ชุดราตรีดินเนอร์ที่ทำมาจากผ้าห่อเครื่องมือแพทย์มีหน้าตาอย่างไร? บันทึกของพาพัน@Pantip ตอน Final Review วิชา Scrap Design

สวัสดีครับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ชาวพันทิป

กลับมาพบกับพาพันอีกครั้งในซีรี่ย์รักษ์โลก วิชา ออกแบบเศษวัสดุ หรือ Scrap design วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาและพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้ พี่ ๆ ที่ติดตามซีรี่ย์นี้ คงจะได้เห็นกระบวนการศึกษา และ การพัฒนาผลงานของพี่ ๆ นักศึกษา  ซึ่งมีผลงานทั้งจาก Food waste และ Hospital waste วันนี้เป็นวันที่พาพันตื่นเต้นมาก ๆ เพราะเราจะได้เห็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์จากการพัฒนางานของพี่ ๆ นักศึกษาใน Final review วันนี้ครับ

ติดตามซีรี่ย์วิชา ออกแบบเศษวัสดุตั้งแต่ต้นจนจบได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ

Scrap Design the Series 1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series 2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series 3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series 4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design
Scrap Design the Series 5 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
Scrap Design the Series 6 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน อัพเดทนวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุ Scrap Design
Scrap Design the Series 7 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Pre-Final นวัตกรรมออกแบบเศษวัสดุวิชา Scrap Design





จากคลาสคาบที่แล้วพาพันเห็นอาจารย์สิงห์เตรียมจัดแสดงผลงานสำหรับไฟนอลรีวิวอย่างดีเลยครับ แอบได้ยินมาว่าจะจัดโชว์ผลงานแบบเป็นนิทรรศการเลย  พอมาเห็นของจริง  จากห้องเรียนที่พาพันคุ้นตาก็กลายไปเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการครับ  

ก่อนจะแสดงผลงานอาจารย์สิงห์ก็กล่าวเกริ่นนำต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและเล่าถึงภาพรวมของวิชาออกแบบเศษวัสดุอย่างคร่าว ๆ ครับ  โดยกล่าวขอบคุณตาวิเศษที่สนับสนุนโครงการในปีนี้ให้โฟกัสเนื้อหาที่จะศึกษาไปที่ Food waste กับ Hospital waste ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเรามาก ๆ ครับ

และขอแนะนำแขกที่มาในวันนี้  คนแรกคืออาจารย์สิทธา จาก entech  อาจารย์จารุภัทร  คุณภาวิดา กฤตศรัณย์ จากพันทิปดอทคอม  คุณวีระนุช จาก Osisu คุณชัยยงค์ บรรณาธิการนิตยสารวอลเปเปอร์  อาจารย์ชัลวาลย์  อาจารย์จักรสินธุ์  และอาจารย์รุ่งทิพย์ ลุยเลา  อาจารย์ผู้สอนร่วมของวิชานี้



และวันนี้ห้องเรียนดูเล็กไปเลยทีเดียวเพราะมีแขกรับเชิญมาชมผลงานเยอะมากครับ  พี่บอล พี่ยอดจากรายการหนังพาไปก็มาด้วยนะเออ  พาพันดีใจจังเลย



อาจารย์สิงห์เล่าภาพรวมของวิชานี้ให้ฟังว่า  วิชานี้เป็นการค้นหาโอกาสที่ถูกละเลยและเป็นการสร้างโอกาสจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น  โดยใช้การวิจัย  ศึกษา  และออกแบบเพื่อแก้ปัญหาซึ่งวิชานี้มี 7 step ที่นักศึกษาทุกคนจะต้องผ่าน

1. ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น  เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยรวม
2. คักแยกวัสดุ  การคัดแยกวัสดุในวิชานี้แตกต่างจากการคัดแยกทั่วไป  จากปกติที่คัดตามเนื้อวัสดุเพื่อนำไปรีไซเคิล  แต่วิชานี้ให้แยกตามสี  รูปทรง น้ำหนัก ตามสิ่งที่เราอยากจะทำ
3. ทดลองเกี่ยวกับวัสดุนั้น  ปกติแล้วเมื่อเราได้วัสดุมา  เราจะรีบออกแบบชิ้นงานทันที  แต่วิชานี้ไม่  ต้องทดลองก่อน  ต้องผ่านกระบวนการ เช่น กรีด ตัด ทุบ ต้ม อัด รีด ม้วน เพื่อให้มองลึกและเข้าใจวัสดุนั้น ๆ
4. เลือกเทคนิคที่จะใช้เพียง 1 หรือ 2 อย่างเท่านั้น
5. เริ่มออกแบบ
6. ผลิต prototype ของผลงาน



อาจารย์เล่าว่าปกติแล้วในวิชานี้จะเน้นศึกษาเศษวัสดุจากโรงงานหรือไซต์ก่อสร้างเป็นหลัก  แต่เทอมนี้เราเน้นศึกษา community waste เพราะเป็นโจทย์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันมากขึ้น  เทอมนี้เราเลยสนใจที่จะศึกษา Food waste  เพราะมีข้อมูลจาก Unet ว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่เราผลิตมา ทำมาเพื่อทิ้ง  เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ก็เหมือนกับเราปลูกข้าวโพด 3 ภูเขา ภูเขา 1 ลูกนั้นเราปลูกมาเพื่อทิ้ง



โห  เป็นความจริงที่น่ากลัวมากนะครับ ทิ้ง ตั้ง 1 ใน 3 เลยอ่ะ

ส่วนwaste อีกหนึ่งอย่างที่จะศึกษา คือ Hospital waste ซึ่งเราได้ความกรุณาจากคุณภัทรารัตน์จากโรงพยาบาลกลาง ได้ให้ข้อมูลว่า ขยะจากโรงพยาบาลมีเยอะมาก  และจากความเข้าใจปกติของเรา  เราจะมองว่าขยะจากโรงพยาบาลนั้นอันตราย  แต่เมื่อศึกษาแล้วพบว่า  โรงพยาบาลมีการแยกประเภทขยะไว้อยู่แล้ว  โดยแยกเป็นขยะทั่วไป    ขยะที่เป็นของแหลม  ขยะติดเชื้อซึ่งมีประมาณ 40% และขยะที่ไม่ติดเชื้อ ประมาณ 50-60% ของขยะทั้งหมด ซึ่งทิ้งเปล่า  ดังนั้น Scrap Lab ในปีนี้จะลุยโจทย์นี้ คือ Food waste marvelous & hospital waste fabulous



ผลงานชิ้นแรกที่จะนำเสนอคือผลงานจากเปลือกไข่ของพี่หมวยครับ

เหตุผลที่พี่หมวยเลือกศึกษาเปลือกไข่คือ เปลือกไข่มีความเปราะ  สีผิวด้านนอกและในมีความต่างกัน และเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือเศษเปลือกไข่ที่ถูกทิ้งมีจำนวนมาก เพราะคนไทยนิยมกินไข่  สมมุติถ้าคนไทยกินไข่วันละฟอง ก็จะมีเปลือกไข่ 64 ล้านฟอง  หรือบริษัทอย่าง CP ที่เรารู้จักกันดี ในหนึ่งวันก็มีการใช้ไข่ 69,000 ล้านฟอง ซึ่งเปลือกไข่เหล่านี้เหลือทิ้งทั้งหมด  





เบื้องต้นพี่หมวยอยากทำให้เปลือกไข่เป็นวัสดุที่ทดแทนพลาสติกแข็ง  ในส่วนของการทดลองนั้นก็ทดลองมาหลายอย่างเลยครับ
- เปลือกไข่ + เจลาติน = ชิ้นงานที่ออกมาสวยมาก  แต่ผ่านไป 2 อาทิตย์ปรากฏชิ้นงานเน่า
- เปลือกไข่ + ไข่แดง/ไข่ขาว แล้วนำไปคั่วเพื่อให้ความร้อน = ส่วนผสมมันแข็ง ขึ้นรูปไม่ได้
- เปลือกไข่ + สารส้ม = ผิวของชิ้นงานไม่สวยงาม จับแล้วละลายได้เพราะเป็นสารระเหย

สุดท้าย จากการค้นพบด้วยความบังเอิญ  พี่หมวยต้มแป้งมันทิ้งไว้  ปรากฏว่ามันออกมาเป็นแผ่นแข็ง ๆ ที่ไม่ขึ้นรา  ดังนั้นจึงเลือกใช้ แป้งมันเป็น binder และทดลองต่อ
- เปลือกไข่ + แป้งมัน = ชิ้นงานแข็งตัว แต่ขึ้นรา
- เปลือกไข่ + แป้งมัน + นำไปอบ = ชิ้นงานแข็งตัว ไม่ขึ้นรา

สรุปกระบวนการทดลองดังนี้ครับ

1. เอาโปรตีนออกจากไข่เพื่อป้องกันการเน่า (เยื่อขาว ๆ ด้านในไข่) ด้วยการใช้กรดไฮโดรคอลิก
2. ผสมเปลือกไข่กับแป้งมันในอัตราส่วน  เปลือกไข่ 4 : แป้งมัน 1 ส่วน ในขั้นตอนนี้มีการให้ความร้อนเพื่อทำให้แป้งมันสุก  จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น  แป้งที่ได้จะเหมือนบัวลอย  นวดแป้งจนแป้งไม่ติดมือ จากนั้นปั้นขึ้นรูป
3. ใช้โครงลวดทำเป็นฟอร์ม นำไปอบที่อุณหภูมิ 20 องศา เป็นเวลา 20 นาที

ชิ้นงานที่ออกมาจะมีความแข็งแรง  สามารถนำเข้าเครื่องขัดได้  สามารถเลื่อยตัดได้  แต่ไม่สามารถแช่น้ำได้  เพราะแป้งจะละลายออก  เป้าหมายของงานชิ้นนี้ พี่หมวยตั้งใจให้เป็นชิ้นงานที่ใช้สำหรับการตกแต่งภายในครับ







ชิ้นงานนี้ได้รับคอมเมนต์ว่า เมื่อตั้งใจให้เป็นกระเบื้องในการตกแต่ง ควรลองเอาไปใช้งานจริง เอาไปฉาบกับปูนแปะผนังลองดูว่าจะเป็นอย่างไร  และอาจลองพัฒนางานที่ไม่ต้องผ่านความร้อนโดยอาจใส่สารกันบูด เพราะชิ้นงานที่ออกมาอาจจะยืดหยุ่นกว่าแบบที่เอาไปผ่านความร้อน  นอกจากนี้ยังควรเพิ่มดีไซน์ให้สวยงามกว่านี้ครับ

ผลงานต่อมาเป็นของพี่ชญานิศกับพี่ปรีดา อย่างแรกที่จะนำเสนอคือชิ้นงานจากเปลือกถั่ว  เปลือกถั่วมีน้ำหนักเบา เป็นผลผลิตที่ปลูกในทุกภาคของไทย โดยมีมากที่จังหวัดลำปาง ตาก และอุบลฯ เปลือกถั่วเหลือทิ้งใน 1 ปี = 41.67 ล้านกิโล  เหตุผลที่พี่ ๆ เลือกศึกษาถั่วเพราะมันเบา มีไฟเบอร์ และมีลักษณะคล้ายไม้  โดยพี่ ๆ อยากพัฒนาให้เป็นไม้เทียมครับ จึงผสมกับโฟมและใช้แป้งมันเป็น binder





ขั้นตอนการทดลองเริ่มจากนำเปลือกถั่วไปแช่กรดไฮโดรคลอริกเพื่อเอาโปรตีนออก ผสมโฟม 5 : เปลือกถั่ว 15 : กาวแป้งเปียก 75 กรัม  ในการใช้กาวแป้งเปียกจะใช้แป้งน้อยกว่าน้ำเพื่อให้ชิ้นงานมีน้ำหนักเบา และอบโดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง





ข้อดีของชิ้นงานที่ออกมาคือมีน้ำหนักเบา  มีค่าการนำความร้อนใกล้เคียงกับฉนวนกลูโคส  ข้อเสียคือไม่กันความชื้น  ขึ้นราได้  และไม่กันไฟ  ดังนั้นพี่ ๆ จึงตั้งใจพัฒนาชิ้นงานให้ออกมาเป็น partition และ ceiling หลังคา  โดยแนวทางการพัฒนาวัสดุต่อไปคือการเพิ่มปะสิทธิภาพให้มากขึ้น  แข็งแรงขึ้น  อาจเพิ่มสารกันรา  เพิ่มสารทนไฟ  อาจอัดชิ้นงานให้ผิวเรียบขึ้น  บดถั่วให้ละเอียดขึ้น  นอกจากนี้ยังมีคอมเมนต์ให้ลองศึกษาเปลือกแมคคาเดเมียเพราะมีความแข็งและเงา

ชิ้นงานจาก Hospital waste พี่ ๆ ทีมนี้เลือกศึกษาผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ครับ  คุณสมบัติของผ้านี้คือเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ไม่ซึมน้ำ  ย้อมสีไม่ติด  มี 3 ขนาดคือ 45x45 60x60 และ 90x90 เซนติเมตร  มีปริมาณทีทิ้งต่อเดือน 74,000 ผืน  พี่ ๆ ทดลองทำอะไรกับผ้าห่อเครื่องมือแพทย์บ้าง ไปดูกันครับ
- ผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ + รีดกับพลาสติกจากถุงห่อไส้กรองเครื่องล้างไต = พลาสติกติดกับผ้า  ต่อมาพลาสติกเปลี่ยนล็อตใหม่ซึ่งพลาสติกไม่เหมือนเดิม ทำให้รีดไม่ติดกับผ้า
- ผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ + ย้อมแบบ direct/dispose = สีเคลือบแค่ผิวหน้าของผ้า  พอโดนน้ำก็หลุด



- ผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ + การพับโอริกามิ แล้วรีดขึ้นรูป
- ผ้าห่อเครื่องมือแพทย์ + การเย็บแบบสม็อคกิ่ง = ได้งานที่ออกมาสวย จึงเลือกใช้วิธีนี้  โดยตั้งใจทำเป็น 1. พรมที่ใช้ในรีสอร์ทหรือโรงแรม  2. ตัดเย็บป็นชุด  ดังนั้นจึงนำผ้าขนาด 45x45 จำนวน 35 ผืน มาเย็บเป็นผืนใหญ่ได้ขนาด 3x2.8 เมตร แล้วเย็บสม็อคกิ่ง ได้ผ้าที่มีความยาว 1x2 เมตร  ในขั้นตอนการเย็บสม็อคกิ่งใช้เวลา 6 ชั่วโมง พี่ ๆ 3 คน ช่วยกันเย็บครับ





ชุดที่ตัดเย็บออกมามีความสวยงามมากเลยครับ  มีแต่คนชมเพราะงานละเอียด

กลุ่มที่ 3 ที่นำผลงานมาเสนอคือพี่จิราพรและพี่โสรดา  พี่ ๆ เลือกศึกษา Food waste คือกากมะพร้าว ครับ ไปดูข้อมูลเบื้องต้นของกากมะพร้าวกันครับ  กากมะพร้าวนี้คือกากมะพร้าวที่เหลือจากการคั้นกะทิ  ใน 1 วัน ร้านที่ขายกะทิจะมีเศษกากมะพร้าวนี้ 50 กิโลกรัม ในกรุงเทพฯมีตลาดทั้งหมด 50 แห่ง ถ้าแต่ละแห่งมีร้านกะทิแห่งละ 2 ร้าน ใน 1 วันเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯจะมีกากมะพร้าว 5,500 กิโลกรัม  ซึ่งปกติแล้วกากมะพร้าวเหล่านี้จะถูกนำไปเป็นอาหารสัตว์ครับ  ไปดูการทดลองกันบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่