ว่าด้วยเรื่องจำนำข้าว...

เห็นหลายคนเรียกร้องมา วันนี้เลยจัดให้ครับ เอาให้ครบเลย ยาวมากกกกก

แต่ด้วยตั้งใจแล้ว ก็ต้องเขียนครับ ^^

เอาที่ตัวนโยบายก่อนนะครับ

นโยบายรับจำนำข้าวนี้ เกิดขึ้นโดยพรรคเพื่อไทย ในตอนแรกที่เริ่มหาเสียง พรรคเพื่อไทยประกาศอย่างชัดเจนนะครับว่าเป็นนโยบายอุดหนุนชาวนา ในเมื่อมันเป็นการอุดหนุนฉะนั้นแล้วเรื่องแสวงหากำไรจากนโยบายนี้ เลิกคิดไปได้เลย

ขาดทุนตั้งแต่เริ่มคิด!!!

ทีนี้ลองมาคิดตามดูเอานะครับ

ทำไมต้องอุดหนุน?
ขาดทุนแล้วยังทำทำไม?

ก่อนหน้านี้สยามประเทศใช้นโยบายเกี่ยวกับข้าว คือ รับประกันราคาข้าว หมายความว่า ชาวนาปลูกข้าว แล้วเอาไปขายที่โรงสี ได้เท่าไหร่ก็ตามหากไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท รัฐบาลในขณะนั้นจะบวกเงินเพิ่มให้ชาวนาจนครบหนึ่งหมื่นบาท เพื่อช่วยชาวนา เห็นภาพนโยบายนี้คร่าวๆ แล้วนะครับ

ทีนี้เราลองมาดูความเป็นจริงกัน

ชาวนาเอาข้าวไปขายโรงสี โรงสีจะกดราคาทันที เพราะชาวนาได้เท่าไหร่พวกเค้าก็ไม่สนใจอยู่แล้วในเมื่อยังไงรัฐบาลก็จะต้องหนุนจนได้ครบหมื่น เช่น

สมมุติชาวนาเอาข้าวไปขายให้โรงสี โรงสีตีราคาที่หกพันบาท รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินส่วนต่างให้ชาวนาอีกสี่พันบาท มันจะครบหมื่นพอดี

เมื่อโรงสีรับซื้อราคาถูกก็เอาข้าวไปขายต่อในอีกราคาหนึ่ง (ราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก) ตัวเลขส่งออกบ้านเราจึงพุ่งกระฉูดไปเป็นอันดับหนึ่งของโลก อย่างที่ข่าวออกนั่นแหล่ะครับ

ถามว่าอ้าวอย่างนี้ก็ดีน่ะสิ ขายข้าวได้ ขาวนาได้เงิน แล้วไม่ดียังไง?

ชาวนาได้เงินอันนี้ดีครับ ไม่เถียง (อย่างน้อยก็ในตอนนี้นะ)

แต่พ่อค้าคนกลางมันมีกลวิธีในการโกงอยู่ คือการเอาสิทธิ์ในการประกันราคาข้าวมาอ้างกับรัฐบาล หมายความว่ายังไง?

จุดอ่อนของประกันราคาข้าว คือ การที่รัฐบาลไม่มีผลผลิตเอาไว้ในมือเลย มันอาจจะเป็นขอดีที่รัฐบาลไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการดูแลรักษาหรือหาตลาด หน้าที่นี้มันตกไปเป็นของพ่อค้า แต่มันเท่ากับเปิดช่องให้มีการกินตามน้ำอย่างมโหฬารเลยทีเดียว

ถ้าข้าราชการประจำเล่นด้วย!!!

พ่อค้าข้าวนำข้าวไปขายทอดตลาด สมมุติว่าราคาท้องตลาด 10000 บาท พ่อค้าซื้อข้าวจากชาวนามา 5000 เมื่อเอาไปขายอาจจะขายแค่ 8000 เพื่อความรวดเร็วในการค้าขาย แล้วส่วนต่างที่เหลืออีก 2000 มาเก็บเอากับรัฐบาล โดยถ้าข้าราชการร่วมมือด้วย โดยการเอาชื่อชาวนามาสวมสิทธิ์โดยที่ชาวนาคนนั้นอาจจะไม่รู้ตัว แล้วก็แบ่งกัน (วัดครึ่งกรรมการครึ่ง) อย่าลืมนะครับ ทุกอย่างมันต้องเข้าโครงการ แล้วคนทำเอกสารก็เป็นข้าราชการประจำนะครับ ไม่ใช่รัฐมนตรีพานิชย์หรือเกษตรแต่อย่างใด

มันมีการอภิปรายในสภาไปแล้วว่าระบบนี้มันตรวจสอบลำบาก เพราะการเอาเงินออกนั้นเพียงแค่คุณมีหลักฐานในการทำนาก็พอ ปริมาณข้าวไม่ต้องเพราะรัฐบาลในตอนนั้นจะตรวจสอบยังไงในเมื่อข้าวไม่ได้อยู่ในมือ

นี่แค่การทุจริตเพียงแบบเดียวนะครับ จริงๆมันมีมากกว่านี้อีก ผมแค่ยกตัวอย่างเอามาให้เห็นภาพเปรียบเทียบเท่านั้น

เพราะถ้าจะเอาอีกก็ต้องพวกจับเสือมือเปล่าแหล่ะครับ มีที่ดินแต่ไม่มีข้าว พอรัฐไปตรวจสอบก็บอกไปว่าขายโรงสีไปหมดแล้วทีนี้ก็ฮั้วกันสามฝ่าย คือ เจ้าของที่ดิน โรงสี ข้าราชการ สบายใจกันเลยทีนี้ เห้อ...

พอพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็มองว่านโยบายนี้จุดอ่อนเพียบบบบ (ก็อภิปรายในสภาเองจะไม่รู้ได้ไงล่ะเน๊อะ)

ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงออกนโยบายมาใหม่ คือ เปลี่ยนจากประกันราคา เป็นรับจำนำทุกเมล็ด

คือ รัฐบาลรับจำนำข้าวทั้งหมด ในราคาที่ 15000 และหอมมะลิ 20000 ในความชื้น 15%

มองแบบง่ายๆ ในมุมมองของชาวนาก่อนนะครับ จากที่เคยรับอยู่หมื่นนึงก็เพื่อนขึ้นอีก แม้ว่าความเป็นจริงแล้วชาวนาไม่มีทางทำความชื้นได้เท่าที่รัฐกำหนดได้ แต่ก็อยู่ในระดับที่ได้ราคาประมาณ 13000 บาท หมายความว่าเค้าจะได้มากขึ้นอีก อย่างน้อยก็เกวียนละ 3000 แหล่ะครับ

ถามว่าทำไมถึงต้องออกนโยบานนี้ ก็เพราะว่ามันพิสูจน์แล้วว่าที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะส่งออกมากมายแค่ไหน แต่ชาวนาก็ยังคงยากจนอยู่ดีนั่นเอง บอกแล้วเค้าไม่สนหรอกครับว่าจะขายได้มากน้อยแค่ไหน ขอแค่ขายได้ราคาก็พอ นี่คือความต้องการของชาวนา

ทีนี้มาดูข้อดีข้อเสียของนโยบายนี้กัน เริ่มที่ข้อดีก่อนนะครับ

อันดับแรกเลยก็อย่างที่บอกแหล่ะครับ ชาวนาได้เงินเยอะขึ้น อันนี้ไม้องพูดเยอะ ขอให้ไปลองถามชาวนาดู ว่าเค้าพอจกับนโยบายนี้หรือไม่ ถ้าให้กลับไปใช้แบบประกันราคาข้าว พวกเค้าจะยอมกันหรือไม่?

อันดับสองเป็นการลดการมั่วของพ่อค้าคนกลางลง ตัดคนกลางออกไปทันที อย่าลืมนะครับว่ามันรับจำนำข้าวทุกเมล็ด หมายความว่ามันต้องมีข้าวมา รัฐถึงจะยอมจ่ายเงินให้ แล้วต้องตามสภาพจริงด้วย

สภาพจริงหมายความว่ายังไง โครงการนี้มีให้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ คือ ชาวนาไม่ได้เข้าทุกคนนะครับ อย่าลืมว่าชาวนามีทั้งจน และ รวย ชาวนาที่รวยก็มักจะมีสักยภาพในการหาตลาดของตัวเอง อาจจะจัดตั้งเป็นกลุ่มร่วมกันก็ได้ แต่บางคนที่ทำอย่างนั้นไม่ได้จึงมาเข้าโครงการกับรัฐบาล

ถามว่าวิธีปฏิบัติทำยังไง เริ่มแรกเมื่อเข้าโครงการ เจ้าหน้าที่จะไปสำรวจพื้นที่ทำนาก่อน โดยไม่สนใจนะครับว่าจะเป็นที่ดินของตัวเองหรือว่าที่ดินเช่าทำ เมื่อสำรวจรางวัดแล้วก็จะพอทราบว่า ที่ดินตรงนี้ นายก.เป็นคนทำนา สามารถทำได้กี่ไร่ ประเมินผลผลิตคร่าวๆ ออกมา จากนั้นก็ออกใบปะทวนให้ชาวนาผู้เข้าร่วมโครงการ เมื่อนำข้าวมาส่งก็จะยื่นพร้อมใบปะทวนนี้แล้วรับเงินกลับไป

เห็นภาพตามแล้วนะครับว่ามันต่างกันยังไง ถ้าคุณร่วมโครงการ แล้วเป็นคนทำนา คุณก็ต้องมีของสองสิ่งนี้ เพื่อเอามาแลกสตางค์ จะมามั่วไม่ได้

นโยบายนี้ทำให้ ชาวนาได้ตังเยอะกว่าเดิม ได้ถูกคน และรัฐบาลก็มีข้าวเอาไว้ในมือ มีหลักฐานชัดเจน!!

ทีนี้ลองมาดูข้อเสียกัน ช่องว่างมันมีทุกนโยบายแหล่ะครับ อย่าคิดว่ามันจะเป็นเลิศ

ข้อเสียคือ

1. ในภาพความเป็นจริงแล้ว บางครั้งชาวนาก็ไม่สามารถนำข้าวมาขายได้ตรงตามใบปะทวนจริง อาจจะด้วยภัยธรรมชาติ เช่น ชาวนาคนหนึ่งถือใบปะทวนเอาไว้ ระบุว่า 40 ไร่ แต่พอเจอภัยธรรมชาติเข้าไป เกี่ยวออกมาแล้วอาจจะทำได้แค่ 30 ไร่ ทีนี้ก็เอาข้าวนอกมาสวมสิทธิ์เข้าไปเพื่อรับเต็มจำนวน เห็นภาพปะครับ

ถามว่าข้าวมาจากไหนอีก เห็นข่าวจาก Blue sky บอกว่าเป็นเขมรนะ 55+

2. ในขณะที่รัฐถือครองข้าวเอาไว้ในมือ ขณะที่รัฐบาลยังไม่มีไซโลเอาไว้เก็บข้าว ทำให้รัฐต้องไปเช่าโรงสีเอกชนเพื่อใช้เก็บข้าว ทีนี้มันก็อาจจะมีการทุจริตได้ เช่นมีการลักลอบเอาข้าวไปขาย แล้วเอาข้าอื่นมาสวม หรือปล่อยให้ข้าวมีความเสียหายเกิดขึ้น ถามว่ารัฐบาลสามารถตรวจสอบได้ไหม บอกเลยว่าได้ แต่โคตรยากกก ถามว่ายากยังไง ก็คนตรวจสอบยังคงเป็นข้าราชการชุดเดิม ชุดเดียวกับไอ้รัฐบาลเดิมนั่นแหล่ะ

ข้าราชการคุยกับพ่อค้า อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ เช่น โรงสีหนึ่งเก็บข้าวไว้ 200 ตัน วันดีคืนดี ก็เอาไปขายซะ 100 เหลืออีกร้อย ก็เอาข้าวที่ด้วยคุณภาพหรือราคาถูกๆ มาใส่เล่นละครไว้ พอข้าราชการจะมาตรวจก็อัดน้ำทำความชื้น ทีนี้ก็เน่าทั้งโกดัง แล้วจะรวจสอบยังไงล่ะ

แต่ไม่ใช่เป็นกันทั้งประเทศนะครับ มันแค่ส่วนน้อย น้อยมากๆ ส่วนใหญ่รัฐก็ขายไปเกือบหมดแล้วแหล่ะ ตัวเลขรายได้มันก็ฟ้องอยู่ แต่ทั้งหมดข้างบนที่เขียนมามันคือความเสียหายที่รัฐบาลได้รับไงครับ

ถามว่าโทษรัฐบาลฝ่ายเดียวได้ไหม คงต้องตอบว่าไม่ได้แหล่ะครับ เพราะอย่างที่บอกถึงเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนโยบาย แต่คนดำเนินการยังกลุ่มเดิม คนเดิม แล้วยังไง เราจำเป็นต้องด่ารัฐบาลให้จมดินฝ่ายเดียวเลยหรือครับ

สรุปง่ายๆ ก็คือ ในแนวนโยบายที่ออกมา มันไม่ได้ทุจริตหรอกครับ รัฐบาลยังคงปฏิบัติตามที่ออกนโยบายได้เป็นอย่างดี (ก็อุดหนุนชาวนาง่ะ ชาวนายังได้ตังอยู่เลย)

หมายความว่า ไม่ได้ทุจริตเชิงนโยบายครับ แต่ที่ทุจริตคือระดับปฏิบัติการตะหาก

ทีนี้มาถึงข่าวที่ออกบ่อยมาก คือ นโยบานนี้ทำรัฐบาลขาดทุนบานตะไท ไม่เถียงครับ ก็มันอุดหนุนชาวนานี่หว่า จะกำไรได้ไง อุดหนุนนะ เข้าใจคำนี้ปะ

เดิมทีเนี่ยนะครับ ราคาพืชผลทางการเกษรแบบนี้เนี่ย มันถูกกำหนดโดยองค์การค้าโลก เค้ามีกฎบัตรอยู่ข้อนึงคือห้ามรัฐบาลประเทศนั้นๆ แทรกแซงราคาพืชผลภายในประเทศ เพราะมันจะทำให้ราคาผลผลิตทั้งโลกบิดเบือนไปทันที ลองคิดดูนะครับถ้าทั่วโลกต้องซื้อข้าวในราคาที่โคตรแพง อะไรมันจะเกิดขึ้น?

รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงนะครับ ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกล้วนๆ รัฐถึงต้องแบกหลังแอ่นนี่ไง ซึ่งก็ไม่ได้ผิดกฎแต่อย่างใด เพียงแค่มันเป็นช่องว่างซึ่งใครๆ ก็ทำอย่าโลกสวย

แต่ตามหลักเศรษฐศาสตร์เนี่ย เมื่อราคาตามท้องตลาดมันถูก ต้นทุนมันก็ต้องต่ำลงมาตาม ต้นทุนในที่นี้คือต้นทุนที่พ่อค้าหรือรัฐรับซื้อจากชาวนา คือผู้ผลิตนะครับ ในเมื่อมันต่ำ แน่นอนว่าผู้ผลิตจะยิ่งแย่ เห็นภาพนะครับ

แต่กฎนี้มันมีช่องว่าง ช่องว่างคือตราบใดที่ราคาตลาดยังไม่โดดอย่างที่ควรจะเป็น องค์การค้าโลกก็ปิดตาไว้ข้างนึง ทุกรัฐบาลทั่วโลกที่ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรก็ใช้ช่องว่างนี้ทั้งนั้นแหล่ะครับ ญี่ปุ่นนี่ตัวอย่างที่ดีเลย ผลผลิตตามราคาตลาดโลก แต่เกษตรกรนี่โคตรรวยเลย

ทีนี้เมื่อรัฐบาลขายข้าวในตลาดโลก ราคามันก็ต้องอย่างที่เห็นนี่แหล่ะครับ ขายในราคาที่กำหนด ซึ่งมันเกินราคาทุนที่รับมาจากชาวนาเห็นๆ มันก็ต้องขาดทุนสิครับ

แต่ไม่ใช่ไม่ดีนะ เพราะอย่าลืมว่ารัฐบาลก่อน ขายในราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลกอยู่แล้ว ตัวเลขส่งออกก็บอก ไม่งั้นเราจะเป็นแชมป์ส่งออกหรอครับ เป็นแชมป์ภาษาอะไร เงินเข้าประเทศน้อยกว่ารัฐบาลปัจจุบันอีก

เพราะเราเคยขายถูกไงครับ แรกๆ พอเราปรับมาขายตามราคาตลาดโลกซึ่งแพงขึ้นอีกเล็กน้อย มันจึงขายยังไม่ค่อยได้ไง เพราะถ้ามองในความรู้สึกขงลูกค้า เค้าต้องคิดครับว่า อะไรฟะ เคยซื้อราคาเท่านี้ ทำไมตอนนี้แพงขึ้น ฉะนั้นเค้าก็ยังไม่ซื้อ ขอไปดูประเทศอื่นก่อน ซึ่งตรงนี้เป็นผลประโยชน์ของข้าวเวียดนาม 555+

พอเค้าเห็นว่าราคามันก็เท่ากับประเทศอื่นๆ คุณภาพว่ากันตามตรง หอมมะลิพี่ไทยนี่กินขาดเลย เค้าก็กลับมาติดต่อขอซื้อเหมือนเดิม ตัวเลขถึงออกมาอย่างที่เห็นไงครับ ขายปริมาณน้อยลง แต่ตังเพิ่มขึ้น ทั้งที่เมื่อก่อนส่งออกนี่อันดับหนึ่งของโลกเลย แต่เงินที่ได้มามันช่าง.... ไม่อยากพูด อิอิ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่