ชาวนาไทยกว่า 28 ล้านคน ถูกสปอยล์จากการเมืองทุกยุค หวังฐานเสียงชนะเลือกตั้ง กลายเป็นปัญหาหมักหมม ไร้ขีดแข่งขัน กดฐานะยากไร้ ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
ข้าว”ถือเป็นพืชการเมืองในทุกรัฐบาล เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชน ชาวนากว่า 28 ล้านคนจาก 3.9 ล้านครัวเรือน บ่อยครั้งชาวนาจึงต้องตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง นักการเมืองหาเสียงโดยชูจุดขายนโยบายของแต่ละพรรค ข้าวจะเป็นหนึ่งในโปรโมชั่นที่พรรคการเมืองส่งมาเอาใจคนกลุ่มนี้
ด้วยวาทกรรมที่ว่า “ต้องการช่วยคนจน” ถึงจะได้กุมฐานเสียง คว้าชัยชนะเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล
นั่นจึงตามมาด้วย “ช่องโหว่” และ“ปัญหานานา” หลังรัฐทุ่มเทงบประมาณเพื่อเอาใจชาวนา โดยเฉพาะ โครงการ "รับจำนำข้าวทุกเมล็ด” หวังอุ้มชาวนาจึงไม่ต้องออกแรงผลิตแบบเน้นคุณภาพ ผลิตออกมาเท่าไหร่ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีตลาดรองรับ เพราะรัฐบาลยินดีรับซื้อ โดยให้ราคาสูงกว่าตลาดถึง 50%
รัฐบาลยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก !
ตัวเลขจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินการใช้งบประมาณจากโครงการรับจำนำ 3 ปีที่ผ่านมา รวมมูลค่า 9.8 แสนล้านบาท จากการรับซื้อข้าว 54.4 ล้านตัน หรือ 53% ของผลผลิต รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 585,000 ล้านบาท จนทำให้มีข้าวเก่าค้างสต็อกที่ต้องรอการจัดการถึง 17-18 ล้านตัน
นั่นจึงเป็นบทเรียนทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว (นบข.) โดยมีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำหนดแผนดำเนินงานการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่จะต้องติดตาม ประเมินผลปรับปรุงแก้ไขทุกปี ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2560-2561 เพื่อยกระดับไปชาวนาไทยสู่“ยุค 4.0”
ยุคที่ชาวนามีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน !!
โดยปีล่าสุด ฤดูกาลผลิต 2560/2561 เป็นการทำงานปีที่ 2 ที่ให้ทุกจังหวัดจัดทำ “แผนปฏิบัติงาน” ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรระดับจังหวัด ส่งให้กับกรมการข้าว โดยมีทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างบูรณาการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิต ปรับปรุงพันธุ์ข้าว และลดต้นทุน
กระทรวงพาณิชย์ ดูแลเรื่องการตลาด กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ด้านราคารับซื้อ เป็นธรรม ควบคุมคุณภาพ จนถึงการส่งออก
บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อธิบายถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61 ที่เน้นการบริหารจัดการ“ซัพพลายเชน” ตั้งแต่กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อบริหารจัดการข้าว ในช่วงที่ผลผลิตจะออกมาพร้อมกันใน เดือนพ.ย.และธ.ค. จากข้าวทั้งปีมีปริมาณทั้งปี เฉลี่ย 30 ล้านตัน บวกลบ 5-6% ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด
โดยมีแผนการบริหารจัดการความต้องการตลาด (ดีมานด์) และผลผลิต (ซัพพลาย) รวม 7 มาตรการ ประกอบด้วย
1.การจัดหารถเกี่ยวให้เกษตรกรในช่วงผลผลิตออกมากทั้งประเทศมี 16,000 คัน ที่จะสามารถจองรถเกี่ยวผ่านแอพ “ชาวนาไทย” เพื่อนำเข้ามาบริหาจัดการอย่างเป็นระบบ จัดเวลาการเก็บเกี่ยว ไม่กระจุกบางจังหวัดบางเขต เดิมทีเก็บเกี่ยวผ่านนายหน้า เมื่อเปลี่ยนมาให้ชาวนาดีลตรงกับผู้ประกอบการรถเกี่ยวที่จะช่วยให้ต้นทุนค่าเกี่ยวข้าวค่อยๆ ลดลงได้ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 350-800 บาทต่อไร่
2.ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรทุกราย ไร่ละ 1,200 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ ไม่เกิน 12,000 บาท (ประมาณ 2,400-3,000บาทต่อตัน)เพื่อช่วยลดต้นทุนที่สูง
3.สินเชื่อชะลอการขายข้าวนาปี โดยให้เกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉาง รอราคาดีจึงขาย โดยให้ค่าเก็บรักษาในยุ้งฉางตันละ 1,000 บาท จ่ายเงินในวันชำระหนี้ ตันละ 500 บาท ในช่วง 1 พ.ย.60- 28 ก.พ.61 จะช่วยทำให้ชาวนาไม่เร่งขายข้าว โดยมีเงินจำนำข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉางมาช่วยลดต้นทุน โดยให้ราคาตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้าตันละ 7,200 บาท ชาวนาไม่เร่งขายข้าว ราคาข้าวก็จะไม่ตก
4.สินเชื่อให้กับ “สถาบันเกษตรกร” เพื่อรวบรวมหรือแปรรูป ในอัตราดอกเบี้ย 1% เป็นการช่วยกันรวบรวมการเก็บสต็อกข้าวอีกแรงในรูปแบบ การรวมกลุ่มเป็นชุมชนข้าว วิสาหกิจ และสหกรณ์ กลไกนี้จะทำให้ช่วยการรวมกลุ่มเข้มแข็งมีเงินไปรวบรวมการซื้อขายข้าวจากเกษตรกร
5.ชดเชยดอกเบี้ยให้ “ผู้ประกอบการค้าข้าว” ในการเก็บสต็อก รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% เช่น โรงสี หรือผู้ค้าข้าว ที่เป็นลูกค้าธนาคารต่างๆ เมื่อรับซื้อข้าวขึ้นมา สามารถใช้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่จะค้ำประกันวงเงิน ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยภาครัฐจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% โดยทั่วไปดอกเบี้ย ประมาณ 7% เป็นการช่วยให้โรงสีมีกำลังนำข้าวสู่ระบบโดยราคาไม่ตก
6.จัดตลาดนัดข้าวเปลือกให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขาย เป็นการมาเจอกันของผู้ค้าข้าวและผู้ผลิตจากทั่วประเทศ เมื่อทางเลือกของตลาดมากขึ้น การซื้อขายมีการแข่งขันราคากัน ผู้ผลิตสามารถเลือกตามความพอใจได้ ในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น
7.เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าวมาตรฐานสินค้าเกษตร หรือ GAP (GAP -Good Agricultural Practices) โดยการสนับสนุนค่าตรวจรับรอง จัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป (EU) และอุดหนุนให้เกษตรกร เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
อธิบดีกรมการค้าภายใน ยังกล่าวถึงการพัฒนากลไกการตลาด 7 มาตรการว่า จะช่วยดูดซับความต้องการข้าวในตลาด สกัดไม่ให้ชาวนาเร่งขายข้าวในช่วงผลผลิตมาในช่วงพ.ย.-ธ.ค.2560 รวมถึงช่วย“พร่องข้าว”ออกไม่ให้กระจุกตัวแข่งกันขายในตลาดไม่ต่ำกว่า 10.5ล้านตัน หรือมากกว่า 50% ของผลผลิต เมื่อซัพพลายค่อยๆ ทยอยอกมาก็จะทำให้ราคามีเสถียรภาพ
สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน มองว่าทั้ง 7 มาตรการจะยกระดับให้ชาวนาไทยสู่ยุค 4.0 ที่แท้จริง ทำให้ราคาข้าวของไทยมีเสถียรภาพ มีการพัฒนาข้าวไปสู่มูลค่าเพิ่ม โดยเป้าหมายเริ่มต้นที่กลุ่มสินค้าพรีเมี่ยม ข้าวหอมมะลิ 20%สินค้าคอมโมดิตี้ ข้าวขาว 80% มุ่งการบริหารจัดการการตลาด โดยใช้ความต้องการนำการผลิต (Demand Driven)
“เราเชื่อว่าเมื่อทุกด้านมีการบริหารจัดการด้านดีมานด์และซัพพลาย โดยใช้ตลาดเป็นตัวนำ ข้าวที่มองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจะมีเสถียรภาพไม่ผันผวนตามราคาตลาดโลก เพราะมีตลาดแน่นอน ชาวนาก็มีรายได้เหลืออยู่กระเป๋ามากขึ้น”
สุทัศนีย์ กล่าวว่า ไทยจะมุ่งเน้นทำตลาดเฉพาะ (Niche) มากขึ้น โดยชูความเป็นข้าวมีอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างจากประเทศอื่น โดยการทำข้อตกลง(MOU)กับผู้ส่งออก ไปทำตลาดข้าวในกลุ่มเหล่านี้ต้องการเท่าไหร่ ทางกระทรวงพาณิชย์จึงรวบรวมแล้วไปบอกให้กระทรวงเกษตรวางแผนการผลิต
“สินค้าไทยตื่นตัวเรื่องการตลาดที่จะทำให้คนเข้าใจถึงข้าวพรีเมี่ยม ใครทำก่อนได้เปรียบ ที่ผ่านมาไทยมีสินค้าข้าวจำนวนมาก แต่ไม่เคยหยิบตัวเด่นของแต่ละพื้นที่มาสร้างการรับรู้ โปรโมทถึงคุณประโยชน์ของข้าวแต่สายพันธุ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มั่นใจว่ามีตลาดรองรับแน่นอน”
รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ยังเปรียบเทียบถึงระบบ เปลี่ยนไปจากโครงการรับจำนำ เมื่อเทียบกับการเข้าไปสนับสนุนอำนวยความสะดวกการผลิตและการตลาด ตั้งแต่ด้านการลดต้นทุนการเก็บเกี่ยว หาตลาด หาจุดฝากเก็บผ่านการจำนำยุ้งฉาง สถาบันเกษตรกร และโรงสี ที่ใช้งบประมาณต่ำกว่าโครงการรับจำนำ เพราะโดยสูงสุดไม่เกิน 4-5 หมื่นล้านบาท ขณะที่โครงการรับจำประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท รวม 8 ฤดูกาลผลิตช่วง 3 ปี ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เน้นการใช้กลไกการตลาดเข้ามาบริหารจัดการการตลาดมากว่าการใช้เงินเข้าไปรับซื้อผ่านโครงการรับจำนำที่โครงการรับจำนำในงบประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน ขณะที่โครงการทั้ง 7 มาตรการ ใช้เงินรวมกันประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท เช่น มาตรการสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท เป้าหมายซื้อข้าวชะลอการขายได้ 2.5 ล้านตัน และการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ค่าดอกเบี้ย 937 ล้านบาท และสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ซึ่งมาตรการดังกล่าวเพียงประวิงเวลารับซื้อที่เกษตรกรเข้ามาขอคืนในภายหลังเมื่อราคาเหมาะสมที่จะจำหน่าย
“เกษตรกรไทยยุค 4.0 จะรู้เท่าทันตลาด โดยมีข้อมูลข่าวสารอยู่ในมือ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รู้ว่าเวลาใดควรขายข้าวได้ หูไวตาไว ดูจังหวะ โดยทางภาครัฐส่งข้อมูลผ่านมือถือ ผ่านแอพลิเคชั่น ชาวนาไทย และไลน์ เพื่อเทียบราคาวันต่อวัน จึงรู้ว่าวันไหนควรขายข้าว และรู้จังหวะวันไหนควรเก็บไว้”
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/782147
ชาวนาฉลาด...ชาติเจริญค่ะ..
~มาลาริน~** เห็นด้วยค่ะ...ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ข้าว”ถือเป็นพืชการเมืองในทุกรัฐบาล เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชน ชาวนากว่า 28 ล้านคนจาก 3.9 ล้านครัวเรือน บ่อยครั้งชาวนาจึงต้องตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง นักการเมืองหาเสียงโดยชูจุดขายนโยบายของแต่ละพรรค ข้าวจะเป็นหนึ่งในโปรโมชั่นที่พรรคการเมืองส่งมาเอาใจคนกลุ่มนี้
ด้วยวาทกรรมที่ว่า “ต้องการช่วยคนจน” ถึงจะได้กุมฐานเสียง คว้าชัยชนะเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล
นั่นจึงตามมาด้วย “ช่องโหว่” และ“ปัญหานานา” หลังรัฐทุ่มเทงบประมาณเพื่อเอาใจชาวนา โดยเฉพาะ โครงการ "รับจำนำข้าวทุกเมล็ด” หวังอุ้มชาวนาจึงไม่ต้องออกแรงผลิตแบบเน้นคุณภาพ ผลิตออกมาเท่าไหร่ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีตลาดรองรับ เพราะรัฐบาลยินดีรับซื้อ โดยให้ราคาสูงกว่าตลาดถึง 50%
รัฐบาลยอมขาดทุน ซื้อแพงขายถูก !
ตัวเลขจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินการใช้งบประมาณจากโครงการรับจำนำ 3 ปีที่ผ่านมา รวมมูลค่า 9.8 แสนล้านบาท จากการรับซื้อข้าว 54.4 ล้านตัน หรือ 53% ของผลผลิต รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 585,000 ล้านบาท จนทำให้มีข้าวเก่าค้างสต็อกที่ต้องรอการจัดการถึง 17-18 ล้านตัน
นั่นจึงเป็นบทเรียนทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว (นบข.) โดยมีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำหนดแผนดำเนินงานการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่จะต้องติดตาม ประเมินผลปรับปรุงแก้ไขทุกปี ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2560-2561 เพื่อยกระดับไปชาวนาไทยสู่“ยุค 4.0”
ยุคที่ชาวนามีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน !!
โดยปีล่าสุด ฤดูกาลผลิต 2560/2561 เป็นการทำงานปีที่ 2 ที่ให้ทุกจังหวัดจัดทำ “แผนปฏิบัติงาน” ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรระดับจังหวัด ส่งให้กับกรมการข้าว โดยมีทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างบูรณาการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิต ปรับปรุงพันธุ์ข้าว และลดต้นทุน
กระทรวงพาณิชย์ ดูแลเรื่องการตลาด กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ด้านราคารับซื้อ เป็นธรรม ควบคุมคุณภาพ จนถึงการส่งออก
บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อธิบายถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61 ที่เน้นการบริหารจัดการ“ซัพพลายเชน” ตั้งแต่กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อบริหารจัดการข้าว ในช่วงที่ผลผลิตจะออกมาพร้อมกันใน เดือนพ.ย.และธ.ค. จากข้าวทั้งปีมีปริมาณทั้งปี เฉลี่ย 30 ล้านตัน บวกลบ 5-6% ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด
โดยมีแผนการบริหารจัดการความต้องการตลาด (ดีมานด์) และผลผลิต (ซัพพลาย) รวม 7 มาตรการ ประกอบด้วย
1.การจัดหารถเกี่ยวให้เกษตรกรในช่วงผลผลิตออกมากทั้งประเทศมี 16,000 คัน ที่จะสามารถจองรถเกี่ยวผ่านแอพ “ชาวนาไทย” เพื่อนำเข้ามาบริหาจัดการอย่างเป็นระบบ จัดเวลาการเก็บเกี่ยว ไม่กระจุกบางจังหวัดบางเขต เดิมทีเก็บเกี่ยวผ่านนายหน้า เมื่อเปลี่ยนมาให้ชาวนาดีลตรงกับผู้ประกอบการรถเกี่ยวที่จะช่วยให้ต้นทุนค่าเกี่ยวข้าวค่อยๆ ลดลงได้ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 350-800 บาทต่อไร่
2.ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรทุกราย ไร่ละ 1,200 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ ไม่เกิน 12,000 บาท (ประมาณ 2,400-3,000บาทต่อตัน)เพื่อช่วยลดต้นทุนที่สูง
3.สินเชื่อชะลอการขายข้าวนาปี โดยให้เกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉาง รอราคาดีจึงขาย โดยให้ค่าเก็บรักษาในยุ้งฉางตันละ 1,000 บาท จ่ายเงินในวันชำระหนี้ ตันละ 500 บาท ในช่วง 1 พ.ย.60- 28 ก.พ.61 จะช่วยทำให้ชาวนาไม่เร่งขายข้าว โดยมีเงินจำนำข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉางมาช่วยลดต้นทุน โดยให้ราคาตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้าตันละ 7,200 บาท ชาวนาไม่เร่งขายข้าว ราคาข้าวก็จะไม่ตก
4.สินเชื่อให้กับ “สถาบันเกษตรกร” เพื่อรวบรวมหรือแปรรูป ในอัตราดอกเบี้ย 1% เป็นการช่วยกันรวบรวมการเก็บสต็อกข้าวอีกแรงในรูปแบบ การรวมกลุ่มเป็นชุมชนข้าว วิสาหกิจ และสหกรณ์ กลไกนี้จะทำให้ช่วยการรวมกลุ่มเข้มแข็งมีเงินไปรวบรวมการซื้อขายข้าวจากเกษตรกร
5.ชดเชยดอกเบี้ยให้ “ผู้ประกอบการค้าข้าว” ในการเก็บสต็อก รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% เช่น โรงสี หรือผู้ค้าข้าว ที่เป็นลูกค้าธนาคารต่างๆ เมื่อรับซื้อข้าวขึ้นมา สามารถใช้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่จะค้ำประกันวงเงิน ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยภาครัฐจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% โดยทั่วไปดอกเบี้ย ประมาณ 7% เป็นการช่วยให้โรงสีมีกำลังนำข้าวสู่ระบบโดยราคาไม่ตก
6.จัดตลาดนัดข้าวเปลือกให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขาย เป็นการมาเจอกันของผู้ค้าข้าวและผู้ผลิตจากทั่วประเทศ เมื่อทางเลือกของตลาดมากขึ้น การซื้อขายมีการแข่งขันราคากัน ผู้ผลิตสามารถเลือกตามความพอใจได้ ในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น
7.เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าวมาตรฐานสินค้าเกษตร หรือ GAP (GAP -Good Agricultural Practices) โดยการสนับสนุนค่าตรวจรับรอง จัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป (EU) และอุดหนุนให้เกษตรกร เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
อธิบดีกรมการค้าภายใน ยังกล่าวถึงการพัฒนากลไกการตลาด 7 มาตรการว่า จะช่วยดูดซับความต้องการข้าวในตลาด สกัดไม่ให้ชาวนาเร่งขายข้าวในช่วงผลผลิตมาในช่วงพ.ย.-ธ.ค.2560 รวมถึงช่วย“พร่องข้าว”ออกไม่ให้กระจุกตัวแข่งกันขายในตลาดไม่ต่ำกว่า 10.5ล้านตัน หรือมากกว่า 50% ของผลผลิต เมื่อซัพพลายค่อยๆ ทยอยอกมาก็จะทำให้ราคามีเสถียรภาพ
สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน มองว่าทั้ง 7 มาตรการจะยกระดับให้ชาวนาไทยสู่ยุค 4.0 ที่แท้จริง ทำให้ราคาข้าวของไทยมีเสถียรภาพ มีการพัฒนาข้าวไปสู่มูลค่าเพิ่ม โดยเป้าหมายเริ่มต้นที่กลุ่มสินค้าพรีเมี่ยม ข้าวหอมมะลิ 20%สินค้าคอมโมดิตี้ ข้าวขาว 80% มุ่งการบริหารจัดการการตลาด โดยใช้ความต้องการนำการผลิต (Demand Driven)
“เราเชื่อว่าเมื่อทุกด้านมีการบริหารจัดการด้านดีมานด์และซัพพลาย โดยใช้ตลาดเป็นตัวนำ ข้าวที่มองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจะมีเสถียรภาพไม่ผันผวนตามราคาตลาดโลก เพราะมีตลาดแน่นอน ชาวนาก็มีรายได้เหลืออยู่กระเป๋ามากขึ้น”
สุทัศนีย์ กล่าวว่า ไทยจะมุ่งเน้นทำตลาดเฉพาะ (Niche) มากขึ้น โดยชูความเป็นข้าวมีอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างจากประเทศอื่น โดยการทำข้อตกลง(MOU)กับผู้ส่งออก ไปทำตลาดข้าวในกลุ่มเหล่านี้ต้องการเท่าไหร่ ทางกระทรวงพาณิชย์จึงรวบรวมแล้วไปบอกให้กระทรวงเกษตรวางแผนการผลิต
“สินค้าไทยตื่นตัวเรื่องการตลาดที่จะทำให้คนเข้าใจถึงข้าวพรีเมี่ยม ใครทำก่อนได้เปรียบ ที่ผ่านมาไทยมีสินค้าข้าวจำนวนมาก แต่ไม่เคยหยิบตัวเด่นของแต่ละพื้นที่มาสร้างการรับรู้ โปรโมทถึงคุณประโยชน์ของข้าวแต่สายพันธุ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มั่นใจว่ามีตลาดรองรับแน่นอน”
รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ยังเปรียบเทียบถึงระบบ เปลี่ยนไปจากโครงการรับจำนำ เมื่อเทียบกับการเข้าไปสนับสนุนอำนวยความสะดวกการผลิตและการตลาด ตั้งแต่ด้านการลดต้นทุนการเก็บเกี่ยว หาตลาด หาจุดฝากเก็บผ่านการจำนำยุ้งฉาง สถาบันเกษตรกร และโรงสี ที่ใช้งบประมาณต่ำกว่าโครงการรับจำนำ เพราะโดยสูงสุดไม่เกิน 4-5 หมื่นล้านบาท ขณะที่โครงการรับจำประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท รวม 8 ฤดูกาลผลิตช่วง 3 ปี ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ เน้นการใช้กลไกการตลาดเข้ามาบริหารจัดการการตลาดมากว่าการใช้เงินเข้าไปรับซื้อผ่านโครงการรับจำนำที่โครงการรับจำนำในงบประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน ขณะที่โครงการทั้ง 7 มาตรการ ใช้เงินรวมกันประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท เช่น มาตรการสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท เป้าหมายซื้อข้าวชะลอการขายได้ 2.5 ล้านตัน และการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ค่าดอกเบี้ย 937 ล้านบาท และสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ซึ่งมาตรการดังกล่าวเพียงประวิงเวลารับซื้อที่เกษตรกรเข้ามาขอคืนในภายหลังเมื่อราคาเหมาะสมที่จะจำหน่าย
“เกษตรกรไทยยุค 4.0 จะรู้เท่าทันตลาด โดยมีข้อมูลข่าวสารอยู่ในมือ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รู้ว่าเวลาใดควรขายข้าวได้ หูไวตาไว ดูจังหวะ โดยทางภาครัฐส่งข้อมูลผ่านมือถือ ผ่านแอพลิเคชั่น ชาวนาไทย และไลน์ เพื่อเทียบราคาวันต่อวัน จึงรู้ว่าวันไหนควรขายข้าว และรู้จังหวะวันไหนควรเก็บไว้”
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/782147
ชาวนาฉลาด...ชาติเจริญค่ะ..