ได้ยินคนเขาคุยกันเรื่องการบูชาพระภูมิเจ้าที่
ก็มานั่งคิดว่า นี่เรากำลังพูดถึงเทวดา การบูชาเทวดา
ก็เลยลองพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาดู
ภัตตสูตร โทษแห่งการหุงต้มอาหารเวลาสาย ทำให้ไม่สามารถบูชาเทวดาได้ตามเวลา
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=22&A=6094
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
[๘๔] บัณฑิตยชาติสำเร็จการอยู่ในประเทศใด ย่อมเชื้อเชิญท่านผู้มีศีล ผู้สำรวมแล้วประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริโภคในประเทศนั้น ได้อุทิศทักษิณาทานให้แก่เทวดาที่มีอยู่ ณ ที่นั้น เทวดาเหล่านั้นได้รับบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบเขา
ได้รับความนับถือแล้ว ย่อมนับถือตอบเขา แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์เขา เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรซึ่งเกิดแต่อกฉะนั้น
บุรุษผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=10&item=84&items=1&preline=0&pagebreak=0
กุมารลิจฉวีสูตร ธรรม ๕ ประการที่สร้างความเจริญ ๑ ในนั้นคือ
กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เทวดาผู้รับพลีกรรม ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน
สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า
ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=1742
นันทนสูตรที่ ๔ เทวดาบูชาใคร
[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลใด มีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่นยินดีในฌาน มีสติ
เขาปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาด มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่าเป็นผู้มีปัญญา
บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=15&A=1648
เรื่องเล่าเทวดานำคนที่พากันเอาของบูชาไปเผาไฟเพื่อบูชาพระพรหมไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วถามว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ท่านผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง
ประกอบด้วยปัญญาและศีลเมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่
กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก ฯ
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7511&Z=7524
การบูชาบุคคลที่ทรงความดีก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เมื่อเขาตายไปแล้วเป็นเทวดา เราควรจะเลิกบูชาหรือ...?
การบูชาพ่อแม่ ก็ไม่ได้ทำให้เราขาดจากไตรสรณคมน์ การบูชาเทวดาจะทำให้เราขาดหรือ...?
และเมื่อเราสามารถช่วยเหลือใครได้ เราย่อมช่วยเหลือ แม้ว่าเราจะเป็นเทวดาก็ตาม
แต่สุดท้ายแล้ว กฎแห่งกรรมก็จะเข้ามามีบทบาทเสมอทุกช่วงชีวิต
แม้เราจะยื่นเงินให้เขาไปแล้ว ถ้ากรรมเข้ามาแทรกได้ เขาก็ทำหายอยู่ดี
เรื่องราวสมัยพุทธกาลมีเทวดามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ทั้งท้าวสักกะทั้งสหัมบดีพรหม
เราคบหากันอย่างกัลยาณมิตร ไม่ได้นับถือแบบเจ้านายลูกน้อง หรือเป็นพระเจ้ากำหนดชีวิต
ถ้าเราดีพอ เทวดาก็บูชาเรา
ที่สำคัญ เทวดาและพรหมที่เป็นพระอริยเจ้ามีเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
จะไม่บูชาเหรอ...?
เรื่องการบูชาเทวา ในพระพุทธศาสนา
ก็มานั่งคิดว่า นี่เรากำลังพูดถึงเทวดา การบูชาเทวดา
ก็เลยลองพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาดู
ภัตตสูตร โทษแห่งการหุงต้มอาหารเวลาสาย ทำให้ไม่สามารถบูชาเทวดาได้ตามเวลา
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=22&A=6094
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
[๘๔] บัณฑิตยชาติสำเร็จการอยู่ในประเทศใด ย่อมเชื้อเชิญท่านผู้มีศีล ผู้สำรวมแล้วประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริโภคในประเทศนั้น ได้อุทิศทักษิณาทานให้แก่เทวดาที่มีอยู่ ณ ที่นั้น เทวดาเหล่านั้นได้รับบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบเขา
ได้รับความนับถือแล้ว ย่อมนับถือตอบเขา แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์เขา เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรซึ่งเกิดแต่อกฉะนั้น
บุรุษผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=10&item=84&items=1&preline=0&pagebreak=0
กุมารลิจฉวีสูตร ธรรม ๕ ประการที่สร้างความเจริญ ๑ ในนั้นคือ
กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เทวดาผู้รับพลีกรรม ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน
สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า
ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=1742
นันทนสูตรที่ ๔ เทวดาบูชาใคร
[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลใด มีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่นยินดีในฌาน มีสติ
เขาปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาด มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่าเป็นผู้มีปัญญา
บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=15&A=1648
เรื่องเล่าเทวดานำคนที่พากันเอาของบูชาไปเผาไฟเพื่อบูชาพระพรหมไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วถามว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ท่านผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง
ประกอบด้วยปัญญาและศีลเมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่
กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก ฯ
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7511&Z=7524
การบูชาบุคคลที่ทรงความดีก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เมื่อเขาตายไปแล้วเป็นเทวดา เราควรจะเลิกบูชาหรือ...?
การบูชาพ่อแม่ ก็ไม่ได้ทำให้เราขาดจากไตรสรณคมน์ การบูชาเทวดาจะทำให้เราขาดหรือ...?
และเมื่อเราสามารถช่วยเหลือใครได้ เราย่อมช่วยเหลือ แม้ว่าเราจะเป็นเทวดาก็ตาม
แต่สุดท้ายแล้ว กฎแห่งกรรมก็จะเข้ามามีบทบาทเสมอทุกช่วงชีวิต
แม้เราจะยื่นเงินให้เขาไปแล้ว ถ้ากรรมเข้ามาแทรกได้ เขาก็ทำหายอยู่ดี
เรื่องราวสมัยพุทธกาลมีเทวดามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ทั้งท้าวสักกะทั้งสหัมบดีพรหม
เราคบหากันอย่างกัลยาณมิตร ไม่ได้นับถือแบบเจ้านายลูกน้อง หรือเป็นพระเจ้ากำหนดชีวิต
ถ้าเราดีพอ เทวดาก็บูชาเรา
ที่สำคัญ เทวดาและพรหมที่เป็นพระอริยเจ้ามีเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
จะไม่บูชาเหรอ...?