คดีนี้ สำหรับปอ กับ โรเบิร์ต ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดไปแล้ว ในคดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
อัจฉริยะ ไปยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด ต้องการให้รื้อคดีใหม่ แก้ไขคำฟ้อง โดยอ้างว่ามีหลักฐานใหม่
แต่อัยการสูงสุด ไม่รับรื้อฟื้นคดีใหม่ให้
ถามนักกฎหมาย/ทนายความ ว่า คดีแตงโม มันมีกฎหมายอะไร มาตราอะไร (รบกวนช่วยบอกชื่อกฎหมายและมาตราของกฎหมายให้ชัดเจน) ที่จะให้อำนาจอัยการ หรือผู้เสียหาย (แม่แตงโม) ที่จะรื้อฟื้นคดีอาญา เพื่อเอาผิดกับ ปอ+โรเบิร์ต ในความผิดที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว
*****************************
ปล. มี พรบ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ที่จะสามารถรื้อฟื้นคดีอาญาได้ ถ้ามีพยานหลักฐานใหม่ หรือพยานหลักฐานเดิมเป็นพยานเท็จ เป็นต้น
แต่ว่า ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้อง ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษในคดีนั้น หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษ หรือบุพการีหรือผู้สืบสันดาน ของจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษ เพื่อทวงความยุติธรรมให้แก่จำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม
รวมถึง พนักงานอัยการ ก็มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ด้วย แต่ที่สำคัญ พนักงานอัยการจะต้องไม่ได้เป็นโจทก์ในคดีเดิม
แต่กฎหมายรื้อฟื้นคดีใหม่นี้ ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่เป็นราษฎรหรือผู้เสียหายที่เป็นราษฎร ที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีอาญาใหม่ได้
ถามนักกฎหมาย/ทนายความ ว่า คดีแตงโม จะใช้กฎหมายอะไร มาตราอะไร มารื้อฟื้นคดีอาญาตามที่อัจริยะต้องการ?
อัจฉริยะ ไปยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด ต้องการให้รื้อคดีใหม่ แก้ไขคำฟ้อง โดยอ้างว่ามีหลักฐานใหม่
แต่อัยการสูงสุด ไม่รับรื้อฟื้นคดีใหม่ให้
ถามนักกฎหมาย/ทนายความ ว่า คดีแตงโม มันมีกฎหมายอะไร มาตราอะไร (รบกวนช่วยบอกชื่อกฎหมายและมาตราของกฎหมายให้ชัดเจน) ที่จะให้อำนาจอัยการ หรือผู้เสียหาย (แม่แตงโม) ที่จะรื้อฟื้นคดีอาญา เพื่อเอาผิดกับ ปอ+โรเบิร์ต ในความผิดที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว
*****************************
ปล. มี พรบ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ที่จะสามารถรื้อฟื้นคดีอาญาได้ ถ้ามีพยานหลักฐานใหม่ หรือพยานหลักฐานเดิมเป็นพยานเท็จ เป็นต้น
แต่ว่า ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้อง ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษในคดีนั้น หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษ หรือบุพการีหรือผู้สืบสันดาน ของจำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษ เพื่อทวงความยุติธรรมให้แก่จำเลยที่ถูกตัดสินลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม
รวมถึง พนักงานอัยการ ก็มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ด้วย แต่ที่สำคัญ พนักงานอัยการจะต้องไม่ได้เป็นโจทก์ในคดีเดิม
แต่กฎหมายรื้อฟื้นคดีใหม่นี้ ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่เป็นราษฎรหรือผู้เสียหายที่เป็นราษฎร ที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีอาญาใหม่ได้