้าใจ
สรุป สกิเทว แปลว่า เทวดาคราวเดียว
ตามที่พระคึกฤทธิ์แปลนั้น ผิดทั้งไวยากรณ์บาลี ผิดทั้งอรรถด้วยการพิสูจน์หลักฐานชั้นพุทธวจนะ
เมื่อศึกษาแล้วจะปักใจเชื่อการอธิบายผิดๆ เพี้ยนๆ ของพระคึกฤทธิ์อีก ก็ตามสบาย
หรือจะขี้เกียจศึกษา แต่ขอเชื่ออย่างคนไร้ปัญญาก็ตามอัธยาศัย
"ความโง่ ถ้าสมัครใจ ไม่ว่าใครก็บังคับไม่ได้"
ทีมา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10203409969922338&id=1604870167