ประยุทธ์ อนุมัติโครงการจำนำยุ้งฉาง ช่วยชาวนาภาคเหนือ-อีสาน รวม 2 ล้านตัน ทุ่มงบไป 3.5 หมื่นล้านบาท
วันนี้ (25 ตุลาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้อนุมัติมาตรการจำนำยุ้งฉาง สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียว 35,174 ล้านบาท เพื่อพยุงราคาและแก้ปัญหาราคาตกต่ำ ในปีงบประมาณ 2558 หลังจากก่อนหน้านี้ได้อนุมัติมาตรการเดียวกันสำหรับข้าวเปลือกให้โรงสีซื้อเก็บข้าวเข้าสต็อก
ทั้งนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม นบข. ว่า รัฐบาลมีความห่วงใยเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนา ชาวไร่ และชาวสวน ซึ่งขณะนี้ได้มีมาตรการในการดูแลเกษตรกรชาวนาหลายมาตรการด้วยกัน ทั้งในเรื่องของข้าวหอมมะลิ ข้าวนาปี และให้ความสำคัญทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงในการค้าขาย อีกทั้งราคาตลาดทุกวันนี้ปรับเปลี่ยนไปหมด จึงต้องติดตามสถานการณ์โลกด้วย
ในส่วนของการระบายข้าว พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้เป็นการระบายตามสัญญาเดิมที่มีอยู่ ส่วนการระบายข้าวสัญญาใหม่นั้นยังไม่มี จนกว่าจะมีการตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือจากการรับจำนำข้าว ซึ่งขณะนี้มีหลายรายการยังตรวจสอบไม่เรียบร้อย และต้องตรวจสอบทั้งดีเอ็นเอข้าวและทางกายภาพของข้าว อย่างไรก็ดี นบข. จะทำเรื่องให้ทางกฎหมายดูอีกที ว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับข้าวจำนวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายต่อไป
ด้าน นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้อนุมัติมาตรการจำนำยุ้งฉางซึ่งเป็นมาตรการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียว โดยมีเป้าหมายดูดซับข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียวออกจากตลาดปริมาณ 2 ล้านตัน สำหรับชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส. ) จะรับจำนำไว้ที่ 90% ของราคาเป้าหมายบวกกับค่าเก็บรักษาตันละ 1,000 บาท รวมวงเงินที่ชาวนาสามารถกู้ได้จาก ธ.ก.ส. ที่ตันละ 15,400 บาท สำหรับข้าวหอมมะลิ ส่วนข้าวเหนียวอยู่ที่ตันละ 11,700 บาท ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายงบประมาณชดเชยอัตราดอกเบี้ยแทนเกษตรกร ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครัวเรือน หรือไม่เกิน 20 ตันข้าวเปลือก ภายใต้เงื่อนไขชาวนาต้องเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางของตัวเองเพื่อรอช่วงเวลาที่เหมาะสมก่อนจะนำมาขายในตลาด
สำหรับเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉาง สามารถเข้าร่วมโครงการผ่านสหกรณ์ในพื้นที่ โดยมีระยะเวลาดำเนินมาตรการ 4 เดือน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 - 28 กุมภาพันธ์ 2558 อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนภายใน 120 วัน ธ.ก.ส. จะรับซื้อและนำออกประมูลต่อไป
http://hilight.kapook.com/view/110189
ประยุทธ์ อนุมัติโครงการจำนำยุ้งฉาง วงเงิน 3.5 หมื่นล้าน
วันนี้ (25 ตุลาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้อนุมัติมาตรการจำนำยุ้งฉาง สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียว 35,174 ล้านบาท เพื่อพยุงราคาและแก้ปัญหาราคาตกต่ำ ในปีงบประมาณ 2558 หลังจากก่อนหน้านี้ได้อนุมัติมาตรการเดียวกันสำหรับข้าวเปลือกให้โรงสีซื้อเก็บข้าวเข้าสต็อก
ทั้งนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม นบข. ว่า รัฐบาลมีความห่วงใยเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนา ชาวไร่ และชาวสวน ซึ่งขณะนี้ได้มีมาตรการในการดูแลเกษตรกรชาวนาหลายมาตรการด้วยกัน ทั้งในเรื่องของข้าวหอมมะลิ ข้าวนาปี และให้ความสำคัญทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงในการค้าขาย อีกทั้งราคาตลาดทุกวันนี้ปรับเปลี่ยนไปหมด จึงต้องติดตามสถานการณ์โลกด้วย
ในส่วนของการระบายข้าว พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้เป็นการระบายตามสัญญาเดิมที่มีอยู่ ส่วนการระบายข้าวสัญญาใหม่นั้นยังไม่มี จนกว่าจะมีการตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือจากการรับจำนำข้าว ซึ่งขณะนี้มีหลายรายการยังตรวจสอบไม่เรียบร้อย และต้องตรวจสอบทั้งดีเอ็นเอข้าวและทางกายภาพของข้าว อย่างไรก็ดี นบข. จะทำเรื่องให้ทางกฎหมายดูอีกที ว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับข้าวจำนวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายต่อไป
ด้าน นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้อนุมัติมาตรการจำนำยุ้งฉางซึ่งเป็นมาตรการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียว โดยมีเป้าหมายดูดซับข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเหนียวออกจากตลาดปริมาณ 2 ล้านตัน สำหรับชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส. ) จะรับจำนำไว้ที่ 90% ของราคาเป้าหมายบวกกับค่าเก็บรักษาตันละ 1,000 บาท รวมวงเงินที่ชาวนาสามารถกู้ได้จาก ธ.ก.ส. ที่ตันละ 15,400 บาท สำหรับข้าวหอมมะลิ ส่วนข้าวเหนียวอยู่ที่ตันละ 11,700 บาท ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายงบประมาณชดเชยอัตราดอกเบี้ยแทนเกษตรกร ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครัวเรือน หรือไม่เกิน 20 ตันข้าวเปลือก ภายใต้เงื่อนไขชาวนาต้องเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางของตัวเองเพื่อรอช่วงเวลาที่เหมาะสมก่อนจะนำมาขายในตลาด
สำหรับเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉาง สามารถเข้าร่วมโครงการผ่านสหกรณ์ในพื้นที่ โดยมีระยะเวลาดำเนินมาตรการ 4 เดือน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 - 28 กุมภาพันธ์ 2558 อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนภายใน 120 วัน ธ.ก.ส. จะรับซื้อและนำออกประมูลต่อไป
http://hilight.kapook.com/view/110189