การจำนำข้าวเป็นระบบที่ออกแบบมาซับซ้อน
เพื่อแก้ปัญหา ราคาข้าวตกต่ำในฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงข้าวล้นตลาด
แต่หลายเดือนต่อมา ราคาข้าวจะสูงขึ้น การเอาข้าวมาจำนำไว้
ก็เพื่อคาดหวังเรื่องการทยอยขาย เมื่อถึงช่วงที่ราคาสูง
จำนำ คือ รับซื้อ แล้วเจ้าของจะมาเอาคืน หรือ ไม่เอาคืน ก็ได้
สมมุติ คุณนำนาฬิกาไปจำนำ ถ้าในเวลาต่อมา คุณพบว่า
นาฬิกายี่ห้อที่คุณมี ราคาสูงขึ้น คุณย่อมอยากเอาเงินไปไถ่ถอน เพื่อขาย
แต่ถ้าราคาไม่สูงขึ้น แถมมีค่าเดินทางไป-กลับโรงจำนำ อีก
คุณก็ปล่อยของไว้ที่โรงจำนำ โดยคุณได้เงินไปเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งทำให้โรงจำนำ หรือ รัฐ คำนวณได้ยาก ว่า จะมีใครมาซื้อคืน และ
ถ้าไม่มีคนซื้อคืน และซื้อต่อ จะบริหารจัดการข้าวที่รับจำนำไว้อย่างไร
มาชวนคิดว่า มีวิธีอื่นๆ อีกไหม ที่ไม่วุ่นวาย บริหารจัดการได้ง่าย อาทิ
1.
รัฐรับซื้อไปเลย จะดำเนินการง่ายกว่าไหม
ถ้ารับซื้อเลย จะทราบว่า มีข้าวกี่ตันที่ต้องรับผิดชอบ
หรือ ปริมาณที่รับได้ เพื่อที่จะไปดีลต่อได้
2. รัฐแค่ดีลให้ รัฐไปเจรจากับคู่ค้า เพื่ออำนวยความสะดวก
ให้พ่อค้าคนกลาง มีโอกาสขายได้ง่ายขึ้น แต่อาจกำหนด
ราคารับซื้อจากชาวนา
3.
สร้างระบบกลุ่มชาวนาระดับจังหวัด
เพื่อให้เกิดราคาที่ต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้
กล่าวคือ การรับซื้อนั้นอาจออกแบบเป็นระดับจังหวัด มีศูนย์รับซื้อข้าว
ให้มีการธุรกิจเช่าอาคารสำหรับเก็บรักษาข้าวในราคาถูก (โรงแรมข้าว)
กระจายการดูแลไปสู่ระดับจังหวัด แล้ววางระบบความสัมพันธ์
บางจังหวัด ทำส่งออก หากมีความพร้อม บางจังหวัดเน้นตลาดในประเทศ
4.
ให้อำนาจกับการรวมกลุ่ม
ชาวนาเก็บข้าวไว้ในสหกรณ์ของตน หรือ ยุ้งของหมู่บ้าน
รัฐอาจให้การอุดหนุนเป็นค่าเช่า ค่าเครื่องอบความชื้น ค่าขนส่ง
หากแต่ละคนมียุ้งของตนก็เก็บที่นั่น
แล้วทยอยขายเมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยว
ส่วนราคาขาย ก็ให้กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้กำหนด
เพราะหากไม่รวมกลุ่ม พ่อค้าก็จะไปซื้อจากคนที่ยินดีขายถูก
แต่หากรวมกลุ่ม ก็จะไม่มีใครขายในราคาที่กลุ่มไม่ตกลง
เช่น ราคาข้าวของกลุ่มระดับจังหวัด/ภาค
5.
พัฒนานักการเมือง
นักการเมืองมักเชื่อว่า การยื่นมือไปช่วย ต้องทำให้เห็น
เช่น การเอาถุงไปแจกเมื่อน้ำท่วม เพื่อให้ชาวบ้านเห็นหน้าเห็นมือ
ดีกว่า การวางระบบระบายน้ำ ไม่ให้น้ำในท่วมอีกปีต่อไป
การแจกถุงยังชีพ ก็กระจายงานให้เป็นหน้าที่ระดับจังหวัดไป
ส่วนผู้นำก็ออกมาแถลง ว่าได้สั่งดำเนินการอะไรบ้าง
เพื่อการบรรเทาทุกข์แบบฉุกเฉิน และระยะยาว
การพัฒนาเชิงระบบ และเชิงโครงสร้าง จึงไม่เกิดขึ้น
และหล่อหลอมให้คนไทย ไม่รู้สึกผิด ที่จะพูดว่า "ช่วยฉันที"
ทั้งๆที่ ยังไม่มีใครกำลังจะตาย แค่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
ที่จะต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน
จึงควรส่งเสริมให้เขาเปลี่ยนวิธีคิด
ภาพลักษณ์อาชีพเกษตรยุคใหม่ เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ สนใจมากขึ้น
เพราะ ...
1. เกษตร เป็นอาชีพ ที่ส่งเสริมสุขภาพกว่าการทำงานในเมือง
2. เกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีการเกษตร ผนวกการเงิน-ระบบบัญชี-การลงทุน
3. ส่งเสริมการพลิกแพลง ทางเลือกพืชเศรษฐกิจมีอยู่มากมาย
ดังนั้น เกษตร ไม่ใช่อาชีพที่น่าอาย หรือ ยากจน แทนที่จะไป
กระตุ้นให้รู้สึกว่า เกษตรกรอ่อนแอ นักการเมือง คือ ผู้มาช่วยเหลือ
ควรส่งเสริมความภาคภูมิใจ และเปิดมุมมอง
ให้อุปกรณ์ ส่งเสริมการทำวิจัยพัฒนา ให้ระบบทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
ผสานกับกระบวนการนำเสนอ-ส่งออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก
ที่มีแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม เช่น จัดงานประกวดสินค้าเกษตรระดับโลกที่ประเทศไทย
ถ้าไม่ใช้วิธีรับจำนำข้าว รัฐควรมีวิธีช่วยชาวนาอย่างไร ?
เพื่อแก้ปัญหา ราคาข้าวตกต่ำในฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงข้าวล้นตลาด
แต่หลายเดือนต่อมา ราคาข้าวจะสูงขึ้น การเอาข้าวมาจำนำไว้
ก็เพื่อคาดหวังเรื่องการทยอยขาย เมื่อถึงช่วงที่ราคาสูง
จำนำ คือ รับซื้อ แล้วเจ้าของจะมาเอาคืน หรือ ไม่เอาคืน ก็ได้
สมมุติ คุณนำนาฬิกาไปจำนำ ถ้าในเวลาต่อมา คุณพบว่า
นาฬิกายี่ห้อที่คุณมี ราคาสูงขึ้น คุณย่อมอยากเอาเงินไปไถ่ถอน เพื่อขาย
แต่ถ้าราคาไม่สูงขึ้น แถมมีค่าเดินทางไป-กลับโรงจำนำ อีก
คุณก็ปล่อยของไว้ที่โรงจำนำ โดยคุณได้เงินไปเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งทำให้โรงจำนำ หรือ รัฐ คำนวณได้ยาก ว่า จะมีใครมาซื้อคืน และ
ถ้าไม่มีคนซื้อคืน และซื้อต่อ จะบริหารจัดการข้าวที่รับจำนำไว้อย่างไร
มาชวนคิดว่า มีวิธีอื่นๆ อีกไหม ที่ไม่วุ่นวาย บริหารจัดการได้ง่าย อาทิ
1. รัฐรับซื้อไปเลย จะดำเนินการง่ายกว่าไหม
ถ้ารับซื้อเลย จะทราบว่า มีข้าวกี่ตันที่ต้องรับผิดชอบ
หรือ ปริมาณที่รับได้ เพื่อที่จะไปดีลต่อได้
2. รัฐแค่ดีลให้ รัฐไปเจรจากับคู่ค้า เพื่ออำนวยความสะดวก
ให้พ่อค้าคนกลาง มีโอกาสขายได้ง่ายขึ้น แต่อาจกำหนด
ราคารับซื้อจากชาวนา
3. สร้างระบบกลุ่มชาวนาระดับจังหวัด
เพื่อให้เกิดราคาที่ต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้
กล่าวคือ การรับซื้อนั้นอาจออกแบบเป็นระดับจังหวัด มีศูนย์รับซื้อข้าว
ให้มีการธุรกิจเช่าอาคารสำหรับเก็บรักษาข้าวในราคาถูก (โรงแรมข้าว)
กระจายการดูแลไปสู่ระดับจังหวัด แล้ววางระบบความสัมพันธ์
บางจังหวัด ทำส่งออก หากมีความพร้อม บางจังหวัดเน้นตลาดในประเทศ
4. ให้อำนาจกับการรวมกลุ่ม
ชาวนาเก็บข้าวไว้ในสหกรณ์ของตน หรือ ยุ้งของหมู่บ้าน
รัฐอาจให้การอุดหนุนเป็นค่าเช่า ค่าเครื่องอบความชื้น ค่าขนส่ง
หากแต่ละคนมียุ้งของตนก็เก็บที่นั่น
แล้วทยอยขายเมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยว
ส่วนราคาขาย ก็ให้กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้กำหนด
เพราะหากไม่รวมกลุ่ม พ่อค้าก็จะไปซื้อจากคนที่ยินดีขายถูก
แต่หากรวมกลุ่ม ก็จะไม่มีใครขายในราคาที่กลุ่มไม่ตกลง
เช่น ราคาข้าวของกลุ่มระดับจังหวัด/ภาค
5. พัฒนานักการเมือง
นักการเมืองมักเชื่อว่า การยื่นมือไปช่วย ต้องทำให้เห็น
เช่น การเอาถุงไปแจกเมื่อน้ำท่วม เพื่อให้ชาวบ้านเห็นหน้าเห็นมือ
ดีกว่า การวางระบบระบายน้ำ ไม่ให้น้ำในท่วมอีกปีต่อไป
การแจกถุงยังชีพ ก็กระจายงานให้เป็นหน้าที่ระดับจังหวัดไป
ส่วนผู้นำก็ออกมาแถลง ว่าได้สั่งดำเนินการอะไรบ้าง
เพื่อการบรรเทาทุกข์แบบฉุกเฉิน และระยะยาว
การพัฒนาเชิงระบบ และเชิงโครงสร้าง จึงไม่เกิดขึ้น
และหล่อหลอมให้คนไทย ไม่รู้สึกผิด ที่จะพูดว่า "ช่วยฉันที"
ทั้งๆที่ ยังไม่มีใครกำลังจะตาย แค่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
ที่จะต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน
จึงควรส่งเสริมให้เขาเปลี่ยนวิธีคิด
ภาพลักษณ์อาชีพเกษตรยุคใหม่ เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ สนใจมากขึ้น
เพราะ ...
1. เกษตร เป็นอาชีพ ที่ส่งเสริมสุขภาพกว่าการทำงานในเมือง
2. เกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีการเกษตร ผนวกการเงิน-ระบบบัญชี-การลงทุน
3. ส่งเสริมการพลิกแพลง ทางเลือกพืชเศรษฐกิจมีอยู่มากมาย
ดังนั้น เกษตร ไม่ใช่อาชีพที่น่าอาย หรือ ยากจน แทนที่จะไป
กระตุ้นให้รู้สึกว่า เกษตรกรอ่อนแอ นักการเมือง คือ ผู้มาช่วยเหลือ
ควรส่งเสริมความภาคภูมิใจ และเปิดมุมมอง
ให้อุปกรณ์ ส่งเสริมการทำวิจัยพัฒนา ให้ระบบทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
ผสานกับกระบวนการนำเสนอ-ส่งออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก
ที่มีแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม เช่น จัดงานประกวดสินค้าเกษตรระดับโลกที่ประเทศไทย