สวัสดีครับ
วันนี้พาพันกลับมาอัพเดทผลงานของพี่ๆ นักศึกษาวิชา Scrap Design ซึ่งเป็นการพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์จากเศษอาหาร (Food Wastes) และเศษวัสดุจากโรงพยาบาล (Hospital Wastes) ตอนนี้เรามาได้เกินครึ่งทางแล้วครับ กว่าจะมาถึงจุดนี้ เราได้เรียนรู้อะไรกันมาแล้วบ้าง ย้อนรอยซีรี่ย์กระทู้วิชาออกแบบจากเศษวัสดุได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลย
Scrap Design the Series 1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series 2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series 3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series 4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design
Scrap Design the Series 5 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
Scrap Design the Series 6 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน อัพเดทนวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุ Scrap Design
มาดูการพัฒนาผลงานของพี่นักศึกษากันครับ ว่างานชิ้นไหนพัฒนาไปถึงไหนกันบ้างแล้ว
มาเริ่มกันที่การศึกษาและพัฒนาเปลือกไข่กันก่อนเลย พี่หมวยลองปรับสูตรส่วนผสมใหม่ครับ จากเปลือกไข่ 200 กรัม กับแป้งมัน 50 กรัม ได้เพิ่มเปลือกไข่เป็น 300 กรัม ต่อ แป้งมัน 50 กรัมครับ ใช้อุณหภูมิและระยะเวลาอบเท่าเดิม คือ อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาทีครับ ผลปรากฏว่าวัสดุที่ออกมาทำให้ปั้นยากกว่าเดิม
ตอนแรกพี่หมวยอยากให้ชิ้นงานออกมาเป็นกระถางต้นไม้ครับ แต่ว่าพอลองเอาไปแช่น้ำประมาณ 1 นาที ก็พบว่าชิ้นงานมันลื่นๆ เหมือนแป้งมันละลายออกมา และอ่อนตัวครับ แต่ว่าไม่เสียทรงนะ ก็เลยไม่รู้ว่าถ้าทำเป็นกระถางต้นไม้จริงๆ จะใช้งานได้ไหม เลยโฟกัสที่ความแข็งแรงของชิ้นงาน พี่หมวยปั้นถ้วยมาด้วยครับ เลยให้พี่ผู้ชายลองยืนบนถ้วยจากเปลือกไข่ดูครับ ว่าจะแตกมั้ย
พี่ลองขึ้นไปยืนแบบนี้เลย ปรากฏว่าใบแรกไม่แตกครับ...ว้าว
แต่ใบที่สองแตกครับ เพราะขอบถ้วยไม่เรียบและมีมุม ทำให้การรับแรงไม่สมดุลครับ
จากการลองยืนบนถ้วยเปลือกไข่ทำให้เราพบคุณสมบัติของวัสดุเปลือกไข่ว่ามันแข็งแรงมากครับ ทิศทางในการพัฒนางานต่อไปเลยจะลองทำเป็นเก้าอี้ครับ
อาทิตย์ต่อมา พี่เอดาลีนเอากระถางต้นไม้ที่ทำจากเปลือกไข่มาให้ดูครับ โดยพี่เขาลองปลูกต้นไม้แล้วปรากฏว่าปลูกขึ้นครับ แต่มีปัญหาตรงการรดน้ำครับ เพราะน้ำที่รดไปมันไม่ซึมหรือไหลออกมาเลย ซึ่งถ้าจะทำกระถางต้นไม้จริงๆ ก็ต้องทำให้น้ำระบายออกมาได้ เลยจะลองไปเจาะกระถางเปลือกไข่ดูครับ นอกจากนี้พี่เอดาลีนต้องเริ่มออกแบบกระถางให้สวยงามด้วย ซึ่งพี่เค้าสนใจคอนเซ็ปมินิมอลแบบญี่ปุ่น อันนี้ต้องรอดูต่อไปครับ
ส่วนพี่หมวยก็ลองขึ้นรูปเก้าอี้มาครับ โดยลองเอาเครื่องขัดมาใช้ ปรากฏว่าใช้ขัดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เลื่อยช่างไม้ เลื่อยชิ้นงานได้ด้วยครับ
แล้วเราก็มาทดลองชิ้นงานกันว่าเจ้าเก้าอี้จากเปลือกไข่ตัวนี้จะสามารถรับน้ำหนักได้หรือไม่ เริ่มจากให้พี่นักศึกษาชายลองนั่งดูก่อนครับ ช้อตนี้พาพันถ่ายรูปไม่ทัน แต่ปรากฏว่าไม่แตกครับ
พี่หมวยขอลองนั่งเองบ้าง
ก็ยังไม่แตกครับ
แต่ถ้าเป็นอาจารย์สิงห์ลองนั่งหละครับ
อู้หู ก็ยังไม่แตกครับ ว้าว เก้าอี้เปลือกไข่แข็งแรงมากจริง ๆ
อาจารย์รุ่งทิพย์แนะนำให้ทำฐานให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รองรับน้ำหนักได้มากขึ้น และอาจารย์สิงห์ก็แนะนำให้ลองเอาไปใส่ขาดูครับ ทีนี้ล่ะ อาทิตย์หน้าเราก็จะได้เห็นเก้าอี้เปลือกไข่ที่สมบูรณ์ครับ
ใส่ขาประมาณนี้ครับ
ผลงานชิ้นต่อมาคือชินงานของพี่ขวัญ พี่ขวัญศึกษาผ้าห่อเครื่องมือแพทย์เพราะคุณสมบัติที่เบา แข็งแรงและยืดหยุ่นครับ โดยสนใจเอาเทคนิคการขึ้นรูปจาก Fiberglass เข้ามาใช้ โดยจะขึ้นรูปโดยการสานผ้าห่อเครื่องมือแพทย์คล้ายๆ Carbon Fiber โดยใช้เรซิ่นเป็นตัวประสานเพื่อให้เป็นอุปกรณ์ติดรถยนต์ เป็นกล่องบน Roof Rack ซึ่งตรงจุดนี้อาจารย์สิทธา เป็นห่วงว่าชิ้นงานจะออกมาไม่สวย อาจารย์สิงห์ก็บอกว่าเป็นเพียงแนวคิดคร่าวๆ ไม่มีส่วนของการทดลองมาให้ดู จึงไม่ทราบว่าชิ้นงานที่ออกมาจะเบาไหม แข็งแรงไหม และจะออกมาเป็นอย่างไร งานนี้พี่ขวัญต้องเร่งมือแล้วล่ะครับ
ต่อมาเป็นชิ้นงานของพี่พิชิตพันธ์ ที่ศึกษาเรื่องกล่องโฟมครับ โดยพี่เขาเอาโฟมไปละลายในน้ำมันผิวส้ม ได้ออกมาเป็นวัสดุที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นครับ ดังนั้นพี่พิชิตพันธ์จึงตั้งใจจะพัฒนาชิ้นงานให้เป็นแผ่นรองแผลกดทับครับ เพราะโดยปกติแล้วตามโรงพยาบาลจะนำเข้าแผ่นรองแผลกดทับจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง พี่พิชิตพันธ์เอาตัวอย่างจากโรงพยาบาลกลาง มาให้ดู เป็นสีน้ำตาลนิ่มๆ ขนาดประมาณ 1ฟุต x 1ฟุต ครับ ซึ่งชิ้นขนาดนี้สนนราคาอยู่ที่ 10,000 บาท แพงมากๆ ถ้าหากชิ้นงานของพี่พิชิตพันธ์สามารถนำมาใช้ทดแทนแผ่นรองแผลกดทับนี้ได้ เราก็ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประหยัดได้เยอะเลยครับ
แต่ก่อนที่จะไปถึงผลิตภัณฑ์ ชิ้นงานตัวนี้ยังมีปัญหาที่เรายังไม่ทราบคือ เรื่องสารพิษครับ เพราะน้ำมันผิวส้มที่ใช้ละลายโฟมนั้นเป็นสารไอระเหย ทำให้ตัวชิ้นงานมีกลิ่น ซึ่งจุดนี้เราไม่ทราบว่าสารที่ระเหยออกมาเป็นพิษหรือไม่ ดังนั้นพี่เขาจึงเตรียมแผนสำรองไว้ คือจะทำเป็นแผงกั้นความร้อนที่อยู่ภายในอาคารครับ แต่อาจารย์ก็คอมเมนต์ว่า ถ้ามันมีพิษจริงๆ ใช้กับอาคารก็ไม่ควร เพราะคนเราก็อาศัยอยู่ในอาคารนั้น ถ้ามีพิษ อย่างไรก็อันตราย
อาทิตย์ต่อมาพี่พิชิตพันธ์ เอาสูตรผสมของระหว่างโฟมกับน้ำมันผิวส้ม โดยทดลองมา 3 สูตร คือ โฟม 60 : น้ำมันผิวส้ม 100, โฟม 80 : น้ำมันผิวส้ม 100, และ โฟม 100 : น้ำมันผิวส้ม 100 โดยพบว่าสูตรที่ใช้โฟม 80 กรัมนั้นเป็นสูตรที่ดีที่สุด พี่พิชิตพันธ์กลับไปศึกษาเรื่องสารพิษ และพบว่าเมื่อโฟมโพลิสไตลีนได้รับความร้อนจะปล่อยสารพิษซึ่งอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแผนใหม่ คือเอาโฟมที่ละลายในน้ำมันผิวส้มแล้วไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด อย่างเช่น ถุงพลาสติก ซึ่งอาจนำถุงน้ำยาล้างไตกลับมาใช้เป็นถุงใส่เหมือนเบาะรองก็ได้ครับ
ต่อมาเป็นกลุ่มของ พี่จิราพรกับพี่โสรดา พัฒนางานจากกากมะพร้าวครับ จากที่เคยผสมกากมะพร้าวกับแป้งเปียกแล้วขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้ ปรากฏว่ากระถางขึ้นราและต้นไม้ตาย คราวนี้พี่ๆ เลยเปลี่ยนไปผสมกากมะพร้าวกับแป้งมันและยางพารา โดยสูตรที่ผสมกับแป้งมันจะอบที่อุณหภูมิ 170 องศา เป็นเวลา 50 นาที งานที่ออกมาก็แข็งตัวดีครับ ส่วนสูตรที่ผสมยางพารานั้นใช้สูตร กากมะพร้าว 3 ส่วน : ยางพารา 1 ส่วน งานที่ออกมามีกลิ่นเป็นยางพาราเลยครับ ไม่หอมกลิ่นมะพร้าว
จากที่เคยตั้งใจจะทำเป็นกระถางต้นไม้ คราวนี้พี่ๆ ลองพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์ในครัว คือตะกร้าวางไข่เพราะมันนุ่มครับ นอกจากนี้พี่ๆ ยังได้รับคำแนะนำที่น่าสนใจว่า ให้ลองเอากากมะพร้าวไปผสมพาราฟินแล้วทำเป็นเทียน เมื่อจุดไฟ ไฟก็จะไหม้กากมะพร้าวและมีกลิ่นหอมของมะพร้าวด้วย น่าสนใจมากเลยนะครับ
อาทิตย์ต่อมาพี่ๆก็เอาชิ้นงานที่เป็นการผสมระหว่างกากมะพร้าวกับแป้งเปียกมาให้ดูครับ ปรากฏว่าขึ้นงานมาแล้วทิ้งไว้ก็ไม่ขึ้นรา โดยอัตราส่วนผสมอยู่ที่แป้งเปียก 2 ส่วน : กากมะพร้าว 3 ส่วนครับ โดยใช้อุณหภูมิ 150 องศา ในการอบและใช้เวลา 40 นาที อาจารย์สิงห์ก็ให้ลองขึ้นงานชิ้นใหญ่ๆ และทำให้ดูพริ้วๆ ขึ้นครับ
เก้าอี้เปลือกไข่, ฝ้าเพดานเปลือกถั่ว ฯลฯ บันทึกของพาพัน@Pantip ตอน Pre-Final นวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุวิชา Scrap Design
วันนี้พาพันกลับมาอัพเดทผลงานของพี่ๆ นักศึกษาวิชา Scrap Design ซึ่งเป็นการพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์จากเศษอาหาร (Food Wastes) และเศษวัสดุจากโรงพยาบาล (Hospital Wastes) ตอนนี้เรามาได้เกินครึ่งทางแล้วครับ กว่าจะมาถึงจุดนี้ เราได้เรียนรู้อะไรกันมาแล้วบ้าง ย้อนรอยซีรี่ย์กระทู้วิชาออกแบบจากเศษวัสดุได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลย
Scrap Design the Series 1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series 2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series 3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series 4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design
Scrap Design the Series 5 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
Scrap Design the Series 6 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน อัพเดทนวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุ Scrap Design
มาดูการพัฒนาผลงานของพี่นักศึกษากันครับ ว่างานชิ้นไหนพัฒนาไปถึงไหนกันบ้างแล้ว
มาเริ่มกันที่การศึกษาและพัฒนาเปลือกไข่กันก่อนเลย พี่หมวยลองปรับสูตรส่วนผสมใหม่ครับ จากเปลือกไข่ 200 กรัม กับแป้งมัน 50 กรัม ได้เพิ่มเปลือกไข่เป็น 300 กรัม ต่อ แป้งมัน 50 กรัมครับ ใช้อุณหภูมิและระยะเวลาอบเท่าเดิม คือ อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาทีครับ ผลปรากฏว่าวัสดุที่ออกมาทำให้ปั้นยากกว่าเดิม
ตอนแรกพี่หมวยอยากให้ชิ้นงานออกมาเป็นกระถางต้นไม้ครับ แต่ว่าพอลองเอาไปแช่น้ำประมาณ 1 นาที ก็พบว่าชิ้นงานมันลื่นๆ เหมือนแป้งมันละลายออกมา และอ่อนตัวครับ แต่ว่าไม่เสียทรงนะ ก็เลยไม่รู้ว่าถ้าทำเป็นกระถางต้นไม้จริงๆ จะใช้งานได้ไหม เลยโฟกัสที่ความแข็งแรงของชิ้นงาน พี่หมวยปั้นถ้วยมาด้วยครับ เลยให้พี่ผู้ชายลองยืนบนถ้วยจากเปลือกไข่ดูครับ ว่าจะแตกมั้ย
จากการลองยืนบนถ้วยเปลือกไข่ทำให้เราพบคุณสมบัติของวัสดุเปลือกไข่ว่ามันแข็งแรงมากครับ ทิศทางในการพัฒนางานต่อไปเลยจะลองทำเป็นเก้าอี้ครับ
อาทิตย์ต่อมา พี่เอดาลีนเอากระถางต้นไม้ที่ทำจากเปลือกไข่มาให้ดูครับ โดยพี่เขาลองปลูกต้นไม้แล้วปรากฏว่าปลูกขึ้นครับ แต่มีปัญหาตรงการรดน้ำครับ เพราะน้ำที่รดไปมันไม่ซึมหรือไหลออกมาเลย ซึ่งถ้าจะทำกระถางต้นไม้จริงๆ ก็ต้องทำให้น้ำระบายออกมาได้ เลยจะลองไปเจาะกระถางเปลือกไข่ดูครับ นอกจากนี้พี่เอดาลีนต้องเริ่มออกแบบกระถางให้สวยงามด้วย ซึ่งพี่เค้าสนใจคอนเซ็ปมินิมอลแบบญี่ปุ่น อันนี้ต้องรอดูต่อไปครับ
ส่วนพี่หมวยก็ลองขึ้นรูปเก้าอี้มาครับ โดยลองเอาเครื่องขัดมาใช้ ปรากฏว่าใช้ขัดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เลื่อยช่างไม้ เลื่อยชิ้นงานได้ด้วยครับ
แล้วเราก็มาทดลองชิ้นงานกันว่าเจ้าเก้าอี้จากเปลือกไข่ตัวนี้จะสามารถรับน้ำหนักได้หรือไม่ เริ่มจากให้พี่นักศึกษาชายลองนั่งดูก่อนครับ ช้อตนี้พาพันถ่ายรูปไม่ทัน แต่ปรากฏว่าไม่แตกครับ
อาจารย์รุ่งทิพย์แนะนำให้ทำฐานให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รองรับน้ำหนักได้มากขึ้น และอาจารย์สิงห์ก็แนะนำให้ลองเอาไปใส่ขาดูครับ ทีนี้ล่ะ อาทิตย์หน้าเราก็จะได้เห็นเก้าอี้เปลือกไข่ที่สมบูรณ์ครับ
ผลงานชิ้นต่อมาคือชินงานของพี่ขวัญ พี่ขวัญศึกษาผ้าห่อเครื่องมือแพทย์เพราะคุณสมบัติที่เบา แข็งแรงและยืดหยุ่นครับ โดยสนใจเอาเทคนิคการขึ้นรูปจาก Fiberglass เข้ามาใช้ โดยจะขึ้นรูปโดยการสานผ้าห่อเครื่องมือแพทย์คล้ายๆ Carbon Fiber โดยใช้เรซิ่นเป็นตัวประสานเพื่อให้เป็นอุปกรณ์ติดรถยนต์ เป็นกล่องบน Roof Rack ซึ่งตรงจุดนี้อาจารย์สิทธา เป็นห่วงว่าชิ้นงานจะออกมาไม่สวย อาจารย์สิงห์ก็บอกว่าเป็นเพียงแนวคิดคร่าวๆ ไม่มีส่วนของการทดลองมาให้ดู จึงไม่ทราบว่าชิ้นงานที่ออกมาจะเบาไหม แข็งแรงไหม และจะออกมาเป็นอย่างไร งานนี้พี่ขวัญต้องเร่งมือแล้วล่ะครับ
ต่อมาเป็นชิ้นงานของพี่พิชิตพันธ์ ที่ศึกษาเรื่องกล่องโฟมครับ โดยพี่เขาเอาโฟมไปละลายในน้ำมันผิวส้ม ได้ออกมาเป็นวัสดุที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นครับ ดังนั้นพี่พิชิตพันธ์จึงตั้งใจจะพัฒนาชิ้นงานให้เป็นแผ่นรองแผลกดทับครับ เพราะโดยปกติแล้วตามโรงพยาบาลจะนำเข้าแผ่นรองแผลกดทับจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง พี่พิชิตพันธ์เอาตัวอย่างจากโรงพยาบาลกลาง มาให้ดู เป็นสีน้ำตาลนิ่มๆ ขนาดประมาณ 1ฟุต x 1ฟุต ครับ ซึ่งชิ้นขนาดนี้สนนราคาอยู่ที่ 10,000 บาท แพงมากๆ ถ้าหากชิ้นงานของพี่พิชิตพันธ์สามารถนำมาใช้ทดแทนแผ่นรองแผลกดทับนี้ได้ เราก็ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประหยัดได้เยอะเลยครับ
แต่ก่อนที่จะไปถึงผลิตภัณฑ์ ชิ้นงานตัวนี้ยังมีปัญหาที่เรายังไม่ทราบคือ เรื่องสารพิษครับ เพราะน้ำมันผิวส้มที่ใช้ละลายโฟมนั้นเป็นสารไอระเหย ทำให้ตัวชิ้นงานมีกลิ่น ซึ่งจุดนี้เราไม่ทราบว่าสารที่ระเหยออกมาเป็นพิษหรือไม่ ดังนั้นพี่เขาจึงเตรียมแผนสำรองไว้ คือจะทำเป็นแผงกั้นความร้อนที่อยู่ภายในอาคารครับ แต่อาจารย์ก็คอมเมนต์ว่า ถ้ามันมีพิษจริงๆ ใช้กับอาคารก็ไม่ควร เพราะคนเราก็อาศัยอยู่ในอาคารนั้น ถ้ามีพิษ อย่างไรก็อันตราย
อาทิตย์ต่อมาพี่พิชิตพันธ์ เอาสูตรผสมของระหว่างโฟมกับน้ำมันผิวส้ม โดยทดลองมา 3 สูตร คือ โฟม 60 : น้ำมันผิวส้ม 100, โฟม 80 : น้ำมันผิวส้ม 100, และ โฟม 100 : น้ำมันผิวส้ม 100 โดยพบว่าสูตรที่ใช้โฟม 80 กรัมนั้นเป็นสูตรที่ดีที่สุด พี่พิชิตพันธ์กลับไปศึกษาเรื่องสารพิษ และพบว่าเมื่อโฟมโพลิสไตลีนได้รับความร้อนจะปล่อยสารพิษซึ่งอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแผนใหม่ คือเอาโฟมที่ละลายในน้ำมันผิวส้มแล้วไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด อย่างเช่น ถุงพลาสติก ซึ่งอาจนำถุงน้ำยาล้างไตกลับมาใช้เป็นถุงใส่เหมือนเบาะรองก็ได้ครับ
ต่อมาเป็นกลุ่มของ พี่จิราพรกับพี่โสรดา พัฒนางานจากกากมะพร้าวครับ จากที่เคยผสมกากมะพร้าวกับแป้งเปียกแล้วขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้ ปรากฏว่ากระถางขึ้นราและต้นไม้ตาย คราวนี้พี่ๆ เลยเปลี่ยนไปผสมกากมะพร้าวกับแป้งมันและยางพารา โดยสูตรที่ผสมกับแป้งมันจะอบที่อุณหภูมิ 170 องศา เป็นเวลา 50 นาที งานที่ออกมาก็แข็งตัวดีครับ ส่วนสูตรที่ผสมยางพารานั้นใช้สูตร กากมะพร้าว 3 ส่วน : ยางพารา 1 ส่วน งานที่ออกมามีกลิ่นเป็นยางพาราเลยครับ ไม่หอมกลิ่นมะพร้าว
จากที่เคยตั้งใจจะทำเป็นกระถางต้นไม้ คราวนี้พี่ๆ ลองพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์ในครัว คือตะกร้าวางไข่เพราะมันนุ่มครับ นอกจากนี้พี่ๆ ยังได้รับคำแนะนำที่น่าสนใจว่า ให้ลองเอากากมะพร้าวไปผสมพาราฟินแล้วทำเป็นเทียน เมื่อจุดไฟ ไฟก็จะไหม้กากมะพร้าวและมีกลิ่นหอมของมะพร้าวด้วย น่าสนใจมากเลยนะครับ
อาทิตย์ต่อมาพี่ๆก็เอาชิ้นงานที่เป็นการผสมระหว่างกากมะพร้าวกับแป้งเปียกมาให้ดูครับ ปรากฏว่าขึ้นงานมาแล้วทิ้งไว้ก็ไม่ขึ้นรา โดยอัตราส่วนผสมอยู่ที่แป้งเปียก 2 ส่วน : กากมะพร้าว 3 ส่วนครับ โดยใช้อุณหภูมิ 150 องศา ในการอบและใช้เวลา 40 นาที อาจารย์สิงห์ก็ให้ลองขึ้นงานชิ้นใหญ่ๆ และทำให้ดูพริ้วๆ ขึ้นครับ