http://www.biothai.net/news/514
ประกันราคาข้าว ใช่คำตอบสุดท้าย? อุดรูโหว่ หรือยิ่งถ่างกระเป๋าเงินรัฐบานทะโรค
14 กันยายน, 2552 - 20:09
เศรษฐกิจ
มติชนสุดสัปดาห์ 11 ก.ย. 52
ยัง ไม่ตกผลึกเสียทีเดียว สำหรับนโยบายการประกันราคาข้าวเปลือกของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่เห็นชอบให้ใช้การประกันราคาข้าวเปลือก แทนการรับจำนำ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าวิธีการประกันราคาจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการใช้งบประมาณเพื่อ พยุงราคาข้าวที่สูงเกินความเป็นจริง เงินที่รัฐจ่ายถึงมือชาวนา และลดการทุจริตในโครงการรับจำนำ
ทั้งนี้ ในกรอบของการอนุมัติของ กขช. กำหนดให้ใช้โครงการประกันราคาข้าวครั้งแรก ในฤดูการผลิตข้าวเปลือกนาปี 2552/2553 กรอบเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ให้เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 พร้อมกับประกาศราคาประกันข้าวเปลือก ที่มีความชื้นไม่เกิน 15% สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท
ต่อมาก็ได้มีการกำหนดราคาตลาดอ้างอิงที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดจ่ายเงินชด เชยส่วนต่าง ระหว่างราคาประกัน กับราคาตลาดอ้างอิงให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่ง กขช. กำหนดประชุมเพื่อเคาะว่าจะประกาศราคาประกันทุก 7 วัน หรือทุก 15 วัน ซึ่งราคาตลาดอ้างอิงก็คิดคำนวณจากมูลค่าข้าวสารบวกกับมูลค่าผลิตภัณฑ์ (อัตราแปรสภาพข้าวท่อน ปลายข้าว และรำ) หักค่าแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารตันละ 500 บาท และค่าขนส่งเฉลี่ยตันละ 375 บาท โดยใช้ราคาข้าวสารขายส่งเฉลี่ย ณ กรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายในและสมาคมโรงสีข้าวไทย ย้อนหลัง 15 วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหลักการคำนวณอัตราส่งมอบข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมา
แต่ปรากฏว่า หลังรัฐบาลประกาศราคาประกันไม่กี่วัน ก็ถูกลองของ เกิดปฏิกิริยาปั่นป่วนทันทีต่อตลาดซื้อขายข้าวทั้งในและนอกประเทศ โดยราคาข้าวลดต่ำ รูดลงวันละ 50-100 บาท/กระสอบ ต่อเนื่องกันหลายวัน กลุ่มนายทุนปฏิเสธการซื้อข้าวในราคาเดิมที่เกินตันละหมื่นบาท หรือไม่ก็กดราคารับซื้อ เพียงสองสัปดาห์ราคาข้าวที่เคยเคลื่อนไหวระดับตันละ 10,000-11,000 บาท ตกเหลือ 8,000-9,000 บาท บางพื้นที่ตกไปเหลือ 7,000 กว่าบาท
ตามสูตรต้องมีการออกมาเคลื่อนไหวของชาวนา มีการขู่ปิดถนนประท้วง สุดท้ายรัฐบาลต้องยอมเปิดรับจำนำต่อ
และสร้างความแปลกใจไม่น้อยให้กับข้าราชการและวงการค้าข้าว เมื่อจู่ๆ นายอภิสิทธิ์ ก็หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือใน ครม. และอนุมัติขยายเวลารับจำนำข้าวนาปรัง 2552 ที่สิ้นสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมออกไปในเดือนกันยายน ทั้งๆ ที่กำหนดประกันราคา โดยจะประกาศราคาตลาดอ้างอิงครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2552
ที่น่าแปลกคือเรื่องการขยายเวลารับจำนำ เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการเสนอจากกระทรวงพาณิชย์ที่พรรคภูมิใจไทยกุมบังเหียน อยู่ แต่เป็นข้อเสนอที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแนวคิดให้ยกเลิกการรับจำนำ และให้ใช้แนวทางประกันราคาแทน
ขณะที่ตลาดส่งออก ก็สะเทือนไปด้วย ด้วยภาพที่ออกไปต่อสายตาโลกเห็นว่า "เป็นนโยบายที่กลับไปกลับมา" จึงชะลอการตกลงราคาซื้อชั่วคราว เพราะหวังว่าราคาซื้อน่าจะลดลงได้อีก
สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลเองก็ยังไม่มั่นใจว่า "การหักดิบ" มาใช้การประกันราคาแทนการรับจำนำนั้น "ถูกทาง" และเข้าใจได้ว่า รัฐบาลเองก็วิตกว่า ยิ่งใกล้วันดีเดย์ใช้ประกันราคา ราคาข้าวเปลือกเจ้าในตลาดอาจเหลือไม่ถึง 6,000-7,000 บาท และข้าวหอมมะลิเกินหมื่นบาทเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้การชดเชยส่วนต่างราคายิ่งถ่างออกไปจากที่รัฐเคยประเมินว่าจะต้อง ชดเชยตันละไม่เกิน 2,000- 2,500 บาท ก็อาจจะถึงตันละ 3,000-4,000 บาท นั่นหมายถึงว่ารัฐต้องแบกภาระเงินชดเชยอย่างมหาศาล หากคิดคำนวณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดทั้งหมดที่ตัวเลขก็ยังไม่นิ่ง ระหว่างต่ำกว่า 25 ล้านตัน หรือสูงกว่า 30 ล้านตัน คำนวณคร่าวๆ จะต้องใช้เงินต่ำๆ ก็ 9 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาททีเดียว!!
เรื่องนี้นักวิชาการและวงการค้าข้าวเคยตั้งประเด็นเพื่อให้รัฐบาลหาทางแก้ไข รวมไปถึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าในทางปฏิบัติมีความพร้อมเปิดประกันราคาแล้ว จริงหรือ
เหลือเวลาอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ที่โครงการประกันราคาจะเริ่มใช้ แต่งานการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกยังดำเนินการไปได้เพียง 50% ไม่สอดคล้องกับตัวเลขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ครบ 100% แล้ว ฉะนั้น พื้นที่ส่วนที่เหลืออีก 50% จะมีชาวนาที่ไม่ขึ้นทะเบียนอีกเท่าไร และจะทำอย่างไร เพราะโครงการประกันราคานี้กำหนดให้สิทธิกับเกษตรกรทุกราย!!!
ปัญหาหนักอกที่ในอดีตแก้ไขอย่างไรก็ไม่หมดไป คือ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดการฮั้ว การเก็งกำไรค่าชดเชยส่วนต่าง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าในทางปฏิบัติแล้ว ระบบค้าข้าวนั้น ราคาถูกกำหนดและผูกขาดโดยพ่อค้าคนกลาง ทั้งจากกลุ่มโรงสี กลุ่มผู้ส่งออก รวมถึงอิทธิพลท้องถิ่น ที่ต่างก็เป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมือง เพราะอย่างไรชาวนาก็ต้องขายข้าวให้นายทุนที่มีความพร้อมในเรื่องโกดังจัด เก็บและช่องทางระบายข้าว
ประเด็นข้างต้นนี้ เป็นเรื่องภายในประเทศ สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตลาดโลก ที่นายอภิสิทธิ์ ต้องเจอแน่คือ ในทางวิชาการถือว่าการประกันราคาพืชผลเกษตรโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่รัฐให้ใช้ประกันราคาทั้งหมดนั้น ผิดกฎตามระเบียบขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) แน่นอน หากมีประเทศใดประเทศหนึ่งยื่นฟ้องไทย ก็หลีกเลี่ยงได้ยากที่อาจต้องเสียเงินชดเชยให้ประเทศผู้ฟ้อง หรืออาจบังคับให้หยุดการใช้ประกันราคา ซึ่งไทยผูกพันงบประมาณที่จะอุดหนุนสินค้าเกษตรได้ปีละไม่กี่ร้อยล้านเหรียญ สหรัฐ และหลักปฏิบัติของการใช้เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาไม่ใช่เป็นการแจกเงินโดย ตรง จนถึงวันนี้รัฐบาลเตรียมตัว เตรียมพร้อมในการแก้ต่างเรื่องนี้แล้วหรือยัง
ยังไม่นับรวมประเด็นที่ต้องเจอแน่นอน คือผลกระทบจากการลดภาษีนำเข้าและเปิดเสรีนำเข้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ สมาชิกในอาเซียน ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าหากมีข้าวจากประเทศชายแดนติดไทยเข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ ถูกกว่าและคุณภาพใกล้เคียงไทย รัฐจะแก้ไขและใช้เงินอีกเท่าไรในการพยุงสถานการณ์ข้าวไทย
และไม่อาจประเมินได้ว่า รัฐต้องแบกภาระส่วนต่างชดเชยให้ข้าวไทยอีกเท่าไร เพราะยังอยู่รอยต่อของโครงการประกันราคาที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 หากตอนนี้ราคาข้าวในตลาดเหลือ 5,000-6,000บาท เท่าราคาข้าวในเวียดนาม กัมพูชา และพม่า จากที่รัฐต้องแบกรับจ่ายเงินส่วนต่างตันละ 3,000 บาท อาจเพิ่มเป็น 5,000-7,000 บาททันที
งบประมาณที่รัฐเตรียมไว้ใช้ชดเชยต่อปีไม่เกินแสนล้านบาท อาจขึ้นเป็น 2-3 แสนล้านบาท เทียบกับการรับจำนำที่ถูกโจมตีมาตลอดว่ารัฐสูญเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท/ปี แล้วอย่างไหนจะแพงกว่ากัน
จึงถูกจับตามมองว่า ประโยชน์แท้จริงจะตกกับชาวนาไทยตามเจตนารมณ์จริงหรือ และจะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะซ้ำรอยโครงการชุมชนพอเพียงหรือไม่ หรือเป็นเพียงกุศโลบายเพื่อผันเงินและฐานเสียงต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่ กำลังจะเกิดขึ้น
ช่วงนั้นลองไปหาข่าวแหล่งอื่นดูก็คงพบอะไรกะความเป็น อภิสิทธิ์ และ ประชาธิปัตย์
เรื่องเดียวที่ผมเชื่อสนธิ คือ พวกสาวก ปชป มันโง่ได้ใจ
ตอนเริ่มประกันราคาทำราคาข้าวตกลง
ประกันราคาข้าว ใช่คำตอบสุดท้าย? อุดรูโหว่ หรือยิ่งถ่างกระเป๋าเงินรัฐบานทะโรค
14 กันยายน, 2552 - 20:09
เศรษฐกิจ
มติชนสุดสัปดาห์ 11 ก.ย. 52
ยัง ไม่ตกผลึกเสียทีเดียว สำหรับนโยบายการประกันราคาข้าวเปลือกของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่เห็นชอบให้ใช้การประกันราคาข้าวเปลือก แทนการรับจำนำ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าวิธีการประกันราคาจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการใช้งบประมาณเพื่อ พยุงราคาข้าวที่สูงเกินความเป็นจริง เงินที่รัฐจ่ายถึงมือชาวนา และลดการทุจริตในโครงการรับจำนำ
ทั้งนี้ ในกรอบของการอนุมัติของ กขช. กำหนดให้ใช้โครงการประกันราคาข้าวครั้งแรก ในฤดูการผลิตข้าวเปลือกนาปี 2552/2553 กรอบเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ให้เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 พร้อมกับประกาศราคาประกันข้าวเปลือก ที่มีความชื้นไม่เกิน 15% สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท
ต่อมาก็ได้มีการกำหนดราคาตลาดอ้างอิงที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดจ่ายเงินชด เชยส่วนต่าง ระหว่างราคาประกัน กับราคาตลาดอ้างอิงให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่ง กขช. กำหนดประชุมเพื่อเคาะว่าจะประกาศราคาประกันทุก 7 วัน หรือทุก 15 วัน ซึ่งราคาตลาดอ้างอิงก็คิดคำนวณจากมูลค่าข้าวสารบวกกับมูลค่าผลิตภัณฑ์ (อัตราแปรสภาพข้าวท่อน ปลายข้าว และรำ) หักค่าแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารตันละ 500 บาท และค่าขนส่งเฉลี่ยตันละ 375 บาท โดยใช้ราคาข้าวสารขายส่งเฉลี่ย ณ กรุงเทพฯ ของกรมการค้าภายในและสมาคมโรงสีข้าวไทย ย้อนหลัง 15 วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหลักการคำนวณอัตราส่งมอบข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมา
แต่ปรากฏว่า หลังรัฐบาลประกาศราคาประกันไม่กี่วัน ก็ถูกลองของ เกิดปฏิกิริยาปั่นป่วนทันทีต่อตลาดซื้อขายข้าวทั้งในและนอกประเทศ โดยราคาข้าวลดต่ำ รูดลงวันละ 50-100 บาท/กระสอบ ต่อเนื่องกันหลายวัน กลุ่มนายทุนปฏิเสธการซื้อข้าวในราคาเดิมที่เกินตันละหมื่นบาท หรือไม่ก็กดราคารับซื้อ เพียงสองสัปดาห์ราคาข้าวที่เคยเคลื่อนไหวระดับตันละ 10,000-11,000 บาท ตกเหลือ 8,000-9,000 บาท บางพื้นที่ตกไปเหลือ 7,000 กว่าบาท
ตามสูตรต้องมีการออกมาเคลื่อนไหวของชาวนา มีการขู่ปิดถนนประท้วง สุดท้ายรัฐบาลต้องยอมเปิดรับจำนำต่อ
และสร้างความแปลกใจไม่น้อยให้กับข้าราชการและวงการค้าข้าว เมื่อจู่ๆ นายอภิสิทธิ์ ก็หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือใน ครม. และอนุมัติขยายเวลารับจำนำข้าวนาปรัง 2552 ที่สิ้นสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมออกไปในเดือนกันยายน ทั้งๆ ที่กำหนดประกันราคา โดยจะประกาศราคาตลาดอ้างอิงครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2552
ที่น่าแปลกคือเรื่องการขยายเวลารับจำนำ เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการเสนอจากกระทรวงพาณิชย์ที่พรรคภูมิใจไทยกุมบังเหียน อยู่ แต่เป็นข้อเสนอที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแนวคิดให้ยกเลิกการรับจำนำ และให้ใช้แนวทางประกันราคาแทน
ขณะที่ตลาดส่งออก ก็สะเทือนไปด้วย ด้วยภาพที่ออกไปต่อสายตาโลกเห็นว่า "เป็นนโยบายที่กลับไปกลับมา" จึงชะลอการตกลงราคาซื้อชั่วคราว เพราะหวังว่าราคาซื้อน่าจะลดลงได้อีก
สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลเองก็ยังไม่มั่นใจว่า "การหักดิบ" มาใช้การประกันราคาแทนการรับจำนำนั้น "ถูกทาง" และเข้าใจได้ว่า รัฐบาลเองก็วิตกว่า ยิ่งใกล้วันดีเดย์ใช้ประกันราคา ราคาข้าวเปลือกเจ้าในตลาดอาจเหลือไม่ถึง 6,000-7,000 บาท และข้าวหอมมะลิเกินหมื่นบาทเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้การชดเชยส่วนต่างราคายิ่งถ่างออกไปจากที่รัฐเคยประเมินว่าจะต้อง ชดเชยตันละไม่เกิน 2,000- 2,500 บาท ก็อาจจะถึงตันละ 3,000-4,000 บาท นั่นหมายถึงว่ารัฐต้องแบกภาระเงินชดเชยอย่างมหาศาล หากคิดคำนวณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดทั้งหมดที่ตัวเลขก็ยังไม่นิ่ง ระหว่างต่ำกว่า 25 ล้านตัน หรือสูงกว่า 30 ล้านตัน คำนวณคร่าวๆ จะต้องใช้เงินต่ำๆ ก็ 9 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาททีเดียว!!
เรื่องนี้นักวิชาการและวงการค้าข้าวเคยตั้งประเด็นเพื่อให้รัฐบาลหาทางแก้ไข รวมไปถึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าในทางปฏิบัติมีความพร้อมเปิดประกันราคาแล้ว จริงหรือ
เหลือเวลาอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ที่โครงการประกันราคาจะเริ่มใช้ แต่งานการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกยังดำเนินการไปได้เพียง 50% ไม่สอดคล้องกับตัวเลขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ครบ 100% แล้ว ฉะนั้น พื้นที่ส่วนที่เหลืออีก 50% จะมีชาวนาที่ไม่ขึ้นทะเบียนอีกเท่าไร และจะทำอย่างไร เพราะโครงการประกันราคานี้กำหนดให้สิทธิกับเกษตรกรทุกราย!!!
ปัญหาหนักอกที่ในอดีตแก้ไขอย่างไรก็ไม่หมดไป คือ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดการฮั้ว การเก็งกำไรค่าชดเชยส่วนต่าง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าในทางปฏิบัติแล้ว ระบบค้าข้าวนั้น ราคาถูกกำหนดและผูกขาดโดยพ่อค้าคนกลาง ทั้งจากกลุ่มโรงสี กลุ่มผู้ส่งออก รวมถึงอิทธิพลท้องถิ่น ที่ต่างก็เป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมือง เพราะอย่างไรชาวนาก็ต้องขายข้าวให้นายทุนที่มีความพร้อมในเรื่องโกดังจัด เก็บและช่องทางระบายข้าว
ประเด็นข้างต้นนี้ เป็นเรื่องภายในประเทศ สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตลาดโลก ที่นายอภิสิทธิ์ ต้องเจอแน่คือ ในทางวิชาการถือว่าการประกันราคาพืชผลเกษตรโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่รัฐให้ใช้ประกันราคาทั้งหมดนั้น ผิดกฎตามระเบียบขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) แน่นอน หากมีประเทศใดประเทศหนึ่งยื่นฟ้องไทย ก็หลีกเลี่ยงได้ยากที่อาจต้องเสียเงินชดเชยให้ประเทศผู้ฟ้อง หรืออาจบังคับให้หยุดการใช้ประกันราคา ซึ่งไทยผูกพันงบประมาณที่จะอุดหนุนสินค้าเกษตรได้ปีละไม่กี่ร้อยล้านเหรียญ สหรัฐ และหลักปฏิบัติของการใช้เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาไม่ใช่เป็นการแจกเงินโดย ตรง จนถึงวันนี้รัฐบาลเตรียมตัว เตรียมพร้อมในการแก้ต่างเรื่องนี้แล้วหรือยัง
ยังไม่นับรวมประเด็นที่ต้องเจอแน่นอน คือผลกระทบจากการลดภาษีนำเข้าและเปิดเสรีนำเข้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ สมาชิกในอาเซียน ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าหากมีข้าวจากประเทศชายแดนติดไทยเข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ ถูกกว่าและคุณภาพใกล้เคียงไทย รัฐจะแก้ไขและใช้เงินอีกเท่าไรในการพยุงสถานการณ์ข้าวไทย
และไม่อาจประเมินได้ว่า รัฐต้องแบกภาระส่วนต่างชดเชยให้ข้าวไทยอีกเท่าไร เพราะยังอยู่รอยต่อของโครงการประกันราคาที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 หากตอนนี้ราคาข้าวในตลาดเหลือ 5,000-6,000บาท เท่าราคาข้าวในเวียดนาม กัมพูชา และพม่า จากที่รัฐต้องแบกรับจ่ายเงินส่วนต่างตันละ 3,000 บาท อาจเพิ่มเป็น 5,000-7,000 บาททันที
งบประมาณที่รัฐเตรียมไว้ใช้ชดเชยต่อปีไม่เกินแสนล้านบาท อาจขึ้นเป็น 2-3 แสนล้านบาท เทียบกับการรับจำนำที่ถูกโจมตีมาตลอดว่ารัฐสูญเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท/ปี แล้วอย่างไหนจะแพงกว่ากัน
จึงถูกจับตามมองว่า ประโยชน์แท้จริงจะตกกับชาวนาไทยตามเจตนารมณ์จริงหรือ และจะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะซ้ำรอยโครงการชุมชนพอเพียงหรือไม่ หรือเป็นเพียงกุศโลบายเพื่อผันเงินและฐานเสียงต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่ กำลังจะเกิดขึ้น
ช่วงนั้นลองไปหาข่าวแหล่งอื่นดูก็คงพบอะไรกะความเป็น อภิสิทธิ์ และ ประชาธิปัตย์
เรื่องเดียวที่ผมเชื่อสนธิ คือ พวกสาวก ปชป มันโง่ได้ใจ