สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆทุกคน
วันนี้กลับมาพบกับพาพันแสนซนคนหล่ออีกเหมือนเคยครับ
หลังจากที่กระทู้ที่แล้ว พาพันได้เอาความรู้จากวิชา “Scrap Design” เรื่อง
“สังคมคาร์บอนต่ำ” มาเล่าให้พี่ๆ ได้ฟัง หลังจากเสร็จคลาสวันนั้น พาพันถึงได้รู้ว่าโลกเราตอนนี้สภาพแย่ขนาดไหน ดังนั้น พวกเราต้องช่วยกันรักษาโลกใบนี้นะครับ เอาแบบง่ายๆ แค่เริ่มจาก 3Rs: Reduce Reuse Recycle ที่เราได้หาวกันบ่อยๆ นี่ละครับ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ยากพวกเราทำได้แน่ๆ ครับ
ว่าแต่ว่า...เพื่อนๆ พี่ๆ ยังจำกระทู้ที่
“Midterm review” ได้มั้ยครับ ที่เป็นกระทู้การนำเสนอผลงานและกระบวนการศึกษาเศษวัสดุของพี่ๆ นักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงครึ่งแรกของการศึกษามาเล่าให้พี่ๆ ฟัง และวันนี้พาพันจะมาอัพเดทผลงานของพี่ๆ นักศึกษาให้พี่ๆ ชาวพันทิป ได้เห็นพัฒนาการและทิศทางของผลงานแต่ละชิ้นครับ
พาพันขอคั่นแป๊ปนึงครับ ขออัพเดทผลงานก่อน ใครที่พลาดกระทู้ไหนในซีรี่ย์ “Scrap Design” นี้ ตามอ่านได้เลยครับ
Scrap Design the Series 1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series 2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series 3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series 4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design
Scrap Design the Series 5 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
ก่อนที่จะไปชมผลงาน วันนี้อาจารย์สิงห์มีผลงานชิ้นใหม่มาให้ชมก่อนครับ
พาพันขออุบไว้ก่อนว่ามันคืออะไร อยากให้พี่ๆ เห็นชิ้นงานแล้วลองทายดูครับว่ามันคืออะไร
อะไรเอ่ย แผ่นบางๆ สีน้ำตาล ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
.
..
...
....
ถ้าพี่ๆ จะบอกว่ามันคือกระดาษ พาพันขอตอบว่า....... ถูกต้องนะคร้าบ
แต่พาพันขอถามต่อว่า กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากอะไร ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
.
..
...
...
อ่ะ... พาพันขอเฉลยครับ กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากเห็ดครับ ...
พี่ๆ อ่านไม่ผิดหรอกครับ กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากเห็ดครับผม ถ้าใครได้เห็นจะจับของจริงจะต้องบอกว่ามัน เจ๋งมาก มันมาจากการคัดน้ำเห็ดที่มีขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต นั้นหละครับ อาจารย์ก็เลยหาวิธีการใช้เจ้าเห็ดเหลือๆ พวกนี้มาสร้างประโยชน์ เป็นวัสดุใช้งานใหม่ๆ
รูปนี้ พาพันลองเอากระดาษเห็ดไปส่องไฟดูครับ ลวดลายสวยมาก ๆ
อาจารย์บอกว่าความพิเศษของกระดาษเห็ดคือ มันคล้ายกระดาษแก้ว (Shine) ปกติไม่ค่อยมีกระดาษไหนที่เป็นแบบนี้ ว้าว….
ตื่นเต้นไปกับกระดาษเห็ดของอาจารย์สิงห์แล้ว มาดูการพัฒนาผลงานของพี่ๆ กันครับ ว่าจะน่าตื่นเต้นขนาดไหน พาพันขอเริ่มที่วัสดุเปลือกปูของพี่ปรกชลครับ
จากตอน Midterm review พี่ปรกชลได้รับคำแนะนำให้นำเปลือกปูมาผสมกับงานเซรามิคและพัฒนาเปลือกปูเป็นน้ำเคลือบเซรามิคครับ วันนี้พี่ปรกชลเลยเอาชิ้นงานที่ผสมระหว่างเซรามิคกับเปลือกปูมาให้ดูครับ โดยใช้อัตราส่วนน้ำดิน 100 กรัม ผสมกับเปลือกปูตั้งแต่ 10-90 กรัม แล้วอบที่อุณหภูมิ 1200 องศาครับ แต่ละอัตราส่วนแสดงผลตามรูปนี้ครับ
จากการศึกษา พบว่า ต่อให้บดเปลือกปูให้ละเอียด แต่เปลือกปูก็ยังปะทุออกมาระหว่างการอบครับ และสูตรที่ผสมเปลือกปู 60 กรัม จะได้ชิ้นงานที่หลอมเป็นเนื้อเดียวกันและมีผิวที่มันวาว สวยทีเดียวครับ แต่พอเพิ่มเปลือกปูเป็น 70 กรัม ชิ้งงานที่ออกมาจะเริ่มแตกครับ และพอเพิ่มเป็น 80 กรัม ชิ้นงานแตกละเอียดเลยครับ
และพอทดลองอีกหนึ่งรอบ โดยใช้สูตรเปลือกปู 20 กรัม และ 60 กรัมครับ ผลออกมาเหมือนครั้งแรก คือชิ้นที่ผสม 20 กรัมสามารถขึ้นรูปได้และมีเศษเปลือกปูประทุออกมา ส่วนเปลือกปู 60 กรัม หลอมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำดิน ไม่สามารถขึ้นรูปได้ และมีผิวที่มันวาว ซึ่งอาจารย์สิงห์แนะนำให้ลองขึ้นรูปสูตรเปลือกปู 20 กรัมและ 10 กรัมให้เป็นงานชิ้นใหญ่ดูอีกครั้งครับ
ส่วนการพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิค พี่ปรกชลนำผงเปลือกปูผสมกับน้ำเคลือบแล้วเอาไปอบครับ ชิ้นแรกที่เห็นอบที่อุณหภูมิ 1040 องศาครับ ส่วนรูปที่สองเพิ่มอุณหภูมิไปที่ 1200 องศาครับ ไม่น่าเชื่อนะครับว่าเพิ่มอุณหภูมิเพียง 160 องศา งานจะออกมาต่างกันขนาดนี้ ชิ้นแรกผงเปลือกปูยังไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ชิ้นที่สองกลับเปลี่ยนเป็นน้ำเคลือบสีฟ้าใส ซึ่งสีฟ้าที่เห็นนั้นเป็นผลลัพธ์ของเปลือกปูครับ น่าสนใจมากจริงๆ และทิศทางในอนาคตของชิ้นงานเปลือกปูก็คือ จะต้องหาสูตรเซรามิคเปลือกปู แล้วลองทำน้ำเคลือบจากเปลือกปูไปเคลือบครับ สุดยอดไปเลย.......
ต่อมา มาดูงานของพี่Nicolas กันครับ จาก Midterm Review ที่นำสายน้ำเกลือไปทำเป็นพนักพิงเก้าอี้ วันนี้พี่นิโคลัสลองเอาสายน้ำเลือมาทำโคมไฟครับ เค้าชอบสายน้ำเกลือจริงๆ
หน้าตาน่าสนใจนะครับ ใช้วิธียึดสายน้ำเกลือเข้าด้วยกันที่เท่มากครับ แต่ด้วยความที่เป็นหลอดโปร่งแสง พอเปิดไฟเลยดูจ้าไปหน่อย แต่งานชิ้นนี้มีความยืดหยุ่นครับ คือเราสามารถรวบสายทั้งหมดให้ลู่ไปกับหลอดไฟได้เลย ซึ่งทั้งอาจารย์สิงห์และอาจารย์รุ่งชอบความยืดหยุ่นของชิ้นงานนี้ครับ แต่อาจารย์อยากจะให้พี่Nicolas ทำการศึกษาสายน้ำเกลือมากกว่านี้
อาจารย์สิงห์และพี่ๆ นักศึกษาคนอื่นอยากให้พี่Nicolas ลองทำอะไรสนุกๆ เพิ่ม เช่น เพิ่มสีเข้าไป หรือเอาสีใส่ไปในสายน้ำเกลือครับ จะได้เพิ่มความสนุกและสีสันมากขึ้น ต้องรอดูละครับ
ต่อมาเป็นการอัพเดทผลงานของพี่ขวัญ รอบนี้พี่ขวัญลองนำทะลายปาล์มมาติดกับกล่องไม้โดยใช้แม็กยิงครับ โดยพี่ขวัญได้ศึกษามาว่า ทะลายปาล์มนี้สามารถอุ้มน้ำและเก็บความชื้นได้ดีครับ และเมื่อมีความชื้น ก็มีเห็ดงอกขึ้นจากทะลายปาล์ม ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้พี่ขวัญตั้งสมมตติฐานว่า จะสามารถนำทะลายปาล์มไปปลูกต้นไม้ได้
และอาจารย์รุ่งทิพย์ได้ให้คำแนะนำว่าต้องลองไปปลูกต้นไม้ดูว่าจะเป็นอย่างไร จะสามารถปลูกต้นไม้ขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจารย์รุ่งแนะนำให้ลองปลูกพืชที่ปลูกง่ายก่อน งานนี้จะรอดูพี่ขวัญ.....
ส่วนผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ พี่ขวัญตั้งใจจะผลิตเป็นชิ้นงานในสายประดับยนต์ครับ โดยพี่ขวัญได้ศึกษามาแล้วว่ามีรถยนต์ที่มีสีฟ้าเหมือนกับสีผ้าชิ้นนี้ จึงตั้งใจจะผลิต Roof Rack ของรถยนต์ครับ คือพี่เค้าอยากเอาผ้าห่อของมาทำเป็นที่ใส่ของบนหลังคารถ อันนี้ต้องรอดูผลงานจริงตอนไฟนอลนะครับ
กลุ่มเปลือกกล้วยครับ พี่ศุภณัฐกับพี่Sebastian เริ่มที่พี่ศุภณัฐลองเอากล้วยไปต้มกับกลีเซอรีนครับ ซึ่งพบว่า เมื่อนำกล้วยไปต้มกับน้ำธรรมดาจะได้กล้วยสีเหลืองครับ และเมื่อต้มกับกลีเซอรีนก็ได้กล้วยสีเหลืองเช่นกัน แต่พอผ่านไปหนึ่งวันปรากฎว่า กล้วยที่ต้มกับกลีเซอรีนกลายเป็นสีดำครับ ในขณะที่กล้วยที่ต้มน้ำธรรมดายังคงรักษาสีเหลืองไว้ได้ เยี่ยมไปเลย....พี่เค้าเก่งจริงๆ
และพี่Sebastianเอาเปลือกกล้วยมาอบติดกันแบบนี้ครับ......แข็งเป็นแผ่นเลย
นี่คือเปลือกกล้วยที่จะพัฒนาไปเป็นบอร์ดครับ
นอกจากนี้พี่Sebastianเอาเปลือกกล้วยที่อบแล้วมาตัดและต่อเป็นแผ่นๆ แบบนี้ครับ
สวยมากๆ เลย พี่Sebastianอยากจะพัฒนาไปเป็น Soft veneer ครับ
ซึ่งการพัฒนางานต่อไปอาจารย์ให้ทำงานร่วมกันครับ โดยพี่ศุภนัฐเป็นคนผลิตวัตถุดิบจากเทคนิคที่พบ ส่วนพี่Sebastianเป็นคนออกแบบลวดลายครับ พี่ๆ ทั้งสองต้องช่วยกันพัฒนาชิ้นงานขนาดใหญ่ ทั้ง 2มิติ และ 3มิติ...... เรื่องกล้วยกล้วย ชักไม่กล้วยซะแล้วววว
"เห็ดและเปลือกกล้วยสามารถแปลงร่างเป็นอะไรได้อีกบ้าง" บันทึกของพาพัน@Pantip ตอน อัพเดทนวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุ Scrap design
วันนี้กลับมาพบกับพาพันแสนซนคนหล่ออีกเหมือนเคยครับ หลังจากที่กระทู้ที่แล้ว พาพันได้เอาความรู้จากวิชา “Scrap Design” เรื่อง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มาเล่าให้พี่ๆ ได้ฟัง หลังจากเสร็จคลาสวันนั้น พาพันถึงได้รู้ว่าโลกเราตอนนี้สภาพแย่ขนาดไหน ดังนั้น พวกเราต้องช่วยกันรักษาโลกใบนี้นะครับ เอาแบบง่ายๆ แค่เริ่มจาก 3Rs: Reduce Reuse Recycle ที่เราได้หาวกันบ่อยๆ นี่ละครับ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ยากพวกเราทำได้แน่ๆ ครับ
ว่าแต่ว่า...เพื่อนๆ พี่ๆ ยังจำกระทู้ที่ “Midterm review” ได้มั้ยครับ ที่เป็นกระทู้การนำเสนอผลงานและกระบวนการศึกษาเศษวัสดุของพี่ๆ นักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงครึ่งแรกของการศึกษามาเล่าให้พี่ๆ ฟัง และวันนี้พาพันจะมาอัพเดทผลงานของพี่ๆ นักศึกษาให้พี่ๆ ชาวพันทิป ได้เห็นพัฒนาการและทิศทางของผลงานแต่ละชิ้นครับ
พาพันขอคั่นแป๊ปนึงครับ ขออัพเดทผลงานก่อน ใครที่พลาดกระทู้ไหนในซีรี่ย์ “Scrap Design” นี้ ตามอ่านได้เลยครับ
Scrap Design the Series 1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series 2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series 3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series 4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design
Scrap Design the Series 5 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
ก่อนที่จะไปชมผลงาน วันนี้อาจารย์สิงห์มีผลงานชิ้นใหม่มาให้ชมก่อนครับ
พาพันขออุบไว้ก่อนว่ามันคืออะไร อยากให้พี่ๆ เห็นชิ้นงานแล้วลองทายดูครับว่ามันคืออะไร
..
...
....
ถ้าพี่ๆ จะบอกว่ามันคือกระดาษ พาพันขอตอบว่า....... ถูกต้องนะคร้าบ
แต่พาพันขอถามต่อว่า กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากอะไร ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
.
..
...
...
อ่ะ... พาพันขอเฉลยครับ กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากเห็ดครับ ...
พี่ๆ อ่านไม่ผิดหรอกครับ กระดาษแผ่นนี้ทำมาจากเห็ดครับผม ถ้าใครได้เห็นจะจับของจริงจะต้องบอกว่ามัน เจ๋งมาก มันมาจากการคัดน้ำเห็ดที่มีขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต นั้นหละครับ อาจารย์ก็เลยหาวิธีการใช้เจ้าเห็ดเหลือๆ พวกนี้มาสร้างประโยชน์ เป็นวัสดุใช้งานใหม่ๆ
อาจารย์บอกว่าความพิเศษของกระดาษเห็ดคือ มันคล้ายกระดาษแก้ว (Shine) ปกติไม่ค่อยมีกระดาษไหนที่เป็นแบบนี้ ว้าว….
ตื่นเต้นไปกับกระดาษเห็ดของอาจารย์สิงห์แล้ว มาดูการพัฒนาผลงานของพี่ๆ กันครับ ว่าจะน่าตื่นเต้นขนาดไหน พาพันขอเริ่มที่วัสดุเปลือกปูของพี่ปรกชลครับ
จากตอน Midterm review พี่ปรกชลได้รับคำแนะนำให้นำเปลือกปูมาผสมกับงานเซรามิคและพัฒนาเปลือกปูเป็นน้ำเคลือบเซรามิคครับ วันนี้พี่ปรกชลเลยเอาชิ้นงานที่ผสมระหว่างเซรามิคกับเปลือกปูมาให้ดูครับ โดยใช้อัตราส่วนน้ำดิน 100 กรัม ผสมกับเปลือกปูตั้งแต่ 10-90 กรัม แล้วอบที่อุณหภูมิ 1200 องศาครับ แต่ละอัตราส่วนแสดงผลตามรูปนี้ครับ
จากการศึกษา พบว่า ต่อให้บดเปลือกปูให้ละเอียด แต่เปลือกปูก็ยังปะทุออกมาระหว่างการอบครับ และสูตรที่ผสมเปลือกปู 60 กรัม จะได้ชิ้นงานที่หลอมเป็นเนื้อเดียวกันและมีผิวที่มันวาว สวยทีเดียวครับ แต่พอเพิ่มเปลือกปูเป็น 70 กรัม ชิ้งงานที่ออกมาจะเริ่มแตกครับ และพอเพิ่มเป็น 80 กรัม ชิ้นงานแตกละเอียดเลยครับ
และพอทดลองอีกหนึ่งรอบ โดยใช้สูตรเปลือกปู 20 กรัม และ 60 กรัมครับ ผลออกมาเหมือนครั้งแรก คือชิ้นที่ผสม 20 กรัมสามารถขึ้นรูปได้และมีเศษเปลือกปูประทุออกมา ส่วนเปลือกปู 60 กรัม หลอมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำดิน ไม่สามารถขึ้นรูปได้ และมีผิวที่มันวาว ซึ่งอาจารย์สิงห์แนะนำให้ลองขึ้นรูปสูตรเปลือกปู 20 กรัมและ 10 กรัมให้เป็นงานชิ้นใหญ่ดูอีกครั้งครับ
ส่วนการพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิค พี่ปรกชลนำผงเปลือกปูผสมกับน้ำเคลือบแล้วเอาไปอบครับ ชิ้นแรกที่เห็นอบที่อุณหภูมิ 1040 องศาครับ ส่วนรูปที่สองเพิ่มอุณหภูมิไปที่ 1200 องศาครับ ไม่น่าเชื่อนะครับว่าเพิ่มอุณหภูมิเพียง 160 องศา งานจะออกมาต่างกันขนาดนี้ ชิ้นแรกผงเปลือกปูยังไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ชิ้นที่สองกลับเปลี่ยนเป็นน้ำเคลือบสีฟ้าใส ซึ่งสีฟ้าที่เห็นนั้นเป็นผลลัพธ์ของเปลือกปูครับ น่าสนใจมากจริงๆ และทิศทางในอนาคตของชิ้นงานเปลือกปูก็คือ จะต้องหาสูตรเซรามิคเปลือกปู แล้วลองทำน้ำเคลือบจากเปลือกปูไปเคลือบครับ สุดยอดไปเลย.......
ต่อมา มาดูงานของพี่Nicolas กันครับ จาก Midterm Review ที่นำสายน้ำเกลือไปทำเป็นพนักพิงเก้าอี้ วันนี้พี่นิโคลัสลองเอาสายน้ำเลือมาทำโคมไฟครับ เค้าชอบสายน้ำเกลือจริงๆ
หน้าตาน่าสนใจนะครับ ใช้วิธียึดสายน้ำเกลือเข้าด้วยกันที่เท่มากครับ แต่ด้วยความที่เป็นหลอดโปร่งแสง พอเปิดไฟเลยดูจ้าไปหน่อย แต่งานชิ้นนี้มีความยืดหยุ่นครับ คือเราสามารถรวบสายทั้งหมดให้ลู่ไปกับหลอดไฟได้เลย ซึ่งทั้งอาจารย์สิงห์และอาจารย์รุ่งชอบความยืดหยุ่นของชิ้นงานนี้ครับ แต่อาจารย์อยากจะให้พี่Nicolas ทำการศึกษาสายน้ำเกลือมากกว่านี้
อาจารย์สิงห์และพี่ๆ นักศึกษาคนอื่นอยากให้พี่Nicolas ลองทำอะไรสนุกๆ เพิ่ม เช่น เพิ่มสีเข้าไป หรือเอาสีใส่ไปในสายน้ำเกลือครับ จะได้เพิ่มความสนุกและสีสันมากขึ้น ต้องรอดูละครับ
ต่อมาเป็นการอัพเดทผลงานของพี่ขวัญ รอบนี้พี่ขวัญลองนำทะลายปาล์มมาติดกับกล่องไม้โดยใช้แม็กยิงครับ โดยพี่ขวัญได้ศึกษามาว่า ทะลายปาล์มนี้สามารถอุ้มน้ำและเก็บความชื้นได้ดีครับ และเมื่อมีความชื้น ก็มีเห็ดงอกขึ้นจากทะลายปาล์ม ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้พี่ขวัญตั้งสมมตติฐานว่า จะสามารถนำทะลายปาล์มไปปลูกต้นไม้ได้
และอาจารย์รุ่งทิพย์ได้ให้คำแนะนำว่าต้องลองไปปลูกต้นไม้ดูว่าจะเป็นอย่างไร จะสามารถปลูกต้นไม้ขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจารย์รุ่งแนะนำให้ลองปลูกพืชที่ปลูกง่ายก่อน งานนี้จะรอดูพี่ขวัญ.....
ส่วนผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ พี่ขวัญตั้งใจจะผลิตเป็นชิ้นงานในสายประดับยนต์ครับ โดยพี่ขวัญได้ศึกษามาแล้วว่ามีรถยนต์ที่มีสีฟ้าเหมือนกับสีผ้าชิ้นนี้ จึงตั้งใจจะผลิต Roof Rack ของรถยนต์ครับ คือพี่เค้าอยากเอาผ้าห่อของมาทำเป็นที่ใส่ของบนหลังคารถ อันนี้ต้องรอดูผลงานจริงตอนไฟนอลนะครับ
กลุ่มเปลือกกล้วยครับ พี่ศุภณัฐกับพี่Sebastian เริ่มที่พี่ศุภณัฐลองเอากล้วยไปต้มกับกลีเซอรีนครับ ซึ่งพบว่า เมื่อนำกล้วยไปต้มกับน้ำธรรมดาจะได้กล้วยสีเหลืองครับ และเมื่อต้มกับกลีเซอรีนก็ได้กล้วยสีเหลืองเช่นกัน แต่พอผ่านไปหนึ่งวันปรากฎว่า กล้วยที่ต้มกับกลีเซอรีนกลายเป็นสีดำครับ ในขณะที่กล้วยที่ต้มน้ำธรรมดายังคงรักษาสีเหลืองไว้ได้ เยี่ยมไปเลย....พี่เค้าเก่งจริงๆ
และพี่Sebastianเอาเปลือกกล้วยมาอบติดกันแบบนี้ครับ......แข็งเป็นแผ่นเลย
นอกจากนี้พี่Sebastianเอาเปลือกกล้วยที่อบแล้วมาตัดและต่อเป็นแผ่นๆ แบบนี้ครับ
ซึ่งการพัฒนางานต่อไปอาจารย์ให้ทำงานร่วมกันครับ โดยพี่ศุภนัฐเป็นคนผลิตวัตถุดิบจากเทคนิคที่พบ ส่วนพี่Sebastianเป็นคนออกแบบลวดลายครับ พี่ๆ ทั้งสองต้องช่วยกันพัฒนาชิ้นงานขนาดใหญ่ ทั้ง 2มิติ และ 3มิติ...... เรื่องกล้วยกล้วย ชักไม่กล้วยซะแล้วววว