หลายวันก่อนได้เห็นกระทู้ที่เทียบจำนำข้าวกับประกันราคาข้าว แบบยกตัวอย่าง แล้วสรุปว่า รัฐขาดทุนเท่ากัน เลยอยากจะเขียนบ้างครับ ^^
ขอเริ่มต้นจากประกันราคาข้าวแล้วกันนะครับ นโยบายประกันราคาข้าวถูกนำมาใช้ในสมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเพื่อเอามาเปรียบเทียบกับนโยบายประชานิยมของอีกฟากฝั่ง เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ประชาชน และสุดท้ายประชาก็ไม่นิยม จึงกลับมาเลือกพรรคตรงข้ามในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จึงมีคำถามว่า ทำไม?? ทั้งๆ สุดท้ายก็ได้เงินเท่ากันที่ตันละ 15000 (หรือในราคาที่ประกันไว้ เอาเป็นว่าขอสมมติว่าราคาที่ประกันกับราคาจำนำเท่ากันเลยละกันนะครับ ^^)
เหตุเกิดก็เพราะว่าการประกันราคาข้าวตามแนวทางที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ และพยายามขายไอเดียว่าดีนั้นมีจุดบกพร่องมากมาย และง่ายแก่การทุจริตมากกว่าการจำนำอีก เพราะอะไร คงจะขอค่อยๆ อธิบายไปนะครับ ^^
ข้อแรก ตามแนวนโยบายประกันราคาข้าวนั้น ไม่มีการลงสำรวจการขายข้าวจริง หรือดูผลผลิตจริง ก่อนจะจ่ายเงินให้ โดยการอนุมานการกำไรขาดทุนจากราคาตลาดโลก และการถือครองพื้นที่เพาะปลูกเป็นหลัก
ยกตัวอย่าง : สมมติว่า 1 ไร่ ผลิตข้าวได้ 1 ตัว ถ้า A ถือครองพื้นที่ 10 ไร่ A ควรจะผลิตได้ 10 ตัน แต่ถ้าปีนั้นราคาข้าวในตลาดโลก ตันละ 10000 บาท A จะขายข้าวได้ในราคาต่ำกว่าราคาประกันที่ 5000 บาทต่อไร่ ดังนั้น A จะได้รับเงินชดเชยนั้นจากรัฐบาล นั่นคือ A ก็จะได้เงินจากการขายข้าว 10000 บาทต่อตัน+เงินชดเชยจากรัฐบาลที่ 5000 บาท ต่อตัน พูดอย่างนี้ฟังดูดีไหมครับ??? ^^
แต่ถ้าจริงๆ แล้ว A ไม่ได้ปลูกข้าวทั้ง 10 ไร่ที่ไปแจ้งไว้ล่ะครับ ???? เช่น ปลูกแค่ 5 ไร่ แล้วเป็นอย่างไร???
A ก็จะได้เงินชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินกินเปล่าจากการแจ้งพื้นที่ปลูกข้าว 25000 บาทโดยไม่มีหลักฐานอะไรเลยที่แสดงว่า A ปลูกข้าวเต็มพื้นที่ที่ถือครองจริง....โอเคไหมครับ??? (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐลงไปตรวจพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดก่อนเก็บเกี่ยว ก็คงจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่จริงๆ แล้วรัฐมีคนพอที่จะลงไปตรวจสอบทั้งหมดจริงหรือเปล่า??? แล้วถ้ามีคนลงไปจริง A จ่ายเงินให้คนนั้นซัก 5000 บาท เพื่อให้เค้ารับรองว่าปลูกจริงล่ะ???? สุดท้ายจะตรวจสอบได้หรือเปล่า????
ข้อสอง มีหลายคนได้ติติงแนวทางนี้แล้วว่าจริงๆ แล้วชาวนาตัวจริงไม่ได้มีที่นาเป็นของตัวเองหรอก (อาจจะเคยมีแต่ว่าเอาไปขาย/จำนองไปนานละ เพื่อต่อทุนทำนา ซึ่งขาดทุนมาตลอด ปุ๋ยก็แพง ยาก็แพง ข้าวก็ราคาถูกอีก.....^^) ก็กลายเป็นว่าเงินชดเชยตามราคาประกันก็ตกเป็นของเจ้าของที่ซึ่งไปขึ้นทะเบียนชาวนาไว้โดยที่ไม่ต้องไปทำเลย
ยกตัวอย่าง : จากตัวอย่างแรก ถ้า B เช่าที่ A ทำนาทั้ง 10 ไร่ B ขายข้าวไป ได้ราคาเท่าไรไม่รู้ล่ะครับ แต่ A นอนกระดิกเท้าอยู่บ้านแล้วก็ไปขึ้นเงินตามที่นาที่ตัวเองถือครองไว้ A ก็จะได้เงิน 50000 บาททันที.....อืมม์.....ดูดีสำหรับ A ไหมครับ แล้วสำหรับ B ล่ะ???? แล้วถ้ายิ่ง B ไปขายข้าวแล้วถูกพ่อค้ากดราคาอีกล่ะ เช่นให้ต่ำกว่าราคาตลาดโลก (ก็ปกติของพ่อค้า ที่จะเข้ามาซื้อถูกขายแพงนะครับ ^^) B ก็จะยิ่งได้เงินต่ำกว่าตันละ 10000 บาทตามราคาตลาดโลก (อาจจะเป็นตันละ 9000,8000,.... แล้วแต่ความเก๋าของ B) มันยุติธรรมกับ B ไหมครับ?
ข้อสาม การเพาะปลูกข้าวในไทยยังอาศัยดินฟ้าอากาศมากกว่าระบบชลประทาน หรือกล่าวคือระบบชลประทานยังเข้าไม่ถึงพื้นที่ทั้งหมดของการเพาะปลูกทั้งประเทศ นั้นหมายความว่าจำนวนผลผลิตอาจจะไม่สัมพันธ์กับพื้นที่เพาะปลูกอย่างที่คาดหมายไว้ก็ได้
ยกตัวอย่าง : สมมติปีนั้นแล้ง B ปลูกข้าวได้น้อยกว่าไร่ละ 1 ตัน นั่นหมายความว่า B ก็จะยิ่งขายข้าวได้ปริมาณน้อยกว่า 10 ตันอย่างที่รัฐคำนวนไว้อีก ในขณะที่ A ยังเก็บค่าเช่านา B 10 ไร่เท่าเดิม มันดีกับ B ที่เป็นขาวนาตัวจริงไหม????
ข้อสี่ สันดานพ่อค้า Opp! แก้ใหม่ เป็นปกติของคนค้าขาย ย่อมต้องการของถูกแล้วเอาไปขายแพงเพื่อทำกำไร ถ้ารัฐรับประกันราคาขั้นต่ำไว้พ่อค้าย่อมต้องถ่างช่องว่างระหว่างราคาประกันกับราคาที่ไปซื้อจากชาวนาให้มากที่สุดเพื่อที่จะไปขายเอาส่วนต่างหรือกำไรจากตลาดโลก
ยกตัวอย่าง : นั่นหมายความว่าพ่อค้าจะพยายามกดราคาซื้อข้าวจาก B ให้ถูกที่สุดเพื่อจะเอาไปขายได้กำไรในตลาดโลกมากที่สุด ถ้า B เป็นเจ้าของที่ B ก็อาจจะได้เงินชดเชยจากรัฐมาบ้าง แต่ถ้า B เช่าที่เค้าทำล่ะ B จะได้อะไร???
โดยสรุป ในนโยบายรับประกันราคาข้าว ผลประโยชน์จะตกกับเจ้าของที่ดินที่ขึ้นทะเบียนและพ่อค้า ในขณะที่ชาวนาตัวจริงที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ผลประโยชน์จากการชดเชยดังกล่าวนี้เลย นั่นคือ จากตัวอย่าง B ก็ยังขายข้าวขาดทุน จนลงๆ ในขณะที่พ่อค้ากับ A อาจจะรวมถึงคนที่เข้ามาตรวจสอบ A รวยขึ้นๆ 555 ^^ แล้วรัฐได้อะไรจากนโยบายนี้นอกจากจะเป็นแค่คนจ่ายตังค์ออกไปโดยตรวจสอบปริมาณผลผลิตจริง ปริมาณการซื้อขายจริงไม่ได้เลย
นโยบายนนี้อาจจะดูดีก็ได้ถ้ามีการชดเชยโดยตรง ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยนกันจริง คือ B ปลูกข้าว B ไปขายข้าวให้พ่อค้าที่ตลาดกลางโดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคนที่รัฐมอบหน้าที่ให้ตรวจสอบอยู่ที่ตลาดนั้นแล้วยืนยันการขายข้าวของ B ในราคาที่เหมาะสมและรัฐไม่ต้องเสียส่วนต่างมากเกินไป และเจ้าหน้าที่ก็ออกเอกสารให้ B ไปรับตังค์ส่วนต่างราคาประกันอีกที (ฮา).....มันทำได้ไหมอ่ะ???? ดูยุ่งยากเนอะ
ทีนี้มาสู่นโยบายจำนำข้าว ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม จนทำให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น จำทำให้อีกพรรคหนึ่งแทบจะไม่มีที่ยืนกันเลยทีเดียว (ฮา) จากที่เขียนเรื่องการประกันราคาข้าวไปแล้วนั้นผู้เขียนได้เขียนถึงข้อบกพร่องของนโยบายนี้ตามความเข้าใจของตัวเองไว้แล้ว การจำนำข้าวของรัฐบาลที่พึ่งหมดอำนาจไปนั้นมีพื้นฐานไม่ต่างกันคือตั้งราคาที่ชาวนาจะได้รับก่อนเป็นตัวตั้ง คือ 15000 บาทต่อตัน ซึ่งจะเป็นไปโดยจะมีความถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ยังไม่ขอวิจารณ์ในที่นี้นะครับ ^^
นั่นหมายความว่าไม่ว่า A จะทำนาเอง หรือ B จะเช่าที่นาใครทำ หรือ C จะซื้อข้าวราคาถูกมา(ฮา) ขอแค่มีข้าวมาให้แก่รัฐ ก็จะได้เงิน 15000 บาทต่อตันทันที ฟังดูง่ายไหมครับ ก็ไม่เห็นต้องตรวจสอบให้ยุ่งยาก แล้วรัฐก็มีข้าวอยู่ในมือ จริงๆ แล้วเราไม่สามารถเรียกว่าการจำนำข้าวได้เลย เพราะสุดท้ายชาวนาเองก็ใช่สามารถเอาเงินมาไถ่ถอนข้าวของตัวเองคืนเพื่อไปขายเองได้ ถึงจะไถ่ได้ แต่จะได้ข้าวของตัวเองหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ควรจะเรียกว่ารัฐรับซื้อข้าวชาวนามากกว่าด้วยซ้ำ แต่ใครจะสนล่ะครับ เพราะขอแค่รัฐมีข้าวในมือและชาวนา ไม่ว่าจะ A B หรือ C ได้รับเงินตามราคาจำนำไว้ก็พอแล้วนี่ครับ แล้วในความเป็นจริง ก็ไม่มีชาวนาที่ไหนมาไถ่ข้าวคืนไปขายเองเลยซักราย ยกเว้นช่วงที่รัฐจ่ายเงินไม่ได้นั่นล่ะ ที่เหมือนจะมาทวงคืนน่ะ ^^
นโยบายนี้มีการทุจริตได้ไหม??? ขอตอบแบบไม่โลกสวยเลยนะครับว่ามี เช่น การโกงปริมาณข้าวในโกดัง เช่น การเอาข้าวมาขาย 5 ตันแต่คนลงลงให้ 10 ตัน เป็นต้น ซื่งงานนี้มันพิสูจน์ได้ง่าย ก็แค่ตรวจปริมาณข้าวจริงกับตัวเลขรับจำนำก็แค่นั้น
ตอนนี้ถามกลับมาว่า แล้วข้าวที่ได้มารัฐจะเอาไปทำอะไร......อืมม์.....ก็ไปขายต่อ โดยจะขายให้เอกชนเป็นล็อตใหญ่ๆ หรือไปขายต่างชาติมันก็ขึ้นอยู่กับฝีมือพ่อค้าของรัฐว่าจะทำกำไรหรือลดการขาดทุนของโครงการได้มากน้อยแค่ไหน ก็เท่านั้น
ข้อดีอีกอย่างของการรับจำนำข้าวของเกษตรกรคือลดปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดโลก ถ้าพูดตามหลักของอุปสงค์และอุปทานแล้วมันก็น่าจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกดีขึ้น ถ้าเราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่จริงๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งเราก็พิสูจน์แล้ว แต่ใครสนล่ะ ^^ เพราะมันเป็นแค่แนวคิดของคนคิดนโยบายเมื่อปฏิบัติจริงแล้วมันเป็นไปไม่ได้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนซึ่งถ้ามีเวลาค่อยพูดกันอีกที
อยากกลับมาที่บทความเดิมของตัวเองอีกนั่นล่ะที่ว่าการลงทุนของรัฐไม่ได้มุ่งผลกำไร แต่มุ่งเน้นการหมุนวงล้อเศรษฐกิจ วันนี้ตอนเย็นได้ฟังข่าวที่มีนักวิชาการออกมาบอกว่า "เมื่อมีการจ่ายเงินจำนำข้าวให้แก่ชาวนา เงินจะถูกนำมาหมุนในตลาดอย่างน้อย 4-5 รอบ ชาวนาเมื่อได้รับเงินจากการจำนำ นอกจากจะไปใช้หนี้แล้วก็จะนำมาจับจ่ายใช้สอยเกือบหมด ก็จะทำให้มีเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจ 4-5 แสนล้าน"
ดีใจครับที่ได้ยินอย่างนี้ แต่ประโยคเหล่านี้ล่ะที่ยืนยันว่าการดำเนินนโยบายแบบนี้ล่ะที่มีประโยชน์จริงๆ ต่อระบบ และต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงที่ผ่านมาล่ะ? การต่อต้านที่ผ่านมาล่ะ? ถ้าทำใจเป็นกลางคงตอบได้แล้วว่า จริงๆ แล้วอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกันแน่ แล้วใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ตัวจริงจากนโยบาย
ขอบคุณครับ ถ้ายังมีคนอ่านบทความนี้ถึงตรงนี้ ถ้ามีเวลาก็คงจะมาเขียนอะไรใหม่อีก แล้วก็ขอออกตัวว่าคนเขียนเองก็ไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้งมากนักเกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้ เขียนขึ้นจากความเข้าใจ และจากหลายๆ ความเห็นในบอร์ดแห่งนี้ ถ้าผิดถูกอย่างไรก็คงขอให้ผู้รู้ในบอร์ดแห่งนี้ช่วยแก้/แนะนำแล้วกันครับ ^^
จำนำ VS ประกัน ใครได้ใครเสีย???
ขอเริ่มต้นจากประกันราคาข้าวแล้วกันนะครับ นโยบายประกันราคาข้าวถูกนำมาใช้ในสมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเพื่อเอามาเปรียบเทียบกับนโยบายประชานิยมของอีกฟากฝั่ง เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ประชาชน และสุดท้ายประชาก็ไม่นิยม จึงกลับมาเลือกพรรคตรงข้ามในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จึงมีคำถามว่า ทำไม?? ทั้งๆ สุดท้ายก็ได้เงินเท่ากันที่ตันละ 15000 (หรือในราคาที่ประกันไว้ เอาเป็นว่าขอสมมติว่าราคาที่ประกันกับราคาจำนำเท่ากันเลยละกันนะครับ ^^)
เหตุเกิดก็เพราะว่าการประกันราคาข้าวตามแนวทางที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ และพยายามขายไอเดียว่าดีนั้นมีจุดบกพร่องมากมาย และง่ายแก่การทุจริตมากกว่าการจำนำอีก เพราะอะไร คงจะขอค่อยๆ อธิบายไปนะครับ ^^
ข้อแรก ตามแนวนโยบายประกันราคาข้าวนั้น ไม่มีการลงสำรวจการขายข้าวจริง หรือดูผลผลิตจริง ก่อนจะจ่ายเงินให้ โดยการอนุมานการกำไรขาดทุนจากราคาตลาดโลก และการถือครองพื้นที่เพาะปลูกเป็นหลัก
ยกตัวอย่าง : สมมติว่า 1 ไร่ ผลิตข้าวได้ 1 ตัว ถ้า A ถือครองพื้นที่ 10 ไร่ A ควรจะผลิตได้ 10 ตัน แต่ถ้าปีนั้นราคาข้าวในตลาดโลก ตันละ 10000 บาท A จะขายข้าวได้ในราคาต่ำกว่าราคาประกันที่ 5000 บาทต่อไร่ ดังนั้น A จะได้รับเงินชดเชยนั้นจากรัฐบาล นั่นคือ A ก็จะได้เงินจากการขายข้าว 10000 บาทต่อตัน+เงินชดเชยจากรัฐบาลที่ 5000 บาท ต่อตัน พูดอย่างนี้ฟังดูดีไหมครับ??? ^^
แต่ถ้าจริงๆ แล้ว A ไม่ได้ปลูกข้าวทั้ง 10 ไร่ที่ไปแจ้งไว้ล่ะครับ ???? เช่น ปลูกแค่ 5 ไร่ แล้วเป็นอย่างไร???
A ก็จะได้เงินชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินกินเปล่าจากการแจ้งพื้นที่ปลูกข้าว 25000 บาทโดยไม่มีหลักฐานอะไรเลยที่แสดงว่า A ปลูกข้าวเต็มพื้นที่ที่ถือครองจริง....โอเคไหมครับ??? (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) ซึ่งจริงๆ แล้วถ้ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐลงไปตรวจพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดก่อนเก็บเกี่ยว ก็คงจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่จริงๆ แล้วรัฐมีคนพอที่จะลงไปตรวจสอบทั้งหมดจริงหรือเปล่า??? แล้วถ้ามีคนลงไปจริง A จ่ายเงินให้คนนั้นซัก 5000 บาท เพื่อให้เค้ารับรองว่าปลูกจริงล่ะ???? สุดท้ายจะตรวจสอบได้หรือเปล่า????
ข้อสอง มีหลายคนได้ติติงแนวทางนี้แล้วว่าจริงๆ แล้วชาวนาตัวจริงไม่ได้มีที่นาเป็นของตัวเองหรอก (อาจจะเคยมีแต่ว่าเอาไปขาย/จำนองไปนานละ เพื่อต่อทุนทำนา ซึ่งขาดทุนมาตลอด ปุ๋ยก็แพง ยาก็แพง ข้าวก็ราคาถูกอีก.....^^) ก็กลายเป็นว่าเงินชดเชยตามราคาประกันก็ตกเป็นของเจ้าของที่ซึ่งไปขึ้นทะเบียนชาวนาไว้โดยที่ไม่ต้องไปทำเลย
ยกตัวอย่าง : จากตัวอย่างแรก ถ้า B เช่าที่ A ทำนาทั้ง 10 ไร่ B ขายข้าวไป ได้ราคาเท่าไรไม่รู้ล่ะครับ แต่ A นอนกระดิกเท้าอยู่บ้านแล้วก็ไปขึ้นเงินตามที่นาที่ตัวเองถือครองไว้ A ก็จะได้เงิน 50000 บาททันที.....อืมม์.....ดูดีสำหรับ A ไหมครับ แล้วสำหรับ B ล่ะ???? แล้วถ้ายิ่ง B ไปขายข้าวแล้วถูกพ่อค้ากดราคาอีกล่ะ เช่นให้ต่ำกว่าราคาตลาดโลก (ก็ปกติของพ่อค้า ที่จะเข้ามาซื้อถูกขายแพงนะครับ ^^) B ก็จะยิ่งได้เงินต่ำกว่าตันละ 10000 บาทตามราคาตลาดโลก (อาจจะเป็นตันละ 9000,8000,.... แล้วแต่ความเก๋าของ B) มันยุติธรรมกับ B ไหมครับ?
ข้อสาม การเพาะปลูกข้าวในไทยยังอาศัยดินฟ้าอากาศมากกว่าระบบชลประทาน หรือกล่าวคือระบบชลประทานยังเข้าไม่ถึงพื้นที่ทั้งหมดของการเพาะปลูกทั้งประเทศ นั้นหมายความว่าจำนวนผลผลิตอาจจะไม่สัมพันธ์กับพื้นที่เพาะปลูกอย่างที่คาดหมายไว้ก็ได้
ยกตัวอย่าง : สมมติปีนั้นแล้ง B ปลูกข้าวได้น้อยกว่าไร่ละ 1 ตัน นั่นหมายความว่า B ก็จะยิ่งขายข้าวได้ปริมาณน้อยกว่า 10 ตันอย่างที่รัฐคำนวนไว้อีก ในขณะที่ A ยังเก็บค่าเช่านา B 10 ไร่เท่าเดิม มันดีกับ B ที่เป็นขาวนาตัวจริงไหม????
ข้อสี่
สันดานพ่อค้าOpp! แก้ใหม่ เป็นปกติของคนค้าขาย ย่อมต้องการของถูกแล้วเอาไปขายแพงเพื่อทำกำไร ถ้ารัฐรับประกันราคาขั้นต่ำไว้พ่อค้าย่อมต้องถ่างช่องว่างระหว่างราคาประกันกับราคาที่ไปซื้อจากชาวนาให้มากที่สุดเพื่อที่จะไปขายเอาส่วนต่างหรือกำไรจากตลาดโลกยกตัวอย่าง : นั่นหมายความว่าพ่อค้าจะพยายามกดราคาซื้อข้าวจาก B ให้ถูกที่สุดเพื่อจะเอาไปขายได้กำไรในตลาดโลกมากที่สุด ถ้า B เป็นเจ้าของที่ B ก็อาจจะได้เงินชดเชยจากรัฐมาบ้าง แต่ถ้า B เช่าที่เค้าทำล่ะ B จะได้อะไร???
โดยสรุป ในนโยบายรับประกันราคาข้าว ผลประโยชน์จะตกกับเจ้าของที่ดินที่ขึ้นทะเบียนและพ่อค้า ในขณะที่ชาวนาตัวจริงที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ผลประโยชน์จากการชดเชยดังกล่าวนี้เลย นั่นคือ จากตัวอย่าง B ก็ยังขายข้าวขาดทุน จนลงๆ ในขณะที่พ่อค้ากับ A อาจจะรวมถึงคนที่เข้ามาตรวจสอบ A รวยขึ้นๆ 555 ^^ แล้วรัฐได้อะไรจากนโยบายนี้นอกจากจะเป็นแค่คนจ่ายตังค์ออกไปโดยตรวจสอบปริมาณผลผลิตจริง ปริมาณการซื้อขายจริงไม่ได้เลย
นโยบายนนี้อาจจะดูดีก็ได้ถ้ามีการชดเชยโดยตรง ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยนกันจริง คือ B ปลูกข้าว B ไปขายข้าวให้พ่อค้าที่ตลาดกลางโดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคนที่รัฐมอบหน้าที่ให้ตรวจสอบอยู่ที่ตลาดนั้นแล้วยืนยันการขายข้าวของ B ในราคาที่เหมาะสมและรัฐไม่ต้องเสียส่วนต่างมากเกินไป และเจ้าหน้าที่ก็ออกเอกสารให้ B ไปรับตังค์ส่วนต่างราคาประกันอีกที (ฮา).....มันทำได้ไหมอ่ะ???? ดูยุ่งยากเนอะ
ทีนี้มาสู่นโยบายจำนำข้าว ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม จนทำให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น จำทำให้อีกพรรคหนึ่งแทบจะไม่มีที่ยืนกันเลยทีเดียว (ฮา) จากที่เขียนเรื่องการประกันราคาข้าวไปแล้วนั้นผู้เขียนได้เขียนถึงข้อบกพร่องของนโยบายนี้ตามความเข้าใจของตัวเองไว้แล้ว การจำนำข้าวของรัฐบาลที่พึ่งหมดอำนาจไปนั้นมีพื้นฐานไม่ต่างกันคือตั้งราคาที่ชาวนาจะได้รับก่อนเป็นตัวตั้ง คือ 15000 บาทต่อตัน ซึ่งจะเป็นไปโดยจะมีความถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ยังไม่ขอวิจารณ์ในที่นี้นะครับ ^^
นั่นหมายความว่าไม่ว่า A จะทำนาเอง หรือ B จะเช่าที่นาใครทำ หรือ C จะซื้อข้าวราคาถูกมา(ฮา) ขอแค่มีข้าวมาให้แก่รัฐ ก็จะได้เงิน 15000 บาทต่อตันทันที ฟังดูง่ายไหมครับ ก็ไม่เห็นต้องตรวจสอบให้ยุ่งยาก แล้วรัฐก็มีข้าวอยู่ในมือ จริงๆ แล้วเราไม่สามารถเรียกว่าการจำนำข้าวได้เลย เพราะสุดท้ายชาวนาเองก็ใช่สามารถเอาเงินมาไถ่ถอนข้าวของตัวเองคืนเพื่อไปขายเองได้ ถึงจะไถ่ได้ แต่จะได้ข้าวของตัวเองหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ควรจะเรียกว่ารัฐรับซื้อข้าวชาวนามากกว่าด้วยซ้ำ แต่ใครจะสนล่ะครับ เพราะขอแค่รัฐมีข้าวในมือและชาวนา ไม่ว่าจะ A B หรือ C ได้รับเงินตามราคาจำนำไว้ก็พอแล้วนี่ครับ แล้วในความเป็นจริง ก็ไม่มีชาวนาที่ไหนมาไถ่ข้าวคืนไปขายเองเลยซักราย ยกเว้นช่วงที่รัฐจ่ายเงินไม่ได้นั่นล่ะ ที่เหมือนจะมาทวงคืนน่ะ ^^
นโยบายนี้มีการทุจริตได้ไหม??? ขอตอบแบบไม่โลกสวยเลยนะครับว่ามี เช่น การโกงปริมาณข้าวในโกดัง เช่น การเอาข้าวมาขาย 5 ตันแต่คนลงลงให้ 10 ตัน เป็นต้น ซื่งงานนี้มันพิสูจน์ได้ง่าย ก็แค่ตรวจปริมาณข้าวจริงกับตัวเลขรับจำนำก็แค่นั้น
ตอนนี้ถามกลับมาว่า แล้วข้าวที่ได้มารัฐจะเอาไปทำอะไร......อืมม์.....ก็ไปขายต่อ โดยจะขายให้เอกชนเป็นล็อตใหญ่ๆ หรือไปขายต่างชาติมันก็ขึ้นอยู่กับฝีมือพ่อค้าของรัฐว่าจะทำกำไรหรือลดการขาดทุนของโครงการได้มากน้อยแค่ไหน ก็เท่านั้น
ข้อดีอีกอย่างของการรับจำนำข้าวของเกษตรกรคือลดปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดโลก ถ้าพูดตามหลักของอุปสงค์และอุปทานแล้วมันก็น่าจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกดีขึ้น ถ้าเราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่จริงๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งเราก็พิสูจน์แล้ว แต่ใครสนล่ะ ^^ เพราะมันเป็นแค่แนวคิดของคนคิดนโยบายเมื่อปฏิบัติจริงแล้วมันเป็นไปไม่ได้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนซึ่งถ้ามีเวลาค่อยพูดกันอีกที
อยากกลับมาที่บทความเดิมของตัวเองอีกนั่นล่ะที่ว่าการลงทุนของรัฐไม่ได้มุ่งผลกำไร แต่มุ่งเน้นการหมุนวงล้อเศรษฐกิจ วันนี้ตอนเย็นได้ฟังข่าวที่มีนักวิชาการออกมาบอกว่า "เมื่อมีการจ่ายเงินจำนำข้าวให้แก่ชาวนา เงินจะถูกนำมาหมุนในตลาดอย่างน้อย 4-5 รอบ ชาวนาเมื่อได้รับเงินจากการจำนำ นอกจากจะไปใช้หนี้แล้วก็จะนำมาจับจ่ายใช้สอยเกือบหมด ก็จะทำให้มีเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจ 4-5 แสนล้าน"
ดีใจครับที่ได้ยินอย่างนี้ แต่ประโยคเหล่านี้ล่ะที่ยืนยันว่าการดำเนินนโยบายแบบนี้ล่ะที่มีประโยชน์จริงๆ ต่อระบบ และต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงที่ผ่านมาล่ะ? การต่อต้านที่ผ่านมาล่ะ? ถ้าทำใจเป็นกลางคงตอบได้แล้วว่า จริงๆ แล้วอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกันแน่ แล้วใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ตัวจริงจากนโยบาย
ขอบคุณครับ ถ้ายังมีคนอ่านบทความนี้ถึงตรงนี้ ถ้ามีเวลาก็คงจะมาเขียนอะไรใหม่อีก แล้วก็ขอออกตัวว่าคนเขียนเองก็ไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้งมากนักเกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้ เขียนขึ้นจากความเข้าใจ และจากหลายๆ ความเห็นในบอร์ดแห่งนี้ ถ้าผิดถูกอย่างไรก็คงขอให้ผู้รู้ในบอร์ดแห่งนี้ช่วยแก้/แนะนำแล้วกันครับ ^^